การแพทย์แผนจีนกับการแพทย์แผนปัจจุบัน


<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 12pt" class="MsoNormal" align="justify">ทำไมการรักษาในแนวแพทย์ทางเลือกโดยเฉพาะแผนจีนจึงได้รับความ สนใจจากผู้มารับบริการกันมากขึ้น ทั้งการรักษาฝังเข็มและ การใช้ยาสมุนไพร ปัจจุบันในประเทศไทย มึโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งในระดับจังหวัดและอำเภอเปิดให้ บริการแพทย์ฝังเข็มในรูปแบบคลีนิคผู้ป่วยนอก [OPD] อยู่ประมาณ 200-300 แห่ง แพทย์ฝังเข็มเกือบทั้งหมดเป็น แพทย์ที่สำเร็จการอบรมวิชาฝังเข็ม ที่กระทรวงสาธณสุขจัดอบรมร่วมกับ รพ.หัวเฉียวและมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ ในขณะนี้มีแพทย์ผู้จบการอบรมแล้วทั้งสิ้น ประมาณ 700 คน ในจำนวน นี้มีประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งยังคงประกอบวิชาชีพทางด้านนี้กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 12pt" class="MsoNormal" align="justify"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 12pt" class="MsoNormal" align="justify"></p>  การรักษาโรคแผนปัจจุบัน การวินิจฉัยโรคของแพทย์แผนปัจจุบันจะให้ความสำคัญกับอวัยวะและระบบการทำงานที่ เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับอาการหลักที่นำผู้ป่วยมาหาแพทย์ ในขณะที่แพทย์แผนจีนจะไม่ได้้มองไปที่ระบบ การทำงานของอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเป็นพิเศษ แต่จะวินิจฉัยไปทั้งร่างกายโดยมอง ถึงความสมดุลย์ของร่างกาย ในภาพรวมว่ามีส่วนไหนในร่างกายที่น้อยลงไป และมีส่วนไหนในร่างกายที่มากเกินไป ภาพที่จะเห็นได้ก่อน ในองค์รวมของร่างกายก็คือ อาการที่ป่วยมีลักษณะ ไปในแนวทางไหนในแนวหยิน[Yin] หรือ หยาง[Yang] <p></p> <p align="justify"> หลักการและแนวคิดของทฤษฏีแพทย์แผนจีน [TCM, Traditional Chinese Medicine] เป็นความเข้าใจและ หลักการ ที่มีีพื้นฐานและมุมมอง มาจากความสมดุลย์ของธรรมชาติ เช่น มีร้อน/มีเย็น มีขาว/มีดำ มีบน/มีล่าง มีสว่าง/มีมืด มีชาย/มีหญิง มีกลางวัน/มีกลางคืน เป็นต้น กล่าวเป็นคำรวมๆถึงสภาพสมดุลย์ของ ธรรมชาตินี้ว่าเป็นสภาพ หยิน/หยาง [Yin/Yang] ภายในหยินเองก็มีหยางอยู่ และภายในหยางเองก็มีหยินอยู่ เช่น ในตอนเช้าๆ จะมีสภาพเป็นหยาง เพราะเริ่มสว่าง  ความสว่างเป็นหยาง ที่มีหยินอยู่น้อย และความมืดมีสภาพเป็นหยิน  สภาพหยางจะถึงจุดสูงสุด ตอนเที่ยงตรง ที่พระอาทิตย์อยู่ตรงกลาง โดยสภาพหยินจะมีค่าต่ำสุด หลังจากนั้นสภาพหยางจะเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆจนถึงเวลาเย็นพระอาทิตย์ตก ในขณะที่สภาพหยินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสภาพหยินจะมากขึ้นเรื่อยๆถึงจุดหยินสูงสุดตอนเที่ยงคืน ซึ่งตอนนี้สภาพหยาง จะมีค่าต่ำสุด </p>

โรคในกลุ่มหยิน  อาการป่วยจะแสดงในลักษณะ มีอาการหนาว เย็นตามแขนขา กลัวหนาว ไม่มีแรง ไม่อยากพูด ซึม ถ่ายเหลว เป็นต้น

โรคในกลุ่มหยาง อาการป่วย จะแสดงในลักษณะ มีอาการร้อน กลัวร้อน เหงื่อออกมาก ตื่นเต้น กระสับกระส่าย ท้องผูก เป็นต้น <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 12pt" class="MsoNormal">             หลังจากนั้นถึงจะ มาพิจารณาว่าส่วนในร่างกายที่มีมากเกินหรือขาดคืออะไรบ้างโดยพิจารณา ในองค์ประกอบของ ชี่ [Qi] เลือด [Blood] สารจำเป็น [Essence]  และอวัยวะทั้ง12 [Zhangfu] [รายละเอียดจะได้กล่าวถึงในบทต่อไป] </p> <p align="justify">ยกตัวอย่าง เมื่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการ มีเสียงดังในหู เวียนศรีษะ คลื่นไส้ แพทย์ตรวจร่างกาย แล้ววินิจฉัย ว่าผู้ป่วยคนนี้เป็นโรคทางด้านหูคอจมูก จึงส่งต่อ ไปพบหมอ หูคอจมูกเพื่อตรวจละเอียด ซึ่งก็ได้คำแนะนำจากแพทย์ ว่าผู้ป่วยมีความ ผิดปกติในช่องหูภายใน ให้ยามากิน รักษาอยู่นานหลาย เดือนอาการก็ไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยลองเปลี่ยนวิธีรักษาใหม่เป็นแผนจีน ก็ได้รับการวินิจฉัยไปอีกแบบหนึ่ง ว่าอาการที่ เป็นมีสาเหตุมาจากปัญหาที่ไตและตับ โดยหูที่ดังและการเวียนหัวมีสาเหตุจาก การมีความร้อนเกิดขึ้นจากสภาพหยินของไตพร่องลง จึงทำให้น้ำจากไตไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงตับ จึงทำให้ตับขาดการบำรุงจากไต จึงทำให้สภาพหยางของตับเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความร้อนลอยขึ้นไป มีผลทำให้เกิดอาการเวียนหัว เกิดเสียงดังในหู เกิดความร้อนในคอ รู้สึกกระหายน้ำตลอดเวลา (ดูรายละเอียดของผู้ป่วยรายนี้ จากกรณีศึกษาผู้ป่วย)  </p> <p align="justify">[ในมุมมองของทฤษฎีแพทย์แผนจีน ความหมาย ของอวัยวะต่างๆในร่างกายมนุษย์ จะแตกต่างไปจากความหมายของแพทย์ แผนปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง อย่าลืมว่า แนวคิดของทฤษฎีแพทย์แผนจีน มีมานานมากตั้งแต่ในยุคก่อน ปีคศ  ราว 200-22 ปีก่อน คศ.ซึ่งในยุคนั้นยัง ไม่มีความเข้าใจในกลไกการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย เหมือนอย่างความ เข้าใจของทฤษฏีของแพทย์แผนตะวันตก </p> [การที่กล่าวถึงไตกับตับก็เพราะว่า อวัยวะทั้งสองมีความสัมพันธ์ในเชิงแม่ลูก  ตามหลักของปัญจธาตุที่กล่าว ถึงความสัมพันธ์ของธาตุทั้ง 5 โดยมีไตเป็นแม่ และตับเป็นลูก เมื่อแม่เกิดพร่องขึ้นก็จะส่งผลทำให้อวัยวะลูก พร่องตามไปด้วย การรักษาจึงต้องมองไปที่ทั้งแม่และลูก จะรักษาเฉพาะแม่หรือลูกอย่างเดียวไม่ได้  รายละเอียด ของทฤษฏีปัญจธาตุ  [5 Elements] หรือการดูแลสุขภาพอื่นๆ ศึกษาได้ที่ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">http://www.thaiyinyang.com</p>  </span> <p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 12pt" class="MsoNormal"></p><p><div style="text-align: center"></div> <div style="text-align: center">...น่าจะเป็นดอกนกแก้ว...หาดูได้ยากมาก...</div></p><p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 54889เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท