ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอน


ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอ

                แนวคิดเกี่ยวกับการทฤษฎีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยากลุ่มต่างๆ แม้จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ไม่อาจตัดสินได้ว่าทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มใดจะมีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด เพราะแต่ละทฤษฎีก็มีข้อดีและข้อจำกัดในการนำไปใช้แตกต่างกัน ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาว่ากำลังจะสอนอะไร มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนอย่างไร แล้วจึงเลือกแนวคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ไปใช้ให้เหมาะสม เช่น การสอนเพื่อให้เกิดทักษะ อาจใช้ทฤษฎีของกลุ่มพฤติกรรมนิยม ทั้งในเรื่องการเสริมแรง กฎการเรียนรู้ของธอร์นใดค์ หรือ การวางเงื่อนไขเพื่อปรับพฤติกรรมของผู้เรียน แม้แต่การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปก็ต้องใช้หลักการของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม แต่ถ้าจะสอนวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจ การคิดการตัดสินใจ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แนวทางของนักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมก็จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้สอนต้องจัดสภาพแวดล้อม และเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องอันจะนำไปสู่การหยั่งรู้ และความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และเมื่อเข้าใจแล้วผู้เรียนยังต้องได้รับการฝึกฝนด้วยการทำแบบฝึกหัด เพื่อให้เกิดทักษะ ซึ่งต้องนำหลักการของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมมาใช้ด้วย

                นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องคำนึงถึงตัวผู้เรียนและ การสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน การปฏิบัติต่อผู้เรียนในลักษณะของการชื่นชม ยอมรับ ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการคิด การตัดสินใจ โดยผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก และประคับประคองให้ผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการเรียนรู้ได้อย่างมั่นคงปลอดภัย ตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มมนุษย์นิยม

อ้งอิงจาก

 

                http://www.oo-cha.com/courses/PT/pt4.pdf

หมายเลขบันทึก: 547009เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท