นักศึกษาปริญญาโท
Mr. นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรและการสอน

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น


การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการศึกษาไทย
ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ   การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการศึกษาไทย   ขอบพระคุณมา ณ. โอกาสนี้ 
         
วัตถุประสงค์
     1.  เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาไทยในอนาคต
     2.  เพื่อให้ผู้สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้จาก Blog ไปปรับใช้ได้
หมายเลขบันทึก: 54922เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 12:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสมกับการศึกษาไทย  ถ้าเรานำมาใช้ให้ถูกทิศทางก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังรายละเอียดที่จะนำเสนอท่านดังนี้

แสดงความคิดเห็นเรื่อง  การนำ ICT มาใช้อย่างไรจึงเหมาะสมกับการศึกษาไทยโดย  นางสาวเสริมพร  บุญเลิศในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการดำรงชีวิตของเรามากขึ้นในทุกด้าน  แม้กระทั่งด้านการศึกษา  ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้มากเพิ่มขึ้น เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)  การสืบค้นต่างๆด้วยระบบคอมพิวเตอร์  การติดต่อสื่อสารไร้สาย  สิ่งต่างๆเหล่านี้มีประโยชน์ถ้านำมาใช้ในทางที่ถูกต้องเหมาะสม  และมีโทษเมื่อผู้ใช้ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้ตัวอย่างเช่น การนำภาพที่ไม่พึงประสงค์ตัดต่อและนำไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต  ทำให้เกิดความเสียหายในหลายฝ่าย  ถึงแม้มีการป้องกันแต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นได้การที่สถาบันการศึกษาต่างๆจะนำเอาเทคโนโลยีต่างๆมาใช้ทางด้านการศึกษา ต้องมีความพร้อมในหลายๆด้านเพื่อที่จะสามารถรองรับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นตามมาได้  ซึ่งในการที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ ต้องมีความพร้อมในด้านความรู้ในเทคโนโลยีนั้นๆ และเมื่อนำมาใช้แล้วเกิดประโยชน์อย่างไรบ้าง  และสามารถพัฒนาต่อให้เป็นประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้ สามารถเผยแพร่ได้  และที่สำคัญต้องมีจรรยาบรรณในการใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงจะทำให้การนำเอา ICT มาใช้อย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่เห็นที่อื่นเขามีก็มีบ้าง แต่เมื่อเรานำมาใช้แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์ก็จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเปล่าๆทั้งนี้การนำเอา ICT มาใช้ในการศึกษาไทยในปัจจุบันมีความสำคัญมากและส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง  ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีต่างๆได้เป็นอย่างดี  ซึ่งต่างจากการศึกษาในสมัยก่อนมาก  ดังบทความที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษา โดยที่สรุปใจความสำคัญและนำมาให้ทุกท่านได้อ่านดังนี้ บทความ เรื่อง  ในโลกของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาจากกระดานหิน ถึง Ipod”โดย รศ.ดร.สมศักดิ์  คงเที่ยงอาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่มา : วารสารวิทยาจารย์.  ปีที่  105  ฉบับที่  10 ,สิงหาคม  2549, หน้า 40-43.********************************คำว่า  เทคโนโลยี  เป็นคำไทยทับศัพท์ ซึ่งได้ถูกหยิบยืมมาจากภาษาอังกฤษ คือ technologyโดยใช้คำออกเสียงเช่นเดียวกับคำไทย  ความหมายในพจนานุกรมไทยและอังกฤษให้ความหมายของคำนี้อย่างกว้างขวาง แต่มีใจความสำคัญที่ตรงกัน คือ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในอุตสาหกรรม หรือในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการใช้หลักวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตหรือการทำงานเทคโนโลยีนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเลยทีเดียว  เทคโนโลยีเกิดขึ้นจากความพยายามของมนุษย์ที่ต้องการจะต่อสู้กับปัญหาต่างๆ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น การศึกษาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการคงอยู่ของสังคม และการศึกษาเอองก็มีประวัติศาสตร์ยาวนานคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษย์เช่นกันคำว่า  การศึกษา  Education ในภาษาอังกฤษนั้นเป็นคำที่มีความหมายที่ลึกซึ้งจนสามารถตีความหมายได้หลากหลาย แต่ความหมายของการศึกษาจากนักการศึกษาอย่างแท้จริง  คือการศึกษา  คือ การถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งและส่วนหนึ่งของความรู้ที่กล่าวถึง ก็คือ เทคโนโลยีในด้านต่างๆนั่นเอง  จึงเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลที่มนุษย์จะรู้จักนำเทคโนโลยีในแง่มุมต่างๆมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ เริ่มจากการที่มนุษย์รู้จักใช้หิน กระดูกสัตว์ หรือเศษวัสดุอื่นๆมาสลักรูปต่างๆบนแผ่นหิน ซึ่งเป็นการสร้างสื่อการเรียนรู้อย่างพื้นฐาน ด้วยสื่อดังกล่าวมนุษย์ปัจจุบันได้เรียนรู้แนวทางการดำรงชีวิตของมนุษย์ในอดีตได้จากนั้นเทคโนโลยีการเขียนก็ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การเรียนในระบบห้องเรียนได้เกิดขึ้นในสมัยกรีก(Greek) โดยการถ่ายทอดความรู้จากการสนทนา ถกเถียงกัน และการนำเสนอข้อความรู้ในรูปการวาดและเขียนตัวอักษรบนแผ่นหิน และได้ถูกพัฒนามาเป็นชอล์กบนกระดานดำ (Chalk and Black board) และปากกาหมึกเคมีลบได้บนกระดานขาว (White board and White board pen) จากนั้นปากกาและหมึกสร้างสรรค์ผลงานลงในกระดาษ ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า หนังสือโดยการคัดลอกจากต้นฉบับด้วยมือซึ่งใช้เวลามาก และได้พัฒนาจนเกิดเทคโนโลยีการพิมพ์ใน คริสศวรรษที่ 14-15  โดยกัตเทนเบอร์ก (Gutenberg) ซึ่งเป็นการปฏิวัติรูปแบบการศึกษาและเป็นต้นกำเนิดของการถ่ายทอดความรู้ในวงกว้างด้วยสื่อ และได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใช้เทคโนโลยีที่ใหม่และทันสมัยที่สุดเสมอ  จากหนังสือเป็นวิทยุ  จากวิทยุเป็นโทรทัศน์  และเพื่อความคล่องตัวเทปเสียงและวีดีโอเทปได้ถูกนำมาใช้บันทึกรายการทางการศึกษาอย่างแพร่หลายช่วงปี ค.ศ.1970-1980  และมาถึง ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงจากโลกสื่อต่อเนื่อง (Analog media) มาเป็นสื่อระบบดิจิตอล(Digital) ด้วยการนำของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปี ค.ศ.1990บทเรียนต่างๆเริ่มถูกนำเสนอโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของแผ่นบันทึกแม่เหล็ก(Floppy  disk)หรือแผ่นดิสค์(Disc) และในปี ค.ศ.2000 ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต (Internet) มีการสร้างบทเรียนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ในรูปแบบการนำเสนอที่สามารถโต้ตอบระหว่างผู้ให้และผู้รับความรู้ได้ในทันที ในรูปแบบหน้าอินเทอร์เน็ต (Website) ที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนรู้ได้จากทุกที่และทุกเวลา  ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในนาม “ e-learning ”  แต่ถึงกระนั้นผู้เรียนยังคงถูกจำกัดด้วยคุณสมบัติบางอย่างและขนาดของคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เกินความสะดวกที่จะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลา  ในปัจจุบันขณะที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พัฒนาอย่างรวดเร็วคอมพิวเตอร์ก็ถูกสร้างให้มีขนาดเล็กลง และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ทุกที่ ทุกเวลา  โยมีคุณสมบัติเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป  แต่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพิ่มเติม เช่น ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก สามารถทำงานได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเชื่อมต่อ                จากการสรุปประวัติศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างสังเขปข้างต้น  จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการนำเสนอได้ถูกนำมาทดลองใช้ในการศึกษาแทบทั้งสิ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่มีผู้นิยมใช้อยู่แล้วในด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในด้านการสื่อสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ เทป แผ่นดิสค์ในด้านการบันเทิง                สำหรับใน 2-3 ปีที่ผ่านมา  เทคโนโลยีเครื่องเล่น MP3 บน Hard disk หรือที่เรานิยมเรียกตามชื่อเครื่องเล่นในรุ่นและแบบที่นิยมที่สุดในชื่อ “ipod” เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการนิยมและการเพิ่มของจำนวนผู้ใช้อย่างสูงสุด  ซึ่งในตอนต้น ipod ถูกออกแบบโดยบริษัท Apple เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บและเล่นเพลงที่มีคุณภาพเสียงที่ดีและมีความจุสูง โดยเน้นที่ความบันเทิงเป็นจุดหลัก หลังจากที่ ipod ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อุปกรณ์และโปรแกรมเสริมต่างๆจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้ ipod ซึ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เช่น เทคโนโลยี  Podcast  ที่สามรถสร้างรายการวิทยุ หรือบทเรียนในเชิงสนทนาและเพื่อให้ผู้สนใจดึงข้อมูลมาฟังได้จากอินเทอร์เน็ต โดยจะเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของรายการ  และส่วนเสริมนี้เองที่ทำให้  ipod  ถูกมองว่าสามารถเป็นเครื่องมือช่วยในการศึกษาได้เป็นอย่างดีในอนาคต                ในปีที่ผ่านมา  ipod  ที่เคยเป็นเครื่องเล่นเพลงจอขาวดำ ก็ได้พัฒนามาเป็นสามรถบันทึกและแสดงรูปภาพที่เป็นสีที่มีความละเอียดสูงได้ โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Ipod  Photo  ซึ่งในปีการศึกษาที่ผ่านมา  มหาวิทยาลัยดุ๊ก (Duke  University) ประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้ทำการวิจัย โดยแจกเครื่อง Ipod  Photo  ให้กับนักเรียนที่เข้าเรียนใหม่ทั้งหมดเป็นจำนวน  1650  คน เพื่อใช้ช่วยในการเรียนการสอนตามความสมัครใจและวิธีการของผู้สอนแต่ละคน                หลังจากวัดผลสัมฤทธิ์เมื่อผ่านไป  1  ปีการศึกษา  พบว่า  Ipod  Photo  สามารถใช้ในการเรียนการสอน และช่วยในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้ดีในวิชาที่เกี่ยวข้องกับ ดนตรี ภา และศิลปะ และคาดว่าการเรียนการสอนในวิชาอื่นๆก็จะสามารถนำ Ipod  Photo มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ดีเช่นกัน  และในการทดลองประจำปีต่อไปและในปีนี้ได้มีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยเดร็กเซล (Drexel University) เริ่มทดลองใช้ Ipod  Photo เพื่อการศึกษาเช่นกัน                ถึงแม้ว่าการใช้ Ipod  เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาจะดูเหมือนสิ่งที่การศึกษารอคอยมานานและน่าจะประสพความสำเร็จในเชิงการใช้งานจริง  จนผู้ให้ความคิดเห็นบางคนถึงกับกล่าวในเชิงที่ว่า   “Ipod  จะปฏิวัติรูปแบบการศึกษาใหม่ให้มีคุณภาพสูงขึ้น                แต่คำพูดและความมุ่งหวังดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามานำเสนอเพื่อช่วยให้การศึกษาดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา  วิทยุในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา  หรือโทรทัศน์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เทป/วีดีโอเทปเมื่อ 10-15 ปี  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องในศตวรรษที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่ เป็นตัวแทนแห่งความหวังที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเพื่อการศึกษาที่ดีกว่า  แต่เทคโนโลยีนั้นต้องการเวลาอยู่มากเพื่อเข้ามามีบทบาทด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายหลังจาก  500  ปีผ่านมา  วิทยุ/โทรทัศน์และสื่อบันทึกเพื่อการศึกษาที่เพิ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับแต่ในวงจำกัด และถึงแม้คอมพิวเตอร์จะถูกใช้อย่างกว้างขวางในวงการศึกษา แต่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการเรียนรู้กลับให้ผลที่ด้อยกว่าที่หวังไว้มากนัก                และในวันนี้การเรียนการสอนหลักที่แพร่หลายที่สุด คือ การเรียนในห้องเรียนก็ยังมีลักษณะการเขียนและพูดแสดงเช่นเดียวกับครั้งเริ่มต้นของการเรียนรู้ของมนุษยชาติในอดีตกาล จากข้อมูลดังกล่าว  ถึงแม้เทคโนโลยีทางการศึกษาจะก้าวหน้าต่อไป และมนุษย์ยังคงแสวงหาอุปกรณ์สื่อที่จะเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติการศึกษาอีกครั้ง หลังจากเศษกระดูกและแผ่นหิน จนถึงหนังสือได้ประสพความสำเร็จเป็นตัวอย่างมาแล้ว  แต่ปัญหาหลักที่เราควรถามตัวเราเองก่อนควานหาเทคโนโลยีใหม่ๆเหล่านั้น  คือ  เทคโนโลยีที่ใหม่ล่าสุดในยุคดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจะสามารถช่วยการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพในวงกว้างได้จริงและเร็วเท่าที่เราต้องการหรือไม่  บางที่เราควรย้อนกลับมาทำความเข้าใจกับระบบการเรียนการสอนแบบเก่าและเริ่มพัฒนาจากความเข้าใจดังกล่าว จะดีกว่าหรือไม่                สรุป การนำเอาเทคโนโลยี Ipod  มาใช้นั้นเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา เพื่อพัฒนาให้การศึกษาดีขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลาในการพัฒนาให้สมบูรณ์ก่อนนำมาใช้ในการเรียนการสอนแทนรูปแบบต่างๆดั้งเดิมที่มีมา  ควรศึกษาถึงผลดีและผลเสีย และผลที่คาดว่าจะได้รับด้วย จะทำให้ระบบการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น   ********************************

 

ความสำคัญของ ICT นั้นจำเป็นอย่างมาก เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญถึงกับมีบทความดังนี้ โครงการ ICT Written by Administrator Monday, 10 January 2005 เนื่องจากยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล คือ การสร้างสังคมฐานความรู้ (Knowledge-Based Society) ที่เน้นการสร้างฐานความรู้ให้เกิดขึ้นในทุกระดับของชุมชน ซึ่งภายใต้การสร้างสังคมฐานความรู้ อาวุธหลักสำคัญประการหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้จักและเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเข้าถึงข้อมูลต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร้พรมแดนและปราศจากข้อจำกัดด้านสถานที่และเวลา หรือเพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เพื่อบริการที่ดีและสะดวกมากขึ้นจากผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน การที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนทั่วประเทศหันมาคุ้นเคยกับการใช้ ในชีวิตประจำวันเยี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อย่างเช่น โทรทัศน์ และตู้เย็น คงต้องใช้เวลาและคงต้องเริ่มจากคนกลุ่มหนึ่งก่อนที่จะขยายผลไปยังประชาชน กลุ่มใหญ่ทั่วทั้งประเทศ ดังนั้น แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศไทยไปสู่สังคมฐานความรู้จึงมีแผนยุทธศาสตร์การใช้ และการพัฒนา ICT มาใช้ในทุกด้านของชีวิตเป็นแผนยุทธศาสตร์หลัก ซึ่งภายใต้แผนยุทธศาสตร์การสร้างความคุ้นเคยในการใช้ ICT ทั่วประเทศ คือ แผนยุทธศาสตร์โครงการ ICT City คือ การสร้างเมือง ICT คือ เมืองที่กำหนดเป้าหมายให้ประชาชนเข้าถึง (Access) เครือข่ายสารสนเทศระดับโลก (Global Information Network) และบรรลุถึงเป้าหมายด้านความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน (Public/Private Partnerships) โดยใน ICT City จะเป็นเมืองที่มีการใช้ ICT ใน 4 มิติ คือ มิติของการศึกษา มิติของการดำเนินธุรกิจ มิติของวัฒนธรรม และมิติของการบริหารจัดการของภาครัฐ ทั้งนี้ เพื่อเป็นตัวอย่างความสำเร็จ (Prove of Concept) ในการปรับใช้ ICT มาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพื่อยกคุณภาพชีวิต โดยมีการนำร่องโครงการ ICT Cityใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต ก่อนที่จะขยายผลไปทั่วประเทศในอนาคต โครงการหนังสือ ICT Cityเล่มนี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อมาช่วยบอกกล่าวและประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นสื่อกลางในการพัฒนาโครงการ ICT City ว่าได้ดำเนินการโครงการไปแล้วอย่างไรบ้าง มีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง ในระดับท้องถิ่นกันเองมีผลการตอบรับการพัฒนา อย่างไร วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อสารถึงโครงการ ICT City ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ กลุ่มธุรกิจ และประชาชน 2. เพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ถึงโครงการ ICT City เพื่อสร้างให้ประชาชนเกิดความเข้าใจในโครงการอย่างดียิ่ง 3. เพื่อบอกกล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการให้กับรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน และประชาชนในจังหวัดอื่นๆ นอกจาก 3 จังหวัด ICT City 4. เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ ICT City 5. เพื่อสนับสนุนการประชาสัมพันธ์จังหวัดต้นแบบของ ICT City ให้กับจังหวัดอื่นๆ ได้ติดตามและศึกษาเป็นแนวทางเพื่อการปรับใช้การพัฒนาจังหวัดของตัวเอง 6. เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจ ICT มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลความคืบหน้าของโครงการเพื่อที่จะได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ 7. เพื่อเป็นสื่อกลางที่จะสร้างให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย สมาคมวิชาชีพ กลุ่มธุรกิจ และประชาชน 8. เพื่อสร้างให้เกิดความสนใจในการลงทุนในจังหวัด ICT City ของภาคธุรกิจเอกชนจากทั้งในและต่างประเทศ 9. เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ และอุตสาหกรรมทั้งภายใน 3 จังหวัด ICT City และระหว่างจังหวัด ICT City กับจังหวัดอื่นๆ คิดว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท