เรามาร่วมกันแปลงเศษพืชและวัชพืชในแม่น้ำให้เป็นทุนกันเถอะ.


โดยส่วนใหญ่แล้วจะใด้รับคำแนะนำให้มีการปรับปรุงสภาพดินด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุเช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนใส่ปุ๋ยเคมี1เดือนเท่ากับบอกให้รู้ว่าอินทรีย์วัตถุ(อินทรีย์สาร-อินทรีย์คาร์บอน)ที่ต้นพืชต้องการตามธรรมชาตินั้นไม่ใด้มีอยู่ในปุ๋ยเคมีเลยแต่การปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นพืชไม่เหมือนกัน

     วันนี้ผมขอเล่าเรื่องการทำปุ๋ยหมักด้วยระบบกองเติมอากาศ ด้วยหัวข้อที่ว่า...เรามาร่วมกันแปลงเศษพืชและวัชพืชในแม่น้ำให้เป็นทุนกันเถอะครับ.

     หลังทำการผลิตปุ๋ยหมักด้วยระบบใหม่ ( แบบไม่พลิกกลับกอง ระบบกองเติมอากาศ ) มาได้หลายรุ่นด้วยกัน ทำให้ผมได้รับความรู้ในหลายๆเรื่องอีกเช่นกัน  จากศักยภาพของระบบการผลิตนี้ทำให้ได้พบว่า...เศษพืชแทบทุกชนิดที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวในภาคเกษตรกรรมของชุมชน เช่น ต้นข้าวโพดสด-แห้ง ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เปลือกถั่ว เศษผักสด-แห้ง ขี้เลื่อยที่เหลือจากการเพาะเห็ด และวัชพืชในแม่น้ำเช่น ผักตบชวา ผักกระเฉดชนิดที่ชาวบ้านไม่กิน โดยการนำมาผ่านเครื่องเศษพืชก่อนที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมักได้เป็นอย่างดีซึ่งจะเป็น การแปลงเศษพืชให้เป็นทุน  แทนที่จะนำไปเผาทำลายอย่างที่ผ่านมา จนกลายเป็นปัญหาทำลายความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินและเป็นการเพิ่มมลพิษทางอากาศ ทำลายระบบนิเวศของธรรมชาติ.

      ส่วนมูลสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมในการทำปุ๋ยหมักนั้น ก็มีอยู่มากมายภายในชุมชน เช่น มูลวัว มูลไก่ มูลหมู โดยเฉพาะมูลวัวนั้นสมาชิกในกลุ่มโดยส่วนใหญ่ ก็เลี้ยงอยู่แล้วมากมาย ทำให้ก่อเกิดเป็นรายได้อีกอย่างนึงในด้านการขายมูลวัว แทนที่จะเลี้ยงเพื่อการขายเนื้อเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญในมูลวัวจะมีจุลินทรีย์ที่จะเป็นตัวย่อยสลายเศษพืชมากกว่าในมูลสัตว์ชนิดอื่น.

     ในการทำปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศนั้นจะเน้นการใช้ส่วนผสมโดยปริมาตร เพราะในเศษพืชทุกชนิดไม่ว่าสดหรือแห้ง ค่าโดยปริมาตรจะไม่หายไป แต่ถ้าหากโดยน้ำหนักเมื่อเศษพืชมีความสด จะมีปริมาณน้อยกว่าเศษพืชที่มีความแห้ง ณ.ที่น้ำหนักเท่ากัน ส่วนในมูลสัตว์ก็จะให้สมาชิกตากมูลวัวให้แห้ง ก่อนนำมาบรรจุกระสอบแล้วนำมาขายให้กับกลุ่ม โดยบรรจุให้เต็มกระสอบเป็นหลัก.

     ปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ก็แบ่งกันไปใช้ภายในกลุ่มของสมาชิกและมีการติดตามขยายผลทุกๆ 3 เดือน เพื่อสังเกตุความตอบสนองที่มีต่อต้นพืชและการปรับปรุงสูตรการทำปุ๋ยในระยะยาว และที่สำคัญจากการให้สมาชิกหลายคนเก็บตัวอย่างดิน โดยการสุ่มเก็บในหลายลักษณะ ส่งไปให้กับสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดฯตรวจวัดค่าธาตุอาหารภายในดินเหล่านั้น พบว่า...โดยส่วนใหญ่แล้ว จะใด้รับคำแนะนำ ให้มีการปรับปรุงสภาพดินด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุ เช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 1 เดือน เท่ากับเป็นการบอกให้เกษตรกรรู้ว่า อินทรีย์วัตถุ (อินทรีย์สาร-อินทรีย์คาร์บอน ) ที่ต้นพืชต้องการตามธรรมชาตินั้นไม่ใด้มีอยู่ในปุ๋ยเคมีเลย การใส่ปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์วัตถุบ่อยๆจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้มากขึ้น แต่การปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นพืชไม่เหมือนกัน ปุ๋ยอินทรีย์จะปล่อยธาตุอาหารแก่ต้นพืชช้ากว่าปุ๋ยเคมี และปุ๋ยเคมีจะตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์  และการจะใส่ปุ๋ยเคมีมากน้อยเท่าไหร่ อย่างไรนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะประเภทและความต้องการต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกด้วย จึงจะช่วยให้สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง.

     จากการที่ได้ติดตาม การดำเนินงานของกลุ่มฯที่ผ่านมา พอที่จะสรุปใด้ว่า...การทำเกษตรกรรมแบบเกษตรอินทรีย์ตามจุดมุ่งหมายที่กลุ่มตั้งไว้นั้น ไม่ใด้กระทำใด้โดยส่วนเดียว แต่ต้องอาศัยองค์ความรู้ภาคทฤษฏี ความรู้ที่ใด้จากการปฏิบัติจริง การคิดค้น การปรับปรุงประยุกต์ปรับใช้ การเสาะแสวงหาสิ่งใหม่ๆ การใด้รับการส่งเสริมให้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง  มาร่วมกันจึงจะนำไปสู่การทำเกษตรอินทรีย์ที่มั่นคงถาวร ผลที่ใด้รับจะทำให้เกษตรกรมีรายใด้ที่คุ้มค่ากับการลงทุน ลงแรง ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจการทำเกษตรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพกันมากขึ้น  ส่วนผู้ที่จะได้รับประโยชน์ทางอ้อมคือผู้บริโภคจากการทำเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในกลุ่มจังหวัดนครศรีธรรมราช.  

หมายเลขบันทึก: 54793เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

น้องติ่ง ปราชญ์ลูกทุ่ง

  • กรุณาพริ้นบันทึกนี้ไปแจกในวันประชุมเครือข่ายฯเราด้วย วันที่ 28
  • ติดต่อหมอดินท่านนั้นไปเป็นวิทยากรให้ด้วย              
  • ผมชอบข้อความ "....ปุ๋ยหมักที่ผลิตได้ก็แบ่งกันไปใช้ภายในกลุ่มของสมาชิกและมีการติดตามขยายผลทุกๆ 3 เดือน เพื่อสังเกตุความตอบสนองที่มีต่อต้นพืชและการปรับปรุงสูตรการทำปุ๋ยในระยะยาว และที่สำคัญจากการให้สมาชิกหลายคนเก็บตัวอย่างดิน โดยการสุ่มเก็บในหลายลักษณะ ส่งไปให้กับสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดฯตรวจวัดค่าธาตุอาหารภายในดินเหล่านั้น พบว่า...โดยส่วนใหญ่แล้ว จะใด้รับคำแนะนำ ให้มีการปรับปรุงสภาพดินด้วยการใส่อินทรีย์วัตถุ เช่นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ก่อนใส่ปุ๋ยเคมี 1 เดือน เท่ากับเป็นการบอกให้เกษตรกรรู้ว่า อินทรีย์วัตถุ (อินทรีย์สาร-อินทรีย์คาร์บอน ) ที่ต้นพืชต้องการตามธรรมชาตินั้นไม่ใด้มีอยู่ในปุ๋ยเคมีเลย การใส่ปุ๋ยหมักหรืออินทรีย์วัตถุบ่อยๆจะเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น แต่การปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับต้นพืชไม่เหมือนกัน ปุ๋ยอินทรีย์จะปล่อยธาตุอาหารแก่ต้นพืชช้ากว่าปุ๋ยเคมี และปุ๋ยเคมีจะตอบสนองต่อการเจริญเติบโตของต้นพืชเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์  และการจะใส่ปุ๋ยเคมีมากน้อยเท่าไหร่ อย่างไรนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลักษณะประเภทและความต้องการต่อการเจริญเติบโตของพืชที่ปลูกด้วย จึงจะช่วยให้สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลง..."
  • ผมจะรวบรวมตังค์บล็อกเกอร์สกุลเมืองคอนเลี้ยงฉลองเสื้อสามารถยอดคุณกิจจาก สคส.ให้ในวันประชุม....โอเคนะครับ
           นับเป็นความก้าวหน้าที่ต้องยกนิ้วให้เหมาะสมกับรางวัลยอดคุณกิจจริง วันก่อนคณะทำงานรับรองสถานภาพองค์กรชุมชนตำบลบางจากร่วมกับอบต . ตำบลบางจากจัดเวทีรับรองสถานภาพของกลุ่มองค์กรในตำบล ในเบื้องต้นได้มีการสำรวจข้อมูลเพื่อรับรองการมีอยู่ของกลุ่มจำนวน  22 องค์กร แต่คณะทำงานคงจะสำรวจตกไปหนึ่งองค์กรคือกลุ่มปุ๋ยหมักระบบกองเติมอากาศของเราไป ซึ่งพี่ได้แจ้งต่อคณะทำงานแล้วเห็นว่าจะมีการเพิ่มเติมให้อย่างไรก็ตามต้องขอชื่นชมกับผลงานจริง ๆและสนับสนุนชื่อใหม่ที่ได้ฉายาปราญ์ลูกทุ่ง

เรียน น้องพัชนี

         ขอบคุณที่พยายามช่วยเหลือรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน ของกลุ่มระบบกองเติมอากาศครับ

 

      เรียนอาจารย์จำนง          พัชกำลังทำจดหมายเชิญวันที่ 13 อยู่ค่ะ ความจริงออกแบบไว้ 2 วันแต่เกรงใจอาจารย์จึงอาจต้องรบกวนให้อาจารย์เตรียมสอนเรื่องการทำblog ไว้ในวันที่13ด้วยเลย  เพื่อนๆ กำลังสนใจเป็นอย่างมากค่ะ

        ต้องขอขอบพระคุณทั้ง 2 ท่าน ครับ...

ที่กรุณาให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรพัฒนาบ้านมะขามเรียง

   ช่วงนี้โทรศัพท์ของผมใช้งานไม่ใด้  เวลาฝนตก ก็จะเสียและติดต่อไม่ใด้ครับ จึงต้องเข้ามาขอใช้เครื่องของสำนักงาน กศน.เ พื่อขอเข้าไปดูบล็อกและโต้ตอบข้อความ

                                     ปราชญ์ลูกทุ่ง ครับ 

เรียนท่านเจ้่าของเรื่อง ดิฉันนักศึกษาวิทยาลัย กำลังศึกษาเรื่องการทำปุ๋ยหมักชีวภาพระบบเติมอากาศของหมู่บ้านสันโค้ง จังหวัดพะเยา และการวิจัยของมหาวิทยาลัียแม่โจ้ เพื่อจะใช้ประกอบในรายวิชา เศรษฐกิจพอเพียง จึงอยากจะรบกวนช่วยแนะนำวิธีและขั้นตอนการทำปุ๋ยระบบเติมอากาศให้เป็นวิทยาทานแก่นักเรียนนักศึกษาด้วยน่ะค่ะ (ถ้าส่งให้ทางอีเมล์จะเป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ) ขอบพระคุณค่ะ

ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ แบบแห้ง ระบบ

ระบาย อากาศแบบ ธรรมชาติ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท