การอบรมเพิ่มศักยภาพด้านการวิจัยแก่บุคลากร พบผลหลายอย่าง


การอบรมวิจัยเป็นการต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added)ให้กับโครงการพัฒนางาน

      นอกจากการสร้างให้ทุกคนเป็นนักคิด นักทบทวน เพื่อทำโครงการพัฒนางานภายใต้โครงการ Patho Otop แล้ว ภาควิชา ยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งที่จัดควบคู่กันไป คือการอบรมวิจัยให้บุคลากร โดยเป็นการอบรมต่อเนื่อง ตั้งแต่การบรรยายหัวข้อพื้นฐานต่างๆ เป็นระยะ จนกระทั่งให้ผู้เข้าอบรมได้นำเสนอแนวคิดและโครงการ จนกระทั่งสามารถเขียนโครงร่างวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ มีผู้เข้าอบรมประมาณ 24 คน  การอบรมเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนกระทั่งจบภาคบรรยายและมีการนำเสนอครั้งแรกเมื่อต้นเดือนกันยายน  ในการนำเสนอ ได้เชิญอาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านวิจัยทั้งในและนอกภาคมาช่วย comment

       ผลการนำเสนอครั้งแรก ไม่ได้กำหนดชื่อผู้นำเสนอ (เป็นกุศโลบาย)  พบว่าไม่มีใครเตรียมมานำเสนอเลย  จึง(บังคับ) ให้ทุกคนแสดงปากเปล่า ให้เล่าให้ฟังสั้นๆถึงแนวคิดที่มาของคำถามวิจัย ที่ตั้งใจจะทำ  อาจารย์ผู้มาให้ comment ได้ให้ความเห็นเชิงบวกช่วยทำให้แนวคิดที่ไม่ชัดเจน เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น แนวคิดที่เป็นไม่เป็นระเบียบ เป็นระบบมากขึ้น สังเกตว่าทุกคนอิ่มเอม กับการเรียนรู้วิธีคิดแบบเป็นระบบเชิงวิจัยกันถ้วนหน้า

       การนำเสนอเสนอครั้งที่ 2 ก็ไม่ได้กำหนดผู้นำเสนอไว้เช่นเดิม แต่เหตุการณ์เปลี่ยนไป ดอกผลของการอบรมเริ่มปรากฏให้เห็น ผู้เข้าอบรมเตรียมนำเสนอมาอย่างดี มี power point ประกอบเรียบร้อย  ผลที่สังเกตได้ จากการนำเสนอ พบว่า

1. การอบรมวิจัยเป็นการต่อยอดหรือสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) ให้กับโครงการพัฒนางาน  พบว่าโครงการที่นำเสนอ ก็มาจากหน้างานนั่นเอง แทบจะแยกไม่ออกจากโครงการพัฒนางาน แต่ผู้เข้าอบรม ก็สามารถคิดเติมต่อยอด ให้เป็นการออกแบบโครงการเชิงวิทยาศาสตร์มากขึ้น ข้อนี้เป็นวัตถุประสงค์หลักประการหนึ่งที่อยากให้การทำโครงการพัฒนางาน เป็นระบบระเบียบ พิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำให้แนวปฏิบัติที่ดีกว่านั้น ได้รับการยอมรับเชิงประจักษ์มากขึ้น หรืออีกนัยหนึ่ง ทำงานวิจัยจากงานประจำ

2. ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจตนเองมากขึ้น  ก่อนหน้านี้ รวมถึงในการนำเสนอครั้งแรก หลายคนบอกว่ายาก คงทำไม่ได้ แต่หลังจากถูกบังคับให้บอกแนวคิด และได้รับการ comment จากผู้มีประสบการณ์ (อาจารย์) ช่วยให้ความเห็นเชิงบวก ชี้หนทาง ตบแต่งแนวคิดให้เป็นไปได้  ในครั้งนี้หลายคนสามารถประมวลความคิดเชิงวิจัยและนำเสนออย่างเป็นระบบมากขึ้น

3. ในระหว่างการนำเสนอ พบการเคลื่อนของเกลียวความรู้ (knowledge spiral) อาจารย์อยู่ในฐานะผู้มีประสบการณ์และทักษะด้านวิจัย ได้ externalize tacit knowledge ของตนเอง ไปสู่ผู้เข้าอบรม  ผู้เข้าอบรมก็รับ explicit knowledge ไป และนำไปสู่การสร้าง tacit knowledge ของตนเองต่อไป

4. สังเกตว่าบรรยากาศ มีผลต่อการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนมาก  บรรยากาศการในห้องเป็นกันเอง ไม่มีสภาพหัวหน้า-ลูกน้อง ไม่มีสภาพอาจารย์-บุคลากร เป็นสภาพของผู้มีประสบการณ์-ผู้เริ่มต้น และการให้ความเห็นเชิงบวก เพื่อช่วยกันตบแต่งให้ทุกแนวคิด มีความเป็นไปได้ และมีประโยชน์มากที่สุด

  

หมายเลขบันทึก: 5466เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2005 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผลจากการเสนอโครงร่างงานวิจัยขณะนี้โครงการเปรียบเทียบผลการตรวจ SI&TIBC โดยหลอดเก็บเลือดล้างพิเศษ และหลอดเก็บเลือดล้างธรรมดา ได้ผ่านขั้นตอนการลงทะเบียน EC1 เรียบร้อยแล้วค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับในหน่วยอีกเช่นกัน จากเมื่อวันก่อนที่หลอดเก็บเลือดล้างพิเศษเมื่อปั่นแยก serum แล้วผลปรากฏว่าเลือด Hemolysis 4+ ซึ่งทำให้ค่า iron ใน serum ผู้ป่วยสูงมากเนื่องจากการ interfere จึงต้องใช้ค่า iron จากหลอดเก็บเลือดล้างธรรมดา  ผู้ป่วยไม่ต้องเจาะเลือดใหม่ค่ะ แล้วค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบผลปรากฏว่าไม่แตกต่างกันค่ะ

ขอบคุณโครงการดี ๆ ค่ะ เพราะประโยชน์คือผู้รับบริการไม่ต้องเจาะเลือดใหม่อีก

ผลจากการเสนอโครงร่างงานวิจัยขณะนี้โครงการเปรียบเทียบผลการตรวจ SI&TIBC โดยหลอดเก็บเลือดล้างพิเศษ และหลอดเก็บเลือดล้างธรรมดา ได้ผ่านขั้นตอนการลงทะเบียน EC1 เรียบร้อยแล้วค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นที่ยอมรับในหน่วยอีกเช่นกัน จากเมื่อวันก่อนที่หลอดเก็บเลือดล้างพิเศษเมื่อปั่นแยก serum แล้วผลปรากฏว่าเลือด Hemolysis 4+ ซึ่งทำให้ค่า iron ใน serum ผู้ป่วยสูงมากเนื่องจากการ interfere จึงต้องใช้ค่า iron จากหลอดเก็บเลือดล้างธรรมดา  ผู้ป่วยไม่ต้องเจาะเลือดใหม่ค่ะ แล้วค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบผลปรากฏว่าไม่แตกต่างกันค่ะ

ขอบคุณโครงการดี ๆ ค่ะ เพราะประโยชน์คือผู้รับบริการไม่ต้องเจาะเลือดใหม่อีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท