มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

บทบาทของมหาวิทยาลัย กับ การสร้างวัฒนธรรมการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainability)


"Sustainable development is...development that meets the needs of the present without compromising the ability of further generations to meet their own needs." - World Commission on Environment and Developmeny (1987)

พันธกิจข้อนึงของ UBC คือ การสร้างวัฒนธรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชนมหาวิทยาลัย โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ว่าจะเป็น ชุมชนแบบอย่าง (model) ในด้านนี้เลยทีเดียว

ประสบการณ์ที่เรียนที่นี่มา 4 ปี  ยิ่งนานวันยิ่งรู้สึกว่าอย่างน้อย เราึคนนึงนี่หล่ะที่ "ถูกเปลี่ยน" ไปในทางที่ดีขึ้น ในเรื่องการคำนึงถึงผลกระทบของตนเองต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เมื่อเราได้อยู่ในชุมชน (ในกรณีนี้คือ มหาวิทยาลัย) ที่มีโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) ที่ส่งเสริมให้รักธรรมชาติรวมทั้งเพื่อนมนุษย์ ให้คิดการไกล ให้เห็นใจกันและกัน และเห็นใจรุ่นลูกรุ่นหลาน... เมื่อเราได้อยู่ในชุมชนที่มี "เพื่อน" มี "แนวร่วม" ในการที่จะทำตัวให้ดีขึ้น อะไรๆมันก็ง่ายขึ้นจริงๆ

UBC มีออฟฟิศ ที่รับผิดชอบด้านนี้แยกออกมา จัดโครงการหลากหลายมาก

มหาวิทยาลัยนี้ใหญ่ และ มีการปกครองคล้ายกับเมืองพิเศษเมืองนึงเลยทีเดียว มีไร่สวนในมหาวิทยาลัย มีร้านขายผักผลไม้ไร้สาร มีสหกรณ์ที่ดำเินินการโดยนักศึกษา มีร้านกาแฟ fair-trade ส่งเสริมความแตกต่างในสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าเรื่องเพศ ผิว หรือ ศาสนา

UBC มีระบบรีไซเคิลเอง ทำปุ๋ยเอง มีนโยบายประหยัดน้ำไฟจริงจัง ตึกเรียนก็ถูกออกแบบให้ใช้แสงอาทิตย์มากที่สุด ใช้ไฟและเครื่องทำความร้อนน้อยที่สุด (เช่นการหักมุมของหน้าต่าง ตำแหน่งและจำนวนหน้าต่าง ที่เข้ากับทิศของตึก) ล่าสุดคือมีการเปิดหลักสูตรสอนและทำวิจัยสาขานี้โดยเฉพาะ

ที่สำคัญคือ การ "ย้ำ"  ไม่ใช่จัดโครงการเป็นครั้งๆแล้วหมดไป  โรงเรียนได้ส่งเสริมให้นักศึกษาคิดถึงผลกระทบของสิ่งที่ตนเองทำต่อทั้ง "สังคม ระบบนิเวศ และ เศรษฐกิจ" อย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรม โครางการ ข่าว ป้ายโฆษณา สัมมนา workshop

(ตอนที่อธิการบดีมาพูดเรื่องนี้ ถึงเพิ่งรู้ว่าท่านใช้รถ hybrid  ท่านโชว์ว่าท่าพก step meter ด้วย คือสนับสนุนให้เดินเยอะๆ) 

recycle

ในฐานะที่เราเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน สิ่งที่เราทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด เช่น

  1. ขึ้นรถเมล์เป็นหลัก ไม่ต้องขับรถ หรือ ถ้าขับก็ชวนคนอื่นมาด้วย (share ride/ car pool)
  2. ซื้อสินค้า (เช่น กาแฟ ผัก ผลไม้) ที่ผ่านพ่อค้าคนกลางที่เป็นธรรม (fair-trade) หรือ ซื้อตรงจากผู้ผลิตในชุมชน (direct-trade)
  3. ใช้กระดาษสองหน้า
  4. ลดการใช้แก้ว /ภาชนะ ที่ใช้แล้วหมดไป ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ  พลาสติก หรือ โฟม ให้ใช้ ทัปเปอร์แวร์ หรือ แก้วกาแฟมีฝา หรือ กระติกน้ำ แทน แล้วล้างเอา
  5. ถ้าจะไปช็อป ให้คิดดีๆว่าซื้อของมือสองได้ไม๊ หรือ ขอแลกกับเพื่อนฝูงเอา (ใช้บริการ web เช่น craigslist หรือ freecycle )
  6. เตรียมกระเป๋าผ้าไปจ่ายตลาดเอง ลดปริมาณถุงพลาสติก
  7. เอาหินก้อนใหญ่หน่อยใส่ไว้ในที่เก็บน้ำของส้วม ฟังดูเหมือนบ้าแต่ประหยัดน้ำได้ผลจริง!                                  
          ฯลฯ

อีกหนึ่งข้อสำคัญที่ที่นี่ทำกันได้ผลคือ ทำปุ๋ยจากขยะอินทรีย์ (เช่นเปลือกและแกนผลไม้ ผักส่วนที่โดนหั่นทิ้ง ถุงชาที่ใช้แล้ว เปลือกไข่ เศษใบไม้หรือวัชพืชที่ถูกถอน ฯลฯ)

เพราะ 1/3 ของขยะแต่ละวันที่ไปลงเอยเปลืองที่ถมขยะของจังหวัดนั้นจริงๆทำปุ๋ยกันใช้เองได้ที่บ้าน/แผนก

แทบทุกแผนก ทุกคณะที่ UBC จะมีถังขยะแยกสำหรับขยะอินทรีย์ (มีฝาปิด) แล้วทางมหาวิทยาลัยจะมีคนมาเก็บเอาไปทำปุ๋ยที่ถังรวม 

แต่ไม่รู้ว่าอากาศบ้านเราจะเหมาะกับข้อนี้รึเปล่า แล้วหนอนที่ใช้ที่นี่กับที่บ้านเราจะเหมือนกันรึเปล่า 

อ่านต่อเรื่อง worm bin ได้ที่นี่ค่ะ  ที่บ้านเราที่นี่ก็มีอยู่ 3 ถัง วางไว้ที่ระเบียง ลดปริมาณขยะได้จริงๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 55015เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 07:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท