"วิจัยจากศูนย์(ZERO) : สูตรสำเร็จบนความเรียบง่าย" 1. โดยศาสตราจารย์ ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร


ตรรกะที่ทำให้เราไม่มีวันล้มเหลว ให้คิดว่าอุปสรรค = น้ำอมฤต = ทำให้ชีวิต(วิจัย) ยืนยาว


(ขอบคุณภาพจาก www.neutron.remutphysics.com)


จากเวทีการประชุมวิชาการ "วลัยลักษณ์วิจัย" ครั้งที่ ๕
ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้ารับฟังบรรยายหัวข้อ "วิจัยจากศูนย์(ZERO) : สูตรสำเร็จบนความเรียบง่าย" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นการฟังบรรยายที่สนุก
เติมไฟในการทำวิจัยให้คณาจารย์ (โดยเฉพาะผู้เขียนอย่างยิ่ง!)ในระดับมหาวิทยาลัยมาก จึงเก็บมาฝากคุณผู้อ่าน

อาจารย์วิทยากรที่ได้รับการทาบทามให้บรรยายนี้ แทบจะหาเวลามาเยือนจ.นครศรีธรรมราช(เป็นครั้งแรกในชีวิต)
แทบไม่ได้ เพราะคิวตารางงานอันยุ่งเหยิงที่อาจารย์บอก
(แต่ในที่สุดก็สามารถมาให้ความรู้กบในกะลาอย่างผู้เขียนได้...โชคดีมากจริงๆ!!!)
 ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. นพ.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร
ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีผลงานตีพิมพ์งานวิจัยระดับนานาชาติ
จนได้รับรางวัลมากมาย  ล่าสุดได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของประเทศไทยประจำปี ๒๕๕๕
และใช้เวลาเพียง ๗ ปี หลังกลับมาเมืองไทย (สามารถอ่านประวัติได้ในวิกิพีเดีย)
จากตำแหน่งอาจารย์  สู่ตำแหน่ง....ศาสตราจารย์!!!

Mission Impossible:  From Zero to HERO in Research!
อาจารย์ขึ้นต้นการบรรยายด้วยการแปลหัวข้อ "วิจัยจากศูนย์(ZERO) : สูตรสำเร็จบนความเรียบง่าย" เป็นภาษาอังกฤษ และให้กำลังใจว่าไม่ใช่เรื่องยากในการทำวิจัย ทั้งนี้ได้หยิบยกประโยคหนึ่งที่
อาจารย์ใช้เป็น MOTTO นั่นคือ
"The only way to do great work is to love what you do.If you haven't found it yet,keep looking.
Don't settle." by   Steve Jobs.


 "การเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ห้ามปฏิเสธการทำวิจัย"
ถ้าคุณเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และสอนอย่างเดียวไม่มีงานวิจัย คุณเป็นแค่ครูมัธยม!

การทำวิจัยเชิงลึกแต่มองในมุมกว้าง หมายถึง???
คำถามที่เราทำวิจัยมี 2 คำถาม
1.ประโยชน์ในระยะสั้น
2.ประโยชน์ในระยะยาว
 

critical สำหรับนักวิจัยคือการหา

" Great Mentor > Great Training > Great Facility>Great Supporting Staff"

อาจารย์ออกตัวว่าจะขอเล่าประสบการณ์การทำงานเพื่อมาแชร์ความรู้กัน
ท่านเล่าให้ฟังว่าสมัยเด็กๆชอบเรียนเลขมาก ชอบตรรกะ สมการ รู้สึกสนุก และเมื่อย้อนเวลากลับไปสมัยนั้นการชอบเรียนคณิตศาสตร์ก็ไม่มีทางเลือกมากนัก ส่วนใหญ่ไม่เป็นวิศวกรก็เป็นหมอ ในที่สุดอาจารย์ก็เป็นหมอ
แต่เมื่อทำงานไปรู้สึกว่าไม่ตอบใจลึกๆที่ต้องการ มันมีอีกหลายอย่างที่อยากรู้มากกว่านี้ อยากทำกว่านี้  มีคนบอกว่าต้องไปเรียนต่อPhd. อาจารย์ก็ไปเรียนต่อ ระหว่างที่เรียนได้ตีพิมพ์งานวิจัย 3 เรื่อง ใน วารสารต่างประเทศ
ชื่อ "Circulation" นิตยสารที่มีค่า Impact Factor 16!!!!(ถึงตอนนี้อาจารย์ว่านักวิจัยชาวจีนจะขอกราบ 3 ที! หากใครได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารนี้!)

ช่วงชีวิตที่เรียนPhd. ในอเมริกา

ศ.ดร.นพ. นิพนธ์ เล่าว่า ตอนเรียนอยู่ได้ Mentor ที่เก่งมาก ดูแลอาจารย์ดีมาก
เวลาทำวิจัยแต่ละเรื่อง ในอเมริกาจะมีเครื่องมือที่ทันสมัย มี Lab ที่สนับสนุนการทำวิจัยอย่างสะดวกสบาย
อาจารย์ใช้คำว่า "แค่หายใจออก!" สิ่งที่ต้องการทำวิจัยก็ลอยมา! (ทุกคนในห้องประชุมหัวเราะ)
จากนั้นอาจารย์ได้รับการชักชวนให้เรียนPOSDOC ต่อ ซึ่งท่านให้เหตุผลว่า
เป็นหมอก็เป็นแล้ว เรียนต่อปริญญาเอกก็เรียนแล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ทำคือการสอน!
และประสบการณ์ชีวิตการเรียนในแบบ POSDOC นั้นท่านยังไม่มี
จึงจำเป็นต้องรู้ว่าเมื่อเรียนแล้วเป็นอย่างไร จะได้กลับมาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ได้
ตอนนี้อาจารย์เดินสายแข่งขันงานวิจัยและรับรางวัลมากมายจากหลายเวทีระดับโลก
ในที่สุดก็ได้รับการชักชวนให้เป็นSTAFF ทำงานที่อเมริกา
ถึงตอนนี้ อาจารย์บอกว่า ชีวิตการเรียนที่อเมริกานั้น 

"ตอนเรียนPhd. แค่หายใจออกทุกอย่างก็ลอยมา!

แต่การเป็น STAFF นั้น "ไม่ต้องหายใจ! ทุกอย่างก็มา!"

 อาจารย์ฉายภาพให้ดูว่า
MONEY ---------------  รับ
Facility  ----------------  รับ
Recognition-----------  รับ
Supporting------------   รับ

เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยแล้ว ภาพที่เคยรับเมื่อสักครู่

เปลี่ยนเป็น
MONEY --------------- X
Facility  ---------------- X
Recognition----------- X
Supporting------------ X


 ถึงตอนนี้ ไม่ต้องรอให้ผู้ฟังถาม ท่านบอกว่าทุกครั้งที่ไปบรรยายทุกเวทีก็จะมีคำถามนี้
คือ..."แล้วกลับมาทำไม????"
ท่านบอกว่าขอนุญาตสงวนนามผู้ที่จุดประกายและเป็นจุดเปลี่ยนในเรื่องนี้
คือมีผู้ใหญ่ท่านนึงพูดให้ท่านฉุกคิดได้ว่า
งานที่ท่านทำอยู่เป็นประโยชน์ แต่การเป็นประโยชน์ในอเมริกานั้น อาจทำให้แผ่นดินในอเมริกาสูงขึ้นเล็กน้อย
อาจจะแค่คืบ (อาจารย์บอกว่าเพราะการทำวิจัยที่อเมริกานั้นเยอะ คนเก่งมีอยู่ทุกที่ทุกหนแห่ง)
แต่ถ้าตัวท่านกลับมาเมืองไทย งานที่ท่านทำจะช่วยยกแผ่นดินไทยให้สูงขึ้นมากกว่าอยู่ที่อเมริกา! อาจจะสูงขึ้นเป็นศอกด้วยซ้ำ!
 จากคำพูดนี้! ท่านตัดสินใจกลับมาประเทศไทยรับเงินเดือน 7 พันบาท! ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

และจากปี 2545 ถึง 2555 อาจารย์ใช้หลักการ 2 อย่างคือ

1.ให้เพียรกตัญญู

2.นับ 1ถึง 10!


1. "ให้ "หมายถึง  ให้ขจัด ตัวกู-ของกู

ให้-------------  เวลา       ( ถ้าเรามีเวลานอนต้องมีเวลาทำวิจัย!)
ให้-------------- ความรู้     ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์เรา สอนเขา...(อาจารย์ยกตัวอย่างว่ากรณีอาจารย์ที่มีลูกศิษย์ระดับตรี โท เอก จำเป็นที่เราต้องให้ความรู้ลูกศิษย์ อย่าคิดว่าลูกศิษย์เป็นผู้ช่วยนักวิจัยแล้วใช้เขาช่วยงานเพียงอย่างเดียว
ให้---------------เงิน  สำหรับการทำวิจัย!!!!
การทำวิจัย อย่าคิดแต่เพียงว่าต้องมีเงินจากแหล่งทุน   การควักเงินส่วนตัวเพื่อจ้างให้มีผู้ช่วยนักวิจัย หรือจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นเรื่องจำเป็น ตัวอาจารย์เองกลับมาเมืองไทยใหม่ๆก็ต้องควักเงินเอง
ประโยคหนึ่งที่อาจารย์แถมท้ายคือ
"อย่าคิดตักตวงความรู้จากคนอื่นเพื่อมาเสริมตนอย่างเดียว!"

2.เพียร = Never Give Up   อย่ายอมแพ้!!!

ตรรกะที่ทำให้เราไม่มีวันล้มเหลว
ให้คิดว่าอุปสรรค = น้ำอมฤต = ทำให้ชีวิต(วิจัย) ยืนยาว
 และบอกว่า 5 ปีแรกของการจบPhd. คือช่วงเวลาของการพิสูจน์ตัวเอง

3.กตัญญู        ให้สำนึกและขอบคุณกับทุกคนที่ให้โอกาสการทำวิจัยกับเรา
ให้คิดว่า คนที่จบPhd. คือคนที่หลุดจากความ "โง่ที่สุด!" มาสู่โง่ปรกติ!
(เพราะตอนเรียนPhd.ถูกอาจารย์ครอบไว้)

และวางแผนไว้ ล่วงหน้า 20 ปีว่าจะยืนอยู่ตรงไหน!!!

ให้สำนึกและขอบคุณกับทุกคน
ที่ให้โอกาสการทำวิจัยกับเรา------------------------------ขอบคุณผู้ให้ทุนวิจัย

"อย่าเอา เวลาสอน  มาเป็นข้ออ้าง!  เพราะ เวลา Is not an Issue!"

"งานวิจัยและงานสอน คือหัวใจของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย"


โปรดติดตามตอน 2 หลัก 1 -10 ในการทำวิจัย!!!!
 



หมายเลขบันทึก: 544432เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2013 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สนุก ได้ข้อคิดด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคะ เป็นบันทึกถ่ายทอดที่มีประโยชน์มาก ติดตามตอน 2 อย่างจดจ่อคะ
อาจารย์เป็นผู้ค้นพบเส้นทางที่รักและเข้าใจว่าตัวเองต้องการอะไร


 

ขอบคุณคุณหมอมากค่ะที่ "ติดตามอย่างใจจดใจจ่อ!"  ประโยคนี้เลยค่ะ!
รีบมาเล่าให้ฟังเลยค่ะ ถ้ามีโอกาสจะไปกราบอาจารย์ถึง มช.เลยค่ะ!
(ฝากถามอาจารย์ด้วยค่ะ ว่า เครื่องชั่งของภรรยาอาจารย์นั้น ใช่เครื่องชั่งไฟฟ้าหรือเปล่าคะ)
สงสัยจะไม่ใช่??

ถ้าได้พบตัวอาจารย์จะถามให้คะ น่าดีใจแทนอาจารย์ที่มีมิตรรักแฟนเพลง

อ่านทั้งสองตอนแล้ว รู้สึกฮึกเหิม แม้จะคนละ field แต่น้อมนำเรื่อง 'กตัญญูต่อคณะ' เป็นหัวใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท