การติดตามประเมินผลกับคุณภาพครู?


สำหรับการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในระดับประเทศ ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐ สายบังคับบัญชาตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ฯลฯ ก็ทำหน้าที่ควบคุมไล่ระดับกันลงไป ที่ผ่านมาเห็นมีบ้างทางสื่อต่างๆ ก็เป็นเรื่องปรับย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่ง แต่ตลอดมาไม่เคยได้ยินสักครั้งว่า ผู้รับผิดชอบถูกย้ายหรือถูกสอบ เพราะผลการเรียนของนักเรียนทั้งประเทศตกต่ำ น่าอับอาย หรือการจัดการศึกษาของเราอยู่ท้ายสุด

การศึกษาบ้านเราไม่ไปไหนจริงๆ ล่าสุดการจัดอันดับของ World Economic Forum (WEF) ระบุคุณภาพการศึกษาไทยเราอยู่ในอันดับ 8 รั้งท้ายสุดในกลุ่มประเทศอาเซียน บางคนบอกการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนที่โรงเรียนนั่นเองที่ยังไม่ไปไหน ทำให้การศึกษาล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้ ก็น่าจะจริงอีกแหละครับ แต่ควรมองให้ลึกลงไปกว่านั้น แล้วที่การจัดการเรียนการสอนในห้องย่ำอยู่กับที่ ไม่ไปไหน เป็นเพราะเหตุใด สังคมมักจะโทษคุณภาพครูไว้ก่อน ในฐานะครูเจ็บปวดเหมือนกันครับ ที่เอะอะอะไรก็คุณภาพครู

เมื่อหลายปีก่อนโน้น ด้วยด้อยประสบการณ์ เคยนึกเอาเองแบบง่ายๆว่า จะแก้ปัญหาการจัดการศึกษาบ้านเราให้ได้ผลจริงจังหรือรวดเร็ว ก็ทำเพียงเพิ่มเงินเดือนครู วิชาชีพไหนได้เงินเดือนมากสุด ปรับเงินเดือนครูให้เท่านั้นเลย จากนั้นติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างเข้มงวด คนใดไม่ปรับปรุงแก้ไข หรือยังไม่เอาใจใส่ต่อการจัดการเรียนสอน ไม่สามารถพัฒนานักเรียนให้ได้ตามเป้าหมายหรือหลักสูตร ควรดำเนินการลงโทษทันที อาจจะเริ่มจากตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน อะไรก็ว่าไป ถ้ายังขืนดื้อดึงผิดซ้ำอีก หมายถึงประเมินซ้ำแล้วยังไม่มีอะไรดีขึ้น บทลงโทษต่อไปควรเด็ดขาด จะให้ออกหรือเชิญออกก็ต้องทำ ด้วยวิธีง่ายๆแค่นี้ การศึกษาบ้านเราน่าจะดีขึ้นทันตาเห็น แต่ไฉนไม่ทำกัน คงเป็นเพราะจะให้เงินเดือนครูมากๆ รัฐคงไม่มีเงินจ่าย หรือข้าราชการอื่นคงไม่ยอม ถ้าจะแตกต่างกันอย่างนั้น

แต่ยิ่งคิด ที่ว่าง่ายไม่น่าจะง่ายเสียแล้ว สมมติว่าทำได้จริง เงินเดือนครูสูงจริง ประเมินลงโทษจริง คำถามตามมาก็คือ จะให้ใครมาประเมินครู ครูด้วยกันเองไม่ได้อยู่แล้ว ผลประโยชน์ทับซ้อน ศึกษานิเทศก์ หรือผู้บริหารโรงเรียน จะมีความเป็นธรรมพอหรือเปล่า พรรคพวก เส้นสาย หรือเงินทอง จะเป็นตัวแปรเหมือนกับเรื่องอื่นหรือไม่ ยิ่งบ้านเราเรื่องพวกนี้กลายเป็นความปกติไปแล้ว ความรู้สึกครูหลายคนน่าจะเกิด แล้วเขาผู้นั้น(ผู้ประเมิน)มีดีพอที่จะตัดสินเราแล้วล่ะหรือ?

ถ้าอย่างนั้นกลุ่มผู้จะประเมินครู ก็ให้ผู้รับผิดชอบหรือผู้บริหารระดับสูงชั้นถัดขึ้นไปประเมินตัดสินการทำหน้าที่อีกชั้นหนึ่ง แต่ก็ด้วยคำถามเดิม คนที่จะมาประเมินผู้ประเมินครู ดีพอแล้ว เป็นธรรมแล้ว หรือเป็นตัวอย่างที่ดีแล้วหรือ พรรคพวก เส้นสาย หรือเงินทอง คงตามมาหลอกหลอนอีกเช่นเคย ครูดีอาจไม่ได้ดี ครูไม่ดีอาจได้ดีก็ได้ การศึกษาที่หวังว่าจะดีขึ้นด้วยวิธีง่ายๆด้วยการเพิ่มเงินเดือนครู คงจะสิ้นหวังเหมือนกับอีกหลายวิธี ถึงบางอ้อครับ มันไม่ง่ายอย่างนั้นดอก สำหรับการแก้ปัญหาการจัดการศึกษาบ้านเรา

อย่างไรเสีย เมื่อพิจารณามาถึงตรงนี้ ตัวเองเด่นชัดขึ้นมาในใจอยู่เรื่อง ปัจจัยของการจัดการศึกษาที่ล้มเหลว “การติดตามตรวจสอบที่ย่อหย่อน เกรงแต่จะลูบหน้าแล้วปะจมูก เพราะตัวเองก็ไม่ดีพอ หรืออำนาจชั่วร้ายจากค่านิยมพรรคพวก เส้นสาย หรือเงินทอง” น่าจะเป็นเรื่องสำคัญเลยทีเดียว

เคยได้ยินไหมครับว่า แผนการสอนของครูทำไว้เพื่อส่ง ทำไว้เพื่อตรวจว่ามีแล้ว ไม่ได้นำไปใช้สอนจริงในห้องเรียนเลย ทำให้ที่วางแผนจะสอนเรื่องนั้น เรื่องนี้ วันนั้น ชั่วโมงนี้ โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ด้วยสื่อนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีดีๆ ถูกละเลยไปโดยปริยาย ไม่มีครูคนใดตั้งใจไม่สอนอย่างที่ตัวเองพยายามคิดวางแผนไว้แน่ ปัจจุบันโรงเรียนมีระบบพัฒนาใหม่ๆเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนตั้งหลายอย่าง อาทิ ระบบประกันคุณภาพการศึกษา ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ฯลฯ แต่สำหรับการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งถือเป็นหัวใจของโรงเรียนแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ได้ มิใช่มาจากระบบหรือกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินการจัดการเรียนการสอน ที่ขาดความเอาจริงเอาจังดอกหรือ?

หน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาถัดจากโรงเรียนขึ้นไป ในเรื่องติดตามการจัดการเรียนการสอน ก็ปฏิบัติคล้ายกันนี้ ที่จะเข้ามาจ้ำจี้จ้ำไชว่าสอนอะไร สอนแบบใด ใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี เป็นไปตามหลักสูตรหรือเปล่า ได้ผลแล้วหรือไม่ แทบไม่มีเรื่องพวกนี้ให้ได้ยิน ถึงคราวต้องติดตามประเมิน ก็เข้ามาพูดๆคุยๆกับฝ่ายบริหาร หรือครูบางคน แล้วก็ให้โรงเรียนทำรายงานส่ง จบแค่นั้น มาประเมินติดตามแล้ว ให้เกียรติโรงเรียนที่จะพิจารณาตัดสินตัวเองด้วยตัวเอง หน่วยงานที่รับผิดชอบชั้นถัดขึ้นไปกว่านั้นอีก ก็คงจะรูปแบบเดียวกันกระมัง ไม่อย่างนั้นการจัดการเรียนการสอนในห้อง คงเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้วล่ะ

สำหรับการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาในระดับประเทศ ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐ สายบังคับบัญชาตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง เลขาธิการ ฯลฯ ก็ทำหน้าที่ควบคุมไล่ระดับกันลงไป ที่ผ่านมาเห็นมีบ้างทางสื่อต่างๆ ก็เป็นเรื่องปรับย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่ง แต่ตลอดมาไม่เคยได้ยินสักครั้งว่า ผู้รับผิดชอบถูกย้ายหรือถูกสอบ เพราะผลการเรียนของนักเรียนทั้งประเทศตกต่ำ น่าอับอาย หรือการจัดการศึกษาของเราอยู่ท้ายสุด

การติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาระดับชาติอีกอย่างเท่าที่เห็น เป็นบทบาทของฝ่ายค้านที่จะวิพากษ์ วิจารณ์ หรืออภิปรายไม่ไว้ใจการทำงานหรือผลงานของรัฐบาล แต่ก็อย่างที่เรารับรู้ แม้คำอธิบาย เหตุผลหรือข้อมูลจะดีหรือน่าเชื่อถือสักปานใด แต่สุดท้ายก็พ่ายแพ้เสียงโหวตข้างมากของรัฐบาลทุกคราวไป

ฉะนั้น เอาเข้าจริงแล้ว ในแต่ละภาคเรียนหรือแต่ละปีการศึกษา ครูจึงอาจจะนำเรื่องอะไรไปสอนในห้องก็ได้ ครบหรือไม่ครบ ตรงหรือไม่ตรงตามหลักสูตรก็ได้อีก เรื่องที่นักเรียนควรรู้จึงไม่รู้ ทั้งๆที่เห็นว่าครูก็สอนกันอย่างแข็งขัน ผลคะแนนสอบโอเน็ตตกต่ำ ได้ไม่ถึงครึ่ง ที่ได้ยินกันอยู่ทุกปี น่าจะฟ้องได้ระดับหนึ่งในกรณีนี้เพราะสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) ผู้รับผิดชอบการออกข้อสอบยืนยันเสมอมาว่า วัดเนื้อหาสาระตรงตามหลักสูตรแล้ว

ด้วยผลสอบโอเน็ตชี้ถึงมาตรฐานของโรงเรียนด้วย ทุกวันนี้โรงเรียนจึงใช้วิธีติวหรือสอนพิเศษ ซึ่งคล้ายการสอนกวดวิชาแก้ปัญหาผลการสอบโอเน็ตของนักเรียน ขณะที่การเรียนการสอนในห้องยังคงเป็นไปด้วยรูปแบบเดิมๆ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก นับตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษา หรือมีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

การที่ครูสามารถจะสอนอะไรในห้องก็ได้ อันเนื่องมาจากผู้รับผิดชอบขาดความเอาใจใส่ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล นอกจากผลการสอบโอเน็ตที่เห็นกันแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นอีกนานัปการ วิธีสอนดีๆ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้คิดวิเคราะห์-สังเคราะห์ ไม่เน้นแต่การท่องจำ สื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ เทคโนโลยีที่ปัจจุบันละเลยไม่ได้แล้ว คุณธรรมจริยธรรม โรคเอดส์ ยาเสพติด ท้องก่อนวัยอันควร ฯลฯ เหล่านี้จะแค่ผ่านเลยไป หรือถูกเมินเฉย

คงมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนในห้องไปไม่ถึงไหน หรือคุณภาพการศึกษาของบ้านเราไม่ไปไหน คุณภาพครูคงปฏิเสธไม่ได้ แต่เท่าที่พิจารณาเพิ่มเติมแค่บางเรื่องตามที่กล่าวมา อาทิ การติดตามประเมินผลการจัดการเรียนสอน เรื่องนี้เรื่องเดียวก็น่าจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษายิ่งกว่า

(พิมพ์ในมติชนรายวัน , 23 กุมภาพันธ์ 2557)

หมายเลขบันทึก: 549166เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2015 08:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

....  ตามมาอ่านค่ะ .... ทำงาน สายสา'สุข .... ก็มีการสอนคนไข้ค่ะ .... สอนเรื่อง พฤติกรรม อาหาร ยา สิ่่งที่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพ ....  ... วันนี้พบคนที่เป็นความดันโลหิตสูงท่านหนึ่ง .... แพทย๋สั่งยา ลดความดันโลหิต ... ให้ทาน วันละ1ครั้งก่อนนอน (1 ครั้งต่อวัน) .... แต่เธอทาน เช้า-เย็น ... กลายเป็น 2 เวลาต่อวัน .... ความดันโลหิตต่ำวูบลงเลยค่ะ ....

    เดียวนี้หมอ-พยาบาล ... ต้องเป็นคุณครูด้วยนะคะ ติดตามประเมินผลว่า .... คนไข้ปรับยาเองหรือไม่นะคะ ... ท่านอาจารย์สบายดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ 

เท่าที่ผ่านมาไม่เห็นการประเมินใดที่สามารถนำไปพัฒนาได้จริง...เกรงใจ...

ประเมินไปให้ครบวาระ

ขาดคุณภาพอย่างแท้จริง...ยังไม่เคยเห็น  การประเมินแล้วมีการพัฒนาให้ดีขึ้น

สำหรับจังหวัดตรังค่ะ อาจเป็นเฉพาะ รร. ครูหยิน

555

ครูหลายคนมักจะบอกนักเรียนของตนว่า ให้ทำอย่างที่ครูสอน (แนะ)  แต่อย่าทำอย่างที่ครูทำ

จุดมุ่งหมายของหลักสูตร + วิธีการสอบเข้าระดับอุดมศึกษา น่าจะส่งผลต่อวิธีการเรียนการสอนของครู นักเรียน

เพื่อวิทยฐานะ เพื่อหลักสูตร ฯลฯ สารพัน  ท้ายที่สุดนักเรียนที่ไร้โอกาสเรียนเสริม เรียนพิเศษ

มักจะพลาดโอกาสในการศึกษาต่อให้สูงขึ้น  เรื่องมันดูวกวนนะครับ  จุดเปลี่ยนที่สำคัญน่าจะอยู่ที่ครู

ต้องมีวิญญาณความเป็นครูเพิ่มขึ้น  อุทิศตนเพื่อวิชาชีพเพิ่มขึ้น (ตู..ก็ทำอยู่แล้ว  ไส้จะแห้งเงินทองไม่พอใช้

จะให้ทำอะไรอีก...)  เอวัง ! การศึกษาเมืองไทย

ประเมิน...ตามสภาพจริง...จริงตามสภาพหรือเปล่า
รายงานเพียงแต่เอกสารหรือเปล่า
คำถามหลากหลาย....
คำตอบมากมี
ถ้าแค่มองที่เด็กเป็นสำคัญ...หลายๆปัญหาก็คลี่คลายค่ะ

  • ไม่ว่า่งานไหน จะทำอะไร การติดตามประเมินผล จำเป็นต้องทำอย่างเข้มแข็งด้วยนะครับ ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่รู้จริงหรอก ว่าผลลัพธ์หรือสาเหตุที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร หรือคืออะไรกันแน่..
  • ขอบคุณDr.Pleครับ

จะเรียกร้องจากใคร..ให้ครุรุ่นใหม่..มีวิญาณความเป้นครูไม่ใช่ครุะูรกิจ

สงสาร เวทีการศึกษาของนักเรียนที่รุนแรงขึ้นทุกวัน  

การสึกษาเพื่อธุรกิจครูระบาดหนักกับครูสายพันธ์ุใหม่

  • ประสบการณ์ตัวเองตลอดเป็นครูมาเชื่อว่า การประเมินติดตามการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ ตั้งแต่โรงเรียนขึ้นไปเลย น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของคุณภาพการศึกษา แม้แต่การประเมินของสมศ.เองในทุกวันนี้ก็ตาม แต่ทุกๆครั้งที่สังคมวิพากษ์ มักจะเหมาเสมอว่าเพราะคุณภาพครู
  • ขอบคุณครูหยินครับ
  • การศึกษา สุดท้ายไม่พ้นครูนะครับ แต่ถ้าอยากแก้ให้สำเร็จ อีกหลายปัจจัยควรจะต้องทำด้วยพร้อมๆกัน คล้่ายผู้เกี่ยวข้องก็รู้ดี ว่าควรทำอย่างไร และก็คงเข้าใจ(อย่างยิ่ง)ว่าแก้การศึกษา จะให้เร็วนั้นคงยาก ฉะนั้นเพื่อให้เห็นผล เพื่อเป็นคะแนนเสียงในวันข้างหน้า ซึ่งอีกไม่นาน จึงต้องหาอะไรที่จับต้องได้ นับได้ เห็นชัด โดยเรื่องสำคัญ เป็นเหตุจริงๆ ซึ่งอาจยากและนาน ทำเฉยๆไปก่อนเสีย..
  • ขอบคุณคุณคณิน อุดมความสุขครับ
  • ดูว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูและโรงเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด ทำ นำเสนอ ด้วยตัวเองบ้างหรือเปล่า เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบ้างมั้ย? หรือยังเป็นแบบเดิมๆ แค่นี้ก็น่าจะพอ แต่ที่ผ่านๆมาการจัดการเรียนการสอนในห้องของครู น้อยนักครับที่จะมีใครหรือผู้ประเมิน(ต่างๆ)สนใจจริงๆ ทั้งๆที่มักพูดถึงกันเยอะหรือบ่อยๆครับ 
  • ขอบคุณครูnoktalayครับ

พี่ครูครับ

กระบวนการประเมินบ้านเรามันเบี้ยว ไม่ตรง ขนาดมหาวิทยาลัย ผู้บริหารบางท่านหาดียากครับ

ตรงนี้

เห็นด้วยครับ

เคยได้ยินไหมครับว่า แผนการสอนของครูทำไว้เพื่อส่ง ทำไว้เพื่อตรวจว่ามีแล้ว ไม่ได้นำไปใช้สอนจริงในห้องเรียนเลย ทำให้ที่วางแผนจะสอนเรื่องนั้น เรื่องนี้ วันนั้น ชั่วโมงนี้ โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ด้วยสื่อนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีดีๆ ถูกละเลยไปโดยปริยาย ไม่มีครูคนใดตั้งใจไม่สอนอย่างที่ตัวเองพยายามคิดวางแผนไว้แน่ 

ขอบคุณครับ

  • ประสบการณ์ตรงตัวเองเห็นว่า การเรียนการสอนที่โรงเรียนไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนักครับ นับตั้งแต่ปฏิรูปการศึกษาเป็นต้นมา ยิ่งพอมาได้ยิน เราเป็นท้ายสุดในอาเซียนแล้ว ยิ่งเศร้าใจครับอาจารย์ และที่เราเองทำได้ก็คือ ตั้งใจสอนเด็กหรือลูกศิษย์เราให้มากยิ่งขึ้นอีก..
  • ขอบคุณอ.ขจิตมากครับ

พยายามสอนให้แหวกแนวจากกรอบหลักสูตร แต่ก็ยึดหลักสูตรไว้ครับ

สอนโดยใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละบุคลนะครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท