Group and Teamwork (2)


หน้าที่ 2

Implications from Research on Group Dynamics

1.กลุ่มส่งผลกระทบที่ดีต่อประสิทธิภาพบุคคล ในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และเติมเต็มความต้องการที่สำคัญทางด้านสังคม

2.กลุ่มส่งผลกระทบที่ดีต่อประสิทธิภาพต่อองค์กร มีความคิด และทักษะที่มากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ และควบคุมในการทำงาน

Schachter study

High cohensiveness

Low cohensiveness

Positive induction

Much greater productivity

Greater productivity

Negative induction

Much less productivity

Less productivity

ศึกษาผลกระทบของ induction (สิ่งที่มีอิทธิพล,การเหนี่ยวนำ) cohesiveness (ความสามัคคี) และ productivity (ผล)

เมื่อมีความสามัคคีสูงก็จะมีประสิทธิภาพใน productivity มากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับทิศทางของ induction ที่จะเป็น+ หรือ ทำให้กลุ่มที่มี cohesiveness น้อย มีความปลอดภัยในการจัดการมากกว่า

แต่ถ้าการจัดการที่ต้องการมี productivity ที่สูงที่สุด จะต้องสร้างกลุ่มมีความสามัคคี และจะต้องมี induction ที่เหมาะสมด้วย ซึ่งในเวลาต่อมาก็จะกลายเป็น self-managing คือ ทีมที่ไม่มีผู้จัดการ หรือ หัวหน้า โดยที่สมาชิกจะต้องรับผิดชอบร่วมกันเองในการจัดการ , ปฏิบัติงาน และ แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น General Motors, Pepsi Co, Federal Express.

เราสามารถใช้ผู้นำในการเป็น induction ได้ โดยจะทำให้กลุ่มมีประสิทธิภาพที่กำหนดโดยปัจจัยต่อไปนี้

1 .กำหนดทิศทางการทำงานของกลุ่ม และบทบาทที่แน่นอนในการทำงาน

2. ออกแบบโครงสร้างกลุ่มในการทำงานที่เป็นขั้นตอน

3. มีสภาพการทำงานที่สนับสนุน เช่น มีแสงไฟที่เพียงพอ ไม่มีเสียงรบกวน

4. จัดให้มีการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามัคคีของกลุ่ม

1. สมาชิกต้องมีการเห็นพ้อง ยอมรับ จุดประสงค์ของกลุ่มร่วมกัน

2. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกันอยู่เสมอ

3. ไม่มีการแข่งขันกันเองภายในกลุ่ม


Group/Team Effectiveness

ประสิทธิภาพการทำงานขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. Commitment

2. International Relation Ship

3. Exchange of Ideal

4. Feed back

ทีมคือกลุ่มหลาย ๆกลุ่มทำงานร่วมกัน ทีมคือกลุ่มที่รวมกันแล้วปฏิบัติงานที่มีประสิทธิผล

การเปรียบเทียบกลุ่มกับทีมจะเปรียบเทียบกับข้อแตกต่าง ดังนี้คือ

1. Decision : การตัดสินใจ

2. Disagreement : การไม่เห็นด้วย

3. Objective : วัตถุประสงค์

4. Free Expression of Ideas : การแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี

5. Self Examination : การตรวจสอบกันเอง

6. Roles : บทบาท

7. Shared Leadership : การแบ่งกันเป็นผู้นำ

วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่ม

1. แบ่งแยกบทบาทของสมาชิก

2. จูงใจให้กลุ่มปฏิบัติงาน

3. ยอมให้กลุ่มเลือกผู้ปฏิบัติงานร่วมกลุ่มเอง

4. เชื่อมความสัมพันธ์ของกลุ่มกับองค์การ

5. ทำให้ขนาดของกลุ่มเล็กลง

6. มีการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิก


Team

ความหมายของทีม

Team คือ ความเห็นพ้องต้องกันทางสังคมในคนจำนวนหนึ่งที่มีปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานของต้องการทำวัตถุประสงค์ที่มีรวมกันให้สำเร็จโดยต่างคนต่างก็มีความรับผิดชอบของตน และมีหน้าที่ต่างๆกันไป

ความแตกต่างระหว่างทีมกับกลุ่ม

กลุ่มการทำงาน เป็นวิธีการทำงานที่ผู้จัดการหรือหัวหน้าเป็นผู้ควบคุมการทำงานของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม และสมาชิกในกลุ่มสามารถทำงานของตนให้เสร็จสมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องประสานงานกับสมาชิกคนอื่นๆ ดังภาพด้านล่าง แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกในกลุ่ม โดยแต่ละคนจะทำงานตามคำสั่งของผู้จัดการ และสมาชิกจะทำงานร่วมกับผู้จัดการเท่านั้น ซึ่งการทำงานในบริษัท และหน่วยงานย่อยๆ มักจะเป็นการทำงานแบบเป็นกลุ่ม โดยพนักงานจะทำตามคำสั่งของหัวหน้าแผกหรือหน่วยงาน โดยที่พนักงานแต่ละคนจะมีปฏิสัมพันธ์น้อยมาก นอกจากนี้หัวหน้างานยังเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆและประกอบงานของแต่ละคนเข้าด้วยกัน ซึ่งตรงข้ามกับทีมที่หน้าที่ดังกล่าวเป็นของสมาชิกในทีม

ภาพแสดงการทำงานเป็นกลุ่ม

ทีม เป็นเป็นกลุ่มคนเล็กๆที่แต่ละคนทักษะความสามารถที่เติมเต็มซึ่งกันและกัน และทุกคนมีเป้าหมายเดียวกัน ดังภาพในหน้าถัดไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ สมาชิกในทีมต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกด้วยกันและหัวหน้าทีม ซึ่งการกระทำของสมาชิกในทีมมีผลต่อการทำงานของสมาชิกคนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีการคาดหวังให้ผู้นำเป็นผู้จัดหาทรัพยากรและแนะแนวทางในการทำงาน(coaching) ในยามจำเป็น และค่อยเชื่อมต่อระหว่างทีมกับองค์กร

ในการตัดสินใจนั้นการทำงานเป็นทีม ทีมจะเป็นผู้ตัดสินใจซึ่งเป็นการรวมเอาความชำนาญของแต่ละคนมาร่วมกันตัดสินซึ่งก็ทำให้มีกาสได้การตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

ภาพแสดงการทำงานเป็นทีม

ในทางปฏิบัติการทำงานเป็นทีมและการทำงานเป็นกลุ่มไม่ได้ถูกแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน แต่มักอยู่ในรูปแบบผสมผสานระหว่างคุณสมบัติของทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน

เหตุผลที่ต้องทำงานเป็นทีม

1. ปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารและความรู้ต่างๆมากมาย ทั้งด้านวิทยาศาตร์และเทคนิคต่างๆ และแหล่งข้อมูลทางธุรกิจก็มีหลายด้านหลายประเภท ซึ่งเกินกว่าที่คนเดียวจะรับรู้และเข้าใจข้อมูลหรือองค์ความรู้ต่างๆได้ทั้งหมด

2. ประชากรที่ทำงานมีการศึกษามากกว่าแต่ก่อน ทำให้เค้าสามารถรู้และเข้าใจถึงบทบาทของการทำเป็นทีม ซึ่งผิดกับสัยก่อนที่แรงงานส่วนใหญ่ไร้การศึกษา คนที่จบการศึกษาระดับสูงมีจำนวนน้อย ซึ่งในการทำงานเป็นทีมนั้นจำเป็นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถระดับหนึ่งในการทำงานรวมกัน ประกอบกับเมื่อมีความรู้แล้วผู้คนก็เต็มใจที่จะแสดงบทบาทของตนในการทำงานตามความสามารถของตนรวมกับผู้อื่น ซึ่งก็เป็นการทำงานเป็นทีมนั้นเอง

3. มีการเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมต่างๆของงาน ซึ่งต่างจากสมัยก่อนที่การทำงานแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย แต่ปัจจุบันด้วยแรงกดดันจากการผลิตสินค้าใหม่ๆออกมา การบริการที่มีหลากหลายมากขึ้น กระบวนการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ จึงจำเป็นต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ซึ่งการทำงานเป็นทีมนั้นสามารถรองรับและปรับตัวเข้ากับการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

แต่อย่างไรก็ตามทีมก็ไม่ได้เหมาะสำหรับงานทุกประเภทเพราะงานบางอย่างทำเป็นรายบุคคลอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

ประเภทของทีม

ทีมสามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ วิธีหนึ่งที่ใช้ในการในการแบ่งก็คือการแบ่งตามวัตถุประสงค์ของทีม นอกจการนี้การแบ่งประเภทของทีมอาจมีตัวแปรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องได้เช่น ลักษณะความสัมพันธ์ Lason and La Fasto (1989) ได้แบ่งประเภทของทีมออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

Problem-resolution teams เป็นทีมที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหา สมาชิกในทีมแต่ละคนจะต้องเชื่อมั่นในกระบวนการแก้ปัญหาในระดับสูง เช่น ศูนย์ควบคุมโรค พวกซ่อมบำรุงต่างๆ

Creative teams ทีมความคิดสร้างสรรค์ เป็นทีมที่ถูกสร้างมาเพื่อพัฒนาวิธีการหรือองค์กร ซึ่งสิ่งสำคัญสำหรับทีมประเภทนี้ก็คือความเป็นอิสระ จากระบบหรือกระบวนการทำงานขององค์กร มีความอิสระในหาวิธีการ หาทรัพยากร ทีมประเภทนี้ได้แก่ ทีมพัฒนาPCของIBM ทีมวางแผนกลยุทธต่างๆ

Tactical teams เป็นทีมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปฏิบัติตามแผนการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องการความชัดเจนในเรื่องของบทบาท ทีมประเภทนี้จะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับระดับความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม ความเข้าใจว่าใครทำอะไร ตัวอย่างของทีมประเภทนี้เช่น หน่วย SWAT ทีมผ่าตัดโรคหัวใจ ซึ่งแต่ละคนต้องรู้หน้าที่ของตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี

ตารางข้างล่างเป็นการแสดงถึงลักษณะของทีมแต่ละประเภท

Dominant Feature

Process Emphasis

Example

Problem-resolution teams

Trust

Focus on issues

Centers for Disease Control

Creative teams

Autonomy

Explore possibilities and alternative

IBM PC team

Tactical teams

Clarity

Directive

Highly Focused tasks

Role clarity

Well-defined operational standards

Accuracy

Cardiac surgery team

Ad hoc team ทีมเฉพาะกิจ หมายถึงทีมที่ถูกจัดตั้งเพื่อใช้แก้ปัญหาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะถูกจัดตั้งเป็นเวลาไม่นานมากนัก (เป็นการผสมกันระหว่าง Problem-resolution teams กับ Tactical teams)

หมายเลขบันทึก: 54603เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2006 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท