การบริหารนวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา


การบริหารนวัตกรรมและสารสนเทศทางการศึกษา

โดย รศ.วิรัตน์ พงษ์ศิริ

จาก สาขา CS & MIS คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส.

 

นวัตกรรม หมายถึงการทำสิ่งต่างๆด้วยวิธีใหม่ๆ และยังอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางความคิด การผลิต กระบวนการ หรือองค์กร ไม่ว่าการเปลี่ยนนั้นจะเกิดขึ้นจากการปฏิวัติ การเปลี่ยนอย่างถอนรากถอนโคน หรือการพัฒนาต่อยอด ทั้งนี้ มักมีการแยกแยะความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการประดิษฐ์คิดค้น ความคิดริเริ่ม และนวัตกรรม อันหมายถึงความคิดริเริ่มที่นำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิ์ผล (Mckeown, 2008) และในหลายสาขา เชื่อกันว่าการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็นนวัตกรรมได้นั้น จะต้องมีความแปลกใหม่อย่างเห็นได้ชัด และไม่เป็นแค่เพียงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เป็นต้นว่า ในด้านศิลปะ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ และนโยบายของรัฐ ในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเพิ่มมูลค่า มูลค่าของลูกค้า หรือมูลค่าของผู้ผลิต เป้าหมายของนวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เพื่อทำให้สิ่งต่างๆเกิดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น นวัตกรรมก่อให้ได้ผลิตผลเพิ่มขึ้น และเป็นที่มาสำคัญของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ

นวัตกรรมเป็นหัวข้อหลักในการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ และวิศวกรรม และหากพูดกันแบบภาษาชาวบ้านแล้ว คำว่า 'นวัตกรรม' มักจะหมายถึงผลลัพธ์ของกระบวนการ และในฐานะที่นวัตกรรมมักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ ปัจจัยที่นำไปสู่นวัตกรรม มักได้รับความสำคัญจากผู้ออกนโยบายว่าเป็นเรื่องวิกฤติ

ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง มักจะเรียกว่าเป็นผู้บุกเบิกในสาขานั้น ไม่ว่าจะเป็นในนามบุคคล หรือองค์กร

 

นวัตกรรมในองค์กร

ในบริบทขององค์กร เราอาจเชื่อมโยงนวัตกรรมเข้ากับสมรรถนะ และ การเติบโต ด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิต คุณภาพ จุดยืนด้วยความสามารถในการแข่งขัน ส่วนแบ่งการตลาด ฯลฯ องค์กรทุกองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้ อาทิเช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และรัฐบาลท้องถิ่น

นวัตกรรม

มีผู้ให้ความหมายไว้มากมาย ในยุคแรกๆ จะพูดถึงอะไรที่เป็นสิ่งใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมา โรเจอร์ ได้เริ่มกล่าวถึง การแพร่กระจายของนวัตกรรมด้วย Diffusion of Innovation อย่างไรก็ดี คำจำกัดความที่ดูเหมือนจะครอบคลุมที่สุด คือ Invention + Commercialization หรือ ต้องมีการนำสิ่งประดิษฐ์ที่คิดว่าใหม่ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง ทั้งทางธุรกิจ หรือ ทางสังคม ทั้งนี้รูปแบบของนวัตกรรม ก็สามารถแบ่งออกเป็นได้ตามรูปแบบ (Product, Service, Process) หรือ อาจแบ่งตามระดับความใหม่ก็ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ Incremental, Modular, Architectural และ Radical Innovation Teerapon.T (2008) กล่าวถึง Innovation หรือ นวัตกรรมว่า อาจหมายถึง สิ่งประดิษฐ์ หรือ สิ่งใหม่ ที่ต้องสร้างให้เกิด Value Creation คือ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้นั่นเอง

อ้างอิง

  • McKeown, Max (2008). The Truth About Innovation. London, UK: Prentice Hall. ISBN 0273719122.
  • Fagerberg et al. (2004).
  • Baregheh A, Rowley J and Sambrook S.(2009) Towards a multidisciplinary definition of innovation, Management decision, vol. 47, no. 8, pp. 1323–1339

 

Ref. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

 

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes, 1971) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมาโทดาโร (Todaro) (อ้างในปุระชัย : 2529) ให้ความหมายว่า หมายถึง ประดิษฐ์กรรม (Innovation) หรือการค้นพบสิ่งใหม่ เช่นผลผลิตใหม่ กระบวนการใหม่ ตลอดจนแนวคิดในการหาหนทางที่จะนำเอาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน แนวใหม่ 

มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973)กล่าวว่า " นวัตกรรม " หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B. อ้างถึงใน ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2521 : 14) ได้กล่าว ถึง นวกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า “นวกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล”

ปอตเตอร์และรอสซิล (Porter and Rossinl : 1983) ให้ความหมายไว้ว่านวัตกรรมเป็นกระบวนการผสมผสานและซับซ้อนซึ่งมักถูกละเลยเสมอ ๆ เพราะความเคยชิน ในการปฏิบัติเก่า ๆ 

โรเจอร์ และชูเมคเกอร์ (Rogers and Shoemaker. 1971 : 19) ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการนำเอาวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติ ซึ่งผ่านการทดลอง และได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ ตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development)และทดลองในวงแคบ (Pilot Project) แล้วจึงนำมาใช้ปฏิบัติจริง โดยการปฏิบัติจะ แตกต่างจากเดิม

กิดานันท์ มลิทอง (2540 : 245) ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิ- ภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2521 : 3-4) ได้ให้ความหมายไว้ว่า หลักการวิธีปฏิบัติ และแนวคิดอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมของประเทศหนึ่ง อาจจะเป็นนวัตกรรม ของประเทศอื่นก็ได้ และสิ่งที่ถือว่าเป็นวัตกรรมแล้วในอดีตหากมีการใชักันอย่างแพร่หลาย แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม แต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีตหากมีการนำ มาปรับปรุงใช้ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ สิ่งนั้นถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526)ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม ทั้งนี้สิ่งนั้น ๆ ได้รับการพัฒนาทดลองจนเชื่อถือได้ว่า ให้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้เกิดประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 :37) ได้กล่าวถึงความหมายของ “นวัตกรรม” ไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ
วสันต์ อติศัพท์ (2523 : 15) กล่าวไว้ว่า นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง “นว” และ “กรรม” ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า เช่น นวกรรมทางการแพทย์ หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับ 
ปรุง ตลอดจนแก้ปัญหาทางการแพทย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน นวกรรมการศึกษาก็หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษา 

สวัสดิ์ บุษปาคม (2517 : 1) กล่าวว่า นวัตกรรมหมายถึง การปฏิบัติ หรือกรรม วิธีที่นำเอาวิธีการใหม่มาใช้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมให้ดียิ่งขึ้น คือทำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (2514 : 4) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การเลือก���ารจัดและการใช้ทรัพยากรทั้งบุคคลและวัสดุอย่างชาญฉลาดในวิถีทางใหม่ ๆ ซึ่งเป็นผลให้ ได้รับความสำเร็จที่สูงกว่าและความสำเร็จนั้นเป็นความสำเร็จในจุดประสงค์ที่วางไว้ และ หมายรวมถึงการนำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจเป็นความคิด วิธีการ ระบบความรู้ หรือเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงของที่มีอยู่เดิมให้ผลดียิ่งขึ้น

 

Ref. http://www.gotoknow.org/posts/515307

 

ความหมาย (ศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษา)

การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีที่ทำอยู่เดิมเพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น

 

Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรม

   ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ

  1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น

 - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)

- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

- เครื่องสอน (Teaching Machine)

- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

     2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

- ศูนย์การเรียน (Learning Center)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)

- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

    3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น

 - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)

- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)

- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)

- การเรียนทางไปรษณีย์

 4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น

 - มหาวิทยาลัยเปิด

- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์

- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป

- ชุดการเรียน

หลักการของนวัตกรรมการศึกษา คือ

1. สิ่งใดก็ตามที่เป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์หรือยอมรับเราเรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

2. สิ่งที่อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาเราเรียนว่านวัตกรรม

3. สิ่งที่เรานั้นยังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายเราเรียกว่านวัตกรรม

4. สิ่งใดก็ตามที่ยังไม่ได้รับการยอมรับ ในวงการใดวงการหนึ่ง และมีการพิสูจน์ว่าจะมีประสิทธ์ภาพและประสิทธิผลจริงนับว่าเป็นนวัตกรรม

ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

ลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

   ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ

 1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism) 

2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)

ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม  นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทฤษฎีการเสริมแรง ทฤษฎีการวางเงื่อนไข เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ กล่าวไว้ว่า ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม  ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ธอร์นไดค์ ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ

1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)

 2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) 

3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกิริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้

           สรุปหลักการและทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรม

         ทฤษฎี การเผยแพร่นั้นเกิดจากการผสมผสานทฤษฎี หลักการ และความรู้ ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ เป็นทฤษฎีที่ไม่บ่งชี้เฉพาะว่าใช้สำหรับการเผยแพร่นวัตกรรมของสาขาวิชา หรือศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากการเผยแพร่นวัตกรรมนั้นมีในทุกสาขาวิชาและทุกศาสตร์ นักวิจัยที่ทำการศึกษาและสังเคราะห์ผลการวิจัยต่างๆ แล้วนำมาสร้างเป็นทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมจนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับคือ Everett M. Rogers ในหนังสือของเขาชื่อ Diffusion of Innovationsซึ่งถูกนำไปใช้ในงานการเผยแพร่นวัตกรรมมากที่สุด และเป็นฐานของการพัฒนาทฤษฎีการเผยแพร่นวัตกรรมดังต่อไปนี้

1) ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม (The Innovation Decision Process Theory)

2) ทฤษฎีความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคล (The Individual Innovativeness Theory)

3) ทฤษฎีอัตราการยอมรับ (The Theory of Rate of Adoption) และ

4) ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติ (The Theory of Perceived Attributes)

 

          Rogers ได้ขยายความทฤษฎีนี้ไว้ว่า กลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม ตัดสินใจรับโดยใช้ฐานของการรับรู้รับทราบถึงคุณสมบัติของนวัตกรรม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการได้แก่

         1) นวัตกรรมนั้นสามารถทดลองใช้ได้ก่อนการจะยอมรับ (Trial Ability)

         2) นวัตกรรมนั้นสามารถสังเกตผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน (Observability)

         3) นวัตกรรมนั้นมีข้อดีกว่า หรือเห็นประโยชน์ได้ชัดเจนกว่าสิ่งอื่นๆ มีอยู่ในขณะนั้น หรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน (Relative Advantage)

         4) ไม่มีความซับซ้อน ง่ายต่อการนำไปใช้  (Complexity)

         5) สอดคล้องกับการปฏิบัติและค่านิยมที่เป็นอยู่ขณะนั้น (Compatibility) ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติของนวัตกรรม ได้นำไปใช้ในการศึกษาการเผยแพร่ และการยอมรับเอานวัตกรรมไปใช้ในแวดวงของสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นอย่าง มาก จากการศึกษาพบว่า Compatibility, Complexityและ Relative Advantage มีอิทธิพลอย่างมากในการยอมรับเอานวัตกรรมทางด้าน

 

Ref. http://montira2506.blogspot.com/p/2.html

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม#innovation
หมายเลขบันทึก: 547607เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2013 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2013 10:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท