สรุปบทเรียนการดำเนินงาน KM เมืองนคร ตอนที่5


การเปิดโอกาสของคุณอำนวยตำบล ให้เวทีเป็นของประชาชนแสดงความคิดเห็นและอภิปรายกันได้เต็มที่จึงเป็นการให้แกนนำเหล่านั้นได้ทำได้ปฏิบัติ

      1. การพัฒนาศักยภาพของคุณอำนวยหมู่บ้าน (แกนนำหมู่บ้าน)

        ๑.๕ แนวโน้มที่แกนนำหมู่บ้านจะพัฒนาความสามารถเป็น    คุณอำนวยหมู่บ้าน
    จากการจัดกระบวนการที่ผ่านมาพบว่า การที่จะให้แกนนำพัฒนา  เป็นคุณอำนวยหมู่บ้านนั้นสามารถทำได้แต่ต้องมีองค์ประกอบ หลายอย่าง ที่มีที่เป็นอยู่แล้วมีโอกาสที่จะเป็นได้ในบางคน บางหมู่บ้าน ซึ่งตรงนี้คิดว่าเพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจ และทำไม่ได้ ทำไม่เป็น หรืออาจเป็นเพราะยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคุณกิจแกนนำที่เพิ่งจะ เรียนรู้กระบวนการ ที่สำคัญแกนนำไม่มีจิตสาธารณะ  ไม่มีใจในการร่วมคิดร่วมทำ ขาดติดต่อประสานงานในทีม คุณกิจแกนนำ ด้วยกันเอง     ที่ผ่านมาคุณอำนวยตำบลต้องไปกระตุ้น จึงจะเกิดการปฏิสัมพันธ์กันหากไม่ไปกระตุ้นก็ไม่ทำอะไร
       จากบทเรียนที่ได้บอกได้ว่าการที่เพิ่มสมรรถนะ ให้กับแกนนำหมู่บ้านเพื่อพัฒนาเป็นคุณอำนวยหมู่บ้านนั้น จะต้องมีการคัดเลือกแกนนำที่ดีมีคุณภาพ และสามารถพัฒนาด้วยวิธีการฝึกอบรม และการปฏิบัติจริง มีการเสริมความรู้ความเข้าใจ การสร้างขวัญและกำลังใน การสร้างจิตสำนึกในการรักชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดใจที่อยากพัฒนา ที่สำคัญคือต้องหาตัวตายตัวแทน หรือต้องมีคนมาฝึกและรับช่วง การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง


    ๑.๖ ตัวอย่างคุณกิจแกนนำหมู่บ้านที่มีความรู้ความสามารถ ในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้
       ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ของโครงการจัดการความรู้ แก้จนเมืองนคร ได้มีคุณกิจแกนนำของหมู่บ้านบางคนที่มี ีความรู้ความสามารถ ได้พัฒนาตนเองจนปฏิบัติงานร่วมกับ ทีมคุณอำนวยทำให้โครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร บรรลุเป้าหมาย ซึ่งคุณกิจแกนนำเหล่านี้ได้พัฒนาตนเอง จากการฝึกอบรมทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของ คุณกิจแกนนำและมีความเสียสละเพื่อส่วนรวม และความตั้งใจในการเรียนรู้ตามกระบวนการนอกจากนั้นแกนนำ เหล่านี้ยังได้ปฏิบัติงานจริงๆ แม้ตอนแรกเริ่มโครงการยังไม่กล้า ที่จะแสดงออกแต่จากแรงกระตุ้น และการเปิดโอกาสของคุณอำนวย ตำบล ให้เวทีเป็นของประชาชนแสดงความคิดเห็นและอภิปราย กันได้เต็มที่จึงเป็นการให้แกนนำเหล่านั้นได้ทำได้ปฏิบัติทั้งการ นำกระบวนการในกลุ่มย่อย การเขียนแผ่นชาร์ต การนำเสนอ และการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม จึงมีแกนนำที่มีความ สามารถในการ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของ โครงการร่วมกับ คุณอำนวยตำบล ซึ่งมีคุณกิจแกนนำตัวอย่างที่ทำหน้าที่ได้ดี เช่น

  • ผู้ใหญ่อาคม  สุวรรณปากแพรก  แกนนำของบ้านบางพุทรา 
หมู่ที่ ๑ ตำบลบางจาก   เป็น แกนนำที่ได้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นทุนเดิมอยู่แล้วและได้ดำเนินกิจกรรมในลักษณะนี้มานาน โดยได้เริ่มก่อตั้งโรงสีชุมชน ให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกสีข้าวฟรี  รายได้ของโรงสีคือการขายรำข้าว ซึ่งผู้ที่ซื้อส่วนใหญ่ก็เป็นสมาชิกเพื่อเป็นอาหารสำหรับ เป็ด ไก่ ปลา หมู  ก็นำมาซื้อพ่อแม่พันธุ์เป็ด ให้สมาชิกยืมไปเลี้ยง เมื่อขยายพันธุ์ได้ ก็ส่งพ่อแม่พันธุ์คืน เพื่อให้สมาชิกคนอื่นยืมต่อไป นอกจากนี้ยังมี กลุ่มต่าง ๆมากมายที่ได้ดำเนินการ เช่นกลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงปลา  ผู้ใหญ่อาคมเป็นคนที่มีความคิดในเรื่องของการนำชุมชนให้พัฒนา โดยยึดหลักพอเพียง เมื่อเข้าร่วมโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ผู้ใหญ่อาคมบอกว่าตอนนี้กำลังเสนอ อบต. ของบสนับสนุนเพื่อใช ้เป็นรางวัล ให้กับครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้าน โดยให้คนในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการส่งครัวเรือนตนเองเข้าประกวด มีกติกาว่า ครอบครัวไหนใช้จ่ายของกินของใช้จากตลาด น้อยที่สุดก็จะชนะการประกวด โดยมีคณะกรรมการลงไปประเมิน เป็นระยะ นับว่าเป็นความคิดที่ดี  ในการร่วมกระบวนการเวที ผู้ใหญ่อาคม ยังเป็นผู้ที่เปิดประเด็นในการแลกเปลี่ยนได้ดี และยังหาคนที่มีความรู้ ความสามารถมาถ่ายทอดสิ่งดีๆ ให้กับคุณกิจในเวทีทุกครั้ง
  • ท่านรองเสถียร  รัตนโชติ  แกนนำบ้านบางหลวง หมู่ที่ ๓ 
ตำบลท่าไร่ 

ด้วยความเป็น  ข้าราชการบำนาญและการปฏิบัติตน ที่เสมอต้นเสมอปลาย และความมีใจที่จะพัฒนาบ้านเกิดของท่าน เป็นที่รักและศรัทธาของบรรดาคุณกิจผู้เข้าร่วมโครงการ ทุกครั้งที่จะเปิดเวทีของศาลาการเปรียญที่วัดบางหลวงท่านรองเสถียร จะ นำผู้เข้าร่วมโครงการสวดมนต์ใหว้พระเพื่อยึดเหนี่ยวจิตใจ แล้วท่านพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้ผู้เข้าร่วมโครงการฟัง พร้อมกับให้ทบทวนบทเรียนจากประสบการณ์ในวิถีชีวิตเพื่อนำ ทางในการตั้งเป้าหมายชีวิตของคุณกิจในแต่ละครั้ง ในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ท่านได้พัฒนากลุ่มอาชีพเก่า ที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น โดยท่านมีแนวคิดว่าทำอย่างไรให้มีคนรู้จักกะปิ ของบ้านบางหลวงในโอกาสต่อไปให้ได้ ท่านได้เน้นถึงเรื่องของการ ตลาดและคุณภาพของผลผลิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุด  ในการจัดกระบวน การ เรียนรู้ในเวทีทุกครั้ง ทีมคุณอำนวยตำบลมักจะได้เรียนรู้สิ่งดี ๆ ในเรื่องของการทำกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ บทเรียนมากมายจากท่านรองเสถียร   รัตนโชติ  แกนนำซึ่งมาก ด้วยประสบการณ์

 

  • นายสุกหรี  ระเบียบพร  แกนนำบ้านนาเคียนใต้ หมู่ที่ ๖
 ตำบลนาเคียน ท่านเป็นแกนนำที่ใช้           

หลักความพอเพียงที่มีอยู่แล้ว ในหลักศาสนาอิสลามมาเป็นเครื่องมือ และวิธีการที่จะดำเนินโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ในหมู่บ้านของท่าน ตำแหน่งโต๊ะอิหม่าม ทำให้ชาวบ้านเชื่อ และศรัทธาประกอบการใช้หลักศาสนาซึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นข้อปฏิบัติของประชาชนชาวมุสลิมด้วยแล้วก็ทำให้เวที ของตำบลนาเคียนคึกคักมากทีเดียว บังสุกหรีบอกว่าการแก้จนราย ครัวเรือนง่ายนิดเดียว ขอให้ทุกคนร่วมประชุม หมายถึงคนในครัวเรือน พ่อ แม่ ลูก มานั่งประชุมกันเพื่อหาแนวทางในการทำกิจกรรม ทุกคนต้องมีสิทธิแสดงความคิดเห็น ทำได้แล้วทุกครอบครัวจะหายจน

 

  • กำนันจรัสศรี ฮั่นตระกุล  แกนนำบ้านบางกระบือ หมู่ที่ ๖

ตำบลท่าไร่ 

ท่านกำนันได้ใช้ส่งเสริม กระบวนการจัดการความรู้แก้จน ท่านได้นำเสนอแนวคิดในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้อง กับวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนกับคุณกิจครัวเรือนในหมู่บ้านของท่าน ท่านเป็นแกนนำที่นำเสนอแนวคิดเก่งมากคนหนึ่ง เช่นในเวทีแรกท่านบอกว่า “พี่น้องทั้งหลาย การแก้จนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เรามองไม่เห็น เป็นสิ่งที่เราต้องพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน พี่น้องลองคิดและบอกซิว่า ในการที่เราจะแกงส้ม ๑ หม้อ ทำอย่างไรเราจึงเสียเงินใช้จ่ายสิ่งของจากตลาดน้อยที่สุด”  คำถามเดียวที่ถามในวันนั้นได้เกิดการกำหนดเป้าหมายครัวเรือน และยังเชื่อมโยงไปถึงประเด็นการลดรายจ่ายอื่น ๆ ด้วย และที่สำคัญท่านยังเป็นแกนนำในการที่จะฟื้นฟูและพัฒนากลุ่ม อาชีพเดิมที่มีอยู่แล้วขึ้นใหม่ เช่น กลุ่มทำเครื่องแกง และจะเป็นผลดีกับสมาชิกที่จะสามารถนำผลผลิตทางการเกษตร มาขายให้กับกลุ่ม เช่น พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น  เพื่อสร้างรายได้ ให้กับสมาชิกอีกทางหนึ่งด้วย

    ที่เล่ามาเป็นเพียงตัวอย่าง  ยังมีคุณกิจแกนนำอีกหลายคนใน ทุกหมู่บ้านที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการทำเวทีโครงการ จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร  บุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมากด้วย ประสบการณ์มีความพร้อมในการที่จะร่วมกระบวนการ สามารถที่จะนำพากระบวนการเรียนรู้ในกลุ่มย่อย และการนำเสนอในกลุ่มใหญ่  และที่สำคัญบุคคลเหล่านี้ มีจิตสาธารณะในการที่จะนำพาชุมชนสู่การพัฒนาให้เข้มแข็ง แบบยั่งยืน มีความเสียสละ  ทั้งกำลัง กำลังใจ  และกำลังปัญญา ในการทำหน้าที่คุณกิจแกนนำของชุมชน  รายละเอียดจะอยู่ ในเอกสาร ถอดบทเรียนเวทีแก้จนเมืองนคร ของทุกหมู่บ้าน

หมายเลขบันทึก: 54928เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 19:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมชอบตอนนี้จังครับ

เหตุที่ชอบ เพราะว่าเป็นตอนที่ตัวละครถูกยก ออกมาที่ละตัว เสียดายไม่มีรูป แต่ไม่พรือครับ

แต่ละตัวละคอน "คุณกิจแกนนำ" น่าสนใจครับ เพราะมีทั้งแง่มุมของการสะท้อนวิธีคิดของแต่ละท่าน และแง่มุม "พาทำ พาเรียน" ที่อยู่ปนๆ กัน จนคนที่ถูกพาไม่รู้สึกตัวว่ากำลังเรียนหลายๆ วิชาในเวลาเดียวกัน

น่าเรียนรู้มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท