เวียดนาม: ท่วงทำนองจากภูเขาถึงทะเล


เสียงร้องประกอบกับการแสดงดนตรีทำให้คิดคลับคล้ายคลับคลาไปถึงเพลงซอของภาคเหนือที่นับวันจะหาชมได้ยากขึ้นทุกที และคาดว่าคนรุ่นใหม่ปัจจุบันมีไม่กี่คนที่จะรู้จักเพลงซอ เพลงพื้นเมืองทางเหนือที่มีความเป็นเอกลักษณ์และบรรจุประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ยาวนานไว้อย่างเต็มเปี่ยม ไม่แพ้ชนชาติไหนๆเลย เรือมังกร พาหนะของเราที่วนลอยลำกลางลำน้ำหอมนั้นขยับเข้าใกล้ฝั่ง เป็นสัญญาณว่าการแสดงใกล้จะจบลงแล้ว เสียงเพลงและเสียงปรบมือนั้นเหมือนยังดังอยู่เบื้องหลังในเวลาที่เราเดินออกจากเรือและสัมผัสบรรยากาศชื้นเย็นของเมืองเว้อีกครั้ง

                        เวียดนาม: ท่วงทำนองจากภูเขาถึงทะเล....             

“He climbed  his horse , She let go of his gown-          autumn  was  tinging  maple  woods with  gloom.     

     And  off he rode  as clouds  of dust  swirled  up ,          to vanish  past  all  those green mulberry groves.         

She  walked back home to face the night  alone ,    

      and by himself  he  fared the long , long way .          Who  split the lover’s moon ?  Half stayed and slept          by  her lone pillow , half lit his far road .”                                                                                  by  Nguyen Du                                                                                 จุดหมายของวันแรกของเรานั้นยังไม่ใช่การเดินทางตรงสู่เวียดนามเพราะการที่เราต้องเดินทางเป็นระยะทางกว่า๒,๐๐๐ กิโลเมตรนั้นช่างเป็นหนทางที่ดูยาวนานเหลือเกิน  เราแวะพักที่มุกดาหารหนึ่งคืนเพื่อที่จะเดินทางข้ามโขงไปยังจังหวัดสะหวันเขต  ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  หลังจากนั้นจึงเดินทางด้วยรถบัสไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษลาวบาว ซึ่งจุดนี้เองหลังจากแวะรับประทานอาหารกลางวันเรียบร้อยแล้วทุกคนต่างทยอยแลกเงินเป็นเงินเวียดนามซึ่งเรียกว่าเงินโด่ง  ( ๑บาทเท่ากับ ๓๘๕ โด่ง )  การแลกเงินครั้งนี้ทำให้พวกเรากลายเป็นเศรษฐีเงินล้านไปตามๆกันเลยทีเดียว  ผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ไกด์ชาวเวียดนามเล่าให้ฟังว่ามีนักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุน  ตั้งโรงงานผลิตสินค้ากันหลายชนิดเลยทีเดียว และธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตมากในเวียดนามตอนนี้น่าจะได้แก่การผลิตชิ้นส่วนของรถมอเตอร์ไซด์ เหตุเพราะชาวเวียดนามทุกครัวเรือนต่างใช้มอเตอร์ไซด์เป็นพาหนะกันแทบทั้งนั้น                   สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งหลังจากแค่ข้ามภูเขาจากลาวมายังเขตเวียดนามแล้วนั้นก็คือ ลักษณะภูมิประเทศของทั้งสองประเทศนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาจจะกล่าวได้ว่าพอเราเดินทางออกจากจังหวัดสะหวันเขตซึ่งถือว่าเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของลาวที่อาจารย์ให้ข้อสังเกตว่าตอนนี้ปรับปรุงดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมากเราก็จะพบกับ ที่ราบสูงที่ค่อนข้างแห้งแล้ง   การขาดแคลนระบบการชลประทานที่ดีและไม่มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์มากนัก  ทำให้มีพื้นที่การเกษตรค่อนข้างจำกัด  ส่วนใหญ่ประชาชนที่อาศัยแถบนี้เป็นชาวเขาเสียส่วนใหญ่  แต่พอเราข้ามเขามายังเขตเวียดนามแล้ว ภูมิทัศน์ก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดเพราะเราจะเห็นความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ป่าไม้และแม่น้ำสีเขียวคล้ายหยกที่มีปริมาณน้ำเต็มฝั่ง เพราะเหตุที่เวียดนามมีพื้นที่แคบสองข้างขนาบด้วยทะเลและภูเขาและเมื่อความชื้นจากทะเลลอยขึ้นมาก็จะเจอกับแนวปะทะของภูเขาทำให้มีฝนชุกตลอดปี ไกด์ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เวียดนามกำลังมีโครงการที่จะสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำจากแม่น้ำสายนี้  เห็นจะเป็นไปได้มากทีเดียวถ้าพิจารณาจากความแรงของกระแสน้ำ     เราผ่านความเขียวขจีของพืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์ในเขตหุบเขา จนเริ่มเข้าเขตเมืองเพราะเริ่มเห็นบ้านเรือนทรงเวียดนามกระจายตัวอยู่ประปราย  บ้านทรงเวียดนามนั้นเป็นที่ประทับใจใครหลายๆคนเพราะมีรูปลักษณ์ที่แปลกตา  ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะหน้าแคบเหตุผลเพราะที่ดินในเวียดนามมีราคาแพงดังนั้นถ้าต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยชาวเวียดนามก็จะสร้างบ้านให้สูงขึ้น ๓ หรือ ๔ ชั้นดูคล้ายๆกับตึกแถวบ้านเรา  แบบบ้านหรือการตกแต่งก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมหรือความชอบอาจจะเป็นแบบเวียดนามแท้หรือจะผสมผสานกับแบบฝรั่งเศส ซึ่งตอนนี้ส่วนใหญ่คนจะนิยมบ้านสีเหลืองอ่อน แต่เราก็ยังพบสีอื่นๆด้วย เช่น เขียว ชมพู  ฟ้า  เป็นต้น                    เขตเมืองที่เรามาถึงตอนนี้คืออำเภอ ดองฮา  อยู่ในเขตจังหวัดกวางจิ (ไกด์บอกว่า อ่านกวางตริในภาษาอังกฤษแต่ภาษาเวียดนามเรียก กวางจิ)   พืชพันธุ์แถบนี้นั้นส่วนใหญ่ที่เห็นก็จะเป็นพืชพวกกาแฟ  พริกไทย ซึ่งดองฮาเป็นแหล่งปลูกพริกไทยที่สำคัญเพราะสภาพภูมิอากาศอำนวยแต่ตอนนี้ราคาพริกไทยไม่ค่อยสูงเท่าไหร่   นอกจากนั้นพื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่คือการทำนาข้าวซึ่งการทำนาข้าวของเวียดนามนั้นสามารถทำนาได้ตลอดปี  ตอนที่พวกเราไปถึงนั้นเป็นฤดูหว่านไถอีกรอบหนึ่งพอดี    ต่างจากการทำนาของไทยที่สามารถทำได้แค่ปีละสองครั้งเท่านั้นแถมพื้นที่ก็ยังจำกัดอีกด้วย  นึกเปรียบเทียบอย่างนี้แล้วเราอาจจะเสียแชมป์ในการส่งออกข้างเป็นอันดับหนึ่งของโลกในเร็ววันนี้ก็ได้  เหตุที่ว่าแค่ที่เห็นประจักษ์ตาเป็นเขตตอนกลางของเวียดนามเท่านั้นยังไม่นับรวมถึงเขตเวียดนามใต้หรือเขตแม่โขงเดลตาที่เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามก็ดูเหมือนว่าจะมีที่นามากกว่าภาคเหนือทั้งภาครวมกันเสียอีก                เย็นมากแล้วที่เราได้เดินทางมาถึงเว้  เขตราชธานีเก่าที่มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ประทับของจักรพรรดิ์เบาด่าย  จักรพรรดิ์องค์สุดท้ายของเวียดนามก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส   และยังเป็นเมืองแห่งกวีที่มีชื่อเสียง  บ้างก็ว่าเพราะความสวยงามของแม่น้ำหอมทำให้กวีมีสุนทรียะในการผลิตกวีนิพนธ์   แม่น้ำหอมหรือที่คนเวียดนามเรียกว่าซงเฮืองเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ไหลผ่านใจกลางเมืองเว้ อาจจะเปรียบได้กับแม่น้ำปิงของเชียงใหม่หรือเจ้าพระยาในภาคกลางของไทย  เหตุที่ได้ชื่อว่าแม่น้ำหอมนั่นก็เพราะเส้นทางที่แม่น้ำไหลผ่านจะต้องผ่านหุบเขาที่มีดอกไม้กลิ่นหอม  และเมื่อดอกไม้นั้นได้ร่วงหล่นในลำน้ำก็ทำให้แม่น้ำพัดพากลิ่นหอมมาจนถึงเมืองเว้ด้วย   จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งก็คือ  การจราจรในเมืองเว้เป็นอย่างที่เคยได้ยินคือกองทัพจักรยานยนต์ที่จะบีบแตรตลอดทางเพื่อให้สัญญาณ  เพราะชาวเวียดนามจะไม่เปิดไฟเลี้ยวทั้งยังไม่ค่อยมีสัญญาณจราจรตามสี่แยกมากเท่าไหร่นักและที่ต่างจากบ้านเราคือชาวเวียดนามไม่ต้องสวมหมวกกันน๊อคแต่สวมเมื่อออกนอกเมืองเท่านั้น    ต่อมาภายหลังเราถึงได้ตระหนักถึงความอันตรายของการจราจรที่นี่เมื่อเกิดความยากลำบากในการข้ามถนนเป็นอย่างมาก                  รุ่งขึ้นในวันที่สองเราออกเดินทางแต่เช้าเช่นเคยเพื่ออกเดินทางไปชมเจดีย์เทียนหมุ สัญลักษณ์และศูนย์กลางของพุทธศาสนาคู่เมืองเว้   ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำหอม    เจดีย์เทียนหมุเป็นเจดีย์เจ็ดชั้นที่ได้รับอิทธิพลสถาปัตยกรรมจากจีนผสมผสานกับความเชื่อของพุทธศาสนามหายาน  อย่างลงตัวนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนาแล้วเทียนหมุยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองและอำนาจอีกด้วย  เมื่อเราเดินไปทางด้านในจะเห็นรถออสตินสีฟ้าซึ่งเป็นรถที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์เนื่องด้วยเหตุการณ์ที่พระภิกษุกวางซุกจากเทียนหมุเผาตัวเองเพื่อประท้วง   หลังจากชมความงามของเจดีย์เทียนหมุแล้วเราออกเดินทางมุ่งหน้าไปเมืองฮอยอันเมืองเก่าที่ได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก  และระหว่างทางได้แวะชมพิพิธภัณฑ์จามที่เมืองดานัง  ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมประติมากรรมศิลปะของอาณาจักรจามที่เคยรุ่งเรืองในบริเวณนี้เมื่อหลายร้อยปีก่อน    ศิลปะของจามรับใช้ความเชื่อในศาสนาฮินดู  ซึ่งจะเห็นจากประติมากรรมที่สลักรูปของเทพเจ้า เช่น พระวิษณุ  พระพิฒเนศ  พระนางอุมา  ซึ่งปรากฏในหลายลักษณาการณ์  รวมไปถึงสัญลักษณ์ของการก่อกำเนิดและความอุดมสมบูรณ์นั่นคือ ศิวลึงค์และฐานโยนี ที่อาจารย์สุรสวัสดิ์ได้กรุณาให้ความรู้ว่าเป็นส่วนที่สมบูรณ์และสวยงามที่สุด                เมื่อเราเดินชมงานศิลปะที่มีอายุหลายร้อยปีอยู่ในพิพิธภัณฑ์นั้นเหมือนกับเราได้ย้อนวันเวลาไปสู่ยุคที่อิทธิพลของอินเดียแทรกซึมและเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนนี้มาตั้งแต่โบราณกาล  อาจจะเกิดความสงสัยขึ้นมาว่าทำไมอารยธรรมอินเดียจึงแผ่ขยายและรุ่งเรืองในเขตพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลของจีน       แต่ในเวลานั้นอาณาบริเวณต่างๆไม่เคยมีการเรียกว่าพื้นที่นี้เป็นของประเทศใดมาก่อนแต่เรียกว่านี่คือเขตของอาณาจักรนั้นๆ   แต่หลังจากมีการปักปันเขตแดนตามความรับรู้ในความหมายของพื้นที่ของภูมิศาสตร์สมัยใหม่แล้ว    ก็เกิดประเทศต่างๆขึ้นเช่นกัมพูชา หรือ เวียดนาม และทำให้เกิดความสับสนระหว่างความเป็นจริงคือ ผู้คน  วิถีชีวิต ความเชื่อ และสิ่งที่ถูกสมมุติขึ้นเช่น เส้นเขตแดน  อย่างที่เกิดกรณีของขแมร์กรอม ในเวียดนาม                   แต่หากเดินออกจากพิพิธภัณฑ์ ก็เหมือนเราก้าวสู่อีกโลกหนึ่งเช่นกันคือโลกของการเร่งการพัฒนาทางวัตถุ เร่งการพัฒนาความเจริญอย่างเต็มสปีดของเมืองดานัง  เมืองท่าแห่งใหม่ที่เวียดนามสร้างให้เป็นแหล่งศูนย์กลางการค้าและ การสร้างท่าเรือน้ำลึกรองรับการขนส่งทางเรือที่คาดว่าจะเติบโตสุดขีดในอีก๕ ปีข้างหน้า  ดานังในวันนี้ไม่ใช่ทะเลความหวังในการแสวงหาดินแดนใหม่ของบรรดาโบ๊ทพิเพิล   อีกต่อไปแต่หากเป็นทะเลที่จะทำให้เวียดนามมีความเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตและโดยหลักการนั่นหมายถึงการกินดีอยู่ดีของประชาชน  สิ่งที่รองรับการขยายตัวนี้ไม่ใช่เพียงแต่ราคาที่ดินที่ขยับตัวสูงขึ้นเท่านั้นแต่หากมีการสร้างอภิมหาภัตตาคาร  และ สถานบันเทิงที่ใหญ่ที่สุดในเขตนี้อีกด้วย  เจ...เพื่อนของเราคนหนึ่งเคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่าจากที่เวียดนามเคยอยู่ในกรอบของสังคมนิยมมาตลอดจะเกิดอะไรขึ้นกับเวียดนาม  หลังจากคลื่นลมของทุนนิยมพัดโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว            ฮอยอันเมื่อยามที่เราไปถึงนั้นปกคลุมไปด้วยสายฝนทำให้ทัศนวิสัยไม่ชัดเจนนัก  แต่เพราะความที่เป็นเมืองเก่าที่ตึกรามบ้านช่องถูกอนุรักษ์คงไว้ในไว้ในสภาพเดิม   เราจึงไม่เห็นตึกสมัยใหม่ให้เป็นที่รกตาเลย   แม้แต่โรงแรมที่พักก็ยังตกแต่งแบบเวียดนามที่ทำให้ตื่นตาตื่นใจเมื่อไปถึง  บรรยากาศยามค่ำคืนของฮอยอันนั้นค่อนข้างเงียบเหงา อาจเป็นเพราะฝนตกประการหนึ่งหรืออาจเพราะส่วนใหญ่เป็นอาคารร้านค้าแต่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของชาวฮอยอันจริงๆก็เป็นได้  แต่ยามเช้าที่นี่กลับมีบรรยากาศคึกคักและถึงแม้ฝนจะตกโปรยปรายแต่ก็ไม่ได้มีผลอะไรต่อคนที่นี่พวกเขายังใช้ชีวิตตามปกติ  นอกจากความสวยงามของบ้านเรือนแบบเก่าที่เรียงรายทั้งสองข้างทางแล้วจุดเด่นอีกอย่างก็คือสะพานญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อก่อนนั้นเคยแบ่งเป็นย่านชาวญี่ปุ่นและย่านชาวจีน  ส่วนใหญ่ร้านค้าในเมืองฮอยอันจะมีสินค้าประเภทเสื้อผ้า ,รองเท้าและของที่ระลึกเช่น กระเป๋า,โคมไฟ เป็นต้น                   สองชั่วโมงหลังจากนั่งรถกลับมาที่เว้อีกครั้งเพื่อที่จะมาชมความยิ่งใหญ่ของสุสานไคดิงห์  สถานที่สำคัญที่นักท่องเที่ยวต้องมาเยือนนอกจากจะมีความสวยงามและความยิ่งใหญ่แล้วสุสานนี้ยังเป็นที่ฝังพระศพของจักรพรรดิไคดิงห์พระบิดาของจักรพรรดิองค์สุดท้ายของเวียดนามนั้นยังมีความประณีตและละเอียดอ่อนของงานศิลปะในงานตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบที่วิจิตรพิสดารอีกด้วย  สัญลักษณ์ที่จะเห็นอยู่ทั่วไปในสุสานหรือแม้แต่สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับจักรพรรดิก็คือการประดับลายมังกรและก้อนเมฆ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนจักรพรรดินั่นเอง                และค่ำคืนนี้เป็นคืนพิเศษที่จะได้มีโอกาสล่องเรือแม่น้ำหอมพร้อมกับได้ชมการแสดงดนตรีพื้นเมืองของเมืองเว้ที่มีชื่อเสียง  ซึ่งเมื่อได้รับชมนั้นทำให้ตระหนักถึงสิ่งที่เรียกว่าดนตรีตามความหมายของดุริยศิลป์ว่า  ดนตรีเป็นผลมาจากกระบวนการพฤติกรรมของมนุษย์ที่สร้างขึ้นจากคุณค่า,ทัศนคติและความเชื่อของผู้คนในแต่ละวัฒนธรรม  เสียงดนตรีจะไม่สามรถเกิดขึ้นเองได้นอกจากการที่คนกลุ่มหนึ่งผลิตเพื่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง  ถึงแม้ว่าเราจะแยกดนตรีได้เป็นสองส่วนคือเสียงและวัฒนธรรม แม้กระนั้นส่วนใดส่วนหนึ่งก็มิอาจสมบูรณ์ได้โดยที่ปราศจากอีกส่วนหนึ่ง                ดนตรีของเวียดนามก็เช่นกันที่เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากคุณค่า,ทัศนคติ,ความเชื่อของชาวเวียดนามจนกลายเป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรมที่มีมาช้านาน ชาวเวียดนามมักจะร้องเพลงในทุกโอกาสไม่ว่าจะทำงานหรือในเวลาว่างก็ตามเพลงพื้นเมืองของเวียดนามมีลักษณะมีชีวิตชีวา , มีท่วงทำนองและจังหวะเร็วและเปิดเผยซึ่งสะท้อนถึงบุคลิก ลักษณะนิสัยของชาวเวียดนามเอง   เมื่อพูดถึงกำเนิดของดนตรีเวียดนามนั้นก็อาจจะอ้างอิงได้จากการค้นพบในปี ๑๙๒๔  ในเวลานั้นนักโบราณคดีได้ขุดค้นในหมู่บ้านดองเซิน และสิ่งที่ขุดค้นได้ก็คือกลองทองแดงและเหรียญซึ่งแกะสลักรูปผู้ชายสองคนซึ่งคนหนึ่งขี่หลังอีกคนหนึ่งพร้อมทั้งเล่นKnene ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากเครื่องเป่าคล้ายฟลุ๊ตหลายๆอันผูกติดกัน  ในขณะที่อีกคนหนึ่งถือลูกกลมๆทำจากไม้ใช้เป็นเครื่องเคาะจังหวะ  เราอาจจะกล่าวได้ว่าเวียดนามมีเครื่องดนตรีพื้นเมืองของตนเองมาก่อนคริสตกาลเสียอีก  จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ ๒ ถึง ๑๐ นั้นดนตรีเวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีน โดยเฉพาะดนตรีทางภาคเหนือของเวียดนาม   สิ่งที่ต่างไปจากดนตรีตะวันตกคือดนตรีจีนจะมีโทนเสียง ๕ เสียง และจะบรรยายถึงคามรักชาติ  เนื้อเพลงจะเกี่ยวกับการสร้างจิตวิญญาณของชาติ และมีท่วงทำนองที่มีชีวิตชีวาและมองโลกในแง่ดี                   ส่วนดนตรีทางภาคกลางนั้นจะเป็นบทเพลงที่ร้องในเรือขณะที่พายในแม่น้ำหอม  เนื้อเพลงส่วนใหญ่จะบรรยายถึงการสดุดีวีรบุรุษของชาติ  และเพลงพื้นเมืองนี้เป็นที่นิยมกันมาก  ผู้ที่ประพันธ์ขึ้นก็คือ Luong Dang  ขุนนางจีนในสมัยราชวงศ์ Le  ซึ่งมีที่มาจากดนตรีระบบ ๕ เสียงซึ่งเป็นที่นิยมในวังสมันราชวงศ์หมิงของจีน  และดนตรีพื้นเมืองนี้จะใช้แสดงในวังของราชธานีเว้   ซึ่งดนตรีราชสำนักนี้แบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่และขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะแสดงด้วย  เช่น ดนตรีชั้นสูงของ Nam Gio  เป็นดนตรีที่ใช้ในพิธีบูชายัญวิญญาณแด่สวรรค์และโลกมนุษย์ซึ่งจะแสดงทุกๆปี (หลังจาก ปี๑๘๘๘)   ณ. แท่นบูชาที่เรียกว่าสนามแห่งสวรรค์ซึ่งอยู่ห่างจากพระราชวังเว้ไปทางใต้ประมาณ ๓ กิโลเมตร  ในพิธีนี้จักรพรรดิเสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีในการบูชายัญสัตว์จำนวน ๑๐๐ ตัว  แต่อย่างไรก็ตามเรื่องราวของพิธีนี้ยังคงเป็นสิ่งลึกลับ (พิธีนี้ห้ามผู้หญิงและประชาชนทั่วไปเข้าร่วม)    บางทีพิธีกรรมบูชายัญนี้อาจเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่สำคัญที่สุดที่จักรพรรดิเวียดนามทรงปฏิบัติ                ดนตรีราชสำนักจะออกแสดงในโอกาสอื่นๆด้วยเช่น โอกาสครบรอบวันสวรรคตของจักรพรรดิ และใช้ในพิธีกรรมในวัดขงจื้อโดยเฉพาะในวันสุริยุปราคาและวันจันทรุปราคาเพราะมีความเชื่อที่ว่าการเล่นดนตรีจะช่วยให้พระอาทิตย์หรือพระจันทร์กลับมายังโลกอีกครั้งหนึ่ง  มีการบันทึกจดหมายเหตุเกี่ยวกับดนตรีราชสำนักที่เขียนขึ้นในอักษรจีนจนถึงค.ศ ๑๙๑๔  เมื่อจักรพรรดิองค์สุดท้ายได้สละราชสมบัติ  หลังจาก ค,ศ ๑๙๔๕  ดนตรีราชสำนักได้เสื่อมลงพร้อมๆกับการเสื่อมสลายของราชสำนักเว้                ส่วนดนตรีทางใต้นั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียผ่านอารยธรรมของอาณาจักรจามปา  และดนตรีทางใต้นั้นมีถึง ๙ โทนเสียง  ๕ เสียงแรกได้รับการปรับเปลี่ยนจากจีนและมีการเพิ่มขึ้นใหม่อีก ๔ เสียง  ดนตรีทางใต้จะมีท่วงทำนอง  ครุ่นคิด ,เศร้าสร้อยและโศกเศร้า                เครื่องดนตรีของเวียดนามนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยเครื่องดนตรี ๕ ชิ้น คือ nhi , tranh , nguyet , ty และ tam  เรียกว่าการรวมตัวของ ๕ สมบูรณ์แบบเครื่องดนตรีเหล่านี้อาจจะดูเป็นองค์ประกอบที่ธรรมดาแต่กลับสามารถถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างจับใจผู้ฟัง                Nhi หรือ dan nhi เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเครื่องดนตรีจีนคือ erhu และคล้ายซอด้วงของไทยมีเสียงสูงต่ำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะและมีเสียงที่มีความชัดเจน  nhi ประกอบด้วยสาย ๒ สาย ขึงบนกล่องเสียงที่มีลักษณะยาว  สาย ๒ สายนี้ทำมาจากไหมถัก และที่หุ้มกล่องเสียงนั้นทำมาจากหนังงู แต่ในปัจจุบันนั้นเครื่องสายแบบนี้จะทำมาจากลวดและกล่องเสียงไม้  เวลาเล่นจะวางไว้บนเข่าของนักดนตรี                Dan tranh เป็นเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายพิณซึ่งมี ๑๖ สายและยาวประมาณ ๔๐ นิ้วหรือ ประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร ใช้ทั้งเป็นเครื่องดนตรีเล่นเดี่ยวและเล่นเป็นวง เครื่องดนตรีชนิดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดยจักรพรรดิ Phuc Hi ของจีน ในปัจจุบัน dan tranh เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและเป็นเครื่องดนตรีที่นักเรียนหญิงชาวเวียดนามเลือกเรียน                Kim หรือ dan nguyet มีลักษณะคล้ายกีตาร์มีลักษณะค่อนข้างยาว  มีวิธีการจับเหมือนกีตาร์ ประกอบด้วยสาย ๒ สายซึ่งมีเสียงที่นุ่มนวล                Ty หรือ dan ty ba  มีลักษณะคล้าย pipa เครื่องดนตรีทรงน้ำเต้าของจีน มี ๔ สายและมีกล่องเสียงค่อนข้างแคบ                Tam หรือ dan tam  เป็นกีตาร์ ๓ สาย มีลักษณะคล้ายsanxian ของจีน                นอกจากเครื่องดนตรี๕ สมบูรณ์แบบแล้วเครื่องดนตรีอีกอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากเช่นกันคือ  dan bau เป็นพิณน้ำเต้าสายเดี่ยวแบบโบราณ เสียงของbau นี้มีเสน่ห์มากจนกระทั่งมีคำกล่าวที่ว่า ให้ผู้หญิงระวังผู้ชายที่เล่น dan bau ให้ดีเพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจจะตกหลุมรักนักดนตรีโดยไม่รู้ตัว                เนื่องจากลัทธิขงจื้อมีอิทธิพลในสังคมเวียดนาม  และความเชื่อของขงจื้อนั้นเชื่อว่าดนตรีควรที่จะสร้างสรรค์เพื่อการจรรโลงสังคมและนำสันติสุขมาสู่หัวใจประชาชน  และเช่นเดียวกับศาสนาที่จะต้องมีบทบาทในกรสร้างระเบียบวินัยให้กับสังคม  โดยที่อนุรักษ์และคงไว้ซึ่งกฏ ระเบียบของสังคม  การมีมารยาทที่ดีและเคารพประเพณีของตน  และภายใต้กรอบประเพณีเช่นนี้ทำให้การละครบรรจุบทเพลงไว้ไม่มากนัก และปรับใช้ในแต่ละโอกาส เช่น การแสดงดนตรีเพื่อราชวงศ์ , พิธีกรรมทางศาสนา และพิธีฝังศพ   ผลกระทบของความทันสมัยที่เข้ามาในปัจจุบันก็เกิดความวิตกกังวลว่าจะทำให้ดนตรีดั้งเดิมนั้นสูญหายไป  แต่โชคดีที่ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะดนตรีแบบเก่ายังคงได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปถึงแม้ว่าคนรุ่นใหม่นิยมเพลงตะวันตกมากขึ้น  เพราะผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์ก็คือโรงเรียนดนตรีแห่งชาติ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ผลิตผู้ประพันธ์เพลง และ ศิลปินรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน                ในขณะที่เรารับชมเพลงพื้นเมืองของเว้ที่บรรเลงโดยเครื่องดนตรีสามชิ้นซึ่งคาดว่าน่าจะเป็น dan nguyet  มีลักษณะเหมือนกีตาร์แต่มีสายเพียงสองสาย  ,  Dan tranh มีลักษณะคล้ายพิณมี๑๖ สาย และสุดท้ายคือ  Dan bau ที่รู้ก็เพราะว่าเห็นมีไม้รูปทรงคล้ายเขาควายอยู่ด้านหนึ่งของเครื่องดนตรี  และมีการขับร้องโดยนักร้องสาวสี่คนแต่งกายชุดประจำชาติแต่เป็นแบบเมืองเว้ซึ่งต่างจากภาคเหนือและภาคใต้   เสียงร้องประกอบกับการแสดงดนตรีทำให้คิดคลับคล้ายคลับคลาไปถึงเพลงซอของภาคเหนือที่นับวันจะหาชมได้ยากขึ้นทุกที  และคาดว่าคนรุ่นใหม่ปัจจุบันมีไม่กี่คนที่จะรู้จักเพลงซอ  เพลงพื้นเมืองทางเหนือที่มีความเป็นเอกลักษณ์และบรรจุประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่ยาวนานไว้อย่างเต็มเปี่ยม  ไม่แพ้ชนชาติไหนๆเลย   เรือมังกร  พาหนะของเราที่วนลอยลำกลางลำน้ำหอมนั้นขยับเข้าใกล้ฝั่ง  เป็นสัญญาณว่าการแสดงใกล้จะจบลงแล้ว  เสียงเพลงและเสียงปรบมือนั้นเหมือนยังดังอยู่เบื้องหลังในเวลาที่เราเดินออกจากเรือและสัมผัสบรรยากาศชื้นเย็นของเมืองเว้อีกครั้ง           เขาปีนขึ้นบนหลังม้า  เธอจำต้องปล่อยมือจากชายเสื้อคลุม                ฤดูใบไม้ร่วงครอบคลุมป่าเมเปิลด้วยความเศร้าโศก                เขาจากไปทันทีที่กลุ่มฝุ่นตลบขึ้น                อันตรธาน...  หายลับไปเมื่อผ่านพุ่มไม้ ป่าหม่อน                เธอเดินกลับบ้าน เผชิญความมืดของรัตติกาลอย่างเดียวดาย                และตอนนี้เขาก็ห่าง...ไกลออกไปทุกที                ใครกันหนอ...แยกดวงจันทร์ของคู่รัก                ครึ่งหนึ่งยังอยู่ที่เดิมและหลับใหลไปบนหมอนที่อ้างว้างของเธอ                อีกครึ่งหนึ่งนั้นเป็นแสงสว่างนำทางให้เขาไปไกล แสนไกล                                                                                                                                เสียงบทกวีมีชื่อเสียงของเวียดนามที่บรรยายถึงเรื่องราวการพลัดพรากของคู่รัก  ยังดังก้องในความคิดคำน

คำสำคัญ (Tags): #สารคดี#เวียดนาม
หมายเลขบันทึก: 54675เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2006 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • เค้าว่ากันว่า อาหารเวียดนามจะมีส่วนผสมของผักเป็นส่วนใหญ่
  • เค้าว่ากันอีกว่า หาคนอ้วนๆ ที่เวียดนามยากมาก
  • มีลูกผสมเวียดนาม จีน ลาว  สาวๆ สวยๆ หลากหลายค่ะ

ชั้นเองตามหาสิ่งทีัชั้นต้องการเจอแล้วในที่สุด ชั้นคิดถึงแก พอ ๆ กับเวลาที่เราไม่ได้คุยกันนั่นล่ะ

ชั้นจะเข้ามาดูทุกวันนับจากนี้ จนกว่าจะได้เจอแกนะ 

ห้าปีผ่านไปแล้ว งานของแกยังวน ๆ อยู่กับเรื่องความเหงาเหมือนเดิม

วันเวลาผ่านแล้ว ก็ผ่านอีก อย่างน้อย แกก็ยังทำให้ "ที่นี่" กลายเป็น "ที่อื่น" ได้แล้วนะ

ดีใจกับแกจริง ๆ

ล่องเรือสำราญกลางแม่น้ำ "หอม"

ประทับใจศิลปวัฒนธรรมของเวียตนาม ที่ใช้ตะเกียบและ ถ้วยชาเล็กๆ มาสั่นรัวเกิดท่วงทำนองพริ้วไหว ประกอบท่าร่ายรำ ไกด์บอกว่าเป็นการแสดงในราชสำนักสมัยโบราณ    เยี่ยมมากจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท