เทคนิคการดักปลาโจน "ปลาเต้นดาง" การจัดการองค์ความรู้ ภูมิปัญญาชาวบ้าน


ปลาโจน คืออะไร
ปลาโจน  ก็หมายถึง  ปลาที่กระโดดหรือกระโจนว่ายทวนกระแสน้ำไหลซึ่งแรงมาก  เกิดจากการตกของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ  เพื่อที่จะขึ้นไปเหนือน้ำให้ได้  เช่น  น้ำตก  ฝายน้ำล้น  เป็นต้น

 การดักปลาโจนทำอย่างไร
ชาวบ้านดงน้อย  หมู่ที่ 5,12  และ  16  ตำบลสามผง  อำเภอศรีสงคราม  ได้รับการสนับสนุนโครงการชลประทานขนาดเล็ก  เป็นฝ่ายน้ำล้นกั้นลำน้ำเมา  เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งในปี 2548  ช่วงต้นฤดูฝนมีปลากระโจนเพื่อที่จะขึ้นไปหน้าฝายจำนวนมาก  จึงได้คิดทำ  "อู่ดักปลาเต้นดาง"  โดยใช้ไม้ตีเป็นกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาด  1.50 x 5  เมตร  เย็บด้วยตาข่ายเขียว  ปล่อยให้ตาข่ายเขียวหย่อนลงครึ่งวงกลม  ลักษณะคล้ายอู่  ทำขาไขว้  ทางด้านกว้างทั้งสองข้าง  ต่ำจากกรอบสี่เหลี่ยม  30  เซนติเมตร  ผูกเชือกทั้งสี่มุมปล่อยหย่อนลงหลังฝาย  บริเวณปลายน้ำตกด้านล่างให้เอียงตามการไหลทิ้งตัวของน้ำ  โดยให้กรอบไม้สี่เหลี่ยมสูงจากน้ำที่กำลังตก  20  เซนติเมตร  ซึ่งจะเป็นบริเวณที่ปลากระโจนตกลงในตาข่ายหรืออู่พอดี  แนวคิดดังกล่าวได้ดัดแปลงมากจากการเห็นคนงานสร้างฝายใช้ตาข่ายพรางแสงสีดำ  ดักปลากระโจนเพื่อเป็นอาหาร

1การดักปลาโจนได้ปลามากน้อยเท่าไร

การดักปลาโจนสามารถดักได้ตั้งแต่เดือน  พฤษภาคม - มกราคม  ซึ่งมีน้ำไหลแรงที่ฝายน้ำล้น  ในปี 2548  ชาวบ้านผลัดกันดักปลาโจนจากฝายน้ำล้นล้ำน้ำเมา  ซึ่งมีประตูน้ำ  จำนวน  8  ช่อง  สามารถทำอู่ดักปลาโจนได้  8  อู่  รวมทั้งปีแต่ละอู่จะจับปลาได้  จำนวน  300 - 400  กิโลกรัม  รวมปริมาณปลาทั้งหมด  ประมาณ  2,400 - 3,200  กิโลกรัม  ชนิดปลาที่ดักได้

2

ปลาหนัง  ได้แก่  ปลาค้าว  ซึ่งเคยจับได้ตัวละ  12  กิโลกรัม  ปลาเซือม  ปลาปีกไก่  ปลาเข็ม  เป็นต้น  ปลาเกล็ด  ได้แก่  ปลาชะโด  ปลาสร้อย  ปลากเก้ง  ปลาปาก  ปลาสูด  ปลาเวียนไฟ  เป็นต้น  และในปี  2549  ได้มีการประมูลเพื่อทำอู่ดักปลา  โดยนายกาวล  นวลลมลี  สมาชิก  อบต.  หมู่ที่ 16  และเครือญาติ  รวม  4  ครอบครัว  สามารถประมูลได้ในราคา  8,200  บาท  ซึ่งเงินจำนวนนี้จะเป็นกองทุนสำหรับพัฒนาบ้านดงน้อยทั้ง  3  หมู่  และตั้งแต่เดือน  เมษายน - ตุลาคม  ปี  2549  สามรถจับปลาโจนหรือชาวบ้านเรียก "ปลาเต้นดาง"  ได้ประมาณ  800  กิโลกรัม  และขายได้เป็นเงินประมาณ  20,000  บาท  ซึ่งถือว่ามีความคุ้มค่า

เทคนิคสำคัญในการดักปลาโจน
1.  ปลามักจะกระโจนในเวลากลางวันที่มีแสงแดดจัดตั้งแต่เช้าถึงเย็น  และมักกระโจนมากในช่วงเดือนพฤษภาคม  ที่น้ำมีสีแดงเริ่มล้นจากฝายน้ำล้น  และเดือนตุลาคม  ช่วงปลายฝนแดดจัดและอากาศเริ่มเย็น  วันไหนฟ้ามืดครึ้มไม่มีแสงแดด  ปลาจะไม่กระโจน  ซึ่งบางวันจับปลาได้ไม่กี่ตัว  วันไหนแสงแดดจัด  ปลากระโจนมากสามารถจับปลาได้ถึง  100  กิโลกรัม  เวลากลางคืนปลาจะไม่กระโจนจะกระโจนเฉพาะปลาชะโด

3


2.  อู่ดักปลา  โดยเฉพาะกรอบสี่เหลี่ยมต้องไม่โดนน้ำที่ไหลลงมา  ในช่วงน้ำขึ้นต้องคอยระวังไม่ให้น้ำพัดถูกกรอบไม้หรือตกลงไปในอู่เพราะจะทำให้อู่พังเสียหาย  ซึ่งในช่วงกลางคืนที่ไม่ได้เฝ้าอู่  ต้องยกอู่เผื่อสูงไว้
3. 
การจับปลาที่กระโจนเข้าอู่แล้ว  จับปลาโดยยกอู่ขึ้นสักเล็กน้อยใช้สวิงทำจากตาข่ายเขียว  ต่อด้ามไม้ไผ่ช้อนปลาในอู่ขึ้นมา

4

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
สำหรับรายละเอียดเทคนิคการดักปลาโจนหรือปลาเต้นดาง  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ผู้ใหญ่สมศักดิ์  นนทจันทร์  ผู้ใหญ่บ้านดงน้อย  หมู่ที่ หรือนายกาวล  นวลลมลี  สมาชิก  อบต. (ผู้ให้ข้อมูลและผู้ประมูลดักปลาโจน)  หมู่ที่ 16  บ้านดงน้อย  ตำบลสามผง  อำเภอศรีสงคราม  จังหวัดนครพนม

56

คำสำคัญ (Tags): #นครพนม
หมายเลขบันทึก: 54812เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ปลาโจนนี้รสชาติเป็นอย่างไรบ้างคะ

      ขอบพระคุณมากครับที่นำมาบันทึกแบ่งปัน เดี๋ยวนี้หาดูได้ยากมากครับการจับปลาด้วยวิธีนี้

ปลาโจน จะโดดเวลามีลมหนาวด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท