KM แก้จนเมืองนคร ระยะที่ ๒


ระหว่างปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล กับ ทีม กศน. เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการดำเนินงาน คืออย่างน้อยต้องมีการได้คุยทำความเข้าใจก่อนที่จะทำงานร่วมกัน

          การจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ตอนนี้กำลังเป็นเรื่องที่ท้าทาย ความสามารถของคุณอำนวย  ตำบลทุก หน่วยงานที่เป็นภาคี

ในทุกอำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชได้ ดำเนินการจัดกิจกรรมเวทีชาวบ้าน ในปีงบประมาณ  ๒๕๔๙  จำนวน  ๓๐  หมู่บ้าน เมื่อวานนี้  วันที่  ๑๑  ตุลาคม  ๒๕๔๙     ปลัดอำเภอผู้ทำหน้าที่ประสานงานเรืองการทำแผนชุมชนในเขต พื้นที่อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชได้เข้ามาชี้แจงให้ทราบถึงการ ดำเนินงานในส่วนของการจัดกิจกรรมแก้จนในระยะที่ ๒ ปีงบประมาณ  ๒๕๕๐  
           ในวันนี้ท่าน ผอ.สมภาส  จันทร์อุดม  ได้เรียกเหล่าครูอาสาฯ เข้าประชุมเพื่อทราบความคืบหน้าในการดำเนินกิจกรรมการจัด การความรู้แก้จนเมืองนครระยะที่  ๒  ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้กำหนด ไว้  ๖๐๐  หมู่บ้าน  ในปีงบประมาณ  ๒๕๕๐  ซึ่งเป็นเรื่องต่อเนื่อง จากการประชุมคุณอำนวยตำบลที่ ม.รามคำแหง วิทยาเขตนครศรีธรรมราช  ปลัดชลสวัสดิ์  อินทรประเสริฐ  ผู้ประสานงานได้แจ้งว่า  ในปี  ๒๕๕๐  อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ต้องดำเนินการจัดกิจกรรมจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ในพื้นที่  ๔๕  หมู่บ้าน  และผู้ประสานได้รายงานความคืบหน้าในเรื่องของ การเก็บข้อมูลของสำนักงานปกครองจังหวัด  และขอความคิดเห็นและแนวทางในการติดตามการเก็บ
ข้อมูลของแกนนำหมู่บ้านทั้ง  ๔๕  หมู่บ้าน  โดยได้บอกว่าได้กำหนดให้  ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  และทีม  กศน.  เป็นผู้ที่ติดตามการดำเนินกิจกรรมการเก็บข้อมูลทั้ง  ๔๕  หมู่บ้าน  แต่ยังติดขัดเรื่องกระบวนการและได้ขอความคิดเห็น ในการที่จะดำเนินงาน  ผมได้เสนอแนวคิดให้ท่านปลัด ผู้ประสานงาน  จัดการประชุมร่วม ระหว่างปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล กับ ทีม กศน. เพื่อทำความเข้าใจเรื่องการดำเนินงาน คืออย่างน้อยต้องมีการได้คุยทำความเข้าใจก่อนที่จะทำงานร่วมกัน    โดยผมมีแนวคิดว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลมี ีเจ้าพนักงานวิเคราะห์ นโยบายและแผน  เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน  เจ้าพนักงานนักวิชาการเกษตร  ซึ่งน่าจะมาร่วมทีมกับ กศน. เพื่อที่จะลงไปช่วยดูแลการจัดเก็บข้อมูลให้สมบูรณ์  เพราะในส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลสามารถทำงานได้ถึง พี่น้องประชาชนได้สะดวกสามารถที่จะดำเนินการได้ทันที   ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมเห็นด้วยกับแนวคิดของผม  แต่ที่ผมดีใจมากไม่ใช่เพราะเพื่อนๆ  ยอมรับ  ผมดีใจที่ในปี ๒๕๕๐  ถ้าเป็นไปตามแนวคิดของผมจริง  คุณเอื้อตำบลซึ่งถือว่าเป็นท่อใหญ ่และอยู่ใกล้ชาวบ้านมากที่สุดได้รับรู้เรื่องราวความต้องการของ ชาวบ้านตั้งแต่ต้นโครงการในการที่จะต่อท่อ หนุนเสริมกิจกรรม ของชาวบ้านก็จะตรงตามความต้องการของชาวบ้าน และกิจกรรมการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย  อีกอย่างหนึ่งคือเราจะมี คุณอำนวยตำบลมาเป็นเพื่อนร่วมกระบวนการเพิ่มขึ้น
จากการเสวนาวันนี้ได้ทราบว่า  ตอนนี้การดำเนินการเก็บข้อมูล ของแต่ละหมู่บ้านนั้น  ได้ดำเนินการไปแล้วมีความสำเร็จอยู่หลายระดับ เช่น  บางหมู่บ้านดำเนินการแล้วและกำลังทำฉบับร่างของแผน  บางหมู่บ้านกำลังอยู่ในช่วงจัดเก็บข้อมูล  และมีบางหมู่บ้านที่ยัง ไม่มีการเคลื่อนไหว   นี่เป็นเรื่องที่ทำให้คุณอำนวยตำบลทุกตำบล ทุกหน่วยงานต้องใช้ความสามารถไปกระตุ้น ดูแล ช่วยเหลือ  ให้เกิดเป็นแผนชุมชนพึ่งตนเองฉบับร่างให้ได้ภายในเดือน  ตุลาคม  ๒๕๔๙ ก็ที่ผมบอกว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย  ที่แน่ ๆ  คุณอำนวยคงต้องลุยกันแบบ  “...ตัวตายไม่คิดขอให้ชีวิตยังอยู่...”    ผมได้เรียนท่านปลัดผู้ประสานงานไปว่าการจัดประชุมทีมผู้ติดตามที่ได้เสนอไปนั้นต้องรีบดำเนินการเพราะจะไม่ทันการ  ท่านปลัดได้บอกว่าจะดำเนินการให้เร็วที่สุด ในสัปดาห์หน้านี้แน่นอน  เมื่อถึงวันประชุมผมจะมาเล่าบรรยากาศและเนื้อหาข้อสรุป ในการประชุมให้ฟังครับ...

หมายเลขบันทึก: 54286เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

     ร่วมด้วยช่วยอีกแรงครับ....ครู ขอขอบคุณสำหรับชื่อใหม่ ปราชญ์ลูกทุ่ง ที่กรุณาตั้งให้ผมครับ เราสกุลเมืองคอนหัวอกเดียวกันครับ สู้ต่อไปนะครับ.  

    

น้องติ่ง ....ยอดคุณกิจ เจ้าของรางวัล เสื้อสามารถคนล่าสุด จาก สคส ผมชอบใจคำพูดที่น้องติ่งพูดว่า.... เราสกุลเมืองคอนหัวอกเดียวกันครับ สู้ต่อไปนะครับ.  โปรดฟังอีกครั้งหนึ่งเราสกุลเมืองคอนหัวอกเดียวกันครับ สู้ต่อไปนะครับ. ความเป็นพวกและความเป็นคนคอเดียวกันมันทำงานแล้ว ชื่นใจจัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท