นิเทศน์ติดตามเรื่อง KM ของบำราศ


17 ตุลาคม 2549 ทีมจากกรมควบคุมโรคมานิเทศน์ติดตามเรื่อง KM  ของสถาบัน  จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการทบทวน เกี่ยวกับความเป็นมาของ KM ในรูปแบบของ กพร.( 13 แบบฟอร์ม)  ช่วง 12.00-13.00 น.เราได้ซักซ้อมสื่อสารทำความเข้าใจกันในทีมผู้เกี่ยวข้อง พี่มอมได้ทบทวนความเป็นมาของ KM.ตามแนวของ กพร. 13 แบบฟอร์ม  (ซึ่งจำได้ว่าเคยฟัง ดร.สิริพร นำเสนอช่วงไตรมาสที่ 3 รู้สึกเหมือนมันเป็นกรอบที่เข้าใจยาก)  ทางทีมได้เตรียมนำเสนอไว้ 2 แนวคือ ตามแบบประเมินของผู้นิเทศ(ฟอร์ม 11 และ12 กพร.หมอรุจนีและพี่มอมและดิฉันเตรียมนำเสนอ) และแบบที่เราทำกันจริงๆอยู่ในบำราศฯ (ผอ.และศุภลักษณ์จะนำเสนอ)

ในช่วง 13.30-15.30 น.เราได้นำเสนอ ภาพ KMในรูปแบบที่บำราศฯ ทำกันอยู่ โดยช่วงแรก ผอ.อัจฉราได้นำเสนอภาพรวมของสถาบันซึ่งเป็นข้อมูลคล้ายกับที่เคยนำเสนอ พรพ. ทางทีมบำราศฯได้ถามความต้องการของผู้นิเทศน์ว่าต้องการให้นำเสนอในรูปแบบใด  ได้รับคำตอบว่าให้เสนอในรูปแบบที่บำราศฯทำอยู่ คุณหมอรุจนี ประธานความเสี่ยงจึงได้นำเสนอเรื่องการบริหารความเสี่ยงของสถาบัน  ตามด้วยน้องเล็ก(ศุภลักษณ์)นำเสนอ  OR  Model  ซึ่งถือเป็นBest Practiceของการนำ KM มาเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาคุณภาพระดับหน่วยงานโดยชุมชนคนชุดเขียว หลังจากนั้น เมื่อเสร็จจากการนำเสนอ ได้มีการลปรร.และระบายความหนักใจกับผู้นิเทศถึงกรอบ (13 แบบฟอร์ม) ที่ยากต่อการทำความเข้าใจ ซึ่งหมอแก้วก็บอกว่าฟอร์มดังกล่าวเหมาะกับงานที่เป็นโครงการมากกว่า ซึ่งในบริบทของบำราศฯ ถ้างานที่มีกระบวนการชัดเจน เช่น หลักสูตรฝึกอบรม อาจเขียนลง 13 แบบฟอร์มดังกล่าวได้ แต่ถ้าเป็นงานบริการอาจจะไม่สามารถเข้ากรอบนี้ได้  ทั้งนี้ทั้งนั้นก็โล่งอกไปเปราะหนึ่งที่ทางผู้นิเทศของกรมฯบอกว่าในปีหน้าจะไม่ยึดกรอบ กพร.

หมายเลขบันทึก: 55069เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 21:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณปิ่งที่ช่วยสรุปค่ะ
  • เป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั้งเราและกรม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท