เกษียณ….คุณได้รับอะไรบ้าง


ถึงเวลาคลาไคลวัยเกษียณ
ได้หมุนเวียนเปลี่ยนมาต้องลาพัก
แต่ใจจักอยู่ใกล้ไม่หน่ายหนี
ขอจงมีความสุขกายสุขใจ
ทั้งห่างไกลโรคภัยภยันตราย
ชีวิตภายภาคหน้าจงเจริญ
สิ่งที่ได้ล่วงเกินโปรดให้อภัย
ส่งใจถึงใจให้กันตลอดไป

โดยคุณ doohubจาก toursisaket.com

เกษียณ.คุณได้รับอะไรบ้าง

สำหรับเรื่องประโยชน์อันพึงมีพึงได้ของข้าราชการเมื่อเกษียณอายุราชการขอแยกอธิบายเป็น 2 ประเภท คือผู้เป็นสมาชิก กบข. และ ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.

ผู้เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับบำนาญรายเดือนคือผู้ที่ยังไม่ต้องการตัดขาดจากระบบราชการยังประสงค์จะเป็นข้าราชการบำนาญ และรัฐยังอุดหนุนจุนเจือในด้านสวัสดิการต่างๆอยู่ต่อไป เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร สำหรับประโยชน์ที่ได้ คือ

1. เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วย เงินชดเชย เงินประเดิม เงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข.จัดให้ คุณสามารถดูยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข.ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปี พร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีประจำปีของคุณ

2. เงินบำนาญรายเดือน. คำนวณจากนำเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย แล้วนำมาคูณด้วยอายุราชการ หารด้วย50 แต่ต้องไม่เกิน 70 % ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เช่น คุณมีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเท่ากับ

30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี คำนวณได้ดังนี้

= 30,000 x 35
50

= 21,000 แต่เงินบำนาญที่จะได้รับต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือน และอายุราชการต้องไม่เกิน 35 ปี

3. เงินบำเหน็จดำรงชีพ คุณจะได้ 15 เท่า ของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 400,000 บาท โดยแบ่งจ่าย 2 ครั้งครั้งแรกไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อปลดเกษียณ และครั้งที่ 2 เมื่ออายุครบ 65 ปี จ่ายที่เหลือ จากกรณีที่ยกตัวอย่างคุณจะได้ 15 เท่า ของ 21,000 บาท เป็นเงิน 315,000 บาท จ่ายเมื่อปลดเกษียณ 200,000 บาทเมื่อครบ 65 ปี จ่ายอีก 115,000 บาท

4. เงินบำเหน็จตกทอด เมื่อผู้รับบำนาญถึงแก่กรรมก็จะมีบำเหน็จตกทอดแก่ทายาทอีก 30 เท่า ของบำนาญรายเดือน จากกรณีตัวอย่าง ทายาทจะได้ 315,000บาท คำนวณได้เท่าไรก็รับไปทั้งหมดโดยไม่แบ่งจ่ายทายาทที่จะได้จะเป็นทายาทที่ผู้ถึงแก่ความตายได้แสดงเจตนาไว้

ผู้เป็นสมาชิก กบข. และเลือกรับบำเหน็จ

คือผู้ที่ต้องการเงินก้อนไปในคราวเดียว ประโยชน์ที่ได้ คือ

1. เงินก้อนจาก กบข. ประกอบด้วยเงินสะสม เงินสมทบ และเงินจากผลประโยชน์ตอบแทน เงินส่วนนี้เป็นเงินก้อนใหญ่ก้อนแรกที่ทาง กบข.จัดให้ คุณสามารถดูยอดเงินก้อนนี้ได้จากใบแจ้งยอดของ กบข. ที่แจ้งมาให้ทราบในทุกสิ้นปีพร้อมกับหลักฐานเพื่อลดหย่อนภาษีประจำปีของคุณ

2. เงินบำเหน็จ คำนวณจากนำเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณด้วยอายุราชการ เช่น เงินเดือนสุดท้ายเท่ากับ30,000 บาท และอายุราชการ 35 ปี จะคำนวณได้เท่ากับ 30,000 x 35 = 1,050,000 บาท

สำหรับผู้ที่ไม่เป็นสมาชิก กบข.คิดง่ายๆ คือ

บำนาญ ให้นำเงินเดือน ๆ สุดท้าย คูณอายุราชการ หารด้วย 50 เช่น เงินเดือน 36,020 บาท อายุราชการ 35 ปี นำมาคำนวณได้เท่าไรก็รับไป นอกจากนี้ผู้ที่เลือกรับบำนาญจะได้เงินบำเหน็จดำรงชีพ และเงินบำเหน็จตกทอดเช่นเดียวกับสมาชิก กบข. บำนาญที่จะได้รับคือ 25,214 บาท

บำเหน็จ ให้นำเงินเดือนๆสุดท้าย คูณด้วยอายุราชการ เช่น เงินเดือน 36,020 บาท อายุราชการ 35 ปี เงินที่ได้รับคือ1,260,700 บาท โดยคำนวณได้เท่าไรก็จะรับไปทั้งหมดเลย

ข้อสำคัญ ต้องระมัดระวังในการใช้จ่ายให้มาก ลูกหลานเห็นท่านพอจะมีพอเดือดร้อนอะไรก็จะมาหา ท่านก็เมตตาให้หยิบยืมไปบรรเทาความเดือดร้อน ถ้ามากๆเข้าก็จะหมดไปในพริบตานะ คราวนี้ละที่เคยมาก็ไม่มา ว่ามีแล้วจะคืนก็ไม่คืน จะมาเดือดร้อนตอนแก่นะ.....

ที่มา

http://www2.diw.go.th

หมายเลขบันทึก: 549477เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 18:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2013 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณข้อมูล  ความรู้ดีๆ ครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท