การเยี่ยมบ้าน


การเยี่ยมบ้านหรือการบริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยที่บ้าน  (Home  care)หมายถึง  การบริหารให้มีการจัดบริการเต็มรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวรายหนึ่งๆ โดยเริ่มตั้งแต่การประเมินสภาพผู้ป่วยที่บ้าน  การประสานงานกับทีมรักษาว่าจะรักษาที่บ้าน  ที่โรงพยาบาล  หรือส่งต่อการมอบหมายให้หน่วยงานหรือแผนกต่างๆ  รับผิดชอบหน้าที่ใดบ้างเพื่อการดูแลผู้ป่วยรายนั้นๆ  ร่วมกันการประเมินความต้องการด้านต่างๆ  ของผู้ป่วยที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้ตามปกติ  เช่น  หุงหาอาหารไปซื้อข้าวของ  ทำความสะอาดบ้านเรือน  ซักเสื้อผ้า  น้ำกิน  น้ำใช้  ฟืนไฟ  ความปลอดภัยของทรัพย์สินในบ้าน  เป็นต้น
จุดประสงค์ในการเยี่ยมบ้านคือ
1.เพื่อรู้จัก  เข้าใจผู้ป่วยและครอบครัวมากขึ้น
2.เพื่อให้เกิดบริการอย่างเป็นองค์รวม
3.เพื่อประเมินการดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว
4.เพื่อให้บริการต่อผู้ป่วย

ประเภทของการเยี่ยมบ้าน
1. เยี่ยมบ้านคนป่วย  แบ่งเป็น  2  ประเภทคือ 
-ฉุกเฉิน  เฉียบพลันกรณีแพทย์สั่งเยี่ยมหรือรายที่พยาบาลประจำครอบครัวพบขณะมารับการรักษาประเมินสภาวะว่าควรเยี่ยมบ้านโดยเร็ว 
-เรื้อรัง  เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง  ผู้ป่วยที่ไม่สามารถมารับบริการได้เนื่องจากเดินมารับบริการไม่สะดวกเป็นการเยี่ยมเพื่อให้บริการที่บ้านเช่นทำแผล  ฉีดยา  ตรวจน้ำตาลในเลือดโดยใช้  Gluco  meter
2. เยี่ยมบ้านคนใกล้ตาย  เพื่อดูแลความเจ็บป่วยก่อนตายเช่น  AIDS    CA  ระยะสุดท้าย    อยู่เป็นเพื่อนขณะที่ตาย  และดูแลญาติจนถึงหลังความตาย  ให้การรักษาที่จำเป็น  เช่น  การฉีดยาระงับอาการปวด  และการประคับประคองทางจิตใจ
3. เยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสภาวะสุขภาพ  ในรายที่ต้องใช้ยาหรือการรักษาที่ซับซ้อน  ในรายที่มาใช้บริการการรักษาเกินความจำเป็น  ในรายที่มารับบริการลำบาก  เช่น  พิการ  ถูกสังคมรังเกียจ  ถูกทอดทิ้ง  ติดยา  ช่วยเหลือตนเองไม่ได้  เป็นต้น
4. เยี่ยมบ้านเพื่อติดตามผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล  การเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยกลุ่มนี้  มักจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิต  เช่น  ในรายที่เพิ่งคลอดบุตร  ในรายที่หลังการผ่าตัด  มีการเจ็บป่วยร้ายแรง   หรืออุบัติเหตุ  เป็นต้น

ที่มา คู่มือประเมินรับรองมาตรฐานศูนย์สุขภาพชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 54805เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะพี่ๆๆ

หนูกรรณิการ์ ค่ะ เป็นพยาบาลอยู่ในหน่วยปฐมภูมิ กำลังจะทำเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านและชุมชนในหมู่บ้านที่ได้รับผิดชอบ ตามโครงการ สปสช.ค่ะ แต่หนูมีปัญหารบกวนพี่ๆๆช่วยชี้แนะค่ะ เพราะว่าหนูไม่รู้จะเริ่มตรงส่วนไหนดี เพราะหนูจบมา ปีกว่าๆๆแล้ว พยายามโทรเรียนปรึกษาพี่ๆๆที่ สปสชใล้วแต่ยังไม่ได้คำตอบค่ะ

ว่าจะเริ่มส่วนไหนดีค่ะ

พี่ๆๆ มีweb แนะนำหรือเอกสาร บ้างไหมค่ะ ขอหนูเป็นแนวทางบ้างค่ะ

หนูให้เบอร์ติดต่อที่คลินิกไว้นะค่ะ 0207727722 ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

น่าจะเริ่มจากการกำหนด Criteria ในการเยี่ยมบ้านก่อนนะคะ ว่า Case แบบใหนที่เราต้องติดตามไปดูแลที่บ้าน ซึ่งแต่ละที่อาจมีบริบทของปัญหาสุขภาพที่แตกต่างกัน หลังจากนั้น Set ทีมที่ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ตามลักษณะของปัญหาผู้ป่วย...น่าจะเป็นหลักการคร่าว ๆ นะคะ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ คงต้องให้ผู้มีประสบการณ์มาช่วยแชร์ค่ะ

น่าจะเริ่มจากมารดาและทารกหลังคลอด เพราะเป็นงานที่ต้องทำอยู่แล้ว แล้วค่อยขยายไปผู้ป่วยหลังออกจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ต่อไปค่ะ

สวัสดีคะ

เป็นพยาบาลดูแลผู้ป่วยเอดส์ และต้องการ ตั้งใจ ไปเยี่ยม ผู้ป่วยติดเชื้อ เอช ไอ วี และผู้ป่วยเอดส์ รบกวน ช่วยชี้แนะ แบบฟอร์ม การเยี่ยมบ้านคะ

ก่อนอื่นน่าจะศึกษาปัญหาการบริการของเรามีโรคหรืออาการอะไรบ้างเช่นการกลับมารับบริการซ๊ำหรือการมีแผลกดทับหรือการไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลหรือความดันโลหิตสูงไม่ได้ รวมทั้งหลังคลอด ว่ามีผู้ป่วยกี่คนท่ีมีปัญหาเหล่านี้ในพื้นท่ีของเรา แล้านำมาเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา นำมาเรียงคนไข้คนไหนเร่งด่วน ทดลองออกไปเยี่ยมดูคนเดียวกันเพราะอาจไม่มีทีมท่ีพร้อม แล้วเราจะได้ เรียนรู้ด้วยตนเอง ว่าเรสจะทำอะไร อย่างไงต่อไป เยี่ยมบ้านแล้วนอกจากจะทำให้เรามีความสุขแล้ว เรายังได้เรียนรู้อะไรมากมาย อย่าลืมบันทึกข้อมูลลงใน Folder เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทาง Case management ต่อไป

add มาค่ะ จ๊ะโอ๋จะส่งไปให้

ขอบคุณครับ ได้แนวทางในการเยี่ยมบ้าน อำเภอตาพระยา ชายแดนไทย-กัมพูชา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท