โอกาส อุปสรรค และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสปา(เพื่อเสริมสวย) : ฉบับแก้ไข


ในการประกอบธุรกิจใดๆ ย่อมจะพบโอกาส อุปสรรค ในธุรกิจนั้นๆ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมจะมีกฏหมายต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อความนี้จะสื่อถึงโอกาส อุปสรรค และกฏหมายที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสปา(เพื่อสุขภาพ) ตามความคิดเห็นของผู้นำเสนอ หากผิดพลาดประการใดหรือมีข้อเสนอแนะโปรดแนะนำ

ถาม : โอกาส อุปสรรค และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสปา(เพื่อเสริมสวย) : ฉบับแก้ไข

 ตอบ :

ปัจจัย

โอกาส

อุปสรรค

กฏหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

กำไร(Interest) - เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น ขายผ่านทางโทรศัพท์- เพื่อสาขาและเพิ่มการกระจายสินค้า- หาพันธมิตรในการขยายธุรกิจ- ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น อินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย - เกิดการขาดทุนในระยะแรก เนื่องจากเป็นกิจการที่เปิดใหม่ ทำให้ยังไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภค - กฏหมายภาษีอากร- พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต เป็นข้อกำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายชำระค่าภาษีที่เป็นหน้าที่อันพึงจ่ายเป็นรายปี 
ลูกค้า(Client) - ขยายกลุ่มลูกค้าเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น- จัดหากลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยการจัดโปรโมชั่น - มีผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันเป็นจำนวนค่อนข้างมาก ทำให้ลูกค้าเข้าไปใช้บริการของกิจการรายอื่น - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข จะช่วยคุ้มครองผู้บริโภค ให้ผู้ประกอบกิจการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยของผู้บริโภคตลอดระยะเวลาที่ผู้บริโภครับบริการในสถานประกอบการนั้นๆ- กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
ทุน(Capital) - การกู้เงินจากสถาบันกรเงิน เพื่อนำมาลงทุนในกิจการ เช่น สถานที่,อุปกรณ์- ขยายการลงทุนเพิ่มในรูปแบบของธุรกิจใหม่ - การลงทุนในกิจการค่อนข้างสูง - กฏหมายที่เกี่ยวกับการประกันภัย- กฎหมายการกู้ยืม
ผิดกฎหมาย(Wrong doing) - การนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาในกิจการ - มีการลอกเลียนแบบ ละเมิดลิขสิทธิ์- แรงงานมีการนำเข้ามาในกิจการอย่างผิดกฏหมาย - กฎหมายแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงาน ป้องกันมิให้ผู้ประกอบการนำแรงงานที่ไม่ ถูกต้องมาให้บริการในสถาน  ประกอบการ รวมถึงผู้ที่ให้บริการนวดจะต้องมีใบรับรอง(ฝีมือ)  มาตรฐานฝีมือ เพื่อการบริการอย่างถูกขั้นตอน ตามหลักสากล
การดำเนินธุรกิจ(Business Process) - หาแหล่ง(ทำเล)ที่เหมาะสมใกล้กับกลุ่มลูกค้า- บริษัทที่ปรึกษาในการประกอบธุรกิจสปา(เสริมความงาม) ในปัจจุบันมีอยู่หลายหน่วยงาน- จัดหาแรงงานเข้ามากิจการ โดยการติดต่อกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน,กระทรวงแรงงาน- จัดหาสินค้าที่ได้รับรองมาตรฐานเข้ามาใช้ในกิจการ เช่น ผลิตภัณฑ์ OTOP- การขออนุญาตประกอบกิจการ,จดทะเบียนบริษัท,เครื่องหมายการค้า - มีสินค้าทดแทนจำนวนมาก- ทำเลที่ตั้งที่จัดหาอาจไม่เหมาะสมหรือจัดหาไม่ทันเวลา- จัดหาแรงงานไม่ทันตามกำหนดเวลา- การขออนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ ไม่สามารถขอได้ทันตามที่กำหนดไว้ - พระราชบัญญัติประกันสังคม- พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์- กฎหมายที่เกี่ยวกับการเช่าทรัพย์สิน- กฏหมายที่เกี่ยวกับการจัดตั้งสถานประกอบการ
หมายเลขบันทึก: 54996เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เห็นรูปเอกอนงค์ ต้องรีบมาดูค่ะ รออ่านค่ะ

การแก้ไขงานทำได้ดีนะครับ

ตอนนี้กำลังหาข้อมูลและเตรียมการอยู่ ไม่รู้จะเริ่มยังไง ไม่รู้จะไปปรึกษาใครดี ช่วยด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท