ฮักแพงเบิ่งแญงขามเรียง (2) : มีอะไรในภาพถ่าย "ชีวิต คน ม.ขามเรียง"


ตั้งประเด็นให้แต่ละคนขบคิดทั้งในเชิงปัจเจกบุคคลและเชิงกลุ่มในทำนอง “...ข้อมูลที่สะท้อน หรือจัดแสดงนั้น สามารถยกระดับสู่การเป็นกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนอย่างไรได้บ้าง หรือแม้แต่สิ่งใด สามารถขับเคลื่อนเข้าสู่ระบบการพัฒนาทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ได้บ้าง...." รวมถึง "ภาพเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสำนึกรักษ์บ้านเกิดในหมู่เด็กและเยาวชนอย่างไรได้บ้าง.

เมื่อวาน (6 ตุลาคม 2556)  ผมเปิดเวทีโสเหล่เล็กๆ กับทีมวิจัยไทบ้าน (ฮักแพงเบิ่งแญงขามเรียง)  ซึ่งถือเป็นทีมวิจัยที่เกิดจากการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน-
       การพบปะพูดคุยครั้งนี้  วัตถุประสงค์หลักมีสองสามประการ เป็นต้นว่า  ทบทวนข้อมูล  สังเคราะห์ข้อมูล วางแผนการเคลื่อนงาน

       เวทีโสเหล่ดังกล่าว  เราใช้เวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมง  - เราตั้งใจเช่นนั้น  เพราะไม่อยากย่ำยึดอยู่แต่ในวังวนห้องประชุมให้ยาวนาน  จนแทบไม่หลงเหลือเวลาให้กลับออกไปใช้ชีวิตในโลกแห่งส่วนตัว หรือแม้แต่ในโลกแห่งสังคม

       แน่นอนครับ –
       เราล้วนรอคอยเวลาด้วยกันทั้งนั้น  หากแต่ในข้อเท็จจริง  เวลากลับไม่เคยรอคอยเราเลยแม้แต่น้อย

 

 

 

 

 

เวทีโสเหล่ที่ว่านี้  ผมได้พูดคุยถึงเวทีโครงการศิลปวัฒนธรรมอีสานที่เพิ่งผ่านพ้นมาสดๆ ร้อนๆ  เพราะนั่นคือพื้นที่ หรือเวทีของการ  “สะท้อนข้อมูล”  ที่ได้จากการลงพื้นที่ของผมและทีมงานฯ 

           ผมเล่าให้ทีมวิจัยไทบ้านฟังในทำนองว่า  

            “... เราเปลี่ยนรูปแบบการสะท้อนข้อมูล หรือคืนข้อมูลให้กับชุมชนในรูปแบบใหม่  ไม่ใช่ไปนั่งบอกเล่า หรือบรรยาย หรือแม้แต่แจกเอกสารเหมือนที่มักคุ้นชินกันมา หากแต่คราวนี้  เรานำข้อมูลที่ได้มาจัดองค์ทรงเครื่องใหม่ให้น่าสนใจไปกว่าเดิม  บางเรื่องถูกแปลงเป็นสารคดี  บางเรื่องทำเป็นภาพถ่าย  บางเรื่องออกร้านแสดงผลงาน  บางเรื่องจัดแต่งเป็นนิทรรศการ  บางเรื่องเชื้อเชิญขึ้นเวทีเป็นวิทยากรร้องรำทำเพลง  บางเรื่องเชิญให้สาธิตแบบสดๆ เรียกได้ว่าทุกอย่างแตะต้องสัมผัสได้  ...”

 

ครับ – ผมคิดว่านั่นคือวิธีการหนึ่งที่น่าจะลองทำดู  คงไม่ได้ผิดแผก นอกรีตของการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น (กระมัง)

 

 

 

 

 

และนอกจากนี้  ผมยังตั้งคำถามคำทีมวิจัยให้คิดต่อยอดจากปรากฏการณ์เหล่านั้นหลายเรื่อง  เช่นกรณีนิทรรศการภาพถ่าย (วิถีชีวิตคน ม.ขามเรียง)  นั้น  ทีมวิจัยไทบ้าน  สามารถอธิบายได้หรือไม่ว่า   “...ภาพเหล่านั้น  เกี่ยวโยงกับวิถีวัฒนธรรม   หรือบริบทชุมชนของตนเองอย่างไร...”

(เพราะภาพเหล่านั้น  ล้วนเชื่อมร้อยอยู่กับนาฏการณ์ชีวิตคนในชุมชนทั้งนั้น  ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมการหาอยู่หากิน,วัฒนธรรมซื้ออยู่ซื้อกิน,ประเพณี ความเชื่อ,สถานที่สำคัญ,กิจกรรมทางสังคม)

 

 

 

 

 

นอกจากนั้น  ยังตั้งประเด็นให้แต่ละคนขบคิดทั้งในเชิงปัจเจกบุคคลและเชิงกลุ่มในทำนอง “...ข้อมูลที่สะท้อน หรือจัดแสดงนั้น สามารถยกระดับสู่การเป็นกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนอย่างไรได้บ้าง หรือแม้แต่สิ่งใด สามารถขับเคลื่อนเข้าสู่ระบบการพัฒนาทั้งในมิติของสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม หรืออื่นๆ ได้บ้าง...."

รวมถึง  "ภาพเหล่านี้  จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสำนึกรักษ์บ้านเกิดในหมู่เด็กและเยาวชนอย่างไรได้บ้าง...”

 

 

 

 

 

        ครับ – ถือเป็นการทิ้งประเด็นให้มีการทบทวนกันอีกครั้ง 
          ผมว่านั่นคือกระบวนการหนึ่งของการ  “สร้างทีมวิจัย”  ในมิติของผมเอง 
          ผมพร้อมเสมอที่จะ "ร่วมคิดและร่วมทำ"  กับชาวบ้าน  แต่จะให้  "คิดแทน"  ชาวบ้านนั้น  มันคงเป็นได้เฉพาะเรื่องบางเรื่องเท่านั้น  
          และถ้าเป็นไปได้  ก็คงเน้นเรื่องการ "จุดประกายทางความคิด"   เสียมากกว่า

 

และท้ายที่สุดก่อนแยกย้ายกลับสู่โลกแห่งชีวิตและการงานของแต่ละคน
         ผมฝากให้หัวหน้าทีมวิจัยไทบ้านฯ   ได้ช่วยปรับแต่งแผนงานที่เหลือใหม่ร่วมกันอีกครั้ง  พร้อมๆ กับการฝากคิดต่อไปว่า  การลงชุมชนในครั้งถัดไป  “...จะดีมั๊ย  หากเรานำภาพถ่ายเหล่านี้ไปจัดแสดงรอไว้ในหมู่บ้านนั้นๆ...”

 

 

 

ครับ- ผมไม่ได้บอกหรอกว่า

           “...ทำไมต้องทำ หรือมันสำคัญอย่างไร หรือแม้แต่จะใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนกระบวนการอย่างไร....”   (เพราะเชื่อว่า ทีมวิจัยฯ ฮักแพงเบิ่งแญงขามเรียง มีศักยภาพที่จะตีความและเข้าใจในสิ่งที่ผมพยายามจะสื่อสารไป)

 

 

 

 

 

หมายเหตุ

การจัดนิทรรศการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนข้อมูลบริบทและทุนทางสังคมในระยะที่ 1 จากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เรื่อง “รูปแบบและกลไกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของนิสิตและชุมชนเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพชุมชนเทศบาลตำบลขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม”   อันเป็นผลพวงหนึ่งจากการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน


หมายเลขบันทึก: 550404เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 10:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

 

 

"ภาพเหล่านี้  จะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสำนึกรักษ์บ้านเกิดในหมู่เด็กและเยาวชนอย่างไรได้

บ้าง...”

 

ชอบ เวทีโสเหล่ " ของอาจารย์ จังเลย  สนใจแนวคิดหลักสูตรเกี่ยวกับชุมชนจ้ะ  แต่ในระดับประถมคง

ทำได้ยาก นะ   ขอบคุณบันทึกที่น่าติดตามจ้ะ

สวัสดีครับ อ.คุณมะเดื่อ

ไม่ว่าระดับใดก็ตาม  ให้เด็กๆ เรียนรู้ผ่านกิจกรรม/โครงการ  ซึ่งได้ลงมือทำ ทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มนั่นแหละครับดีที่สุด และทรงพลังที่สุด  เพียงแต่ให้ชัดเจนว่า  ทำอะไร  เพราะอะไร  ด้วยวิธีการใด  เพื่ออะไร และได้อะไร (บ้าง)

ผมเชื่อว่า  อย่างน้อย เมื่อลงมือทำ เขาจะได้เรียนรู้กระบวนการต่างๆ มากมายก่ายกอง ...
อย่างหน้อยก็การรับมือกับสถานะ และสภาวะต่างๆ ที่เป็นตัวเข้ามาท้าทายให้สร้าง รับมือ และคลี่คลาย...


คนที่รู้เรื่องของชุมชนได้ดีที่สุด คือ เจ้าของชุมชน ......

การจุดประกายความคิด และคอยสนับสนุนการต่อยอดความคิดของคนในชุมชน น่าจะดีมากๆ ในระยะยาวนะคะ

 

เป็นกำลังใจให้กับงานที่ท้าทายฝีมือ ท้าทายต่อความสำเร็จนะคะ 

สู้ สู้ นะคะ น้องชาย

 

                 กว่าจะเป็นบัวที่บานได้ มิใช่ง่าย ต้องอาศัยปัจจัยมากมายค่ะ  แต่เมื่อบานวันใด ก็สว่างไสว สดใส สดชื่นหัวใจนะคะ

 

 

สวัสดีครับ พี่ Bright Lily

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับการกระตุ้นให้คนในชุมชน ได้คิด ออกแบบและต่อยอดกันเองให้ได้มากที่สุด  ผมเองก็กำลังท้าทายต่อกระบวนการเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด  ซึ่งรู้ดีว่า ไม่ง่ายเลย...แต่การได้ทีมชาวบ้านมาเป็นแกนหลักเช่นนี้  ช่วยให้ผมผ่อนคลายไปมากโขเลยทีเดียวครับ

 

คนคุณภาพ... ทำงานคุณภาพที่เกิดผลประโยชน์สู่ชุมชนเสมอมา

ชื่นชมและให้กำลังใจเสมอนะคะ น้องแผ่นดิน

...คิดถึงเสมอค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์พนัส

- ได้อ่าน กระบวนวิถี ส่วนหนึ่งของการดำเนินงานวิจัย เรื่อง "รูปแบบและกลไกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของนิสิตและชุมชนเพื่อ เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพชุมชนเทศบาลตำบลขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ของอาจารย์ ....

ต้องขอชื่นชม   ///และ ขอแสดงความคิดเห็น เกี่ยว ระเบียบวิธีวิจัย  ที่อาจารย์ เลือกใช้....นั่นคือ "รูปแบบและกลไก"  ที่อาจารย์  กำลังจะพัฒนา  เพื่อตอบโจทย์ ที่อาจารย์  ตั้งไว้ ...

เรานำข้อมูลที่ได้มาจัด องค์ทรงเครื่องใหม่ให้น่าสนใจไปกว่าเดิม  บางเรื่องถูกแปลงเป็นสารคดี  บางเรื่องทำเป็นภาพถ่าย  บางเรื่องออกร้านแสดงผลงาน  บางเรื่องจัดแต่งเป็นนิทรรศการ  บางเรื่องเชื้อเชิญขึ้นเวทีเป็นวิทยากรร้องรำทำเพลง  บางเรื่องเชิญให้สาธิตแบบสดๆ เรียกได้ว่าทุกอย่างแตะต้องสัมผัสได้  ...”

- อาจารย์  มาได้ถูกทิศ ถูกทาง  จริง ๆ ค่ะ---

- สุดท้าย  งานนี้  จะ "ลุ่มลึก" เมื่ออาจารย์ สามารถ สะท้อนงานวิจัยคุณภาพเชิงบรรยาย ได้ตามข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้อย่างมีคุณค่า-----

- จะคอย  ติดตาม  ผลงาน ชิ้นนี้ นะคะ

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • วิถีชีวิตคนในชุมชนน่าสนใจจังเลยครับ
  • ดูอบอุ่นและน่าค้นหาครับ

โอเคค่ะ น้องชาย ... คงมีสักวันที่สำเร็จค่ะ

น่าสนใจมากค่ะ หลากหลายวิธีการคืนข้อมูล

สวัสดีครับพี่ติ๋ว กฤษณา สำเร็จ

ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจนะครับ....
สำหรับผมแล้ว การทำงานในชุมชน เสริมพลังชีวิตให้กับผมเป็นอย่างยิ่ง เพราะเ็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ทำให้ผมรู้สึกตลอดเวลาว่าได้ทำเพื่อบ้านเกิด ถึงแม้บ้านเกิดที่ว่านี้ จะไม่ใช่บ้านเกิดโดยแท้จริงของตัวเอง แต่ก็เป็นบ้านเกิดในนิยามของความเป็นไทย และเป็นบ้านเกิดของ "มมส" ด้วยเช่นกัน ครับ


สวัสดีครับ อ.Joy

ปัจจุบันการถ่ายภาพชวยเก็บข้อมูลได้รวดเร็วดีครับ และสามารถนำมาประยุกต์สื่อสารได้อย่างหลากหลายมิติ เก็บรักษาได้คงทน แต่กระนั้นทั้งผมและทีมงานก็ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการ "ทำมือ" อยู่วันยังค่ำนะครับ เพียงแต่ครั้งนี้มีโจทย์ของการสะท้อนให้เห็นในอีกมิติหนึ่งเฉยๆ ครับ

สวัสดีครับ ว่าที่ ครูอาร์ม

วิถีชีวิตชุมชน
เป็นวิถีวัฒนธรรมที่มีความเป็นสากลอย่างไม่ต้องสงสัยครับ
วิถีชีวิตชุมชน ก็เป็นแบบเรียนที่ทรงพลังสำหรับการเรียนรู้ของคนเรา

....ขอบคุณครับ........

สวัสดีครับ พี่ Bright Lily

ครับ,สักวันจะสำเร็จ ....การรอคอยบนพื้นฐานของการลงมือทำ
คือปัจจัยและวิธีการที่ผมและทีมงานยึดมั่น ครับ

ครับ พี่หมอ ทพญ.ธิรัมภา

ทุกอย่างทั้งผมและทีมงานก็เรียนรู้ผ่านการลงมือทำดีๆ นั่นเอง ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท