ข้อเท็จจริงอันอันเป็นประเด็นปัญหาในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์อันนำไปสู่การศึกษาแนวคิดพื้นฐานของกฎหมายที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์


สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์.pdf

 

() การจำแนกประเด็นจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

      ในการศึกษาถึง “แนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์” นั้น มีประเด็นปัญหาสำคัญใน ๔ ประเด็น กล่าวคือ () แนวคิดในการกำหนดสถานะทางกฎหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ () แนวคิดในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ () แนวคิดในการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ และ () แนวคิดเกี่ยวกับบ่อเกิดของกฎหมายที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

() ผู้มีอำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

             ในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น องค์ประกอบสำคัญในการจัดการก็คือ การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นเป็นการจัดการโดยใคร ? ในส่วนนี้จึงเป็นการนำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับ “ผู้มีบทบาทในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์” โดยจะนำเสนอถึง ที่มาของอำนาจหรือฐานแห่งสิทธิในการจัดการของผู้มีบทบาทในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปพร้อมกันด้วย

           ในทางข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น พบว่า ผู้มีอำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นมีอยู่ด้วยกัน ๓ กลุ่ม กล่าวคือ () การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเอกชน () การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยสังคมออนไลน์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ () การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรัฐหรือโดยความร่วมมือในระหว่างรัฐ

              กลุ่มแรก การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเอกชนนั้น หมายถึง การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในระดับภายในเครือข่ายสังคมออนไลน์แห่งเดียวกัน โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เข้ามาดำเนินการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในกลุ่มนี้สามารถจำแนกได้เป็นกลุ่มย่อยได้อีก ๓ กลุ่ม กล่าวคือ

                 () การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งมักจะปรากฎใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ การจัดการระบบทะเบียนสมาชิก และ การจัดการตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงในการเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบของ Term of Conditions

                ()   การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยผู้ดูแลสังคมออนไลน์ หรือ Moderator ทั้งนี้ การได้มาซึ่งผู้ดูแลชุมชนออนไลน์หรือสังคมออนไลน์นี้ มีอยู่ด้วยกัน ๒ วิธี คือ วิธีแรก การได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ วิธีที่สอง การได้รับการแต่งตั้้งโดยความเห็นชอบของสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์

                 () การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์

กลุ่มที่สองการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นโดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยการจัดการโดยเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ เกิดขึ้นใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ

         ลักษณะแรกการจัดการโดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างสังคมกันแต่อยู่ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์เดียวกัน ซึ่งจะเป็นการจัดการระบบทะเบียนสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของเครืือข่ายสังคมออนไลน์ของ Google ที่เร่ิมต้นพัฒนาแนวคิดในการจัดการระบบสมาชิก ๑ บุคคล ๑ ตัวตนในการเชื่อมต่อเครือข่ายสังคมออนไลน์

             ลักษณะที่สองการจัดการโดยเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างกัน การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในกลุ่มนี้เป็นการจัดการภายใต้เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างสังคมกันซึ่งมีทั้งในกรณีของการจัดการโดยวางอยู่บนพื้นฐานของกติกาหรือกฎเกณฑ์ที่เครือข่ายสังคมออนไลน์เห็นชอบร่วมกัน เช่น การบังคับการให้เป็นไปตามสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ที่เรียกว่า Creative Common หรือ การบังคับการให้เป็นไปตาม มารยาทในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการจัดการในลักษณะที่สองนี้เป็นการจัดการที่อาจจะจำกัดอยู่ในเฉพาะเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เห็นพ้องในการบังคับตามกติการ่วมกัน ดังนั้นกติกาหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับเฉพาะในกลุ่มเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ยอมรับและบังคับใช้ตามกติกานั้นเท่านั้น

กลุ่มที่สามการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรัฐหรือความร่วมมือระหว่างรัฐ พบว่า ในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการจัดการโดยรัฐในฐานะเจ้าของดินแดนที่เครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นปรากฎตัว รวมทั้ง ในฐานะการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือประชากรที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น โดยการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้นเป็นการจัดการภายใต้กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ให้อำนาจรัฐในการเข้าไปจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หมายความว่า เป็นการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายภายในของรัฐและหมายรวมถึงการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย

() ที่มาของอำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

ผู้มีบทบาทในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์มีอำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องพิจารณารายละเอียดต่อไปถึง “ที่มาของอำนาจในการจัดการ” นั้นว่ามีที่มาอย่างไร โดยทั่วไปพบว่า อำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น เกิดขึ้นจาก ๓ ลักษณะ กล่าวคือ

       () อำนาจในการจัดการที่มาจาก “ข้อตกลง(Term of Condition) ในการเข้าใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ อันเป็นเรื่องของ “นิติสัมพันธ์” ระหว่างเอกชนที่ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์กับสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์

     ()   อำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย “กติกาในระหว่างเครือข่ายสังคมออนไลน์” เป็นการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือในระหว่างเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ความร่วมมือในการจัดการปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในระหว่างเครือข่ายสังคมสารานุกรมออนไลน์กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆโดยใช้เทคโนโลยีในการตรวจเนื้อหาว่าเนื้อหาที่นำมาใช้นั้นได้รับการอนุญาติจากเจ้าของสิทธิหรือ เรียกว่า Creative Common หรือไม่

      () อำนาจในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มี “กฎหมายลายลักษณ์อักษร” อันเป็นส่วนของการบังคับใช้กฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในสังคม ซึ่งอาจจะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในของรัฐใดรัฐหนึ่งก็ได้

 

() บทบาทของรัฐในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

       การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรัฐหรือโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐ ในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยรัฐนั้นเป็นการจัดการโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย โดยรัฐจะเข้ามามีบทบาทในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ใน ๔ บทบาท กล่าวคือ () การปิดกั้น (Block) เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีลักษณะฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติกฎหมายของรัฐ () การกำกับดูแลเครือข่ายสังคมออนไลน์ () การคุ้มครองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ () การส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์หรือสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดีหรือสร้างสรรค์

.บทบาทในการดูแลความม่ันคงและสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในสังคม โดยรัฐยอมรับบทบาทหลักในการแสดงอํานาจของรัฐในฐานะของเจาของดินแดนในดำเนินการเพื่อดูแลความปลอดภัยของคนในสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการทำให้สังคมเกิดการพัฒนาอย่างมั่นคง บทบาทของรัฐในส่วนนี้ส่งผลให้รัฐมีหน้าที่ดังนี้ () หน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งระบอบการปกครองของรัฐ () หน้าที่ในการดำเนินการปราบปรามการกระทำของมนุษย์ในสังคมหรืออาจส่งผลกระทบดานลบตอความสงบเรียบร้อย หรือ ศึลธรรมอันดีของสังคม () หน้าที่ในการดำเนินการปราบปรามความสัมพันธระหว่างมนุษย์ในสังคมที่มีเนื้อหาที่เปนภัยตอสังคม หรือ ความสัมพันธหรือการกระทำของมนุษย์ในสังคมที่สงผลหรืออาจส่งผลกระทบดานลบตอความสงบเรียบร้อย หรือ ศึลธรรมอันดีของสังคม () หน้าที่ในการสร้างกลไกในการคุ้มครองดูแลมนุษย์ในสังคม หมายรวมถึง หน้าที่ในการจัดทำกระบวนการยุติธรรมเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับมนุษย์ในสังคม1

.บทบาทในการใหความคุมครองมนุษย์ในสังคม โดยรัฐย่อมรับบทบาทภาระหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองมนุษย์ในสังคม โดยเฉพาะอย่างย่ิง มนุษย์ที่ต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษ กล่าวคือ ในกลุ่มเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการในส่วนนี้ รัฐจึงมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองในเรื่องต่างๆใน ๓ เรื่องหลัก กล่าวคือ

() หน้าที่ในการใหความคุมครองบุคคลธรรมดาภายใต้ฐานแห่งสิทธิในความเป็นมนุษย์ และ เสรีภาพในด้านต่างๆของมนุษย์ในสังคม โดยทั่วไปการให้ความคุ้มครองนี้หมายถึง การคุมครองและบังคับการใหเปนไปตามสิทธิในความเป็นมนุษย์ ทั้งนี้ ในกรณีพิเศษ ซึ่งหมายถึง การให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่มีความอ่อนแอหรือต้องการได้รับการดูแลเป็นพิเศษ รัฐมีหน้าที่ในการให้ความคุ้มครองแก่บุคคลเหล่านี้อย่างเข้มข้นมากกว่ากรณีทั่วไป2 เช่น การให้ความคุ้มครองในการเข้าถึงและใช้สิทธิในการได้รับการบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ เป็นต้น

() หน้าที่ในการให้ความคุ้มครองในการใชสิทธิและเสรีภาพของเอกชนในด้านต่างๆ โดยหมายถึง สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการเมือง สิทธิในทางเศรษฐกิจ เช่น การใช้สิทธิเหนือทรัพยสินของเอกชน การใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้นรวมไปถึง เสรีภาพในด้านต่างๆของมนุษย์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิและเสรีภาพในเคหสถาน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น

() หน้าที่ในการคุมครองเพื่อใหเกิดความเปนธรรมกับคูกรณีในนิติสัมพันธ โดยเฉพาะอย่างย่ิงในนิติสัมพันธ์ที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในนิติสัมพันธ์อยู่ในฐานะผู้เสียเปรียบหรือถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้มีอำนาจในการต่อรองมากกว่า โดยในกรณีดังกล่าวนี้ รัฐก็มีหน้าที่ในการเข้าไปให้ความคุ้มครองและสร้างความเป็นธรรมให้เกิดกับบุคคลในสังคม ยกตัวอย่างเช่น การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคสินค้า หรือ ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น

.บทบาทของรัฐในการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนามนุษย์ในสังคม บทบาทสำคัญอีกบทบาทหนึ่งของรัฐก็คือการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในด้านต่างๆ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ การเมืองการปกครองรวมทั้งการบริหารจัดการสังคม ภายใต้บทบาทนี้เอง รัฐจึงมีหน้าที่ต่างๆดังนี้

() หน้าที่ในด้านการพัฒนาสังคม และ การพัฒนาคนในสังคม โดยที่สังคมประกอบด้วยมนุษย์ที่มาอยู่ร่วมกัน เมื่อมนุษย์ในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีก็จะส่งผลสังคมเกิดการพัฒนาและมีความมั่นคงในสังคมตามไปด้วย ดังนั้นรัฐจึงมีหน้าที่ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนในด้านการพัฒนามนุษย์ในสังคม โดยการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มนุษย์ในสังคมมีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการศึกษา

() หน้าที่ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต เพื่อทำให้มนุษย์ในสังคมมีความมั่นคงในชีวิต ส่งผลต่อหน้าที่ของรัฐในการที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในด้านการประกอบธุรกิจและการประกอบอาชีพ ในกรณีของประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดเสรี รัฐย่อมมีหน้าที่ในการสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไกตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

() หน้าที่ในด้านการเมืองการปกครองและการบริหารจัดการสังคม โดยรัฐมีหน้าที่ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มนุษย์ในสังคมมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง3 หน้าที่ในการส่งเสริมสนับนสนุนให้มีการใช้สิทธิในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในทางการเมือง เช่น การใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม เป็นต้น รวมไปถึง การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการสังคมหรือการบริหารจัดการบ้านเมือง

.๔ บทบาทในการกํากับดูแล 4 แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐในการกำกับดูแลนั้น เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดในการจัดทำหรือจัดให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะ โดยองค์กรที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลจะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลองค์กรที่อยู่ในกำกับดูแลเพื่อดำเนินการด้านการบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นกิจการหรือการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆที่อยู่ภายใต้การอำนวยการหรือในการควบคุมของฝ่ายปกครองเพื่อตอบสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชน ซึ่งกิจการเหล่านั้นโดยสภาพแล้ว ไม่อาจจะบรรลุผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ได้หากปราศจาก การแทรกแซงของอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย

ทั้งนี้ ลักษณะสำคัญของการบริการสาธารณะ () การบริการสาธารณะเป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้การอำนวยการหรือในการควบคุมของฝ่ายปกครอง () การบริการสาธารณะต้องมี วัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่()การบริการสาธารณะอาจมีการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้เสมอโดยกฎหมายทั้งนี้ต้องเพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมของประชาชน () การบริการสาธารณะจะต้อง เป็นการกระทำอย่างต่อเนื่อง () การบริการสาธารณะจะต้อง กระทำด้วยความเสมอภาค

ในการพิจารณาถึงลักษณะการบริการสาธารณะในประเทศฝรั่งเศสนั้น มีการจำแนกเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอยู่ด้วยกัน ๓ เกณฑ์ กล่าวคือ การพิจารณาโดยใช้ "องค์กรที่รับผิดชอบตามกฎหมาย" อันหมายถึง บุคคลตามกฎหมายมหาชน หรือ การพิจารณาจาก "วัตถุประสงค์ของภารกิจ" ซึ่งต้องพิจารณาถึงเรื่องของประโยชน์ที่สาธารณะจะได้รับ หรือ การพิจารณาจาก "เนื้อหาของกฎหมาย" ซึ่งใช้ในประเทศที่มีกฎหมายพิเศษแยกออกจากระบบกฎหมายแพ่ง​

การใช้อำนาจรัฐในการกำกับดูแลนั้น เป็นเรื่องของการใช้อำนาจของรัฐในฐานะที่เป็นองค์กรที่กำกับดูแลใช้อำนาจกำกับดูลหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กรในกำกับดูแลของรัฐที่ดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับการบริการสาธารณะ โดยองค์กรที่อยู่ในฐานะองค์กรที่ถูกกำกับดูแลจากรัฐนั้น มีทั้งในส่วนขององค์กรของรัฐเอง หรือรัฐวิสาหกิจ หรือ องค์การมหาชน หรือ เป็นเอกชนที่ได้รับสัญญาสัมปทานของรัฐในการดำเนินการกิจการด้านการบริการสาธารณะ หรือ เป็นองค์กรอิสระภายใต้การกำกับดูแลของรัฐก็ได้

การใช้อำนาจในการกำกับดูแลจึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลกับหน่วยงานหรือองค์กรภายใต้การกำกับดูแล โดยในการใช้อำนาจในการกำกับดูแลนั้นไม่ได้เป็นการใช้อำนาจในลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา การใช้อำนาจในการกำกับดูแลจึงเป็นการใช้อำนาจที่มีเงื่อนไข โดยหน่วยงานหรือองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลจะใช้อำนาจในการกำกับดูแลหน่วยงานในกำกับดูแลได้ต่อเมื่อกฎหมายให้อำนาจไว้และต้องเป็นไปตามรูปแบบที่่กฎหมายกำหนด ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญํติว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่่ กำกับกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ..๒๕๕๓5

 

() ลักษณะหรือรูปแบบในการจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์

การจัดการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบหรือลักษณะใดนั้นขึ้นอยู่กับสถานะว่ามีสถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร กล่าวคือ

() หากมีสถานะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล ย่อมส่งผลต่อผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการจัดสรรทะเบียนสมาชิก และส่งผลต่อการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในการจัดสรรเอกชน รวมทั้ง การกำหนดสถานภาพของเอกชน ซึ่งรัฐที่ใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนและเหนือประชากรก็จะเริ่มต้นดำเนินการเพื่อให้เกิดการรับรู้ของรัฐ (State Recognition) โดยการจัดทำเอกสารทางทะเบียน และ บังคับการให้เป็นไปตามสิทธิ

() ในกรณีที่มีสถานะเป็นนิติสัมพันธ์ ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงการเลือกใช้กฎหมายที่มีผลใช้บังคับกับนิติสัมพันธ์ ทั้งนี้ ในการพิจารณาประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับนิติสัมพันธ์ก็จะเป็นการพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของนิติสัมพันธ์ การบังคับให้เป็นตามสิทธิหน้าที่ตามข้อกำหนดในนิติสัมพันธ์ หรือ การสิ้นสุดแห่งนิติสัมพันธ์ ซึ่งในส่วนของความสมบูรณ์ของนิติสัมพันธ์โดยพิจารณาจากเรื่อง “แบบ” ของนิติสัมพันธ์ กฎหมายอาจมีการกำหนดให้การก่อนิติสัมพันธ์นั้นต้องเป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

() ในกรณีที่เป็น ทรัพย์สิน หรือ ทรัพย์สินอิเล็กทรอนิกส์ ย่อมส่งผลต่อ

หมายเลขบันทึก: 550602เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2013 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์หายไปนานมากๆ

สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท