สถานการณ์ที่ 4 : "คนไร้รากเหง้า" แห่งพื้นที่สึนามิที่กำลังเติบโตด้วยความไม่มั่นคงในชีวิต


มีคนไร้สถานะที่สืบค้นรากเหง้าของตัวเองไม่ได้ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่ไม่ใช่เกิดจากเหตุการณ์คลื่นสึนามิ แต่เพราะพลัดพรากจากครอบครัวตั้งแต่วัยเด็ก หรือเยาวชน

ในพื้นที่ ๖ จังหวัดที่ประสบภัยสึนามิ  ซึ่งเป็นแหล่งจ้างแรงงานสำคัญ ตั้งแต่อดีตสมัยทำเหมืองแร่ จนถึงยุคหลังที่ธุรกิจท่องเที่ยวเฟื่องฟู ทำให้พบกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคลที่ไม่สามารถสืบค้นรากเหง้าของตัวเองได้ บางรายยังเป็นเด็กที่ถูกเก็บมาเลี้ยง เช่นกรณีน้องโบ (กรณีศึกษาที่ ๒๒)  บางรายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคนพาจากบ้านเกิดเพื่อมาทำงานรับจ้างตั้งแต่เด็กๆ โดยไม่เคยติดต่อกับครอบครัวอีกเลย เช่นกรณีนางสาวไข่มุก (กรณีศึกษาที่ ๒๓)  นอกจากนี้ยังมีประเภทที่ไม่ไร้รากเหง้าทีเดียว พอมีคนทราบประวัติอยู่บ้างแต่ไม่สามารถติดต่อหรือสืบค้นได้  เช่นกรณีเด็กหญิงปิยนุช เด็กกำพร้าที่บิดามารดาเสียชีวิตหมดแล้ว (กรณีศึกษาที่ ๒๔)  เป็นต้น

 

                จากฐานข้อมูลภาคประชาชน ที่ทางมูลนิธิเด็ก และมูลนิธิกระจกเงา ร่วมกันสำรวจ พบว่าในพื้นที่ ๖ จังหวัดที่ประสบภัยสึนามิ ยังพบบุคคลไร้สถานะที่ไร้รากเหง้าเช่นนี้อีกเป็นจำนวนมาก

 สภาพปัญหาอันมีผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว

คนไร้รากเหง้าเหล่านี้ กำลังอยู่ในสังคมและเติบโตอย่างโดดเดี่ยว และไม่มีความมั่นคงในชีวิตเพราะไม่มีทั้งครอบครัว และไม่มีตัวตนทางกฎหมาย ยิ่งเมื่อเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องทำงานเลี้ยงดูตัวเองแล้ว การดำเนินชีวิตประจำวันยิ่งมีความยากลำบาก และเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ อย่างมาก  จึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ผู้เกี่ยวข้องควรมีแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลของคนกลุ่มนี้ตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิ มติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ ซึ่งกำหนดแนวนโยบายไว้แล้ว

 
หมายเลขบันทึก: 54815เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท