การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้


การเรียนรู้

ภายใต้กระแสการผลักดันประเทศให้ก้าวไปสู่ความทันสมัยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่กระแสการพัฒนาประเทศในมิติดังกล่าวกลับส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดจนความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ต่างๆ ดังนั้นเพื่อการอยู่รอดของสังคม ภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปต่างพยายามคิดค้นหาแนวทางรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
              หากแต่เทคนิค  วิธีการ เครื่องมือ  กิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นเป็นเพียงการขับเคลื่อนที่ก่อเกิดเฉพาะผลระยะสั้น แต่ไม่อาจสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของตน และพึ่งตนเองได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ภาครัฐ ภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิชาการ และภาคประชาชนยังต่างคนต่างทำ
              กล่าวคือ นักวิชาการมักสร้างทฤษฎีแนวคิดที่ไม่ตอบสนองกับความต้องการของเจ้าของปัญหา  องค์กรภาครัฐมุ่งพัฒนาและผลักดันเครื่องมือ หรือกิจกรรมที่ตนคิดให้    ประชาชนใช้แก้ปัญหา โดยมิได้คำนึงถึงความหลากหลายของพื้นที่และความ      ซับซ้อนของปัญหา และมิได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่คนในชุมชนให้สามารถคิดค้นวิธีการในการแก้ไขปัญหาของตนเอง 

ในส่วนของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาเองก็เคยชินที่จะรอให้องค์กรภาครัฐจัดการเป็นธุระให้ หรือถึงแม้ภาคประชาชนที่รวมตัวกันหาทางออกให้กับปัญหาของตนเองก็กลับมองข้ามความจำเป็นของการสร้าง และจัดการองค์ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ และใช้ฐานทางวิชาการเข้ามาสนับสนุนการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนของตน  ต่อชุมชนที่เหมาะสมและเป็นรูปธรรมชัดเจนเท่าใดนัก หรือที่พอจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้บ้างก็ไม่มีความยั่งยืน ยิ่งไปกว่านี้ การที่ภาคส่วนต่างๆ มุ่งสร้างความรู้ และแนวทางของตัวเองยังส่งผลให้องค์ความรู้และเทคนิควิธีการที่ได้เป็นเพียงแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างผิวเผินเท่านั้น
               ด้วยเหตุนี้ แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ หรือ
“Community Action Research (CAR)” จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาให้มาเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Collaborative knowledge creation)   โดยผ่านกิจกรรมหลัก 3 ประการ คือ การวิจัย (Research) การพัฒนาศักยภาพ (Capacity Building) และการปฏิบัติจริง (Practice) ซึ่งแบบแผนของกิจกรรมดังกล่าวเป็นกระบวนการที่แนวคิด CAR เชื่อว่าจะช่วยให้เกิดการสร้างและพัฒนาทฤษฎี เครื่องมือ และแนวทางการดำเนินงานแบบใหม่ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสนับสนุนให้บุคคล กลุ่มบุคคลไม่ว่าจะในระดับปัจเจก ทีมงาน องค์กร หรือสังคมพัฒนาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) ที่สามารถปรับตัวและพัฒนาได้อย่างมั่นคงภายใต้ความผันแปรของสังคมในปัจจุบัน 

 

หมายเลขบันทึก: 54935เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท