ไทยจะเป็นประเทศแรกของโลกที่มีคณะรัฐมนตรีเขียนบล๊อกไปได้ไหม - ได้ครับ ผมช่วยได้


สิ่งที่ผมได้ทำที่จะมีประโยชน์ที่สุดในการไปงานประชุม "นักวิจัยรุ่นใหม่พบเมธีวิจัยอาวุโส สกว." ในวันที่ 12-14 ต.ค. 49 ที่ผ่านมานั้นได้แก่การไปเสนอตัวช่วยทำงานให้แก่ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

หลังจากผมได้ขึ้นเวทีประกาศความเป็น "ศิลปินรุ่นใหม่" ไม่ใช่ "นักวิจัยรุ่นใหม่" ในการเสวนาดังที่ผมได้เล่า "ที่บันทึกนี้ " แล้ว ผมก็หลบไปนั่งกินกาแฟหลังห้องเพื่อรอโอกาสได้คุยกับอาจารย์หมอวิจารณ์ (เพื่อขออนุญาตซื้อ laptops -- ศิลปินอะไรก็ไม่รู้ชอบขอซื้อของ อาจารย์หมอวิจารณ์ก็ใจดีให้ซื้อ)  และฟังอาจารย์ยงยุทธบรรยายไปด้วย

มีอยู่หนึ่งจังหวะที่อาจารย์ยงยุทธได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและยกตัวอย่าง open source แล้วพูดถึงผมซึ่งได้พูดเรื่องนี้ก่อนหน้า ทำให้ผมได้ทราบว่าอาจารย์ยงยุทธก็ฟังผมพูดเหมือนกันแฮะ ตอนแรกนึกว่าไม่ได้ตั้งใจฟังเพราะเห็นอาจารย์กำลังใช้ laptop นั่งทำงาน

ผมดีดนิ้วเปาะ แล้วรู้ทันทีว่านี่เป็นโอกาสที่เราจะได้เสนอตัวเพื่อทำให้ความฝันอย่างหนึ่งเป็นจริง คือได้เห็น "คณะรัฐบาลไทยเขียนบล็อก" ซึ่งจะเป็นรัฐบาลแรกของโลกที่โปร่งใสได้ถึงขนาดนี้

ดังนั้นหลังจากการประชุมช่วงเช้าสิ้นสุดลง ผมจึงถือโอกาส "ขอรบกวนเวลาอาจารย์ 2 นาที" เสนอตัวทันที ซึ่งอาจารย์ยงยุทธก็ได้ถามว่า "แล้วผมจะไปช่วยอาจารย์ยงยุทธได้หรือ เพราะผมกำลังช่วยอาจารย์หมอวิจารณ์อยู่" ผมรีบตอบทันทีว่า "ได้ครับ ผมช่วยได้" เพราะผมรู้ว่าด้วย KnowledgeVolution ที่เรามีอยู่ในมือ จะติดตั้งเพิ่มอีกเท่าไหร่งานที่เพิ่มขึ้นก็เพียงนิดเดียว

อาจารย์ยงยุทธกำลังให้คนทำงานของอาจารย์ติดตั้งระบบบล็อกที่ สวทช. อยู่ด้วย และอาจารย์บอกว่าจะให้คนของ สวทช. ติดต่อผม ดังนั้นระบบของเราอาจจะได้ไปติดตั้งให้ สวทช. ก่อน ผมเดาว่าอาจารย์คงนึกถึงให้ผมไปช่วยทำระบบบล็อกของ สวทช. เป็นหลัก

"แต่อาจารย์ครับ" ผมกล่าวจบตอนท้ายเพราะเห็นว่ารบกวนเวลาอาจารย์ยงยุทธเกิน 2 นาทีที่ขอแล้ว "ผมอยากเห็นคณะรัฐมนตรีเขียนบล็อกครับ ตอนนี้เรามีอาจารย์ไพบูลย์ซึ่งเป็น blogger คนแรกของโลกที่เขียนบล็อกมาก่อนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว" (ซึ่งควรเป็นข่าวระดับโลก) "ถ้าเรามีคณะรัฐมนตรีที่เขียนบล็อก เราจะมีคณะบริหารที่โปร่งใสมากทีเดียว ผมช่วยได้นะครับ ผมยินดีช่วย"

ตอนนี้นามบัตรผมอยู่ในกระเป๋าของอาจารย์ยงยุทธแล้วครับ ผมไม่รู้ว่าพวกเราจะได้เห็นอาจารย์ยงยุทธมาเขียนบล็อกเมื่อไหร่ และเราจะได้เห็นคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเขียนบล็อกหรือเปล่า แต่เราจะหวังว่าจะได้เห็น และจะไม่เลิกหวังครับ

หมายเลขบันทึก: 54689เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2006 14:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
ได้มีโอกาสใช้Blogทำให้เห็นประโยชน์มากค่ะ     ดิฉันฝันที่จะให้อธิบดีเขียนBlog  แต่ยังเป็นความฝันอยู่     ถ้าอาจารย์ทำให้คณะรัฐมนตรีเขียนได้น่าจะเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ    ขอบคุณและขอให้กำลังใจอาจารย์ค่ะ

อ่านแล้วได้ยิ้มไปด้วยค่ะ  นึกถึงสีหน้าสีตา รวมทั้งแววตาของอ.ธวัชชัยออกเลยค่ะว่าเป็นอย่างไร  ขออวยพรให้ระบบ blog ของอาจารย์ได้ติดตั้งที่ สสวท นะคะ

ขอแก้คำผิดค่ะ จาก สสวท เป็น สวทช.
ช่วยภาวนาด้วยคนค่ะ รัฐมนตรีคณะนี้แทบทุกคน เป็นผู้ที่สมควรเขียนบล็อกเป็นอย่างยิ่งค่ะ ยิ่งถ้าท่านมีอายุการทำงานเพียง 1 ปีด้วยแล้ว หากท่านเขียนกันต่อๆไป แม้พ้นตำแหน่งแล้ว เราก็จะมีขุมทรัพย์ความรู้มหาศาล ระดับมันสมองอีกเพียบ โอ๊ย ยิ่งคิด ยิ่งลุ้นค่ะ อาจารย์

เรียน ท่านอาจารย์ธวัชชัย และท่านผู้อ่าน+ลปรร.ทุกท่าน...

  • ก่อนอื่นขอแสดงความชื่นชมกับ สคส. + ทีมงาน G2k + สมาชิก + ท่านผู้ใช้บริการ G2k ทุกท่าน...

ทราบมาว่า อัตราการเข้าใช้บริการ G2k ตอนนี้ประมาณวันละแสนเศษ

  • ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจรายสัปดาห์ว่า Pantim.com ก็มีอัตราเข้าใช้บริการวันละแสนพอๆ กัน)
  • เข้าใจว่า คนไทยคงแสวงหาสาระ + ข้อมูล + ข้อคิดมากขึ้น

ขอเชียร์ให้คณะรัฐมนตรีไทยกู้ชาติสำเร็จครับ... สาธุ สาธุ สาธุ

ผมยังเสียดายที่ไม่ได้เตรียมการเพื่อจะ present นำเสนอในประเด็นนี้ให้ชัดเจน ผมมัวแต่ไปทำเรื่องอื่น (เบื้องหลังการถ่ายทำคือ ส่วนในการเปลี่ยน theme นั้น fix อยู่แถวๆ ชะอำนะครับ ในห้องประชุมนั่นล่ะด้วย MacBook กับ GPRS)

ตอนนี้มานึกเสียดายที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับโอกาสบนเวที มัวแต่นึกจะไป play different อยู่อย่างเดียว ทั้งๆ ที่มีโอกาส make different ครับ

โอ... ยิ่งนึกก็ยิ่งเสียดาย

ดิฉันยังคิดเชื่อมโยงไม่ได้ว่า  ถ้าคนในรัฐบาล (นักการเมือง??) เขียนบันทึกแล้ว  ประชาชนจะได้เห็นอะไร

คิดไม่ออกจริงๆ ค่ะ  อาจารย์จะกรุณาขยายสักนิดมั๊ยคะ

เราจะเห็นความคิดความอ่านของนักการเมืองรวดเร็วยิ่งขึ้นครับ ผู้สนับสนุนหรือผู้ต่อต้านคนนั้นๆ ก็จะมีข้อมูลตัดสินใจมากขึ้นครับ

ที่จริงบันทึกนี้ผมเขียนเมื่อเจ็ดปีที่แล้ว ตอนนี้เราก็เห็นนักการเมืองใช้สื่อออนไลน์กันมากแล้วเกือบทุกคนครับ ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ดีมากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท