ชุมชนเรียนรู้ : ความก้าวหน้าการเรียนรู้ของกลุ่มข้าวชุมชน


การแตกหน่อทางความคิดโดยเกิดการทดลองใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
          ผมมีความก้าวหน้าของกลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งที่เราได้นำกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปสนับสนุนและปรับใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของกลุ่ม โดยผ่านการพัฒนาตัวเจ้าหน้าที่ที่เป็นนักส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล  แล้วนำแนวคิดไปปฏิบัติต่อการจัดกระบวนการ ลปรร.กับเกษตรกร  ซึ่งก็ได้ผลทั้งที่เป็นงานที่ต้องปฏิบัติและการเรียนรู้กระบวนการทำงานส่งเสริมการเกษตร
          กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองกองนี้ เริ่มต้นด้วยการนำกระบวนการวิจัย PAR เพื่อผลิตพืชให้ปลอดภัย (ข้าว) ไปดำเนินการร่วมกับกลุ่ม  ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ  แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติมจากวิจัย PAR ก็คือการคัดและเพาะพันธุ์ข้าวที่ได้จากการไปศึกษาดูงานกับกลุ่มฯ ที่จังหวัดพิจิตร เลยเกิดกิจกรรมการคัดและเพาะพันธุ์ข้าวอีกกิจกรรมหนึ่ง
          บันทึกนี้ผมเลยขอนำผลการดำเนินการของกลุ่ม หรือการเรียนรู้ของกลุ่มมาเพื่อแลกเปลี่ยนกับชาวบล็อก Gotoknow.org เพื่อให้เห็นกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านและความก้าวหน้าของกิจกรรมการคัดและเพาะพันธุ์ข้าว   เผื่อจะเป็นประโยชน์กับนักพัฒนา/นักส่งเสริมการเกษตร ที่จะนำไปปรับใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ในพื้นที่ได้บ้าง เชิญชมภาพและรายละเอียดอย่างย่อๆ ได้เลยครับ
         
  • เริ่มต้นจากการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดพิจิตร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549  (ลิงค์อ่าน) ดูการผลิตข้าวปลอดสารพิษ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการผลิตของกลุ่ม
  • ความก้าวหน้าของกิจกรรมการคัดและเพาะพันธุ์ข้าวของกลุ่ม เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549  (ลิงค์อ่าน)

  • ภาพถ่ายเมือวันที่ 27 กันยายน  2549  จะเห็นต้นข้าวที่คัดพันธุ์และนำมาเพาะลงกระถางใหม่ (นอกจากนี้กลุ่มยังเตรียมกระถางใหม่ไว้อีกประมาณ 100 ใบ เพื่อคัดและเพาะพันธุ์อีกรุ่นหนึ่ง
  • กระถางเพาะพันธุ์ข้าวรุ่นแรก ที่เพาะหลังจากการไปศึกษาดูงานที่จังหวัดพิจิตร (เพาะวันที่ 20 มิถุนายน 2549) นำมาวางไว้ที่ถนนหน้าบ้านพี่นคร  เพชรสังฆ์ บริเวณกลางหมู่บ้าน เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้ด้วย

 

  • นี่ก็เป็นการทดลองเพาะในกระถางเพาะชำ เพื่อทดลองก่อนการลงแปลงปลูก
  • คุณนคร  เพชรสังฆ์  เล่ากระบวนการเพาะพันธุ์ข้าว ซึ่งเป็นการเรียนรู้ของกลุ่ม ให้แก่กลุ่มเกษตรกรต่างหมู่บ้านที่มาร่วมเวที ลปรร. ได้เรียนรู้ด้วย

          บทสรุปเบื้องต้น : สิ่งหนึ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในการทำงานกับกลุ่มฯ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ได้นั้น น่าจะเกิดจาก

  • การเป็นนักประสานงานที่ดีของตัวเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ที่ต้องเข้าไปทำงานและเรียนรู้อย่างใกล้ชิดกับกลุ่มเกษตรกร และทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • การเข้าไปคัดเลือกและสร้างแกนนำ โดยเน้นที่ผู้นำอาชีพตามธรรมชาติเป็นหลัก  
  •  การหาวิธีการกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในกลุ่มอาชีพ เช่น การพูดคุย  การนำเข้าร่วมประชุมกับแกนนำอื่นๆ การนำไปษาดูงาน เป็นต้น
  • เป็นเรื่องที่เป็นความต้องการจำเป็นของกลุ่มอย่างแท้จริง ไม่ใช่ความต้องการของเจ้าหน้าที่
  • กระบวนการเรียนรู้ ตามแนวทางการมีส่วนร่วม(ชุมชนวิจัย/PAR) ซึ่งอาจจะไม่ค่อยยึดติดกับรูปแบบหรือระเบียบวิธีที่เคร่งครัดจนเกินไป น่าจะเหมาะสมในการติดอาวุธทางปัญญาให้กับกลุ่ม จะเห็นได้จากการแตกหน่อทางความคิดโดยเกิดการทดลองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน
  • ฯลฯ

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

 

คำสำคัญ (Tags): #par#อาหารปลอดภัย
หมายเลขบันทึก: 54890เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 Smiley Hedge เรียนท่านสิงห์ป่าสัก ใจรักร่วมพัฒนา

 ท่านจะนำ Poster ไปในงาน มหกรรม KM แห่งชาติ เพื่อแสดงด้วยงหมครับ





เรียน อาจารย์หมอ JJ

  • ไม่ได้จัดทำครับ ที่เนื้อหาเกี่ยวกับการทำงาน/สนับสนุน KFC(op)
  • ต้องลงทะเบียนก่อนใช่ไหมครับ (ต้องขออภัยด้วย..ผมยังไม่ได้ลงทะเบียน)

 

เรียนท่านสิงห์ป่าสัก

 ได้แจ้งชื่อท่านไปที่ท่าน ธวัช แห่ง KMI (คลิก) แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับครับ มี ๘ ท่าน ดังนี้ครับ

Awardsท่านที่ประสงค์จะอยู่ในโควต้า ขณะนี้มีดังนี้ครับ

  ๑.๑ ท่านBeeMan

  ๑.๒ ท่านชายขอบ

  ๑.๓ ท่านคนดอย(ปูนแก่งคอย)

  ๑.๔ ท่านกนิษฐา

  ๑.๕ ท่านสิงห์ป่าสัก

  ๑.๖ ท่านพี่เม่ย

  ๑.๗ ท่านขจิต

  ๑.๘ ท่านจุรีรัตน์

  อ่านได้ในนี้ครับ (คลิก)





คุณประโยชน์ของ PAR ชนิดที่ว่าสงสัยเรื่องใดก็ใช้กระบวนการ PAR เรื่องนั้นได้เลยใช่ไหมครับ...อย่างนี้แล้วก็แน่นอนว่าจะแตกหน่อต่อยอดทางความคิดความรู้ การกระทำได้สักไม่รู้เท่าไหร่...ใช่ไหมครับ

เรียน  อาจารย์หมอ JJ

     กราบขอบพระคุณอาจารย์มากครับ 

เรียน ครูนงเมืองคอน

  • ถูกต้องแล้วครับ...แตกหน่อการเรียนรู้ไปอย่างไม่สิ้นสุด
  • เสียดายที่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนแบบนี้  ต้องค่อยเป็นค่อยไป ขยายจากจุดเล็กๆ อย่างช้าๆ (หว่านแหไม่มีทางสำเร็จ) แต่ก็น่าจะมีความยั่งยืนกว่าการทำงานพัฒนาที่คนนอกหรือรัฐเข้าไปจัดตั้ง หรือคิดให้อย่างแน่นอนครับ

การเพาะพันธุ์ข้าวมีกี่วิธีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท