สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.6/3


สวัสดีค่ะ นักเรียนชั้น ม.6/3 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม
     การเรียนการสอนวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้น ม.นักเรียนปฏิบัติโครงงาน ตามแนวคิด บันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งในขั้นที่ 5 นักเรียนต้องมีการบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯในเรื่องที่นักเรียนจัดทำโครงงาน พร้อมใส่ภาพประกอบให้สวยงาม เป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ อันเป็นการช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่คู่เมืองอุทัยธานีต่อไป

 

ดังตัวอย่าง นักเรียนทำโครงงานเรื่อง "งานประเพณีตักบาตเทโว" ให้นักเรียนบันทึกส่งดังนี้ค่ะ
1. เขียนสรุปองค์ความรู้เป็นความคิดรวบยอดบอกลักษณะสำคัญ/กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ส่งภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนจัดทำ 1 ภาพ
3. พิมพ์ชื่อกลุ่ม ชื่อ-สกุล เลขที่ ของสมาชิกทุกคน  ที่ด้านล่างของภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เช่น

       จากการศึกษาเเละสำรวจ ร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าวัดพิชัย จังหวัดอุทัยธานี พบว่าร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าวัดพิชัย
เป็นหนึงร้านที่มีรสชาติอร่อยและผลิตจากวัตถุดิบที่สดสะอาด ถูกสุขอนามัย สภาพบริเวณร้านอยู่ในสภาพดี
อากาศบริสุทธิ กลุ่มของข้าพเจ้า ได้ลองรับประทานมีความคิดที่ว่าจะนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อเป็นการ
บอกต่อให้คนที่สนใจต่อไป

ก๋วยเตี๋ยวหน้าวัดพิชัย

สมาชิกกลุ่ม 63group5

1.นายธนวัฒน์ รัตนโชติธาดา  เลขที่ 5 ม.6/3
2.นายวรรธนัย อันสนธิ์         เลขที่ 10 ม.6/3
3.นายวราวุธ บุญศรี             เลขที่ 11 ม.6/3
4.นายวีรภัทร เอี่ยมสงคราม   เลขที่ 13 ม.6/3

 

หมายเลขบันทึก: 546926เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2013 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
นายธนวัฒน์ รัตนโชติธาดา

  จากการศึกษาเเละสำรวจ ร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าวัดพิชัย จังหวัดอุทัยธานี พบว่าร้านก๋วยเตี๋ยวหน้าวัดพิชัย
เป็นหนึงร้านที่มีรสชาติอร่อยและผลิตจากวัตถุดิบที่สดสะอาด ถูกสุขอนามัย สภาพบริเวณร้านอยู่ในสภาพดี
อากาศบริสุทธิ กลุ่มของข้าพเจ้า ได้ลองรับประทานมีความคิดที่ว่าจะนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์เพื่อเป็นการ
บอกต่อให้คนที่สนใจต่อไป

ก๋วยเต๋ยวหน้าวัดพิชัย

สมาชิกกลุ่ม 63group5

1.นายธนวัฒน์ รัตนโชติธาดา  เลขที่ 5 ม.6/3
2.นายวรรธนัย อันสนธิ์         เลขที่ 10 ม.6/3
3.นายวราวุธ บุญศรี             เลขที่ 11 ม.6/3
4.นายวีรภัทร เอี่ยมสงคราม   เลขที่ 13 ม.6/3

นายเกษมสันต์ แสนธิสา

                                  ก๋วยเตี๋ยวป้าแอ๋ว ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารของคนไทยโดยคนไทยสมัยก่อนชอบรับประทานก๋วยเตี๋ยวเพราะก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่ทำง่ายและนิยมรับประทานกันในสมัยนั้นและในปัจจุบันผู้คนก็ยังคงนิยมรับประทานกัน อยู่เพราะก๋วยเตี๋ยวมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนมีทั้งคาร์โบฮาเดรตโปรตีนวิตตามินเกลือแร่เป็นต้นและสามารถรับประทานกัน ได้ทุกช่วงวัยกลุ่มของข้าพเจ้าจึงเสนอเรื่องราวของก๋วยเตี๋ยวป้าแอ๋วมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอทัยธานี เพื่อเป็นการแนะนำร้านก๋วยเตี๋ยวที่อร่อยและเปิดมานานนับ  10 ปีและเป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาชาวบ้านที่อยู่กับคนไทยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันจากแบบประเมินบอกได้ว่าก๋วยเตี๋ยวป้าแอ๋วเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สมควรนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นที่สนใจในการทำ  ก๋วยเตี๋ยว และรับประมทานก๋วยเตี๋ยวและเหมาะแก่ ผู้ที่ต้องการประกิบอาชีพเสริม

 

สมาชิกกลุ่ม 63group9

1.นายเกษมสันต์  แสนธิสา            เลขที่ 1   ม.6/3
2.นายภาณุพงศ์   สุวรรณไพรัตน์     เลขที่ 8   ม.6/3
3.น.ส.มณฑารัตน์ พรหมทอง          เลขที่ 26 ม.6/3

สิตานันท์ ลือทุกข์สิ้น

“นวดสมุนไพร” วัดอมฤตวารีพบว่า เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่พึ่งมีการจัดตั้งขึ้นมาเนื่องจากมีการรวมตัวของผู้ที่ว่างจากการทำงานหลักในแต่ละท้องที่ เลยจัดตั้งเป็นโครงการขึ้นมาตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงผู้ใหญ่ที่มีความสนใจทางด้านการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ จึงได้ทำการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการนวดและการทำลูกประคบสมุนไพร และได้พบว่าลูกค้าที่เข้ามาทำการนวดส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่เมื่อยล้าจากการทำงานมาทำการนวดเพื่อผ่อนคลาย และมาพบปะพูดคุยกัน กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวต่างๆของการนวดสมุนไพรวัดอมฤตวารีมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดอุทัยธานีเพื่อที่จะเป็นการอนุรักษ์และเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านนี้ อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไปจากแบบการประเมินระดับความพึงพอใจบอกได้ว่าการนวดสมุนไพรวัดอมฤตวารี เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ดีสมควรที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่เหมาะแก่การประกอบอาชีพเสริม และมีเวลาว่าง เนื่องจากการนวดสมุนไพรวัดอมฤตวารี มีท่านวดที่เหมาะแก่การผ่อนคลายจึงสามารถนำท่านวดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับลูกประคบสมุนไพรเพื่อรักษาโรค

นวดสมุนไพรวัดอมฤตวารี

สมาชิกกลุ่ม 63group3

นายธนวัฒน์           เกตุเส็ง         เลขที่4

นางสาวสุวนันท์      แป้นพัฒน์     เลขที่31

นางสาวสิตานันท์    ลือทุกข์สิ้น    เลขที่40

นางสาว ศิริลักษณ์ ต่วนเทศ

       จากการศึกษาเปลไม้ไผ่บ้านวังปลากดพบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี มีรูปลักษณ์คล้ายกับเรือและมีความเป็นมาที่หน้าสนใจเพราะในสมัยก่อนชาวบ้านมีอาชีพทำการเกษตร หลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวจะไม่มรีายได้เสริม จึงคิดจัดตั้งกลุ่มจักรสานเปลไม้ไผ่ขึ้นมาเพื่อให้มีรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราว ความเป็นมาที่น่าสนใจของเปลไม้ไผ่ ในจังหวัดอุทัยธานี มาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้อยู่คู่กับจังหวัดอุทัยธานีและประเทศไทยสืบไป 

เปลไม้ไผ่บ้านวังปลากดสมาชิกกลุ่ม 63group4

1.นางสาว ศิริลักษณ์ ต่วเทศ เลขที่ 27
2.นางสาว ศิริลักษณ์ บุญโพธิ์ ลขที่ 28
3.นางสาว สร้อยทิพย์ ท่านมุข เลขที่ 29
4.นางสาว เบญจวรรณ บุญส่ง ลขที่ 36

นางสาวกิตติยา ศรชัย

จากการศึกษา “วิถีชีวิตชาวแพลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง” เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาตั้งแต่ช้านานและสืบถอดมาจนถึงปัจจุบันโดยมีเรื่องราวเล่าต่อมาว่า เมื่อสมัยก่อนมีพ่อค้าล่องเรือมาจะรู้ว่าถึงแม่น้ำสะแกกรังแล้วสังเกตว่ามีแพเรียงรายอยู่ที่ตามชายฝั่งแม่น้ำ เรือนแพที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำเป็นเรือนแพไม้ค่อมบนแพลูกบวบไม้ไผ่ ชาวบ้านบอกว่าอยู่แพแล้วสบายหน้าร้อนลมเย็น หน้าหนาวตอนเช้าแดดอุ่น ชาวแพเหล่านี้ประกอบอาชีพทำการประมง ในช่วงเช้าหลังจากได้ปลาจะนำมาชำแหละเสียบเป็นแผงผึ่งให้แห้ง ย่างรมควันทำเป็นปลาแห้งและนำขายในตลาด ตามเรือนแพเหล่านี้ยังมีกระชังเลี้ยงปลา ปลาสวาย ปลาแรดและปลาเทโพ แม่น้ำสะแกกรังถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตชาวแพและชาวอุทัยธานีมาตั้งแต่โบราณ ชุมชนชาวแพแห่งแม่น้ำสะแกกรังมีวิถีชีวิตผูกพันสายน้ำที่เหลืออยู่แห่งสุดท้ายในประเทศไทย กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของวิถีชีวิตชาวแพลุ่มน้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

สมาชิกกลุ่ม 63group2

1.นายวโรดม  เพ็ชรกลับ เลขที่ 12 ม.6/3

2.นางสาวกิตติยา ศรชัย  เลขที่ 19 ม.6/3

3.นางสาวนภสร  มุขนาค เลขที่ 22 ม.6/3

4.นางสาวปิยวดี  ซังบิน  เลขที่ 23 ม.6/3

 

นางสาวณัฐชยา ศรีกุล

 

 จากการศึกษาค้นคว้า น้ำเต้าหู้ไซ้จันทร์ พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีที่มาแต่ช้านานตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่า น้ำเต้าหู้ เป็นเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างมากมาย มีทั้งแคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งยังช่วยในระบบต่างๆในร่างกายได้อีกด้วย  ในจังหวัดอุทัยธานี มีร้านน้ำเต้าหู้อยู่หลายแห่ง แต่ละร้านก็มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป ร้านน้ำเต้าหู้ไซ้จันทร์ก็เช่นกัน  ร้านน้ำเต้าหู้ไซ้จันทร์มีจุดเด่นตรงที่มีราคาถูก สะอาด รสชาติอร่อย และมีการบริการที่ดี และจุดเด่นที่แตกต่างจากทุกร้านก็คือ มีเมนู สินค้ามากมายหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีประโยชน์อยู่มากมาย ดังนั้นถ้าจะเลือกซื้อน้ำเต้าหู้ไปดื่ม กลุ่มเราพวกเราคิดว่า ร้านน้ำเต้าหู้ไซ้จันทร์ ควรจะเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งของคุณก็เป็นได้

63group6

สมาชิก 

1.นางสาวกวิสรา  พรหมศรี  เลขที่ 32

2.นางสาวณัฐชยา  ศรีกุล  เลขที่  34

3.นางสาวศิรประภา  แกว่นกสิกรรม  เลขที่ 39

นายชยานันต์ มีเผ่า

 

        จากการศึกษาค้นคว้า"การทำปลาย่างรมควันของลุงเต๊ะ"นั้นถือเป็นการทำอาชีพที่เหมาะกับสภาพพื้นที่ที่อาศัยอยู่เนื่องจากอยู่ติดกับแม่น้ำสะแกรกรังจึงจับปลาได้ตลอด และนอกจากนี้ยังเป็นการหารายได้ให้กับผู้คนใกล้กับแม่น้ำอีกด้วย ซึ่งเป็นอาชีพที่ค่อนข้างจะทำได้ยากถ้าไม่ได้อยู่ติดกับแม่น้ำ จากการที่เราไปค้นคว้าศึกษามาเราได้รู้ถึงวิถีชีวติความเป็นอยู่และวิธีการทำปลาย่างรมควันอีกด้วย

63group8

สมาชิก

1นายชยานันต์    มีเผ่า  เลขที่  2

2. นางสาวภัทรนันท์ มีสุข เลขที่25

3.นางสาวพรทิพย์ สาแช เลขที่37

4.นางสาวอุมาพร ศรีพระการณ์ เลขที่ 41

 

นายทรงเดช พงศ์ธรกุลพานิช

        จากการศึกษาค้นคว้าการทอผ้าการต่อผ้านั้นเป็นอาชีพหลักของคนไทยมาช้านานซึ่งส่วนมากจะเป็นอาชีพของผู้หญิงซึ่งถือว่าเป็นงานที่ประณีตพวกเราได้ไปค้นคว้ามาจากร้านศิลปะการต่อผ้าซึ่งจะใช้มือทำกระเป๋าโดยไม่ใช้เครื่องเลย ถือว่าเป็นการฝึกความอดทนและยังให้ความเพลิดเพลินอีกด้วยกระเป๋าที่ทำได้นั้นสามารถนำไปขายหารายได้และยังนำมาใช้เองหรือประดับบ้านได้อีกด้วยซึ่งต้นทุนก็ถือว่าไม่มากเท่าไรจึงเหมาะการคนที่อยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ป้าน้อยได้บอกไว้ว่ากระเป๋าใบแค่นี้สามารถขายได้หลายพันเพราะทำจากผ้าเนื้อดีซึ่งกระเป๋าที่ทำออกมาสามารถขายออกได้ทั้งหมดซึ่งเป็นที่ต้องการของผู้ที่สนใจหลายคน

63group10

สมาชิก

1.นายทรงเดช พงศ์ธรกุลพานิช เลขที่3

2. นางสาวดารารัตน์  กล่ำพุก  เลขที่ 20

3.นางสาวฐิติพร  ศรีพระการณ์  เลขที่ 33

4.นางสาวทิพาวรรณ  ภาชนะปรีดา เลขที่ 35

นายศรัณย์ เศวตมาลานนท์

"ลูกประคบ วัดหนองหญ้านาง"

จากการศึกษาค้นคว้า “ลูกประคบวัดหนองหญ้านาง” พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาตั้งแต่อดีตกาล และสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาช้านานจนถึงปัจจุบันนี้ พบว่าลูกประคบวัดหนองหญ้านางเป็นการนวดเพื่อคลายเส้น แก้เหน็บชา แก้คนเป็นอัมพฤก-อัมพาต และยังเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจที่จะสืบทอดไปต่อรุ่นลูกหลาน เพื่อลูกหลานในอนาคตนั้นได้มีอาชีพติดตัวต่อไปในภายภาคหน้า กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของลูกประคบวัดหนองหญ้านางของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพ่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรัษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไปในภายภาคหน้า

สมาชิก

1.นายศรัณย์ เศวตมาลานนท์ เลขที่ 14 ม.6/3

2.นายศุภวิชญ์  ขุมเพ็ชร เลขที่ 15 ม.6/3

3.นายอภิสิทธ์  ปานเปรม เลขที่ 16 ม.6/3

4.นายอรุณพงษ์ ก้อนนาค เลขที่ 17 ม.6/3

 

นางสาววรรณฤดี ภู่เกตุ

 สมุนไพรวัดหนองหญ้านาง

พบว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมานาน

เนื่องจากหลวงพ่อสมัยเป็นคนที่ชอบทางด้านสมุนไพร และเติบโตมากับสมุนไพร

หลวงพ่อสมัยเลยมาศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรเพิ่มเติ่ม และนำความรู้ที่มีเกี่ยวกับสมุนไพร มาใช้

เพื่อรักษาผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติ

และมีการให้ผู้ที่มารักษามานอนรักษาที่วัดได้ โดยจะเสียค่าใช้จ่ายแค่ค่าสมุนไพรที่นำมาใช้ในการรักษาเท่านั้น

63 group 7

สมาชิก

1.นางสาวทิชากร แทนเกษม เลขที่ 21

2.นางสาวพนิดา รักงาม เลขที่ 24 

3.นางสาวพิรมน แกล้วสาริกรณ์ เลขที่ 30

4.นางสาววรรณฤดี ภู่เกตุ เลขที่ 38

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3

นายเพิ่มทรัพย์ โพธิ์แก้ว

                 จากการศึกษาค้นคว้า  “ร้านนมผึ้ง” พบว่ามีความอร่อยหลากหลาย มีทั้งสูตรลับเฉพาะของร้าน และเป็นภูมิปัญญาของเจ้าของร้าน คือคุณป้า ทองอยู่ มูลโชติ ซึ่งเมนูอาหารหรือสูตรการปรุงน้ำปั่นเป็นสูตรที่สืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน ประมาณ 20 ปี โดยการนำส่วนผสม ต่างๆ มาผสมให้เข้ากัน มีการผสมผสานอย่างลงตัว และมีการคิดค้น สูตรใหม่ๆ เช่น ปังเย็น ที่ปกติ จะใช้นมเป็นส่วนผสม แต่ร้านนี้ใช้น้ำผึ้งเป็นส่วนผสมหลัก ซึ่งให้รสชาติกลมกล่อมอยากบอกใคร แถมยังเข้ากับ ขนมปัง และยังมีน้ำปั่นที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์เฉพาะร้าน ไม่มีที่ใดสามารถลอกเลียนแบบได้  กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของร้านน้ำปั่นนมผึ้งของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์  และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินจังหวัดอุทัยธานีสืบไป

 

63group11

สมาชิก

1.นายพงษ์พันธ์  จันทร์สมบัติ เลขที่ 6

2.นายเพิ่มทรัพย์  โพธิ์แก้ว  เลขที่7

3.นายรังสิมันต์    บุญลือ   เลขที่ 18

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท