การวางแผนจำหน่าย (Dischrge Plan)


หลัก D METHOD

การวางแผนจำหน่าย (Dischrge Plan) โดยใช้ หลัก D METHOD
D  Diagnosis  ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M  Medicine  แนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับอยางละเอียด สรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยา ตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งข้อห้ามการใช้ยาด้วย
E  Environment  /Environment  การจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการปํญหาด้านเศรษฐกิจ บางรายอาจจะต้องฝึกฝนอาชีพใหม่เป็น
T  Treatment  ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษาเช่นการทำแผล รวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการตนเองและแจ้งให้พยาบาลทราบ
H  Health  การส่งเสริม ฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
O  Out  patient  การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
D  Diet  การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรคหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

หมายเลขบันทึก: 54816เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ที่โรงพยาบาลวางแผนจำหน่ายยุ่งยากมาก ทั้งรูปแบบ และการบันทึกการวางแผนจำหน่าย เนื่องจากปัญหาภาระงาน ที่ทำได้จริงๆ ให้ความรู้แบบคร่าว ๆ และการประเมินผลทำแบบลวกๆ อยากเห็นแบบบันทึกที่สงขลานครินทร์ใช้อยู่ ไม่ทราบจะพอแลกเปลี่ยนได้รึเปล่าคะ

คือว่าblog นี้เป็นขอทีมเยี่ยมบ้าน โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก ค่ะ ไม่ใช่สงขลานครินทร์

ส่วนเรื่องการวางแผนการจำหน่ายเราก็ไม่มีแบบบันทึกเนทางการค่ะ

ขอร่วมแสดงความคิดเห็น เรื่องแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้าน เพราะที่รพ.ท่าวังผา จังหวัดน่านก็กำลังปรับปรุงค่ะ ทีมได้นำแนวคิดของเวชศาสตร์ครอบครัวมาเป็นแนวทางและปรับแบบฟอร์มให้เหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการ โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่านได้ใช้แนวทาง(IN-HOME-SSS) เป็นเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ I Immobility ประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด H Housing ไม่ใช่ประเมินว่าดีหรือไม่ แต่ประเมินว่าสะภาพบ้านมีลักษณะอย่างไร O Other people ประเมินว่าภาระบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในบ้านเป็นอย่างไร มีต่อผู้ป่วยอย่างไร ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะมีใครเป็นตัวแทนที่จะตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้ M Medications ประเมินว่าจริงๆแล้วผู้ป่วยกินยาอะไรบ้าง กินอย่างไร มีวิธีการจัดยาแต่ละมื้ออย่างไรมียาอื่น E Examination การตรวจร่างกายและการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำภารกิจประจำวันได้มากน้อยเพียงใดที่บ้าน S Safety ประเมินสภาพความปลอดภัยในบ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและญาติปรับสภาพภายในที่บ้านที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ S Spiritual health ประเมินความเชื่อ ค่านิยมของคนในบ้านจาก ศาสนาวัตถุภายในบ้าน S Services ให้ญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยในขณะที่หมอไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการวางแผนดูแลผู้ป่วย รวมทั้งเข้าใจบริการดูแลสุขภาพทั้งที่บ้านและโรงพยาบาลว่ามีอะไรบ้าง

 

อยากเอาแบบฟอร์มให้เพื่อรับข้อเสนอแนะแต่ยังไม่สามารถค่ะไว้เขียนในบล็อคให้ดูนะค่ะ

ที่นี่ก็ใช้ INHOMESSS ในการประเมินผู้ป่วยขณะเยี่ยมบ้านเหมือนกันค่ะ รายละเอียดอยู่ในบันทึกเรื่อง

กระบวนการเยี่ยมบ้านค่ะ (http://gotoknow.org/blog/hhc/54811) เรื่องที่บันทึกก่อนเรื่องนี้ค่ะ

แต่ DMETHOD ใช้ตอนวางแผนการจำหน่ายร่วมกับ ward ก่อนออกจากโรงพยาบาลค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ให้แนวคิด

รบกวนของอ้างอิงหน่อยได้ไหมค่ะ คืออยากทราบว่ารูปแบบ D-METHOD มีการนำ D มาเพิ่ม เมื่อปีไหน หรือจะสามารถหาอ่านต่อจากเว็ปไซด์ไหนได้บ้างค่ะ

 

กำลังสนใจวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยจิตเวชโดยใช้dmethod แต่ค้นข้อมูลไม่พบต้นกำเนิดเลย อยากขอแบ่งปันข้อมูลนะคะ เป็นไปได้ก็อยากทำเป็นวิจัยเลยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท