beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

การจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ ๒ : Surface and Deep Learning


Comprehend : Main Idea ส่วนความเข้าใจในเรื่อง Keyword ต่างๆ โดยเฉพาะใจความสำคัญที่จะสื่อ ก็จะแยกให้นิสิตเห็น ๒ ส่วนที่จะสอน คือ วิชาการส่วนหนื่งและวิชาชีวิตส่วนหนึ่ง





     โลกในยุคศตวรรษที่ ๒๑ หมุนกลับทาง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเปลี่ยนแปลงไป การเรียนการสอนก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไป ผู้สอนต้องปรับตัวตามไปด้วย มิฉะนั้นก็จะก้าวไม่ทันโลกและตกยุค

     ในการไปเรียนรู้ที่เขาค้อวันที่ ๑๑-๑๒ กรกฏาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ท่านอาจารย์พรชุลี อาชวอำรุง ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร ดำรงตำแหน่งผอ.วิทยาลัยนานาชาติ ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านการศึกษา ได้มาเป็นวิทยากร 

     ในตอนหนึ่งได้พูดถึง การเรียนรู้ แบบ Cognitive of learning of activity (คำว่า cognitive มีความหมายในทำนองว่า : ที่เกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ การคิด พัฒนาการด้านสติปัญญา ความรู้ ด้านพุทธิปัญญา) ว่าผู้สอนต้องกระตุ้นการเรียนรู้ของนิสิต (นักเรียน) ให้ได้ และมี level ของการเรียนรู้ไปตามลำดับ ซึ่งแยกออกได้เป็นแบบตื้น (Surface) และแบบลึก (Deep)

    ถ้าดูจากภาพทางคอลัมน์ซ้ายมือจะเป็น Learning Outcome เป็น ILO (intended learning Outcome) เป็นความคาดหวังของผู้สอนว่านิสิตจะได้รับ ส่วนช่องถัดไปเป็นวิธีการที่ผู้สอนจะใช้เพื่อให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือความคาดหวัง ซึ่งผมขอเรียงลำดับจากระดับต่ำไประดับสูงดังตาราง และขอ share ประสบการณ์ถึงวิธีจัดการการเรียนรู้ให้กับนิสิตในชั้นเรียนการเลี้ยงผึ้งของบีแมน ดังต่อไปนี้ (เอาวิชาเฉพาะมาประยุกต์ใช้ในวิชาทั่วไป= from Specific to General)


Level

Use in learning

การประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตโดยบีแมน 
S1 Memorize นิสิตจำสิ่งที่สอนได้วัดผลโดยข้อสอบ และนอกจากนั้นนิสิตยังมีวิธีช่่วยจำโดยจดไว้ในสมุดบันทึกการเรียนรู้หรือ Journal 
S2
Identify,name ในสมุด Journal จะให้นิสิตเขียนว่า who are you แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะตีความอย่างไรและเขียนออกมาอย่างไร ไม่มีผิดไม่มีถูก และยังสอนทฤษฏีเกี่ยวกับที่มาของชื่อรายวิชาว่ามีที่มาอย่างไร, ความหมายของศัพท์บางคำที่ควรจะต้องเข้าใจ
S3
Comprehen Sentence  บางครั้งจะสอนให้นิสิตตีความจากคำพูดว่าเข้าใจว่าอย่างไร เช่น บอกว่า "ถ้ายังไม่สามารถบริหารตัวเองได้ อย่าได้คิดไปบริหารคนอื่น" ถ้านิสิตตีความว่าห้ามไปบริหารคนอื่นนั้นน่าจะตีความผิดไป
S4
Paraphrase ดูเรื่องการถ่ายทอดความเข้าใจของนิสิต เพราะทุกคาบที่เรียนนิสิตต้องถอดบทเรียนจากการเรียนการสอนตามความเข้าใจของเขาผ่านทาง Journal ซึ่งจะส่งทุกสัปดาห์และจะตรวจ ให้ comment และส่งกลับ มีปฏิสัมพันธ์กัน นิสิตจะพัฒนาทักษะการเขียน การถ่ายทอด และการสื่อสาร, ขั้นต่อไปก็ฝึกให้ถ่ายทอดความรู้ผ่านบล็อกด้วย
D5 Describe นิสิตสามารถอธิบายได้ โดยตั้งคำถามให้ตอบ โดยยังไม่ต้องสนใจว่าตอบถูกหรือผิด ขอให้มีความมั่นใจในตัวเองก่อน แล้วค่อยๆ ปรับความเข้าใจ 
D6 Comprehend : Main Idea ส่วนความเข้าใจในเรื่อง Keyword ต่างๆ โดยเฉพาะใจความสำคัญที่จะสื่อ ก็จะแยกให้นิสิตเห็น ๒ ส่วนที่จะสอน คือ วิชาการส่วนหนื่งและวิชาชีวิตส่วนหนึ่ง 
D7 Relate สอนให้นิสิตรู้จักเชื่อมโยง เช่น ถามว่า ถ้าให้วิชาผึ้งเป็นศูนย์กลางแล้ว คณะไหนที่ไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับวิชาการเลี้ยงผึ้งได้ ซึ่งคำตอบสุดท้ายหลังจากอภิปรายกันแล้ว คือ ไม่มี 
D8 Argue ในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ อภิปรายโต้แย้งนี้ มีการใช้ตลอดการเรียนการสอน แต่นิสิตไทยส่วนมากไม่ค่อยมีความคิดโต้แย้ง อาจเป็นเพราะเป็นวัฒนธรรมแบบของไทยๆ ก็ได้ ซึ่งก็อาจมีข้อดี 
D9 Explain ส่วนนี้ ให้กิจกรรมที่เป็นการ Present สิ่งที่ได้เรียนมา และส่วนหนึ่งก็ต้องอธิบายสิ่งที่เข้าใจในสมุดบันทึกการเรียนรู้ทุกสัปดาห์อยู่แล้ว 
D10 Apply : near problems  การประยุกต์ใช้แก้ปัญหาที่ใกล้ต้ว เรื่องหนึ่งคือสอนให้ประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจำวัน และอีกส่วนหนึ่งต้องแก้ปัญหาในข้อสอบที่ออกแบบเป็นข้อสอบที่ต้องประยุกต์ใช้ความรู้
D11 Relate to principle เวลาสอนก็จะสอนวิธีคิดให้นิสิตไปคิดก่อน ว่า "หลักการในเรื่องนี้คืออะไร" หรือ "ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้คืออะไร" ถ้านิสิตตอบได้แล้ว จึงค่อยคิดรายละเอียดต่อไป
D12 Hypothesize เรื่องตั้งสมมุติฐานนี้ ใช้ไม่ค่อยบ่อยนักในการเรียนการสอน แต่ก็มีการถามบ้าง และให้โจทย์วิจัย "ให้ออกแบบ Lab บูรณาการ" ซึ่งนิสิตก็สามารถประยุกต์ได้ ในระดับที่แตกต่างกันเมื่อวิเคราะห์รายบุคคล 
D13 Apply : far problems ให้นิสิตไปทำโจทย์ "Lab บูรณาการ" ซึ่งผลออกมาเป็นการทดลองและเก็บข้อมูล เช่น นิสิตเลือกทำเรื่อง "การผลิตผึ้งนางพญา" ซึ่งต้องมีทักษะที่หลากหลาย และนอกจากนั้นให้นิสิตออกแบบ "ชิ้นงานบูรณาการ" ซึ้่งต้องประยุกต์เรื่องผึ้งเข้ากับสิ่งที่นิสิตถนัด เช่น นิสิตอาจทำชิ้นงานเป็นโคมไฟ (ที่ใช้งานได้) เป็นรูปลายสีตัวผึ้ง โดยที่เขาใช้ลูกโป่งเป็นโครง แล้วใช้เชือกทากาวค่อยๆ พันรอบลูกโป่ง เป็นต้น 
D14 Reflect ปกติมีการ comment สมุดบันทึกการเรียนรู้ของนิสิตรายบุคคลตลอดสัปดาห์อยู่แล้ว และในชั้นเรียนก็มีการ Reflection กันบางคาบอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าส่วนนี้ยังบกพร่องอยู่ ในปีนี้จึง Reflection นิสิตรายบุคคลผ่าน Journal ซึ่งได้ลองถามนิสิตที่เรียนในเทอมหนึ่งปีการศึกษา๒๕๕๖ (พิเศษ) ไปแล้วว่า บีแมน Reflection ถูกต้องประมาณเท่าไร นิสิตบอกว่าประมาณ ๘๐ เปอร์เซนต์. แต่ Reflection เฉพาะที่มองเห็นผ่านตัวนิสิตได้ประมาณไม่เกิน ๒๐ เปอร์เซนต์ของความเป็นตัวตนของเขาแค่นั้น



     ในบันทึกนี้ก็เป็น Deep Learning ของบีแมนดัวย เพราะได้ใช้ทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้แบบ cognitive โดยเฉพาะในระดับที่เป็น Reflection

หมายเลขบันทึก: 544163เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 06:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 05:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท