การฝึกให้ฟัง...เป็นเหตุให้เด็กช่างเจรจา


ช่างเจรจาเกิดจาก การให้เวลาในการพูดคุยเล่าเรื่อง แสดงความคิดเห็นในมุมเขา แล้วเราก็รับฟังอย่างตั้งใจ หรือ"สุนทรียสนทนา"

ดิฉันไปไหนกับลูกๆ (คนโต 8 ขวบ คนเล็ก 4 ขวบ) มักมีคนชมว่าเด็กๆ ของดิฉันคุยเก่งและออกคนเป็นเรื่องให้ดิฉันแอบภูมิใจเสมอว่าดิฉันเลี้ยงลูกได้แบบช่างคิดช่างคุย ไม่กลัวคนคุยได้กับทุกคน ดิฉันย้อนคิดว่าเราทำอะไรแปลกจากคนอื่นหรือเปล่า ไม่แตกต่างเลย...เอ....หรือมีอะไร.....คิดขึ้นมาได้ว่าน่าจะส่งผลมาจากวิถีชีวิตระหว่างตั้งท้อง งานของดิฉันเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมงานหนึ่งที่ทำเป็นประจำตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนคลอดคือ"งานพิธีกร"มีงานในห้องอบรมสัมมนาตลอดปี งานพิธีกรมีจุดสำคัญอย่างหนึ่งคือต้องสรุปความจากที่วิทยากรบรรยาย ย้ำประเด็นหลักๆที่ผู้พูด พูด ต้องใช้ทักษะการฟังอย่างตั้งใจจะทำให้เราสรุปรวมความท้ายรายการได้ดี(ทุกวันนี้ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก) ที่ ม.อ.คนท้องก็เป็นพิธีกรได้โดยใช้โฟเดี้ยมบังพุงไว้ อิ...อิ.... ที่บ้านดิฉันมีกิกรรมเล่านิทานก่อนนอนให้ฟังทุกคืนจนวันนี้  แรกๆดิฉันจะเป็นคนเล่าเอง ประมาณ 4 ปีให้หลังลูกก็จะเล่าให้เราฟัง วันนี้ลูกสองคนโตทันกัน เจ้าคนพี่จะเล่าจากการอ่านหนังสือนิทานดูเป็นเรื่องเป็นราว เจ้าคนน้องจะเล่าจากความคิดหัดเล่าประติดประต่อเนื้อหาด้วยตัวเองซึ่งทำให้เรา...มึน....จนไปถึงขำกลิ้งกันทุกที เช่น "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีลูกช้างตัวหนึ่งมันหลงทางมันชื่อใหญ่เดินทางมาเจอหมู่บ้านแห่งหนึ่ง แล้วมันก็สบัดหาง แล้วมันก็สบัดหู แล้วมันก็หิวมันไปกินน้ำ มันคิดถึงแม่เดินไปเจอลูกกบตัวเล็กถามลูกกบว่าเห็นทางกลับบ้านฉันมั๊ย....จบ..." แล้วเราก็ได้หัวเราะกลิ้งกันก่อนหลับไป ทุกวันว่าดิฉันจะสอนให้ลูกแยกเรื่องคุยโดย "เล่าเรื่องดีๆที่โรงเรียนวันนี้ให้ฟังหน่อย"....วันนี้ขอฟังเรื่องดีเพราะวันนี้แม่มีเรื่องแย่ๆหลายเรื่องแล้ว .....วันนี้ขอฟังเรื่องไม่ดี....ดิฉันสังเกตว่าเมื่อไรก็ตามที่เป็นเรื่องไม่ดีแกจะเล่าเรื่องที่ตัวเองรู้สึกไม่ดี ไม่น่าทำ แกไม่เคยเล่าเรื่องไม่ดีของคนเพื่อนๆเลยแกจะเริ่มผูกเรื่องเชี่ยวชาญได้ตามจำนวนครั้งของการเล่า ความช่างเจรจาเกิดจากการให้เวลาในการพูดคุยเล่าเรื่องแสดงความคิดเห็นในมุมเขาโดยไม่แย้ง รับฟังเขาอย่างตั้งใจฟังแล้วแขวนไว้ให้เขาเล่าจบแล้วค่อยแสดงมุมมองของเราหรือไม่ต้องต่อเติมอะไรเลย คือ"สุนทรียสนทนา" นั่นเอง



หมายเลขบันทึก: 54753เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ  คุณเมตตา

  • เห็นครอบครัวคุณเมตตาแล้ว  อ.ฉ.จัง  ครูอ้อยทำแบบนั้นที่คุณเมตตาทำเหมือนกันค่ะ  แต่ทำกับนักเรียนของครูอ้อย
  • สำหรับลูก  เธอพูดเก่งเอง  ครูอ้อยไม่มีโอกาสเล่านิทานแบบคุณเมตตาเลย

ทราบหรือยังคะว่า ครูอ้อย  อ.ฉ.ทำไมนะ

  • อย่าคิดมากเลยค่ะ  เด็กๆ  เธอน่ารัก  เธอช่างพูดเพราะผู้ใหญ่ได้เปิดโอกาสให้เธอพูดค่ะ  พูดเก่ง  ทีนี้ก็ต้องเขียนเก่งด้วยนะคะ แน่นอน  เก่งอยู่แล้วเพราะคุณเมตตา  ผู้เป็นแม่ยังเก่งขนาดนี้เลยค่ะ  SURE 
  • น่ารักมากค่ะ ทั้งคุณแม่และคุณลูกเลย
  • ชอบจัง เด็กช่างเจรจาเนี่ย...เจอกันที่ไหนหนูมาทักป้าบ้างนะคะ.... (แต่ระวังตัวหน่อยนะ ป้าเม่ยน่ะ ชอบ "อำ" เด็กๆนักแล...)
ครูอ้อย...มาเร็วไปเร็วอย่างเคยนะคะ ไหนบอกว่าจะเข้า gotoknow ตอนค่ำ ๆ คุณเมตตาจำได้นา...
ป้าเม่ย ...ขอบคุณค่ะ....แต่ก็มีปัญหาเหมือนกันนะคะ เจอคุณครูทีไร...คุณครูมักชวนแม่สนทนาว่า...ไม่รู้ลูกๆ คุณแม่ไปสรรหาเรื่องอะไรมาคุย...เยอะจัง...ไม่เป็นอันเรียนเลย....เป็นเด็กช่างพูดมากๆ ...คงต้องสอนกันเรื่อง จังหวะเวลาในกันพูด....ประกอบกันไป...ฮา....

ชอบวิธีการจังค่ะ วิธีนี้มีประโยชน์กับคนทุกระดับเลยนะคะ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า การรับฟังลูกๆเสมอโดยไม่ตัดบท ดักคอ ค้าน นั้นมีประโยชน์มาก ฟังแบบสุนทรียสนทนา คือ คิดตามเขาไป คิดในมุมมองของเขา อย่าเพิ่งเอามุมของเราไปยุ่ง ฟังให้จบ มีประโยชน์จริงๆค่ะ สงสัยต้องเอาไปเขียนอีกบันทึก เพราะเห็นประโยชน์จริงๆแล้วกับลูกวัยรุ่น ขอบคุณคุณเมตตาที่มากระตุ้นเตือนค่ะ

  • คุณเมตตาคะ 
  • คุณคอมที่บ้านมีภาระมากเลยค่ะ 
  • และครูอ้อยก็ต้องใช้ในเวลาที่คนอื่นไม่ใช้ 
  • วันนี้โชคดี  พ่อบ้านไม่อยู่ครูอ้อยครอบครองค่ะ  อิอิ
  • คุยเก่งอย่างนี้ น่าส่งน้ำฝนเข้าก๊วนนี้บ้างแล้วครับ ส่วนเจ้าฟ้าถูกคัดออกไปอยู่อีกก๊วนครับ
  • สงสัยเหมือนกันเวลาเข้าก๊วนแล้วจะมีใครที่ไหนฟังบ้างไหมหนอ
  • แถมท้ายอีกนิดว่า ป้าเม่ย อำเก่งจริงๆ สุดยอด สุดยอด ต้องยกนิ้วให้
เปลี่ยนชื่อกันอีกแล้วนะ ขยันจริงๆ...เลยนะคุณจิ๊บ

คุณไมโต ช่างแซวเปลี่ยนชื่อ blog เนี่ยนะ ขยัน....อิ...อิ

  • คนไม่มีลูกแวะมาฟังประสบการณ์ค่ะ
  • คุณแม่คนนี้น่ารักจังค่ะ
ขอบคุณค่ะ มีคนเค้าบอกว่าจะให้ประเมินว่าน่ารักหรือเปล่า ต้องให้คนใกล้ชิดประเมิน ไม่กล้าให้เค้าประเมินเดี๋ยวติด E แต่ถ้าให้ลูก ๆ ประเมินน่าจะได้ A ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท