แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวิชาภาษาไทย


วันนี้ได้ไปอบรมการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่โรงเรียนขัตติยะวงษา จังหวัดร้อยเอ็ด จัดโดยโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม


              ผอ.ชาตรี  ชาปะวัง  ผอ. สพม ๒๗ เป็นประธานในพิธีเปิด


          ผอ. ปรีดา  ลำมะนา  ผอ.โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยบรรยายพิเศษ

                                     


                                  


                                 


                    ว่าที่ร้อยตรี ผอ. พรเทพ โพธิ์พันธ์ุ์ กล่าวปิดการอบรม

 

แผนการจัดการเรียนรู้  ที่ ๒ 

รายวิชา ภาษาไทย   รหัสวิชา ท ๒๑๑๐๒

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑   ภาคเรียนที่ ๒

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ความเข้มแข็งของทหารกล้า

เรื่อง หลักการย่อความ    จำนวน ๑  ชั่วโมง

๑.  มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด

มาตรฐาน  ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราว

  ในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวชี้วัด   ท ๒.๑ ม๑/ ๕ เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

๒.  สาระสำคัญ

การย่อความเป็นการสรุปสาระสำคัญจากการอ่านเพื่อให้อานเรื่องราวในเวลาอันสั้น

การย่อความที่ดี ผู้อ่านต้องอ่านเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจ มีคำนำการย่อให้ถูกกับประเภทของข้อความที่ย่อ

และเรียบเรียงเรื่องให้สั้นกะทัดรัด ด้วยสำนวนภาษาของผู้ย่อ

๓.สาระการเรียนรู้

๓.๑ หลักการย่อความ

๔. สมรรถนะของผู้เรียน  ( ระบุสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางฯ พ.ศ.๒๕๕๑  มี ๕ ด้าน คือ

  ๔.๑  ความสามารถในการสื่อสาร

๔.๒ความสามารถในการคิด

๔.๓ความสามารถในการแก้ปัญหา

  ๔.๔  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

๔.๕ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี)

  ๕. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

  ๕.๑ รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

  ๕.๒ ใฝ่เรียนรู้

  ๕.๓ อยู่อย่างพอเพียง

 ๖.  ชิ้นงาน / ภาระงาน 

  ๖.๑ ชิ้นงาน : ผังความคิดสรุปหลักการย่อความ

  ๖.๒  อ่านและสรุปหลักการย่อความลงในสมุดบันทึกของตนเอง

  เกณฑ์ประเมินคุณภาพของชิ้นงาน: แผนภาพความคิดสรุปใจความสำคัญเรื่องพระบรมราโชวาท 

รายการประเมิน

ระดับคุณภาพ

ดีมาก(๔)

ดี (๓)

พอใช้ ( ๒)

ปรับปรุง(๑)

รูปแบบ

แผนภาพความคิด

แสดงลำดับความสัมพันธ์

ของเรื่องสื่อความชัดเจน

เข้าใจง่าย รูปแบบ

น่าสนใจสร้างสรรค์

แผนภาพแสดง

ลำดับความสัมพันธ์

ของเรื่องสื่อความ

เข้าใจรูปแบบน่าสนใจ

แผนภาพมีความ

สัมพันธ์สื่อความ

ไม่ค่อยชัดเจน

แผนภาพความคิด

ไม่แสดงความสัม

พันธ์ของเรื่อง

รูปแบบไม่น่าสนใจ

การใช้ภาษา

ใช้คำ ข้อความกะทัดรัด

ได้ถูกต้อง

ไม่มีคำเขียนผิด เขียนเป็นระเบียบ

อ่านง่าย

ใช้คำ ข้อความ

กะทัดรัดได้

ถูกต้อง แต่เขียน

สะกดผิด ๑-๕คำ

เขียนเป้นระเบียบ

ใช้คำ ข้อความ

ไม่ค่อยกะทัดรัด

มีคำเขียนผิด๕-

คำ  เขียนพอใช้ได้

ใช้คำ ข้อความ

ไม่กระทัดรัด

เขียนผิดเป็นส่วน

มาก

  ๗. กิจกรรมการเรียนรู้

  ๗.๑ ครูสนทนากับนักเรียนเพื่อทำความเข้าใจในกิจกรรมการเรียนหน่วยที่ ๑ แผนการจัดกิจกรรมกรเรียนรู้

ที่ ๒ เกี่ยวหลักกกรย่อความ

  ๗.๒ แจ้งตัวชี้วัดให้นักเรียนทราบ ในชั่วโมงนี้นักเรียนจะมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานและตัวชี้วีดที่

  ท ๒.๑ ม๑/ ๕ เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

  ๗.๓ ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกตัวชี้วัดท ๒.๑ ม๑/ ๕ เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

และตั้งประเด็นคำถามเพื่อกระตุ้นความคิดของนักเรียนเพื่อให้เกิดหลักคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยคำถามต่อไปนี้

  -นักเรียนการย่อความคืออะไร

แนวคำตอบ  การสรุปหรือจับใจความสำคัญของเรื่อที่อ่าน ฟัง ดู ให้สั้นเข้าง่ายในเวลาสั้นๆ

  -นักเรียนมีวิธีการย่อความอย่างไร

แนวคำตอบ  อ่านเรื่องที่จะย่อให้เข้าใจอย่างชัดเจน จับประเด็นสำคัญที่ละย่อหน้า และนำมเรียบเรียงใหม่

  ด้วยสำนวนของตนเอง

  -การย่อความมีประโยชน์อย่างไร

แนวคำตอบ  ฝึกสรุปใจความ เกิดทักษะการเขียน  การอ่าน และการถ่ายทอดสื่อสาร

๗.๔ นักเรียนเข้ากลุ่มตามที่กำหนด รับใบความรู้และอ่านหลักการย่อความ จากใบความรู้เรื่องหลักการย่อความ 

๗.๕ นักเรียนร่วมอภิปรายภายในกลุ่มเกี่ยวกับหลักการย่อความ และสรุปเป็นผังความคิด

๗.๖ นักเรียนนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน

๗.๗ เปิดโอกาสนักเรียนชักถามและร่วมกันสรุป นักเรียนจดบันทึกผังความคิดหลักการย่อความ

ลงในสมุดตนเอง และส่งครูตรวจ

๗.๘ นัดหมายนักเรียน ไปอ่านรูปแบบการย่อความจากหนังสือวิวิธภาษาเล่ม ๑ มาล่วงหน้าหรือ สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต

. การวัดและประเมินผล 

  ๘.๑ การประเมินก่อนเรียน

  -

  ๘.๒ การประเมินระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  โดยการสังเกตพฤติกรรมการอ่าน การร่วมกิจกรรมกลุ่ม  ตรวจผลงานกลุ่ม

  ๘.๓ การประเมินหลังเรียน 

  ตรวจผลงานการสรุปหลักการย่อความลงในสมุด

  ๘.๔ การประมินชิ้นงาน/ภาระงาน ( รวบยอด)

  แผนภาพความคิดสรุปหลักการย่อความ

. สื่อ / แหล่งเรียนรู้  (ระบุชื่อสื่อ หรืออหลง่เรียนรู้)

  ๙.๑ สื่อ/ อุปกรณ์การเรียนรู้

  ๑) ใบความรู้หลักการย่อความ  หรือ หลักการย่อความจากหนังสือวิวิธภาษาเล่ม ๑

  ๓) กระดาษฟริบชาร์ด เท่าจำนวนกลุ่มนักเรียน และปากกาเมจิกกลุ่มละ ๒ ด้าม

  ๙.๒ แหล่งการเรียนรู้

  ๑) ห้องสมุดโรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม

  ๒) อินเทอร์เน็ต

  ๑๐. การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

  ๑๐.๑ ครูผู้สอนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเตรียมการสอน/การจัดการเรียนรู้

หลักพอเพียง

ประเด็น

ความพอประมาณ

ความมีเหตุผล

การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

เนื้อหา

ครูจัดเตรียมศึกษาเนื้อหา

เรื่องหลักการย่อความ

มาตรฐาน/ตัวชี้วัด

ที่ ท๒.๑ ม. ๑/๕

ให้เข้าใจ

เพื่อจัดเตรียมเขียนแผน

การจัดการเรียนรู้

ได้ตรงตามมาตรฐาน/

ตัวชี้วัด

ครูมีแผนการจัดการเรียน

รู้พร้อมทำกรสอน

ครูเตรียมสื่อพร้อมใช้สอน

เวลา

กำหนดเวลาได้เหมาะสม

จัดกิจกรรม

เพื่อการจัดกิจกรรม

เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

สัมพันธ์กัน

การสอนตรงตามแผนฯ

ที่กำหนด

วิธีการจัดกิจกรรม

จัดกิจกรรมตามขั้นตอน

โดยการอ่าน/ อภิปราย

ชักถาม ทำกิจกรรมกลุ่ม

ให้นักเรียนทำชิ้นงาน

เพื่อเกิดความรู้มีทักษะอ่าน  การคิด

 การเขียน การสรุป

ใจความสำคัญจากเรื่องที่

อ่านได้อย่างเข้าใจ

เน้นผู้เรียนเป้นสำคัญ

ได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพ

ของแต่ละบุคคล

แหล่งเรียนรู้

ห้องสมุด/ อินเทอร์เน็ต

เพื่อเรียนรู้ตามความสนใจ

และมีทักษะการสืบค้น

มีความรู้กว้าง

ทันเหตุการณ์

ใฝ่เรียนรู้

สื่อ-อุปกรณ์

เพียงพอกับการเรียนรู้

และฝึกปฏิบัติ

เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศ

การเรียนการสอน

การสอนมีประสิทธิภาพ

การประเมินผล

มีการทดสอบ การสังเกต

ตรวจผลงาน

เพื่อให้เหมาะสมกับ

กิจกรรมการประเมิน

ทักษะของนักเรียน

วัดและประเมินได้หมาย

มิติ ประเมินความรู้ทักษะ

เจตคตินักเรียน

ความรู้ที่ครูต้องมี

คุณธรรมของครู

ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัดท๒.๑ม.๑/๕

ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

การออกแบบกิจกรรม การวัดผลประเมินผล

ความรู้เกี่ยวกับหลัดจิตวิทยาเด็ก

การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

ความใฝ่รู้ใฝ่เรียนในเรื่องที่สอนและการจัดกิจกรรม

การเรียนรู้

มีความขยัน มุ่งมั่นเอาใจใจต่อภาระและหน้าที่ของตน

มีเมตตาต่อศิษย์ ตรงต่อเวลา

ซิ่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น แบ่งปันความรู้ประสบการณ์

๑๐.๒ ผลที่เกิดกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๑๐.๒.๑ ผู้เรียนได้เรียนรู้หลักคิดและฝึกปฏิบัติตามหลัก ๓ห่วง ๒ เงื่อนไข ดังนี้

หลักพอเพียง

ความพอประมาณ

ความมีเหตุผล

การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

นักเรียนเรียนรู้เต็มตามศักภาพมีความรู้ มีทักษะการอ่านการคิด การเขียนและใช้เทคโนโลยี ทำกิจกรรมตั้งใจอย่างสร้างสรรค์

ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

เห็นความสำคัญคุณค่า

ของการอ่าน การย่อความ  การอ่านจับใจความ เขียนสรุปใจความ

มีความรู้จากเรื่องที่เรียน

นำความรู้ไปใช้อย่างถูกต้องมีทักษะการอ่าน การเขียนการคิด

นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้

ความรู้

คุณธรรม

มีความรู้เกี่ยวกับหลักการย่อความ การสรุปใจความสำคัญ

มีความรู้เกี่ยวกับใช้ภาษา การเขียนแผนภาพความคิด

มีความรู้เกี่ยกับการพูดการนำเสนอผลงาน

มีความรับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ แบ่งปันความรู้

มีความสามัคคีในกลุ่ม รับฟังคามคิดเห็นของผู้อื่น

มีความขยัน มุ่งมั่นในการทำงาน

 

 

๑๐.๒.๒ ผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้ชีวิตที่สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน ๔ มิติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนี้

ด้าน

องค์ประกอบ

สมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ

วัตถุ

สังคม

สิ่งแวดล้อม

วัฒนธรรม

ความรู้

ใช้อุปกรณ์/ สื่อหรือ

แหล่งเรียนรู้อย่างคุ้มค่ารู้เก็บ รู้ใช้ และรู้รักษา

สื่อ อุปกรณ์ที่ใช้

ใช้สื่ออุปรณ์ร่วมกัน

มีความช่วยเหลือ

พึ่งพาอาศัยกัน

ทักษะ

มีทักษะการใช้สื่อ/แหล่ง

เรียนรู้ใช้ได้คล่อง

ทำกิจกรรมร่วมกับ

และเรียนรู้กับกลุ่ม

ได้

มีทักษะการสื่อสาร

การคิด การแก้ปัญหา

อย่างมีเหตุมีผล

ค่านิยม

เห็นคุณค่าของวัสดุ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม

มีมารยาทในการ

สื่อสารอย่างสร้างสรรค์

ไม่ส่งเสียง

รบกวนคนอื่น

รักความเป็นไทย

เห็นคุณค่าการอ่านการเขียน

ชื่นชมในภาษาไทย

๑๑. ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

   ลงชื่อ…………………………………

  (………………………………..)

    ผู้บริหาร / ผู้ที่ได้รับมอบหมาย

บันทึกผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

๑.  ผลการจัดการเรียนรู้

๑.๑ ด้านความรู้

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

  ๑.๒ ด้านทักษะกระบวนการ  …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

๑.๓ ด้านพฤติกรรม 

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

๒.  ปัญหาและอุปสรรค

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

๓.  แนวทางแก้ไข/ ข้อเสนอแนะ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…..……….

       (ลงชื่อ)………….……………ครูผู้สอน     

(นางวันทนา  มาศวรรณา)         

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ

  วันที่…………เดือน…………….พ.ศ………


หมายเลขบันทึก: 543715เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กรกฎาคม 2013 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท