สมุดรายงานผลการเรียน : ครูควรจะทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่


หมายเหตุผู้เขียน หลังจากที่ไม่ได้เข้ามาเขียนเป็นเวลาเกือบ 3 ปี บัดนี้ภารกิจการเรียนและการบริหารก็ผ่านไปแล้ว ก็ขอใช้พื้นที่นี้สะสมความรู้จากการอ่านและเผยแพร่ หากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างนะครับ

หลังจากได้ทำบทบาทและหน้าที่พ่อ รับฟังข้อมูลของลูกชายชั้น ม. 2 ในการประชุมผู้ปกครอง เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 56 ได้เสนอแนะในบางประเด็นเกี่ยวกับรายงานผลการเรียน แล้วได้มาอ่านบทความของ The Guardian ฉบับเมื่อวานนี้ ก็เลยอ่านซะหน่อย อ่านไปอ่านมาก็เลยขอเรียบเรียงสิ่งที่อ่านไว้ เพื่อสร้างนิสัยที่ดีในการเขียนบ้าง

สมุดรายงานผลการเรียน : ครูควรจะทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่

Joanna Moorhead ผู้เขียน

กฤษฎา  กุณฑล ผู้เรียบเรียง

ผู้ปกครองส่วนใหญ่พากันบ่นว่า สมุดรายงานผลการเรียนที่โรงเรียนสร้างจากคอมพิวเตอร์  ดูเหมือนจับต้องอะไรไม่ได้ ในมุมมองของครูกลับคิดว่าเขาไม่มีเวลาที่จะเขียนรายงานของนักเรียนเป็นร้อยฉบับ ผู้ปกครองเรียกร้องสิ่งที่มากเกินไป

รายงานผลการเรียนของนักเรียนเป็นธรรมเนียมดั้งเดิมเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา ผู้ปกครองมีความต้องการมากขึ้นกว่าเดิม บางคนก็บอกว่า รายงานจากคอมพิวเตอร์มันดูอ่อนโยน ดูธรรมดาและมีความเป็นทั่วไปมากเกินไป ส่วนครูก็บ่นว่าเขาต้องทำงานอื่นมากมายจนไม่มีเวลาเพียงพอ แล้วความจริงคืออะไรล่ะ โรงเรียนควรจะรายงานผลการเรียนของนักเรียนให้ละเอียดมากยิ่งขึ้นหรือผู้ปกครองขอมากเกินไป


ภาพประกอบ Roald Dahl’s school report from 1927

Photograph: David Sillitoe for the Guardian

Simon Hepburn หัวหน้าภาควิชาเคมีแห่ง St Bede's College, Manchester กล่าวว่า เราอยู่ในสังคมที่สามารถให้ข้อมูลย้อนกลับได้ทันที (instant-feedback society) ดังนั้นผู้ปกครองต่างก็คาดหวังที่จะรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับลูกของเขามากกว่าที่จะรู้เพียงปีละครั้งตามปกติ โดยเฉพาะยิ่งในปัจจุบันที่มีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเสมือน (virtual learning environment : VLE) จะทำได้ง่ายขึ้น ผู้ปกครองสามารถล็อกอินเข้าระบบและดูรายละเอียดได้ ครูสามารถรายงานได้หลายวิธีการและทันกับสภาพเหตุการณ์ แทนที่ครูจะใช้วิธีการแบบเก่า ครูสามารถเขียนลงไปในเว็บไซต์ ผู้ปกครองก็สามารถอ่านได้ ซึ่งจะช่วยให้ครูมีเวลาเพียงพอในการบันทึกข้อมูล ทำให้ผู้ปกครองมีข้อมูลเพียงพอในการทำความเข้าใจพฤติกรรมและความสนใจของนักเรียน

Jane Brown (ไม่ใช่ชื่อจริง) ผู้ปกครอง กล่าวว่า จากรายงานของลูกชายบอกว่าเขามีความสุขมากกับการได้เดินขึ้นหอคอยในการไป เที่ยวปราสาทและได้รับประสบการณ์มากมาย เมื่อตอนที่เรียนในชั้น year 4 แต่ปัญหาอย่างเดียวคือในความเป็นจริงแล้ว เขาไม่เคยขึ้นหอคอยนั่นเลย ใช่ เขาเดินทางไปที่นั่น แต่เขาไม่มีความสุขกับการเดินขึ้นไปบนหอคอยนั่น เขาเลยนั่งอยู่ที่ข้างล่าง นั่นมันทำให้ฉันคิดว่าการรายงานข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเป็นวิธีการรายงานที่ไม่ มีเป้าหมายเอาเสียเลย ทำให้ฉันเสียความเชื่อมั่นในโรงเรียน เราหัวเราะกันกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามันน่าผิดหวัง นอกเหนือจากนั้นแล้วก็บอกเพียงแค่ว่า x ได้เรียนรู้ในสิ่งนี้ x ทำในสิ่งนั้นได้ สิ่งที่ผู้ปกคอรงต้องการคือมีสิ่งใดบ้างที่จะช่วยพัฒนาลูกของเรา

Matthew Read ผู้อำนวยการ Oriel primary school ใน Hounslow บอกว่า เราใช้ Reportbox ซึ่งเป็นแบบรายงานโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการช่วยให้ครูเขียนรายงานผล มันช่วยให้เราเขียนเสนอแนะจากคลังข้อมูลข้อเสนอแนะ ซึ่งมีข้อมูลรายงานการเรียนรู้ของผู้เรียนที่อาจซ้ำกัน แน่นอนว่าเราใส่ความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปด้วย เครื่องมือนี้จะช่วยให้เราเขียนรายงานเกี่ยวกับนักเรียนได้ทั้งปี ช่วยรายงานความก้าวหน้าของเด็กได้ บางเรื่องอาจมีการข้ามกันไปมาได้ เช่น อาจจะมีนักเรียนสามหรือสี่คนที่ได้รับการรายงานเกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน สำหรับฉันแล้ว ในรอบสามปีที่โรงเรียนใช้การรายงานผลแบบนี้ เรายังไม่เคยได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองแม้เพียงรายเดียว

David Whitaker ผู้อำนวยการ Springwell community special school ใน Barnsley บอกกับเราว่า ที่โรงเรียนไม่เคยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วกดติ๊กเครื่องหมาย เพื่อช่วยในการเขียนรายงานผล เพราะมันไม่เป็นการรายงานส่วนบุคคลของนักเรียนได้ดีเพียงพอ รายงานผลของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับบ้าน ครูของฉันจะเขียนรายงานเป็นเอกสารสำหรับนักเรียนเป็นรายบุคคล เรามีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสองพันคน ซึ่งเราก็ดีใจที่เราได้ทำแบบนี้

Andy Day หัวหน้า Yorkshire comprehensive กล่าวว่าที่โรงเรียนของเราเคยใช้การเขียนรายงานผลการเรียน แต่มีการสะกดและไวยากรณ์ผิดพลาด เราจึงเปลี่ยนมาใช้ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ผู้ปกคอรงก็บอกว่ามันเป็นอัตโนมัติเกินไปและขาดความเป็นส่วนบุคคล ดังนั้นเราจึงคิดใหม่และตัดสินใจว่า ควรมีการสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจงกับผู้ปกครองในช่วงเย็น เราจึงเริ่มระบบใหม่ที่ส่งข้อมูลผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อรายงานก้าวหน้าไปให้ผู้ปกครองทราบตลอดทั้งปี เพื่อให้ทราบสิ่งที่สำคัญได้ทันเวลา นอกจากนั้นแล้วผู้ปกครองสามารถรับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับตัวนักเรียนได้ เขาคิดว่าไม่มีระบบอะไรที่สมบูรณ์แบบ แต่เราก็ได้ช่วยให้ข้อมูลในสิ่งที่ผู้ปกครองค้นหาโดยที่ไม่ทำให้ครูต้องใช้เวลาในส่วนนี้มากเกินไป

Ros McMullen ผู้อำนวยการ David Young academy, Leeds ให้ข้อมูลว่า มีบางสิ่งเกิดขึ้นกับการรายงานผลการเรียนตั้งแต่ช่วงปลายปี 1980 เกิดการแกว่งไปมาระหว่างการควบคุมคุณภาพกับการให้ข้อมูลย้อนกลับทางบวก แต่ตอนนี้ลูกตุ้มมันแกว่งมากเกินไปแล้ว รายงานส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานมาก ผู้ปกครองไม่สามารถถอดรหัสหรือทำอะไรเพื่อหลีกเลี่ยงด้านลบได้ ซึ่งมันไม่เป็นประโยชน์กับผู้ปกครอง เขาต้องการทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้รับการบอกมาให้ชัดเจน ที่โรงเรียนของเราจะใช้ภาษาในลักษณะ “ผมคิดว่า X ไม่ได้ให้ความสนใจในห้องเรียนอย่างเต็มกำลังความสามารถ” ผู้ปกครองจำเป็นต้องรู้ว่ามันมีความหมายอย่างไร คุณไม่สามารถปล่อยพฤติกรรมแบบนี้ไปโดยไม่รายงานให้ผู้ปกครองทราบ มิฉะนั้นผู้ปกครองอาจจะบอกได้ว่า “ฉันไม่รู้จะทำอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น”

Susie Boyt นักประพันธ์และผู้ปกครอง กล่าวว่า คำพูดให้กำลังใจจากครูผู้สอนสามารถสร้างความแตกต่างให้กับเด็กเป็นอย่างยิ่ง เมื่อฉันอายุ 11 และกำลังจะออกจากโรงเรียน ครูใหญ่ชื่อ นางสาว Henshaw เขียนในสมุดรายงานว่า “ฉันหวังว่าวันหนึ่งจะเห็นหนังสือจากงานเขียนและภาพวาดของคุณบนชั้นขายวาง หนังสือ" ฉันมีความสุขมาก ฉันมีความเชื่อมั่นในตัวเอง มันเป็นเหมือนเครื่องรางที่ทำให้ฉันเดินออกไปด้วยความรู้สึกที่มีเกียรติ อย่างยิ่ง เมื่อนวนิยายเรื่องแรกของฉันได้รับการตีพิมพ์เมื่ออายุ 20 ฉันได้ส่งหนังสือไปให้เธอเพื่อเป็นการเตือนใจจากการระลึกถึงข้อเขียนจากเธอ 7 ปีต่อมาฉันได้รับจดหมายบอกว่าเธอรู้สึกยินดีกับจดหมายของฉัน มันทำให้เธอได้รับความสุขมากเกินไปที่จะตอบ

เรียบเรียง วันที่ 30 กรกฎาคม 2556

ที่มา : http://www.guardian.co.uk/education/2013/jul/29/multiple-choice-school-reports#_=_

โดย Joanna Moorhead , The Guardian , Monday 29 July 2013


หมายเลขบันทึก: 544087เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

นี่ประเทศไทย จะทำอะไรได้มาก

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับอาจารย์ เท่าที่ผมทราบ บางโรงเรียนมีการเปิด Group ใน Facebook ให้เด็ก ผู้ปกครอง และครูได้สื่อสารกัน บางที่ครูมี Blog ของตัวเอง ให้ผู้ปกครองอ่าน 

แล้วในฐานะที่เป็นทั้งอาจารย์และผู้ปกครอง อาจารย์คิดว่าแค่ไหนถึงจะพอเหมาะพอดีเหรอครับ?

ขอบคุณที่ช่วยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ทั้งมุมมองของครูและมุมมองของผู้ปกครอง คิดว่าการที่โรงเรียนสามารถบอกจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของผู้เรียนได้ทั้งในส่วนของวิชาการและความสามารถพิเศษของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้ปกครองสามารถช่วยแนะนำ ส่งเสริมได้ถูกต้อง

ในประเด็นวิชาการ อย่างน้อยควรจะให้รู้ว่าในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้เรียนมีจุดเด่น จุดด้อยในสาระอะไรบ้าง เช่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มี 6 สาระการเรียนรู้ ผู้เรียนมีจุดอ่อนในสาระหลัก เรขาคณิต แต่มีจุดเด่นในสาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีจุดอ่อนในสาระแรงและการเคลื่อนที่ สารและสมบัติของสาร แต่เด่นในสาระดาราศาสตร์และอวกาศ เหล่านี้เป็นต้น ก็จะช่วยให้ทุกฝ่ายรู้ว่าเด็กมีสติปัญญาในด้านใด แต่คงจะไม่เรียกร้องว่าถึงขั้นว่าอยากรู้ว่าเด็กเก่ง - อ่อน ในมาตรฐานอะไรบ้าง อันนั้นเยอะไปจริง ๆ สงสารครูที่ต้องทำเอกสาร หลักฐานอะไรเยอะแยะไปหมด อิอิ แค่นี้ก็เห็นใจครูมากกกกกกแล้วครับ

นอกจากนั้นถ้าครูจะช่วยบอกว่าเด็กมีความสามารถพิเศษอะไรบ้าง เช่น ทักษะการคิดคำนวณ ทักษะความเป็นผู้นำ จะได้ช่วยกันดัน ช่วยกันดึงขึ้นมาได้....

ตอบบนพื้นฐานที่ลูกอยู่โรงเรียนประจำครับ อาจจะไม่แน่ใจว่าสังเกตพัฒนาการลูกได้ถูกต้อง ครบถ้วนมั้ย ลูกชายเริ่มจะโตเป็นหนุ่ม จะได้เข้าใจลูกมากขึ้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท