HR Northeast Forum 2006/PMAT


สวัสดีครับ ลูกศิษย์งาน HR Northeast Forum 2006 และผู้ที่สนใจทุกท่าน

      เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2549 สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดงาน HR Northeast Forum 2006  ณ ห้อง Orchid Grand Ballroom โรงแรม โซฟิเทล ขอนแก่น ซึ่งในงานนี้ มุ่งเน้นการให้ความรู้แก่ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐและเอกชนในเขตภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีหัวข้ออภิปรายที่น่าสนใจ คือ Challenges and New Trend of HRM and HRD โดยวิทยากรร่วมอภิปรายได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์, ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่, คุณฉัตรพงษ์ วงษ์สุข โดยมีคุณมาริสา  เชาว์พฤฒิพงษ์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

        ผมเปิด Blog นี้ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนได้เข้ามา Share ความรู้ ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับมา เชิญเข้ามา Share กันนะครับ

จีระ  หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #hr#northeast#forum#2006
หมายเลขบันทึก: 54246เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2006 21:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
ยม HR Northeast Forum 2006 “แนวโน้มการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์(ระดับองค์กร)ในภาคอีสาน" (ปรับปรุงใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/ผู้เข้าร่วมงานสัมมนา PMAT ม.ขอนแก่น และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
ผมขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างสูง ที่ให้โอกาสผมติดตามไปร่วมการสัมมนาที่ทาง มหาวิทยาลัยขอนแก่นร่วมกับ  สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย  กำหนดจัดการประชุมสัมมนา  "HR Northeast Forum 2006"   อาจารย์ให้ทั้งโอกาส และให้เกียรติแนะนำ คนดีอีสานและทีมงานของ PMAT ให้รู้จักหลายท่าน ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของครูผู้สูงส่ง และผู้นำที่มีคุณธรรม ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมาก ต่อความเมตตาและความปรารถนาดี ที่อาจารย์มอบให้  
การได้มีโอกาสร่วมเดินทางมากับ ศ.ดร.จีระครั้งนี้ ทำให้ทราบว่า ศ.ดร.จีระ มี Good Connection ทุนทางสังคมสูงมากที่ขอนแก่น โดยเฉพาะกับ ม.ขอนแก่น ศ.ดร.จีระ ได้รับการต้อนรับที่ดีมากจาก ม.ขอนแก่น และได้รับเกียรติจาก สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) มาเป็นเวลานาน  
ที่น่าประทับใจมาก คือความมีน้ำใจของชาวขอนแก่น(ม.ขอนแก่น) อีสาน โดยเฉพาะอาจารย์รังสรรค์และทีมงาน ซึ่งยังคงรักษาวัฒนธรรมความมีน้ำใจของคนอีสานไว้ได้อย่างน่าประทับใจ    ภาคอีสานโชคดีที่มี ม.ขอนแก่น และมีการจัดงานนี้ขึ้น ถือว่าเป็น HR Innovation ในภาคอีสานที่น่าสนใจ  
การประชุมสัมมนา  "HR Northeast Forum 2006" ในวันที่ 12-13 ตุลาคม 2549  โรงแรมโซฟิเทล ราชาออคิด ขอนแก่น หัวข้อสัมมนาประกอบด้วย การอภิปราย และสัมมนาห้องย่อย ในประเด็นเกี่ยวกั 
  1. แนวโน้มการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  2. Blueprint for Change
  3. การวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และHR Scorecard
  4. การพัฒนาศักยภาพองค์กรโดยใช้ เงินรางวัลและแรงจูงใจ
  5. การสรรหาและคัดเลือกคนดีคนเก่งเข้าร่วมในองค์กร
  6. การส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายแรงงาน
  7. การพัฒนาศักยภาพองค์กรโดยใช้ OD
  8. การจัดการความรู้และองค์กรแห่งการเรียนรู้
  9. Competency Based Management

 โดยผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน  ประมาณกว่า 200 ท่านเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว แต่เป็นที่น่าเสียดายที่การสัมมนาเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์ในเวทีนี้ เน้นที่การจัดการภายในองค์กร  ยังไม่ได้กล่าวถึงปัญหาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่ในครรภ์มารดา ถึงวัยทำงาน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในภาคอีสาน  และในประเด็นที่สำคัญซึ่งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสูงในเรื่อง แนวโน้มการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีเวลาน้อยไปสักนิด คือ วิทยากรสามท่าน ใช้เวลาท่านละประมาณ15-20 นาที เท่านั้น  

อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยการนำของท่านอธิการบดี และ รศ. รังสรรค์ได้ ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เห็นความสำคัญการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงได้ร่วมมือและเป็นพันธมิตรกับสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย  จัดงานนี้ขึ้นและได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง กิจกรรมนี้ถือเป็นกิจกรรมแรกของความร่วมมือดังกล่าว  และยินดีด้วยที่ทราบว่า ในงบประมาณปี พ.ศ.  2550 จะมีกิจกรรมความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป     

ศ.ดร.จีระ ได้รับเชิญให้บรรยายร่วมกับวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิอีกสองท่านในช่วงเช้า เฉพาะเรื่อง แนวโน้มการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หัวข้อนี้สำคัญมาก     ผมประทับใจที่อาจารย์ให้เติมคำว่า ในภาคอีสาน ไว้ตอนท้ายของเรื่องนี้ คือ แนวโน้มการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสาน และเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์กล่าวถึง วัฒนธรรมอีสาน และเสริมด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    

ศ.ดร.จีระ ได้แชร์ความรู้หลายประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง  อาจารย์สอนให้มองภาพ Macro ไปสู่ Micro อาจารย์ พูดฟังดูเรียบง่าย แต่ได้ประเด็นโป๊ะแชะ ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของอาจารย์ ผมขอสรุปประเด็นที่ได้จากที่อาจารย์พูดพอสังเขปว่า แนวโน้มการจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสาน ในเรื่องของการจัดการมักจะเป็นในระดับองค์กรนั้น HR Manager ต้องใฝ่รู้ ต้องมีทัศนคติความเชื่อเรื่องคนที่ถูกต้อง และต้องไม่ทำงานแบบเดิม ๆ ส่วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ บรรยากาศแห่งการยอมรับซึ่งกันและกัน และบรรยากาศแห่งนวตกรรม 

  • การใฝ่รู้ ผมคิดว่าเป็นเรื่อง Learning Organization(LO), Long life learning(LL), Knowledge Management(KM)
  • มีความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับคน กล่าวคือ  HR Manager ต้องมีความเชื่อว่า ทรัพยากรมนุษย์นั้นมีคุณค่า”  เมื่อมีความเชื่อแบบนี้ จึงจะเกิดคำถามที่ดี และจะได้คำตอบที่ดีนำไปสู่กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี  ผมคิดว่าเป็นเรื่องของ Trust Management, Motivation Management, Talent Management นำไปสู่ Talent Organization
  • HR Manager ต้องไม่ทำงานแบบเดิม ๆ ผมคิดว่าเป็นเรื่องของ HR & Innovation นำไปสู่ Innovation Organization

HR Manager ที่อีสาน ต้องไม่ทำงานแบบเดิม ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ ผมคิดว่าที่ผ่านมา HRM โดยส่วนใหญ่เรามักจะไปเน้นที่กระบวนการมากกว่า Outcome และเน้นในระดับองค์กรมากในหน่วยงานมากกว่า Macro เช่น กระบวนการวางแผนอัตรากำลังคน กระบวนการสรรหาคัดเลือก กระบวนพัฒนาและอบรม กระบวนการแรงงานสัมพันธ์ฯ ต้องเป็นเลิศ และ HRM มักจะทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการดังกล่าวเสียเป็นส่วนใหญ่  บางองค์กร แม้กระทั่งการสรรหา การทำโทษพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใด ก็ส่งมาให้ฝ่าย HR เหมาจัดการให้หมด เรียกว่า ฝ่าย HRM รู้เรื่อง HRM&HRD อยู่เพียงฝ่ายเดียว   บางองค์กร HR Manager ไม่ได้ทำหน้าที่ HRM แต่กลับทำหน้าที่ Personnel Admin. คือ ทำแต่งานเอกสาร เช็คข้อมูลขาดลามาสาย  ให้คุณให้โทษ ถึงเวลาสิ้นเดือน จ่ายค่าจ้างให้ตรงเวลา เป็นอันว่าเสร็จงาน ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ และที่น่าสงสาร HR Manager ในบางองค์กร ที่มี Boss ที่ขาดวิสัยทัศน์ ถนัดแต่ command and control เหตุการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ไม่สนใจ และมองไม่เห็นความสำคัญของเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางการจัดการ ให้คงรักษาการทำงานแบบเดิม ๆ ไว้เพราะเชื่อมั่นว่าความสำเร็จในอดีตจะการันตีความสำเร็จในปัจจุบันและนาคตได้ ซึ่งความจริงไม่ใช่เช่นนั้น

ถ้าองค์กรใดยังทำเช่นที่กล่าวมาข้างต้นอยู่อีก จะเสียเปรียบคู่แข่งขัน และในที่สุดก็ถึงจุดจบ แบบไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเพราะไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของโลกได้  

เป็นที่ทราบกันดีว่า สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการองค์กร ไม่ว่าจะด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีฯ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การแข่งข้นทางธุรกิจ มีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใด ธุรกิจที่เร็วกว่า ดีกว่า ถูกใจกว่า ถูกราคากว่า จะอยู่รอดได้ ตามกระแสโลกาภิวัตน์      

แนวโน้มองค์กรที่ชาญฉลาด จะหันมาให้ความสำคัญการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  ให้ความสำคัญกับการบริหารเชิงกลยุทธ์มากขึ้น เน้นความชัดเจนของผลลัพธ์ของการดำเนินการ  และกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการกับอย่างน้อยสามเรื่องคือ CEO 

  •  C=Customer Satisfaction ความพึงพอใจของลูกค้า การตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ ดีกว่า เร็วกว่า ถูกว่า แปลก ทันสมัยกว่า  
  • E=Employee Satisfaction ความพึงพอใจ ความผาสุข ของลูกค้าภายในคือ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานทุกระดับ
  •  O=Organization Result ผลประกอบการ ประโยชน์ขององค์กร ที่ได้รับจาการบริหารจัดการ

แนวโน้มการจัดการทรัพยากรมนุษย์ HR จึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้ให้บริการ (Service) เป็นที่ปรึกษางานด้าน HRM&HRD ให้กับ Boss และหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น HR Manager จะเป็น Business Partner เป็นผู้ร่วมบริหารองค์กร เป็นผู้ร่วมรับผิดชอบต่อส่วนได้ ส่วนเสียขององค์กรมากขึ้น   

 HR Manager จึงต้องมีความรู้เรื่องการจัดการสมัยใหม่ การจัดการเชิงกลยุทธ์ ต้องรู้ว่า องค์กรที่ตนทำงานอยู่   มีกลยุทธ์ธุรกิจหรือมียุทธ์ศาสตร์อย่างไร เพื่อจะได้นำสิ่งที่รู้มาจัดยุทธ์ศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้สอดคล้องถูกต้อง สัมพันธ์กับยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจหรือยุทธ์ศาสตร์ขององค์กร   เพราะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร ลักษณะของโครงสร้างองค์กร และกลยุทธ์ธุรกิจ   

ธุรกิจที่ใช้ยุทธ์ศาสตร์สร้างความแตกต่าง (Differentiation) หมายถึงยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจที่ องค์กรต้องเน้นให้ความสำคัญในการสร้างความแตกต่างในตัวสินค้าและบริการ ที่เหนือชั้นกว่า ให้มีสินค้า/บริการที่แปลกกว่า ทันสมัยกว่าคู่แข่งขัน องค์กรแบบนี้จึงต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นพวก Talent people พวกที่มีกระตือรือร้น มีความคิดสร่างสรรค์ ที่เหนือธรรมดา  มีศักยภาพทางด้าน นวัตกรรม ในการทำงาน การผลิตสินค้า บริการที่เป็นนวตกรรม ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน และมี การจัดโครงสร้างองค์กรแห่งนวตกรรม และมีการกำหนดยุทธ์ศาสตร์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เช่น ธุรกิจ Software ธุรกิจบริการบันเทิง ธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ รายการ TV ต่าง ๆ เป็นต้น  ซึ่งแตกต่างจาก ธุรกิจที่ใช้ยุทธ์ศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership)

ธุรกิจที่ใช้ยุทธ์ศาสตร์ในการเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) จะเน้นการแข่งขันด้านต้นทุนที่ถูกกว่า ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องเร็วกว่า และดีกว่าคู่แข่งขันด้วย จึงต้องการทรัพยากรมนุษย์ที่เข้มงวดการทำงานตามขั้นตอน มี่การจัดโครงสร้างองค์กรแบบราชการ เข้มงวดในเรื่องระเบียบวินัย ทำงานตามสั่ง ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด เช่น งานในระบบราชการ ที่ทำภายใต้งบประมาณที่จำกัด ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์บางราย องค์กรแบบนี้มักจะเน้นฟอร์ม เช่น แบบฟอร์มเยอะ มาก ทำอะไรต้องขออนุมัติ ตามขั้นตอน มีชุดยูนิฟอร์ม ให้ใส่ เป็นต้น  

 แนวโน้มการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ระดับองค์กร) ในภาคอีสาน นั้น HR Manager ต้องทำงานรวมกับ Line Manager อย่างใกล้ชิดเหมือนคู่แฝด ให้ Line Manager เล่นบท HRM&HRD   HR Manager ต้องกระจายองค์ความรู้เกี่ยวกับ HRM & HRD ใหม่ ๆ ให้กับผู้จัดการในหน่วยงานต่าง ๆ ได้เรียนรู้และปฏิบัติได้ และ HR Manager ต้องรู้ลึก รู้กว้าง รู้ไกล ปฏิบัติได้ในเรื่อง 

  • วิสัยทัศน์ และภารกิจขององค์กร
  • กลยุทธ์ธุรกิจหรือองค์กร
  • ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ/องค์กร  เกี่ยวกับ ความพึงพอใจของลูกค้า  ความพึงพอใจของพนักงาน และ ผลประกอบการที่คาดหวัง
  • กระบวนการธุรกิจขององค์กร ตั้งแต่ Input/ Process / Output
  • การคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์เป็น รู้จัก SWOT Analysis มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง ของทีม ขององค์กร นับตั้งแต่เรื่อง ระบบต่าง ๆ เรื่องคน
  • แล้วนำสิ่งที่รู้ มาร่วมกำหนดยุทธ์ศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ จัดการระบบ จัดการคนให้ดียิ่งขึ้น อย่างต่อเนื่อง
  • นำสิ่งที่รู้ มา ทำ HRD จัดให้ทรัพยากรมนุษย์ มีบุคลิกภาพ พฤติกรรมพึงประสงค์  มีวัฒนธรรมองค์กร ที่ดีมีจริยธรรมคุณธรรม พัฒนาองค์กรให้เป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้  Learning Organization ส่งเสริมให้มีการจัดการองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเป็นระบบ Knowledge Management ให้เป็นองค์กรแห่ง นวัตกรรม หรือ Innovation Organization

 

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสาน ควรอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาวัฒนธรรม ประเพณีของดีๆ แบบไทย ๆ แบบอีสานเอาไว้ ควรใช้หลักธรรมมาภิบาล และแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯ มาประยุกต์ใช้ในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์    การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไม่ว่าจะด้วยเครื่องมือหรือวิธีการใดก็ตาม เพื่อให้องค์กรได้สัมฤทธิ์ผลในเรื่อง ความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจและความผาสุขของพนักงาน และ ให้ผลประกอบการออกมาดีนั้น ต้องปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน ตรงประเด็น ถูกจุด เรียกว่าถ้าจะอบรม ก็อบรมมาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของแต่ละองค์กร   

HRM&HRD ต้องมุ่งเน้นให้องค์การรอดพ้นจากภัย และวิกฤตขององค์กร ไม่ใช่ทำตามแฟชั่น เขามี Balance Score Card ฉันก็จะต้องมีบ้าง โดยไม่ดูรากหญ้าของปัญหาในองค์กรอยางลึกซึ้ง  

HRM&HRD ต้องทำเพื่อ ความมั่นคงและ ความยั่งยืนของการพัฒนา ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  มีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ   การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง    HRM&HRD ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน   

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ให้ทรัพยากรมนุษย์พร้อมรับ และยินดีต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งปัจจุบันและอนาคต   

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ ชาว ม.ขอนแก่น และอาจารย์รังสรรค์ที่ให้การต้อนรับ ศ.ดร.จีระ ผมและทีมงาน เป็นอย่างดี รู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก สมกับเป็นคนดีมีน้ำใจคนภาคอีสาน  และขอบคุณทาง PMAT ท่านนายกสมาคม PMAT และทีงานเช่นกัน ที่ให้เกียรติอาจารย์ผม ศ.ดร.จีระ อย่างต่อเนื่อง และให้การต้อนรับด้วยดีเช่นกัน ขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ อีกครั้งหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ผมได้มีโอกาสติดตามไปด้วยและให้เกียรติแนะนำเครือข่ายของอาจารย์ให้รู้จักหลายท่าน ขอให้อีสานจงเจริญ   

ขอความสวัสดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน ครับ   

สวัสดี  

ยม  

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  [email protected] 

081-9370144

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง โลกาภิวัตน์ยั่งยืนต้องเศรษฐกิจพอเพียง"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า โลกาภิวัตน์ยั่งยืนต้องเศรษฐกิจพอเพียง ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียน ได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ            
ช่วงรัฐบาลของไทยรักไทย 4 -5 ปี พวกเราที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพยายามทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศ สำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ข้าราชการและธุรกิจ ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะมองแบบขัดแย้งด้วย จนถึงวันนี้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเอาจริง และได้ดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ผมดีใจเพราะสนใจเรื่องนี้มานาน ได้ทำงานเรื่องนี้มาตลอด 5 ปี น่าจะเป็นประโยชน์มาก จะทำให้เราซึ่งอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างหนัก ได้มีสติและอยู่รอด 
ผมโชคดี หรือที่ท่านพุทธทาสเรียกว่า มีบุญ คือมีความสนใจ ใส่ใจและเอาใจใส่ ค้นหาความรู้เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพยายามติดตามหาอ่านบทความที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งบทความของ ศ.ดร.จีระ ด้วย ผมได้เรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ ศ.ดร.จีระ เขียนในหนังสือพิมพ์ และฟังจากรายการวิทยุ FM. 96.5   ต่อมาเมื่อมาเรียน ป.เอก กับ อาจารย์ ท่านก็ได้สอดแทรกเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไว้ในวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ในหลักสูตรปริญญาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต และ
เมื่อมีโอกาสติดตามไปฟังอาจารย์บรรยายที่อื่นอีก อาจารย์ก็จะพูถึงเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อาจารย์ได้นำแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสอดแทรกในการสอน ป.โท หลักสูตร MBA ที่ลาดกระบังฯ และให้นักศึกษาที่เรียนกับอาจารย์ ได้นำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไป เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนมัธยม ที่จังหวัดกาญจนบุรี  
นอกจากนี้ ผมทราบจากข้อความใน Blog จาก Web ของอาจารย์ว่า อาจารย์ได้นำเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปพูดที่ต่างประเทศหลายประเทศ และใช้เป็นยุทธศาสตร์การทูตภาคประชาชน ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 
สิ่งเหล่านี้ ผมคิดว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผมเห็น เรียนรู้ และประทับใจต่อการทำงาน ของ ศ.ดร.จีระ ที่อุทิศตนทำงานด้านการเผยแพร่ความรู้ Learning by doing เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  สิ่งที่อาจารย์ทำนั้น เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก  ผมเองปรารถนาที่จะเห็นรัฐบาลทำจริง ทำต่อเนื่อง ทำอย่างยั่งยืน และทำอย่างทั่วถึง ไม่กระจุกอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ 

ผมขอต้อนรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ด้วยความเคารพที่ ก่อนจะตั้ง สื่อมวลชนได้เชื่อมถึงและคาดการณ์ต่างๆ มากมายกันมากมาย พอตั้งเสร็จ วิพากษ์ทันที
 
จุดแข็งของสื่อมวลชน(บรรดานักข่าว นักหนังสือพิมพ์)ในบ้านเรา  ทำงานเร็ว เกาะติดสถานการณ์ คิดต่อยอดทำให้ข่าวเป็นที่น่าสนใจกับประชาชนได้อย่างทั่วถึง  ทำงานให้ได้ตามเป้าหมาย  
แต่สิ่งที่น่าสังเกต คือการนำแนวพระราชบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปใช้เป็นแนวทางในการทำงาน ยังมีน้อย ผมจำได้ว่าพระองค์ท่าน ต้องการให้พวกเราคนไทย จะคิด จะพูด จะทำ อะไรก็ตาม ให้มีความเมตตา ปรารถนาดี  ต่อกัน ส่งเสริมความสมานฉันท์สามัคคีของคนในชาติ ความสมดุล ความยั่งยืน  แต่ข่าวที่ออกมาเร็วนั้น ยังมีแนวคิดแบบนี้น้อย เกินไป  
สื่อมีส่วนช่วยชาติ ได้ด้วยการทำข่าว ที่ส่งเสริมให้ทรัพยากรมนุษย์เกิดทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนทางความสุข ที่ยั่งยืน อย่างทั่วถึงทุกคนทุกระดับ ทำงานสอดคล้องต้องกันกับนโยบายบริหารราชการแผ่นดิน เจริญลอยตามฝ่าพระบาทพ่อหลวงของเรา

การกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้ขัดแย้งกับระบบสากลแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้คำว่ารากแก้ว แทนที่จะเป็นรากหญ้า 
 
เท่าที่ผมเข้าใจในแนวคิดหลักเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยย่อว่า แนวคิดหลักเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สอนให้เรา คิดเป็น คิดถูก เป็นสุข ยั่งยืน บนความพอดี สอนให้คิดว่าจะทำอะไรก็ตาม ให้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด มีทรัพยากรเพียงพอ ไม่ทำตามแฟชั่นหรือทำตามกระแส 
ประการต่อมา   ทำอย่างมีการวางแผนที่รอบคอบ มีการประเมินติดตามผล และการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มองปัญหาที่จะเป็นผลกระทบจากการกระทำนั้น ทั้งระยะสั้นระยะยาว 
มีแผนการป้องกันปัญหาไว้  เมื่อการทำตามแผนที่วางไว้ มีปัญหา ก็มีแผนสอง แผนสาม รองรับไว้
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ให้พร้อมรับ และยินดีต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี ทั้งปัจจุบันและอนาคต  
ผมจึงคิดว่า แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ใช้ได้ทุกเพศ ทุกวัย ใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ใช้ได้ทั้งโครงการระยะสั้นและระยะยาว ทั้งปัจจุบันและในอนาคต  
ที่สำคัญคือทำอย่างไร ที่จะให้คนที่เป็นหัวใจ คนที่จะไปสอนเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เข้าใจเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง ก่อนที่หลักสูตรจะคลอดออกมาแล้วนำไปสอน เอกสารการสอน เอกสารการเผยแพร่ความรู้ ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก็ควรจัดทำให้เหมาะสมกับวัย ระดับความรู้ของผู้สอนและผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม  และทำโครงการเสนอ โดยใช้แนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นกรอบแนวความคิด การเรียนการสอนในหลักสูตร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควรให้มีทุกระดับ โดยเฉพาะในระดับที่กำลังจะออกมาช่วยพัฒนาประเทศชาติ ควรต้องรีบทำ 
มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในต่างจังหวัดหลายครั้ง เช่นโครงการ "การสร้างชุมชนเข้มแข็งและชุมชนต้นแบบตามแนวพระราชดำรัส"ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ทำต่อเนื่องหลายครั้ง โครงการที่สร้างชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องโลกาภิวัตน์ เพื่อให้คนในชุมชนรู้ความเป็นไปของโลก และใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือโลกาภิวัตน์ เพราะเมื่อชุมชนจะได้เข้มแข็งแล้ว อนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะส่งออกหรือจะนำเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่สากล เราก็สามารถทำได้
ประโยคนี้ ทำให้ผมคิดถึงครูในชนบท ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ น่าสงสารที่ทั้งความรู้ อุปกรณ์การสอน การได้รับการสนับสนุน ในการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีไม่เพียงพอ ที่จะทำให้เด็กไทย คิดและเข้าใจได้ดีเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กำนันผู้ใหญ่บ้าน อบต. ผู้นำท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่สามารถ ช่วยปลูกฝัง ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม พฤติกรรม เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนได้ลึกซึ้งไปถึงรากแก้ว
ขอฝากรัฐบาลจากชุดนี้ไป  ถ้าท่านจะใช้ใครให้ทำ ให้เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปยังกลุ่มเป้าหมายใด ด้วยรูปแบบใด กรุณาฉลาดที่จะเลือกทรัพยากรมนุษย์ที่รู้และเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดี เข้าไปช่วย
ผมว่าคนที่จะเข้าไปช่วยชาติ ช่วยรัฐบาลทำในเรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีไม่พอ รัฐบาลที่ผ่านมาก็ไม่รู้จักแสวงหาคนดีมีฝีมือที่มีอุดมการณ์ เข้ามาช่วย การจะให้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาช่วย ก็ต้องมียุทธศาสตร์ที่ชาญฉลาดเช่นกัน มิฉะนั้นแล้ว ต่อให้รัฐมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่างไร ก็คงเห็นความสำเร็จได้ยาก ครับ   
โดยสรุป รัฐบาลจะต้องเร่งอธิบายให้สังคมโลกรู้อย่างแท้จริงว่า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้โลกาภิวัตน์ยิ่งจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวม และปัจจุบันประเทศไทยต้องอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์อยู่แล้ว แต่คำถามก็คือ อยู่อย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ทำให้เราอยู่รอด เพราะคนไทยต้องหาความรู้ มีเหตุมีผล พอประมาณครับ
เรื่องการกู้ชื่อเสียงประเทศชาติในสายตาคนต่างชาติ ตรงนี้ การนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงออกไปเผยแพร่ กับต่างชาติด้วยยุทธวิธีหลากหลาย ควรเร่งทำ รัฐควรใช้ ทุนทาง IT เข้ามาช่วย และใช้ทุนมนุษย์ ทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระบบและนอกระบบ เข้ามาช่วย ครับ   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ      
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน 

 

          

 

 

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

[email protected]

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง โลกาภิวัตน์ยั่งยืนต้องเศรษฐกิจพอเพียง" เมื่อ ส. 14 ต.ค. 2549 @ 08:13 (84181)
โลกาภิวัตน์ยั่งยืน [1]
ต้องเศรษฐกิจพอเพียง

ช่วงรัฐบาลของไทยรักไทย 4 -5 ปี พวกเราที่มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพยายามทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในประเทศ สำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ข้าราชการและธุรกิจ
ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะมองแบบขัดแย้งด้วย จนถึงวันนี้ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีเอาจริง และได้ดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
ผมดีใจเพราะสนใจเรื่องนี้มานาน ได้ทำงานเรื่องนี้มาตลอด 5 ปี น่าจะเป็นประโยชน์มาก จะทำให้เราซึ่งอยู่ในโลกที่มีการแข่งขันกันอย่างหนัก ได้มีสติและอยู่รอด
งานชิ้นแรกที่เป็นรูปธรรมที่ท่านนายกฯ ทำคือ ให้กระทรวงศึกษาธิการของเรา มีหลักสูตรเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม และอย่างที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ได้พูดเป็นประจำว่า เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องภาคเกษตร แต่กระทบทุกๆ ภาค เพราะเศรษฐกิจพอเพียงเป็นวิธีการคิด เป็นปรัชญา ไม่ใช่โครงการภาคเกษตรหรือโครงการรากแก้ว จำได้ว่า ในยุคทักษิณ มีโครงการเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเสียมิได้ มีโครงการลักษณะนี้โดยให้ภรรยาของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ดำเนินการ จึงทำให้สำเร็จได้ยาก เพราะไม่มีความเข้าใจอย่างแท้จริงและไม่มีปรัชญาที่ถูกต้องและขัดแย้งกับนโยบายหลักของไทยรักไทย
ผมขอต้อนรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ด้วยความเคารพที่ ก่อนจะตั้ง สื่อมวลชนได้เชื่อมถึงและคาดการณ์ต่างๆ มากมายกันมากมาย พอตั้งเสร็จ วิพากษ์ทันทีว่า รัฐมนตรีปลัดบ้าง คณะรัฐมนตรีคนแก่บ้าง ผมคิดว่า ภายในระยะเวลาจำกัด ท่านนายกฯ คงจะไม่เน้นการทำงานแบบนอกกรอบมากนัก เพราะรัฐบาลเดิมทำไว้มาก จึงพยายามจะทำอะไรให้เกิดความพอดี ในลักษณะที่เก่งไม่กลัว แต่กลัวจะไม่มีคุณธรรมและจริยธรรมมากกว่า ฉะนั้น จึงอย่าวิตกไปมากเลย เพราะเป็นการดึงเอาความเป็นเลิศของข้าราชการประจำที่ไม่ฝักใฝ่การเมืองเข้ามาช่วยประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจคือ ทฤษฎี 4 ป ของนายกฯสุรยุทธ์
- โปร่งใส
- เป็นธรรม
- ประหยัด
- ประสิทธิภาพ
ซึ่งเป็น Basics ที่มีประโยชน์ในช่วงนี้
ทั้ง 4 ป เกิดมาจากการที่รัฐบาลทักษิณได้เร่งดำเนินการนำทุนนิยมและระบบ CEO มาใช้ จึงทำให้เกิดความไม่มั่นคง และไม่ยั่งยืนในที่สุด
ผมมั่นใจว่า การเขียนนโยบายของรัฐบาล โดยรองนายกฯ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์ คงจะไปได้ดี เพราะท่านเป็นคนที่มองเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว
ผมเชื่อว่า ใครก็ตามที่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง จะรู้ว่าไม่ขัดแย้งกับทุนนิยมแต่อย่างใด แต่เป็นการมองทุนนิยมที่ไม่เน้นการรวยกระจุกตัวการขยายตัวที่ไม่เสี่ยงจนเกินไป
การอธิบายให้ต่างประเทศฟังเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมและมูลนิธิฯ พูดได้ว่าได้ทำกับประเทศเพื่อนบ้านมาแล้วทั้งหมด 7 ครั้ง อยากให้ข้อมูลท่านผู้อ่านไว้ประกอบ
1. โครงการ Learning Forum "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in Cambodia" ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ระหว่างวันที่ 28-29 ตุลาคม 2545 โดยมีการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรชาวกัมพูชา และเป็นการสร้างการทูตภาคประชาชน
2. โครงการต่อเนื่องจาก Learning Forum "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in
Cambodia" เป็นการดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่ คุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม 2546
3. โครงการต่อเนื่อง II Learning Forum "Leadership Development in Sufficiency Economy for Agriculture Value Added" in Siem Reap, Cambodia ที่เสียมราฐ กัมพูชา ระหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 เป็นการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ ให้แก่ข้าราชการและเกษตรกรชาวเสียมราฐ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามากขึ้น
4. โครงการ Learning Forum "Tourism, Globalization and Sufficiency Economy in
Myanmar" ที่กรุงย่างกุ้ง เมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม 2547 เผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความยั่งยืนในด้านการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อมที่ดีและคุณภาพชีวิต และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
5. โครงการต่อเนื่อง "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory IV" ระหว่างวันที่ 11-17 มกราคม 2548 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ตามพระราชดำริ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สหกรณ์สารภี บริษัทสันติภาพ และเยี่ยมชมโครงการพระราชดำริดอยตุง เชียงราย
6. โครงการ Learning Forum on "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in
Kunming , China" ที่คุนหมิง จีน ระหว่างวันที่ 14-15 มีนาคม 2548 เป็นการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ,ทฤษฎีใหม่ , contract farming และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ร่วมกัน
7. โครงการ Learning Forum on "Sufficiency Economy and New Agricultural Theory in Ho Chi Minh City , Vietnam" ที่โฮจิมินห์ เวียดนาม วันที่ 29 กันยายน 2549 ซึ่งผมเขียนถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ทุกครั้งได้รับความสนใจจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก
การกำหนดนโยบายของรัฐบาล โดยนำเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ดี ไม่ได้ขัดแย้งกับระบบสากลแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้คำว่ารากแก้ว แทนที่จะเป็นรากหญ้า
มูลนิธิฯ ได้ดำเนินการสร้างชุมชนการเรียนรู้ในต่างจังหวัดหลายครั้ง เช่นโครงการ "การสร้างชุมชนเข้มแข็งและชุมชนต้นแบบตามแนวพระราชดำรัส"ที่จังหวัดสมุทรสงคราม และได้ทำต่อเนื่องหลายครั้ง โครงการที่สร้างชุมชนเข้มแข็ง พบว่า ต้องสร้างความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เรื่องโลกาภิวัตน์ เพื่อให้คนในชุมชนรู้ความเป็นไปของโลก และใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการรับมือโลกาภิวัตน์ เพราะเมื่อชุมชนจะได้เข้มแข็งแล้ว อนาคตข้างหน้าไม่ว่าจะส่งออกหรือจะนำเศรษฐกิจให้ก้าวไปสู่สากล เราก็สามารถทำได้
โดยสรุป รัฐบาลจะต้องเร่งอธิบายให้สังคมโลกรู้อย่างแท้จริงว่า เศรษฐกิจพอเพียง ทำให้โลกาภิวัตน์ยิ่งจะมีประโยชน์ต่อส่วนรวม และปัจจุบันประเทศไทยต้องอยู่ในโลกโลกาภิวัตน์อยู่แล้ว แต่คำถามก็คือ อยู่อย่างไร เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ทำให้เราอยู่รอด เพราะคนไทยต้องหาความรู้ มีเหตุมีผล พอประมาณครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 
ขอบคุณครับอาจารย์ ที่แจ้งข่าวให้ทราบ ครับ แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่ www.sasukmsu.com/nongsueng ครับ
สวัสดีครับศ.ดร.จีระ ฯ และHR ทุกท่าน ก่อนอิ่นต้องออกตัวว่าแมผมจะห่างBloge ในช่วงนี้เพราะสุขภาพร่างกายไม่เข้าที่ ต้องปรับต้องจูนต้องแต่งให้ร่างกายฟิตจึงจะห้อได้ตามใจคิด แต่ก้ไม่ได้ทิ้งหายไปไหน เพียงรอจังหวะและเวลาเท่านั้น แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไปฉันใดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องมีต่อไปฉันนั้น ผมในฐานะผู้สวมใส่หัวโขนประธาน 7Habits รุ่น 3มข.(เขายังไม่ไล่ออก) ซึ่งมี ศ.ดร.จีระฯ เป็น Coach ได้ดำเนินการเรื่อง HR ในมข.มาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมาหยุดลงชั่วคราวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมานึกย้อนหลังสิ่งที่เราได้รับและพัฒนาตนเองและทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัย ศ.ดร.จีระฯได้สอนให้เราเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งให้เรารู้จักทฤษฎี ทฤษฏี 4 L's L ที่ 1 คือ Learning Methodology L ที่ 2 คือLearning Environment L ที่ 3 คือ Learning Opportunity L ที่ 4 คือ Learning Communities นอกจากนั้นที่ขาดไม่ได้จริงในการทำงาน คือทฤษฎี 2 R’s คือ Reality (ความจริง) และRelevance(ตรงประเด็น)คือกานำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ต้องไปปะทะความจริง สถานการณ์ HR ในภาคอีสาน ดังนั้น วันที่ 11 ต.ค. ผมซึ่งปฏิบัติราชการอยู่ที่จ.นครพนม ได้เดินทางกลับมาถึง จ.ขอนแก่น ประมาณ 6 ทุ่ม โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะได้เข้าร่วมการประชุม"HR Northeast Forum 2006" ในวันที่ 12-13 ตุลาคม 2549 ณ โรงแรมโซฟิเทล ขอนแก่น การประชุมครั้งนี้ผมไม่ผิดหวังเนื่องจากเรียกได้ว่าเป็นงานระดับประเทศว่าได้ เพราะดูจากความสนใจแล้วหลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสมาชิกรุ่น 3 ของเราอีก5-6 คน ที่ได้มีโอกาสเข้ามา ณที่นี้ ทุกคนเมื่อตอนออกมาช่วงรับประทานอาหารว่าง บ่นกันเป็นแถวว่า ทำไมศ.ดร.จีระฯ มีเวลาพูดน้อยและอยากฟังท่านมากเพราะวิธีการนำเสนอและลีลาการพูดของท่านมันโป๊ะเชะจริงๆ(2 R’s) แต่การที่ท่านพูดน้อยในวันนั้นกลับส่งผลให้ทุกคนต้องตามล่าหาความจริง ด้วยการขอซื้อหนังสือทรัพยากรมนุษย์ของท่านไปศึกษา (เท่าที่สังเกตุบางท่านยังไม่มีพื้นฐานHR มาก่อนเลย) ผมดีใจที่มีโอกาสได้เติมเต็มความรู้อีกครั้งหนึ่ง การอภิปรายร่วมของวิทยากรระดับผู้มีทรงคุณวุฒิ เรื่อง “แนวโน้มการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสาน” ทำให้เรามองเห็น HRD&HRM แต่ทำอย่างไรเมื่อได้รับความรู้ระดับหนึ่ง นำไปต่อ ยอด ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และพร้อมที่จะมี Habit ในการคิด และไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้ สรุปคือ Life Long Learning เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสังคมการเรียนรู้ แต่ต้องเริ่มต้นวันนี้ และต่อเนื่องให้ได้(ศ.ดร.จีระฯ เน้น) ผมเห็นด้วยเพราะไม่อยากเห็นสังคมประเภทมือปืนเดินสายประชุมสัมมนาเพื่อขอผลงาน(มีทุกวงการ) HRD(การพัฒนาคน)& HRM(การพัฒนาองค์กร)ต้องควบคู่กันไป ที่ผ่านมาเราเคยทำ ยุทธศาสตร์ของอค์กรกำหนดวิสัยทัศน์และพัฯธกิจ เคยหาจุดอ่อนและจุดแข็ง เพื่อจะทำให้องค์กรดูดีมีประสิทธิภาพ แต่เราไม่เคยมองกลับมาที่"คน" ที่อยู่ในองค์กรที่ชัดเจนว่าเราจะให้เขาไปทางไหน จุดอ่อนจุดแข็งของคนเหล่านี้เป็นอย่างไร และจะกำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนนี้อย่างไร จึงจะพัฒนาถึงเป้าหมายเดียวกับองค์กร HRD(การพัฒนาคน)ศ.ดร.จีระฯให้มองภาพ Macro ไปสู่ Micro และระดับองค์กร คือ การเรียนรู้ในอนาคตจะต้องเน้น ทฤษฎี 4 L’s และ Peter Senge คือ Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง Mental Models แบบอย่างทางความคิด Shared Vision เห็นอนาคตร่วมกัน Team Learning เรียนเป็นทีม System Thinking คิดมีเหตุผล พร้อมนี้ ศ.ดร.จีระฯยังย้ำว่า HR ที่ดีต้องมีเรื่องInnovation ในหัวใจ นอกจากนั้นผมยังได้ ทฤษฎื 2L's Link & Learn(การเชื่อมโยง& การเรียนรู้) ของ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ อีกด้วย การประชุมฯครั้งนี้ ผมมีทุนHR อยู่เดิม ทำให้มีการคิดต่อยอดยิ่งผมได้มีโอกาสรู้จัก"คุณยม" ในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผมและเพื่อนๆ เพราะคนที่ท่านอาจารย์หรือCoachแนะนำให้รู้จักผ่านๆมาล้วนแต่มีฝีมือทั้งนั้น ตอนนี้จาการประชุมที่ผ่านมา ผมกำลังมุ่งประเด็นและเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาHR โดยคิดจะทำเป็น Clenic HR KKU ต่อไป ส่วนรูปแบบวิธีการสามารถ share กันได้ ขอบคุณศ.ดร.จีระฯ ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ขอบคุณมข.ที่ให้โอกาส ขอบคุณ"คุณยม"และน้องเอ และไม่ลืมขอบคุณตนเองที่เป็นตัวตนทุกวันนี้และพบกันใหม่ สวัสดี
ยม "ขนาดตัวอักษร ที่เหมาะกับการเขียน Blog"

เรียน ศ.ดร.จีระ คุณชำนาญและท่านผู้อ่านทุกท่าน   

 ขอบคุณ คุณชำนาญ ที่เขียนถึงผม ใน Blog ที่ผ่านมา ผมยินดีที่ได้มีโอกาสรู้จักคุณชำนาญและทีมงานจาก ม.ขอนแก่น  ทุกคนมีน้ำใจ ผมประทับใจแม้วันนั้นผ่านไปหลายวันแล้ว ยังไม่ลืม รอยยิ้ม ความเป็นกันเอง ความีน้ำใจ การมาส่งอาจารย์ถึงสนามบิน ยิ่งเป็นสิ่งที่ หาชมได้ยากในสังคมไทยปัจจุบัน น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นอย่างสูง สำหรับความมีน้ำใจและความจริงใจเช่นนี้ 

บทความที่คุณชำนาญเขียน มีสาระ มีเรื่องชวนติดตาม สานต่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอีสาน ได้อีกมากมาย  ตัวอักษรที่คุณชำนาญเขียนมา ดูเล็กไป

ผมขอแนะนำรูปแบบและขนาดตัวอักษรที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่การใช้รูปแบบตัวอักษรแบบ Tahoma ขนาด 14-16 จะเลือกตัวอักษร หนา บาง เอียง หรือขีดเส้นใต้ เติมสีได้ตามใจ  โดยการพิมพ์ลงใน Microsoft Office ก่อน แล้ว copy มาวางใน Blog จะได้ตัวอักษรที่ใหญ่ ชัดเจน ดังตัวอย่างที่ผม ขอใช้บทความของคุณชำนาญ ทำมาให้พิจารณาจากข้อความตอนท้ายนี้

 ขอความสวัสดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน สวัสดีครับ

ยม

 
ชำนาญ บัวทวน เมื่อ พ. 18 ต.ค. 2549 @ 15:49 (85361)

 

เรียน ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

  สวัสดีครับศ.ดร.จีระ ฯ และHR ทุกท่าน  ก่อนอิ่นต้องออกตัวว่าแม้ผมจะห่างBloge ในช่วงนี้เพราะสุขภาพร่างกายไม่เข้าที่ ต้องปรับต้องจูนต้องแต่งให้ร่างกายฟิตจึงจะห้อได้ตามใจคิด แต่ก้ไม่ได้ทิ้งหายไปไหน เพียงรอจังหวะและเวลาเท่านั้น แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไปฉันใดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ต้องมีต่อไป ฉันนั้น ผมในฐานะผู้สวมใส่หัวโขนประธาน 7Habits รุ่น 3 มข.(เขายังไม่ไล่ออก) ซึ่งมี ศ.ดร.จีระฯ เป็น Coach ได้ดำเนินการเรื่อง HR ใน มข.มาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมาหยุดลงชั่วคราวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร  ตลอดเวลาที่ผ่านมา ผมนึกย้อนหลังสิ่งที่เราได้รับและพัฒนาตนเองและทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัย ศ.ดร.จีระฯได้สอนให้เราเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งให้เรารู้จักทฤษฎี ทฤษฏี 4 L's L ที่ 1 คือ Learning Methodology L ที่ 2 คือLearning Environment L ที่ 3 คือ Learning Opportunity L ที่ 4 คือ Learning Communities  นอกจากนั้นที่ขาดไม่ได้จริงในการทำงาน คือทฤษฎี 2 R’s คือ Reality (ความจริง) และRelevance(ตรงประเด็น)คือกานำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ต้องไปปะทะความจริง สถานการณ์ HR ในภาคอีสาน  ดังนั้น วันที่ 11 ต.ค. ผมซึ่งปฏิบัติราชการอยู่ที่จ.นครพนม ได้เดินทางกลับมาถึง จ.ขอนแก่น ประมาณ 6 ทุ่ม โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะได้เข้าร่วมการประชุม"HR Northeast Forum 2006" ในวันที่ 12-13 ตุลาคม 2549 ณ โรงแรมโซฟิเทล ขอนแก่น  การประชุมครั้งนี้ผมไม่ผิดหวังเนื่องจากเรียกได้ว่าเป็นงานระดับประเทศว่าได้ เพราะดูจากความสนใจแล้วหลากหลายทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสมาชิกรุ่น 3 ของเราอีก5-6 คน ที่ได้มีโอกาสเข้ามา ณที่นี้ ทุกคนเมื่อตอนออกมาช่วงรับประทานอาหารว่าง บ่นกันเป็นแถวว่า ทำไมศ.ดร.จีระฯ มีเวลาพูดน้อยและอยากฟังท่านมากเพราะวิธีการนำเสนอและลีลาการพูดของท่านมันโป๊ะเชะจริงๆ(2 R’s)  แต่การที่ท่านพูดน้อยในวันนั้นกลับส่งผลให้ทุกคนต้องตามล่าหาความจริง ด้วยการขอซื้อหนังสือทรัพยากรมนุษย์ของท่านไปศึกษา (เท่าที่สังเกตุบางท่านยังไม่มีพื้นฐานHR มาก่อนเลย)  ผมดีใจที่มีโอกาสได้เติมเต็มความรู้อีกครั้งหนึ่ง การอภิปรายร่วมของวิทยากรระดับผู้มีทรงคุณวุฒิ เรื่องแนวโน้มการจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคอีสานทำให้เรามองเห็น HRD&HRM แต่ทำอย่างไรเมื่อได้รับความรู้ระดับหนึ่ง นำไปต่อ ยอด ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และพร้อมที่จะมี Habit ในการคิด และไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้  สรุปคือ Life Long Learning เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นสังคมการเรียนรู้ แต่ต้องเริ่มต้นวันนี้ และต่อเนื่องให้ได้(ศ.ดร.จีระฯ เน้น)  ผมเห็นด้วยเพราะไม่อยากเห็นสังคมประเภทมือปืนเดินสายประชุมสัมมนาเพื่อขอผลงาน(มีทุกวงการ) HRD(การพัฒนาคน)& HRM(การพัฒนาองค์กร)ต้องควบคู่กันไป  ที่ผ่านมาเราเคยทำ ยุทธศาสตร์ของอค์กรกำหนดวิสัยทัศน์และพัฯธกิจ เคยหาจุดอ่อนและจุดแข็ง เพื่อจะทำให้องค์กรดูดีมีประสิทธิภาพ แต่เราไม่เคยมองกลับมาที่"คน" ที่อยู่ในองค์กรที่ชัดเจนว่าเราจะให้เขาไปทางไหน จุดอ่อนจุดแข็งของคนเหล่านี้เป็นอย่างไร และจะกำหนดวิสัยทัศน์ของกลุ่มคนนี้อย่างไร จึงจะพัฒนาถึงเป้าหมายเดียวกับองค์กร HRD(การพัฒนาคน) ศ.ดร.จีระฯให้มองภาพ Macro ไปสู่ Micro และระดับองค์กร คือ การเรียนรู้ในอนาคตจะต้องเน้น ทฤษฎี 4 L’s และ Peter Senge คือ Personal Mastery รู้อะไร รู้ให้จริง Mental Models แบบอย่างทางความคิด Shared Vision เห็นอนาคตร่วมกัน Team Learning เรียนเป็นทีม System Thinking คิดมีเหตุผล  พร้อมนี้ ศ.ดร.จีระฯยังย้ำว่า HR ที่ดีต้องมีเรื่อง Innovation ในหัวใจ นอกจากนั้นผมยังได้ ทฤษฎื 2L's Link & Learn(การเชื่อมโยง& การเรียนรู้) ของ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ อีกด้วย  การประชุมฯครั้งนี้ ผมมีทุน HR อยู่เดิม ทำให้มีการคิดต่อยอดยิ่งผมได้มีโอกาสรู้จัก "คุณยม" ในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ผมและเพื่อน ๆ เพราะคนที่ท่านอาจารย์หรือCoach แนะนำให้รู้จักผ่านๆ มาล้วนแต่มีฝีมือทั้งนั้น  ตอนนี้จาการประชุมที่ผ่านมา ผมกำลังมุ่งประเด็นและเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาHR โดยคิดจะทำเป็น Clenic HR KKU ต่อไป ส่วนรูปแบบวิธีการสามารถ share กันได้ ขอบคุณศ.ดร.จีระฯ ขอบคุณวิทยากรทุกท่าน ขอบคุณ มข.ที่ให้โอกาส  ขอบคุณ"คุณยม"และน้องเอ และไม่ลืมขอบคุณตนเองที่เป็นตัวตนทุกวันนี้และพบกันใหม่ สวัสดี
เรียน ศ.ดร.จีระฯ คุณยม และแฟนพันธ์แท้ HR ทุกท่าน ขอบคุณ คุณยม ที่ให้คำแนะนำ เพราะว่าในชีวิตผมไม่ค่อยมีใครแนะนำเพราะเขาบอกว่าเราเก่งแล้ว ฟังดูแล้วน่าภูมิใจ แต่เป็นเรื่องตลกที่ปิดกั้นตัวเราเองอย่างมากโดยเฉพาะทุนแห่งการเรียนรู้ผมถือว่าผมยังมีน้อยมาก ดังนั้น ผมจึงมีต้นแบบและแนวทางในการเรียนรู้จากผู้รู้มากมายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ผมให้ความสำคัญมาก ในสมัยที่ผมศึกษาป.โท ที่จุฬาฯ เชื่อไหมว่าผมยกมือไหว้”พี่ดม” เจ้าหน้าที่ส่งนักการภารโรงก็ว่าได้ แต่พี่แกทำทุกเรื่องตั้งแต่ ทำความสะอาดภาควิชา ส่งหนังสือ โรเนียว ฯลฯ แต่สิ่งที่ได้รับผมได้ความรู้จากพี่ในวิธีการโรเนียว และสามารถได้รับความไว้วางใจให้ใช้เครื่องฯ(ซึ่งมีเครื่องเดียวในภาควิชาฯ) เมื่อผมมีโอกาสมาพบ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง (หรือ”ลุงโต้ง” ของน้องหนูแถวชุมชนรอบตลาดหลักทรัพย์) อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ พร้อม “คุณสรณะ ฉายประเสริฐ” ผู้อำนวยการโครงการพัฒนาความรู้ระดับอุดมศึกษา ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย ผมทึ่งมากรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ของท่านที่ทำงานร่วมกัน มีความสุข และท่านทั้ง 2 ให้ความรักและความเมตตาต่อผู้น้อยอย่างมากจนเป็นที่รักแก่ผู้ทำงานได้ ผมได้มีโอกาสเยี่ยมชมตลาดหลักทรัพย์ โดยคุณกิตติรัตน์ฯ เป็นผู้พาเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานของ รปภ. หรือพนักงานระดับล่าง ท่านให้ความสนใจและความสำคัญเปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ดังพุทธศาสนาที่ว่า “ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ” จากที่ผมกล่าวถึงทั้ง 2 ท่าน แสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีทฤษฎี 8 K’s ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นพื้นฐานในการสู่ความสำเร็จ ตามที่ ศ.ดร.จีระฯ กล่าวไว้คือ 1. Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่ง ถือว่าเป็นทุนขั้น พื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี 2. Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ Intellectual Capital เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม 3. Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง 4. Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น 5. Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม 6. Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน 7. Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 8. Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมอยากชี้ให้เห็นว่าทั้ง 2 ท่าน ที่กล่าวมาแล้วไม่เคยเข้ารับการอบรม HR กับ ศ.ดร.จีระฯ หรือ Coach ของผม แต่คิดไปคิดมาท่าน มีทฤษฎี 8 K’s เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระฯ (Coach ของรุ่น 3) ผู้คิดทฤษฎี 8 K’S และอยากจะบอกว่าถ้าเราจะขับเคลื่อน HRM เราต้องกลับมามองย้อนดูทุนพื้นฐานในตัวของท่านเสียก่อน เพราะว่าทุนในตัวของท่านจะเป็นตัวบอกว่าท่านจะได้กำไรเท่าไร? ในการทำ HRM แต่เชื่อได้ว่าการขับเคลื่อน HRM ในระบบราชการค่อนข้างจะเป็นงานที่หนัก ถ้าเราไม่ระเบิดเรื่องกฎระเบียบ และวัฒนธรรมค่านิยมออกเสียบ้าง สำหรับผมเองก็ยังมีเป้าหมายและมีความหวังเพียงแต่ว่าเราต้องนำทฤษฎีของ Coach มาใช้อย่างลงตัว ความคิดเห็นนี้เป็นส่วนตัว ขออภัยที่อาจขัดแย้งต่อความคิดบางท่านแต่สามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้(ลปร.)ตลอดเวลา (และขอบคุณ”คุณยม” ที่แนะนำการเขียนให้อ่านได้) หวังว่าทุกคนต้องสร้างทุนสังคมและทุนจริยธรรม เพื่อให้เกิดทุนแห่งความสุขและทุน........ต่อไป สวัสดี
ยม สวัสดีคุณชำนาญ ผมจัดขนาดตัวอักษรมาให้

 สวัสดีครับคุณชำนาญ 

ผม Copy ข้อความของคุณชำนาญ นำมาขยาย ทำแถบสีให้สะดวกแก่ผู้อ่านท่านอื่น ได้ศึกษาข้อความของคุณชำนาญ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ครับ 

 

ขอความสวัสดีจงมีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

 

สวัสดี

 

ยม

 

 

ชำนาญ บัวทวน เมื่อ ศ. 20 ต.ค. 2549 @ 12:02 (85742)

 

เรียน ศ.ดร.จีระฯ คุณยม และแฟนพันธ์แท้ HR ทุกท่าน    ขอบคุณ คุณยม ที่ให้คำแนะนำ เพราะว่าในชีวิตผมไม่ค่อยมีใครแนะนำเพราะเขาบอกว่าเราเก่งแล้ว ฟังดูแล้วน่าภูมิใจ แต่เป็นเรื่องตลกที่ปิดกั้นตัวเราเองอย่างมากโดยเฉพาะทุนแห่งการเรียนรู้ผมถือว่าผมยังมีน้อยมาก    ดังนั้น ผมจึงมีต้นแบบและแนวทางในการเรียนรู้จากผู้รู้มากมายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ผมให้ความสำคัญมาก ในสมัยที่ผมศึกษาป.โท ที่จุฬาฯ เชื่อไหมว่าผมยกมือไหว้พี่ดมเจ้าหน้าที่ส่งนักการภารโรงก็ว่าได้ แต่พี่แกทำทุกเรื่องตั้งแต่ ทำความสะอาดภาควิชา ส่งหนังสือ โรเนียว ฯลฯ แต่สิ่งที่ได้รับผมได้ความรู้จากพี่ในวิธีการโรเนียว และสามารถได้รับความไว้วางใจให้ใช้เครื่องฯ(ซึ่งมีเครื่องเดียวในภาควิชาฯ)    เมื่อผมมีโอกาสมาพบ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง (หรือลุงโต้งของน้องหนูแถวชุมชนรอบตลาดหลักทรัพย์) อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ พร้อมคุณสรณะ ฉายประเสริฐผู้อำนวยการโครงการพัฒนาความรู้ระดับอุดมศึกษา ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย ผมทึ่งมากรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ของท่านที่ทำงานร่วมกัน มีความสุข และท่านทั้ง 2 ให้ความรักและความเมตตาต่อผู้น้อยอย่างมากจนเป็นที่รักแก่ผู้ทำงานได้    ผมได้มีโอกาสเยี่ยมชมตลาดหลักทรัพย์ โดยคุณกิตติรัตน์ฯ เป็นผู้พาเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานของ รปภ. หรือพนักงานระดับล่าง ท่านให้ความสนใจและความสำคัญเปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ดังพุทธศาสนาที่ว่าผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ   

จากที่ผมกล่าวถึงทั้ง 2 ท่าน แสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีทฤษฎี 8 K’s ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นพื้นฐานในการสู่ความสำเร็จ ตามที่ ศ.ดร.จีระฯ กล่าวไว้คือ

 1. Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่ง ถือว่าเป็นทุนขั้น พื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี    2. Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ Intellectual Capital เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม    3. Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง    4. Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น    5. Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม    6. Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน    7. Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ    8. Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ผมอยากชี้ให้เห็นว่าทั้ง 2 ท่าน ที่กล่าวมาแล้วไม่เคยเข้ารับการอบรม HR กับ ศ.ดร.จีระฯ หรือ Coach ของผม แต่คิดไปคิดมาท่าน มีทฤษฎี 8 K’s เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน    ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระฯ (Coach ของรุ่น 3) ผู้คิดทฤษฎี 8 K’S และอยากจะบอกว่าถ้าเราจะขับเคลื่อน HRM เราต้องกลับมามองย้อนดูทุนพื้นฐานในตัวของท่านเสียก่อน เพราะว่าทุนในตัวของท่านจะเป็นตัวบอกว่าท่านจะได้กำไรเท่าไร?    ในการทำ HRM แต่เชื่อได้ว่าการขับเคลื่อน HRM ในระบบราชการค่อนข้างจะเป็นงานที่หนัก ถ้าเราไม่ระเบิดเรื่องกฎระเบียบ และวัฒนธรรมค่านิยมออกเสียบ้าง สำหรับผมเองก็ยังมีเป้าหมายและมีความหวังเพียงแต่ว่าเราต้องนำทฤษฎีของ Coach มาใช้อย่างลงตัว  ความคิดเห็นนี้เป็นส่วนตัว ขออภัยที่อาจขัดแย้งต่อความคิดบางท่านแต่สามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้(ลปร.)ตลอดเวลา (และขอบคุณคุณยมที่แนะนำการเขียนให้อ่านได้)    หวังว่าทุกคนต้องสร้างทุนสังคมและทุนจริยธรรม เพื่อให้เกิดทุนแห่งความสุขและทุน........ต่อไป    สวัสดี

ชำนาญ บัวทวน เมื่อ ศ. 20 ต.ค. 2549 @ 12:02 (85742)

 

เรียน ศ.ดร.จีระฯ คุณยม และแฟนพันธ์แท้ HR ทุกท่าน    

ขอบคุณ คุณยม ที่ให้คำแนะนำ เพราะว่าในชีวิตผมไม่ค่อยมีใครแนะนำเพราะเขาบอกว่าเราเก่งแล้ว ฟังดูแล้วน่าภูมิใจ แต่เป็นเรื่องตลกที่ปิดกั้นตัวเราเองอย่างมากโดยเฉพาะทุนแห่งการเรียนรู้ผมถือว่าผมยังมีน้อยมาก

ดังนั้น ผมจึงมีต้นแบบและแนวทางในการเรียนรู้จากผู้รู้มากมายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่าง ผมให้ความสำคัญมาก ในสมัยที่ผมศึกษาป.โท ที่จุฬาฯ เชื่อไหมว่าผมยกมือไหว้พี่ดมเจ้าหน้าที่ส่งนักการภารโรงก็ว่าได้ แต่พี่แกทำทุกเรื่องตั้งแต่ ทำความสะอาดภาควิชา ส่งหนังสือ โรเนียว ฯลฯ แต่สิ่งที่ได้รับผมได้ความรู้จากพี่ในวิธีการโรเนียว และสามารถได้รับความไว้วางใจให้ใช้เครื่องฯ(ซึ่งมีเครื่องเดียวในภาควิชาฯ)    

เมื่อผมมีโอกาสมาพบ คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง (หรือลุงโต้งของน้องหนูแถวชุมชนรอบตลาดหลักทรัพย์) อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ พร้อมคุณสรณะ ฉายประเสริฐผู้อำนวยการโครงการพัฒนาความรู้ระดับอุดมศึกษา ตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย ผมทึ่งมากรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ของท่านที่ทำงานร่วมกัน มีความสุข และท่านทั้ง 2 ให้ความรักและความเมตตาต่อผู้น้อยอย่างมากจนเป็นที่รักแก่ผู้ทำงานได้    

ผมได้มีโอกาสเยี่ยมชมตลาดหลักทรัพย์ โดยคุณกิตติรัตน์ฯ เป็นผู้พาเยี่ยมชม ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานของ รปภ. หรือพนักงานระดับล่าง ท่านให้ความสนใจและความสำคัญเปรียบเสมือนครอบครัวเดียวกัน ดังพุทธศาสนาที่ว่าผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ   

จากที่ผมกล่าวถึงทั้ง 2 ท่าน แสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีทฤษฎี 8 K’s ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นพื้นฐานในการสู่ความสำเร็จ ตามที่ ศ.ดร.จีระฯ กล่าวไว้คือ

 

 1. Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่ง ถือว่าเป็นทุนขั้น พื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี   

 2. Intellectual Capital หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และการนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม บุคคลที่จบปริญญามี Human Capital ใช่ว่าจะมีทุนทางปัญญาหรือ Intellectual Capital เสมอไป คนที่มีการศึกษาไม่สูงแต่สามารถมีทุนทางปัญญาได้ถ้ารู้จักในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถที่จะนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับมาสร้างมูลค่าเพิ่ม   

3. Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม บุคคลที่มีความรู้ดี สติปัญญาดี แต่ถ้าไม่มีคุณธรรม ก็ไม่สามารถพัฒนาองค์กรหรือประเทศได้อย่างดี ยิ่งถ้านำเอาความรู้ ความสามารถที่ได้รับไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมสร้างปัญหาให้กับสังคมมากยิ่งขึ้น ฉะนั้น ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จึงควรให้การปลูกฝัง ทุนทางจริยธรรม ไว้ตั้งแต่เบื้องแรก หรือแทรกเข้าไปในเนื้อหาเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่ง   

 4. Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข มนุษย์ทุกคนนี้ล้วนมีความปรารถนาจะทำในสิ่งที่ตนทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะคิด หรือทำสิ่งใดก็ตามก็จะต้องคำนึงถึงความสุขกับสิ่งที่ทำด้วยจึงจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น    

5. Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social Capital หมายถึงการรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคมซึ่งก็จะเป็นการสร้างให้เกิดยอมรับในสังคม    

6. Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเนื่องจากว่าการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก หากเราไม่พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน   

 7. Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคปัจจุบันเป็นโลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยี เป็นโลกาภิวัตน์ ฉะนั้น ในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ สามารถที่จะพัฒนาและแข่งขันกับนานาอารยประเทศ จึงจำเป็นที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ    

8. Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ที่ถูกต้องในการทำงาน บุคคลจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ผมอยากชี้ให้เห็นว่าทั้ง 2 ท่าน ที่กล่าวมาแล้วไม่เคยเข้ารับการอบรม HR กับ ศ.ดร.จีระฯ หรือ Coach ของผม แต่คิดไปคิดมาท่าน มีทฤษฎี 8 K’s เป็นเครื่องมือสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงาน   

ผมต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระฯ (Coach ของรุ่น 3) ผู้คิดทฤษฎี 8 K’S และอยากจะบอกว่าถ้าเราจะขับเคลื่อน HRM เราต้องกลับมามองย้อนดูทุนพื้นฐานในตัวของท่านเสียก่อน เพราะว่าทุนในตัวของท่านจะเป็นตัวบอกว่าท่านจะได้กำไรเท่าไร?    ในการทำ HRM แต่เชื่อได้ว่าการขับเคลื่อน HRM ในระบบราชการค่อนข้างจะเป็นงานที่หนัก ถ้าเราไม่ระเบิดเรื่องกฎระเบียบ และวัฒนธรรมค่านิยมออกเสียบ้าง

สำหรับผมเองก็ยังมีเป้าหมายและมีความหวังเพียงแต่ว่าเราต้องนำทฤษฎีของ Coach มาใช้อย่างลงตัว  ความคิดเห็นนี้เป็นส่วนตัว ขออภัยที่อาจขัดแย้งต่อความคิดบางท่านแต่สามารถ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้(ลปร.)ตลอดเวลา (และขอบคุณคุณยมที่แนะนำการเขียนให้อ่านได้)    หวังว่าทุกคนต้องสร้างทุนสังคมและทุนจริยธรรม เพื่อให้เกิดทุนแห่งความสุขและทุน........ต่อไป   

 สวัสดี

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ  ชาว ม.ขอนแก่น PMATและท่านผู้อ่านทุกท่าน  
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง แค่ปรับ Mindset ก็พอ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ทำและน่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ    

 


สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ Mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม (Networking) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน

 พูดถึงระบบการศึกษา ของประเทศเรา ยังไม่สามารถสร้างคนให้ทันโลกทันเหตุการณ์ มีทุนทางปัญญา เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าเปรียบเสมือนรถ  ก็เปรียบเทียบได้ว่า ระบบส่งกำลังที่จะขับเคลื่อน ไปข้างหน้า มีปัญหา ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถรักษาอันดับต้น ๆ ไว้ได้ แนวทางแก้ไขคือต้องฟิตเครื่องใหม่ หาเครื่องยนต์ใหม่ มาใส่  ในการบริหารเชิงกลยุทธ์  ปัญหาในองค์กรใหญ่เล็ก มักจะมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ ๆ  คือ 1 ปัญหาเรื่องระบบ  2 ปัญหาเรื่องคน  ซึ่งควรต้องแก้ไขพร้อมกันไป ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวสร้าง บริหารระบบ ถึงแม้ว่าควรแก้ทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องคน ต้องให้ถูกจุด ตรงประเด็น ก็คือปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้าไป เพื่อคนจะได้นำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ ไปบริหารจัดการระบบ ได้ดี  การศึกษาในไทย จึงต้อง ปฏิรูป ปฏิวัติกันบ่อย  ๆ ทำทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางเรื่อง ต้องทำทันที ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดี


ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน

 ในโรงเรียนประถม ส่วนใหญ่ สอนให้นักเรียนท่องจำ ขยันหาคำตอบให้ตรงกับที่ครู ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว  เด็กไทยจึงเบื่อการเรียน และหันไปเสพสิ่งบันเทิงอื่น ๆ เป็นปัญหาสังคมอยู่ทุกวันนี้  ตราบใดถ้า Mind Set ของผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนบางแห่ง ครูรุ่นเก่า ๆ ไม่เปลี่ยน อนาคตทรัพยากรมนุษย์ของไทย คงสู้ต่างชาติไม่ได้    ที่จริงการระบบการศึกษาในญี่ปุ่น น่าสนใจ ทั้งครูและนักเรียนญี่ปุ่นมี Mind Set ที่ดีกว่าเรา ผมเคยไปอยู่ที่ญี่ปุ่น เห็นการสอนเด็กอนุบาล เด็กประถม ที่ญี่ปุ่น มองออกได้ว่า เขามีระบบการจัดการที่ดี ผสมผสาน บูรณาการ การเรียนการสอน ของชาติที่เจริญแล้ว มาเป็นแบบ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสามารถกู้สถานการณ์ของประเทศได้เร็ว ก็ด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากวัยเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ มาช่วยพัฒนาชาติ และยังสามารถช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าได้อีกด้วย 

 


ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

  รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ที่ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 22.40-22.45 เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ สอดโครงกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นการนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาต่อยอด ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม ในบทบาทของครูของชาติ  เมื่อทางรัฐบาล จะนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ผมขอกราบเรียนทางภาครัฐ ผ่าน Blog นี้ว่า ขอให้ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรืองง่ายยิ่งขึ้น ให้เป็นเรื่องที่น่าชวนติดตาม น่าโน้มนำไปปฏิบัติ รายการนี้ ที่จริงแล้ว เนื้อหาสาระ ที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานกำกับ นั้น ดี มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ได้ทั่วประเทศ 

 


แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้

 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ตรงนี้สำคัญมาก การจัดให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐและเอกชน ควรร่วมมือกัน ทำไปอย่างมีทิศทางเดียวกัน  ขณะนี้ การโฆษณาทีวี เกี่ยวกับ เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง มักจะเน้นที่การออมเงิน  การทำกินบนพื้นฐาน ประหยัด พอเพียง ผมว่า ยังไม่ไร้ทิศทาง ที่จริงควรโฆษณา ออกมาในแนวกระตุ้นให้คนไทยอยากรู้ อยากเห็น อยากทำ ร่วมกันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โฆษณา ให้คนไทยตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ทุกระดับ ส่งเสริมให้คิด ให้ทำ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่อดออมอย่างที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ถ้าทุกคนทั้งประเทศหันมาเก็บออม ระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีปัญหาได้ เพราะการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง ภาคธุรกิจก็จะไม่คล่องตัว ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลง 

 

  

สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน

 ประโยคนี้ สามารถอธิบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าใจง่าย และประโยคนี้ สามารถที่จะนำไปทำรายการ ทำสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพื่อสื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีความเข้าใจเรื่องยิ่งขึ้นได้

มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
  การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่  ประโยคนี้ เป็นจริงครับ  ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ วิธีการเก่า ที่เคยทำสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้   มหาวิทยาลัยในประเทศเรา นับจากปี ค.ศ. 2000 วิชาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องปรับใหม่หมด ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ วิธีการเรียนการสอน ต้องปรับใหม่  เรียกว่า ทุกมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มใหม่ ใครคิดก่อน เปลี่ยนก่อน ได้เปรียบ    การทำงานยุคใหม่ นอกจากต้องคิดใหม่ ๆ เสมอ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว ต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ เรียกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกว่า มีประสิทธิภาพกว่า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ

คนอีสาน เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ทั้งโครงสร้างร่างกายและจิตใจ ประเพณีวัฒนธรรมอีสาน เป็นจุดเด่น แม้กระทั่งคนต่างชาติเริ่มเห็นจุดเด่นตรงนี้ และหันมาปักหลัก สร้างครอบครัวที่อีสานมากขึ้น  ในอีก 20 ปีข้างหน้า คนอีสานจะมีบุคลิกภาพใหม่ จมูกโด่ง สูง ยาว สมอง ปัญญาดี กว่าเก่า คนอีสานจะพัฒนาเร็วขึ้นและเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น 

 

 คนดี มีน้ำใจ ที่อีสานมีมากมาย เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานาน เมื่อครั้งผมไปอยู่ที่อีสาน เพื่อทำวิจัย ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปใช้ชีวิตกับคนอีสานเกือบสองปี  คนอีสานเป็นคนรวย   คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต คนอีสานรักษ์ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่ ม.ขอนแก่น ทำตรงนี้ได้ดี ขอชื่น ที่ ม.ขอนแก่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนอีสาน  
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติอย่างมาก การเชื่อมโยง จุดแข็งของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร และมองประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  มาเสริมจุดอ่อนของชาติเรา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทูต ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาที่น่าสนใจ  นำไปเป็นแม่แบบ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และชุดต่อ ๆ ไป

 


ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน

ระบบราชการของเรา อยู่ในระหว่างปฏิรูป  ขั้นตอนยังคงมีมาก รอไม่ได้ ต้องคิดถึงลูกค้าคือนักเรียน ตรงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี น่ายกย่อง น่าศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ทีติดขัดปัญหา ก็น่าจะลองศึกษาวิทยายุทธ์ของครูอาจารย์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ถ้าทั้งประเทศทำเช่นนี้ได้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

 

 

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

 [email protected]01-9370144
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
แค่ปรับ mindset ก็พอ[1]

ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องการเมือง เนื่องจากการเมืองในประเทศไทยไม่ปกติ แต่เมื่อเริ่มเข้ารูปเข้าร่างแล้ว ก็จะเล่าถึงงานของผมต่อไป บทความของผมจะเน้นการเรียนรู้จากความจริง จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผมได้ทำไป นำมาแบ่งปันกัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ละเรื่องจะทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปใช้เป็นประโยชน์
สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน
ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน
ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์นี้ หากไม่มีรัฐบาลซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะถูกมองข้ามไปว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว มองโลกาภิวัตน์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก และดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ผิด แต่ต้องพอดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้น หากการขยายตัวที่ไม่มีพื้นฐานที่ดี เหมือนการสร้างตึก โดยไม่ลงเสาเข็มนั้น คงทำได้ยากและไม่ยั่งยืน ผมคิดว่า อาจจะเป็นโชคของประเทศไทย ที่มีผู้นำแบบอดีตนายกฯ ทักษิณ มาแสดงความสามารถในนโยบายเชิงรุก ให้คนไทยได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบกัน แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
ในเวลา 1 ปีกว่าจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางรากฐานให้สังคมไทย คิดเป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องไม่ปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปพฤติกรรม ปฏิรูป mindset หรือวิธีการมองโลกของคนไทยให้ได้ เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
เช่น ยุคนายกฯสุรยุทธ์ หากจะแก้ปัญหาภาคใต้ คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิด จากการที่จะฆ่ากันทุกครั้ง มาเป็นการคุยกันแบบเจรจาบนโต๊ะ มองมาเลเซียเป็นมิตร ไม่ใช่แบบฆ่าทิ้งเป็นว่าเล่นอย่างในอดีต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ
ผมบอกได้ว่า อิสานเป็นสังคมการเรียนรู้ได้สบาย ถ้าท่านมองอิสานแบบใหม่ คือไม่ใช่จน โง่ รับจ้างแรงงานถูก ๆ ควรต้องยกย่อง มองการเกษตรเชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้ มองคุณค่าของคนอิสาน โดยเปิดโอกาสให้อิสานได้มีอิสรภาพทางความคิด ผมว่าคนอิสานก็คิดเป็น แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ถ้าผมรู้จักคนอิสานมากขึ้น ผมจะเขียนหนังสือพาดหัวสวย ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า :
Isarn can also learn and think
ผมมีเรื่องกิจกรรมอีกเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เมื่อวันที่ 16 - 18 ตุลาคม 2549 คณะครูจากจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
การไปดูงานครั้งนี้ ได้ไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตไทยประจำเกาหลี คุณวศิน ธีระเวชฌาน แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการการศึกษาระหว่างไทย/เกาหลี และท่านทูตได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญมาก เพราะมองคนเป็นทรัพย์สิน asset ไม่ใช่ต้นทุน จึงทำให้ประชากรเกาหลีมีคุณภาพ และให้ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศในกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ นับเป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับคณะครู ซึ่งทำงานต่อเนื่องในด้านการศึกษาร่วมกับผมมา 3 ปี และได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศ 3 ครั้งแล้ว
สิ่งแรกที่คณะนี้ทำได้คือ ปรับ mindset ว่า ฉันทำได้ ฉันพึ่งตัวเอง ไม่รอให้กระทรวงส่งฉันไปดูงานต่างประเทศ
เรื่องที่สองคือ กลุ่มนี้สนใจ Networking มาก อะไรที่ดี ๆ จะแสวงหาและฉกฉวยให้ได้ ในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัจจุบันมีการสร้างแนวร่วมกับนายกเทศมนตรีสำโรงใต้ คุณสรรเกียรติ กุลเจริญ และธุรกิจต่าง ๆ รอบโรงเรียน ประการที่ 3 คือ ได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วสำเร็จ
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย
ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้นำอาจารย์ 32 คน ซึ่งออกเงินเอง ไม่แบมือขอใคร และสามารถใช้การทูตภาคประชาชน ทำประโยชน์ให้แก่นักเรียนและครู ผู้ปกครองของจังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จ เพราะปรับ mindset ที่ถูกต้องครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

 Light Bulb เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ว่าที่ ดร.ยม ท่านชำนาญ

 ขอบพระคุณครับ

 ไม่ได้เข้า แต่ได้เรียนรู้จาก Blog ครับ

 ขอบพระคุณครับ





ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน
  

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  

       เรียน ศ.ดร.จีระ(Coach)  คุณยม  ลูกพ่อขุนฯ และชาว HR ทุกท่าน

      สังคมการเรียนรู้ไม่มีขอบเขต  เมื่อผมว่างผมจะพยายามเข้าหาความรู้  และผมอยากเห็นIsarn can also learn and think   พร้อมนี้ผมอยากเห็นCompetency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ

  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น

    ซึ่งที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากCoach และรวมทั้ง Mindset ของคนที่เป็นผู้นำ หรือผู้บริหารต้องมีการเปิดใจรับเรื่องให้ตรงประเด็น  หรือเรียกสั้นๆว่า "ทัศนคติ" ตามทฤษฎี 2'R (แต่เชื่อไหมว่าในองค์กรราชการร้อยทั้งร้อยเชื่อขนมกินได้ว่ายังมี Mindset ส่วนน้อย  เพราะผมโป๊ะเชะมากับตนเอง

     เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา วันที่ 26,27  ต.ค.ผมต้องทุ่มแรงกายแรงใจกับเจ้าหน้าที่ของผมทั้งระดับปฎิบัติและระดับบริหาร ด้วยการเชิญทุกคนที่เป็นสายปฎิบัติมาพูดคุยและช่วยกันคิด  กว่าจะง้างความคิดและทะลายกำแพงที่ชอบนั่งนิ่ง "ดีครับผม  เหมาะสมครับท่าน หัวหน้าทำ"....เล่นเอาเหนื่อยจนวันหยุดเป็นไข้

     ผมรู้เป็นเรื่องที่ยากลำบากเพราะผมต้องทะลายกำแพงวัฒนธรรมที่ทำงานแบบมนุษย์เงินเดือน หรือแบบไปวันๆ(Day by Day)   และทำอย่างไรให้ก้าวไปถึงการยอมรับ"Blue print for change(ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลง)        เปรียบเสมือน"กบในกะลา"  หากเรายังไม่ออกมานอกกะลา...อย่าฝันว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น  การคิดใหม่ทำใหม่จึงไม่เกิด

       ดังนั้นการสร้างแนวคิด(Abstarct Conceptualization) มันสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้มาก เหมือนกับที่ ดร.ยุทธพล  ทวะชาลี ท่านบอกไว้ในการประชุม PMAT    ว่า  "เก่งซะอย่าง  มีชัยไปทุกอย่าง"(Talent Management) 

      เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมรอเวลาให้มีปัญหาพอสมควรจนโดนตำนิกันพอนอนหลับ   ผมจึงใช้วิกฤตเป็นโอกาส ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โดยใช้ทฤษฏี 4 L's L ที่ 1 คือ Learning Methodology(สอนให้เข้าใจวิธีเรียนรู้)   L ที่ 2 คือLearning Environment (สร้างบรรยากาศแบบเรียนรู้อย่างธรรมชาติ โดยไม่ขัดต่อความรู้สึก) L ที่ 3 คือ Learning Opportunity(สร้างโอกาสในการเรียรู้ ฟัง คิด แสดงออก และทุกคนยอมรับได้)  L ที่ 4 คือ Learning Communities (เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้แบบธรรมชาติและมีการบันทึกรวบรวมข้อมูล)

      แม้จะเหนื่อยแสนเหนื่อยแต่เสียงตอบรับออกมาทุกคนบอกว่าดี     เนื่องจากผมนำเอาทฤษฎี 2 R's คือ - Reality มองความจริง
- Relevance ตรงประเด็น  โดยให้ทุกคนมองความจริงที่ว่า การทำงานของเรา ณ ปัจจุบันอะไรเป็นตัวทำให้เกิดปัญหา(โดยให้ทุกคนนำเสนอและอภิปราย  ให้เขาใช้ภาษาพูดธรรมดาและอย่าใช้ความรู้สึก   แต่ให้ใช้ความจริง  เช่น  "ขี้เกียจ" เมื่อมีคนเสนอและยอมรับในที่ประชุมแล้ว  ก็ต้องมาหาสิ่งที่ต้องประเด็น  โดยให้ทุกคนมององค์กรว่ามีขี้เกียจกี่คน  แล้วลงไปที่ระดับ  มาก   ปานกลาง น้อย 

     แต่การเรียนรู้คงไม่ใช่เท่านี้  เพราะผมทำเป็นตารางออกมาเปรียบเทียบมันบอกได้ทันทีว่า  เราจะต้องแก้ปัญหาและพัฒนาคนตรงไหน  เราจะมองเห็น  HRD(การพัฒนาคน)& HRM(การพัฒนาองค์กร)  เป็นKM ตัวหนึ่งที่เราสามารถแลกเปลี่ยนเรีนรู้(ลปร)แบบตรงประเด็นกันอย่างมีประโยชน์

        ว่าจะเขียนหลายเรื่องเดี๋ยวจะเบื่อมีเรื่องหนึ่งที่ผมทักทาย"ลูกพ่อขุน"  ไม่ใช่อะไรนอกจากผมมีทุนทาง Human Capital หรือ ทุนมนุษย์ คือ ทุนที่ได้มาจากความรู้ขั้นพื้นฐานของการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันการศึกษาซึ่ง ถือว่าเป็นทุนขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องมี    ฉะนั้น  ผมจบการศึกษาป.ตรี ม.รามฯรุ่นที่ 4  และพลศึกษารุ่นแรกแห่งนี้ และป.โท จุฬาฯ  และอีกหลายๆหน่วยงานที่เราได้ให้ความรู้สึกดีๆ   ดังนั้น ผมจึงมีความสุขเมื่อพบกับคนและองค์กรที่เรารู้จัก   Intellectual  Capital หรือ ทุนทางปัญญา คือ ความสามารถในการคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ผมยังต้องเติมเต็มอีกมากมาย ผมยินดีรับข้อเสนอและติ  สำหรับ Ethical Capital หรือ ทุนทางจริยธรรม  ผมคิดว่าผมมีเต็มเพราะผมทำงานไม่เคยมองสิ่งที่ต้องตอบกลับได้กี่ขั้นหรือได้อะไร  เพราะผมคิดว่าผมเกิดหนเดียวตายหนเดียว  ผมจะเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ(ยกเว้นความรู้)และผมจะไม่เอาเปรียบผู้น้อยและไม่ยอมเสียเปรียบผู้ที่มีอำนาจแม้จะต้องรอเวลาก็ตาม 

    Happiness Capital หรือ ทุนแห่งความสุข ผมทำในสิ่งที่ตนอยากทำแล้วมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขกาย หรือ สุขใจ และเป็นประโยชน์สูงสุดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น    เช่น ทุกเย็นผมจะสอนกีฬาแบดมินตันให้เยาวชนจนพัฒนาเนนักกีฬาระดับเยาวชน ประเทศ โดยไม่เก็บเงินค่าสอน  และจัดอบรมผู้ตัดสินและจัดการแข่งขันแบดฯถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต  และทำต่อเนื่องมาปีที่ 12  ทุกครั้งที่เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท  พระองค์ท่านจะทรงถามว่าเหนื่อยกันไหมและเยาวชนเป็นอย่างไรบ้างใช้เวลาว่างไปเล่นเกมส์หรือเปล่ามันเป็นความสุข  และอีกสิ่งหนึ่งที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ อยากทำเรือห้องสมุดถวายพระเทพฯ ที่จ.สมุทรสงคราม(แผ่นดินที่อาศัยเกิด)  เนื่องจากที่ราชบุรี ม.หมู่บ้านจอมบึง ผมได้นำเอา SetCornner  และศูนย์ภาษาอังกฤษ(Langueage @ Click  Innovation  School of English) จากตลาดหลักทรัพย์ฯไปลงที่สถาบันเรียบร้อย  ส่วนม.ขอนแก่น ไม่ต้องพูดว่าผมทำอะไร?  เพียงแต่บอกได้คำเดียวว่าเกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน  

       Social Capital หรือ ทุนทางสังคม ทุนทางสังคม หรือ Social Capital การรู้จักเข้าสังคม การรู้จักวางตัว หน้าที่และบทบาทของตนเองต่อสังคม  ตรงนี่เราคงตอบไม่ได้เพราะสังคมต้องเป็นผู้ตอบสะท้อนให้เรา    

6. Sustainability Capital หรือ ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนแห่งความยั่งยืนเป็นทุนที่สำคัญของทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนแล้วนั้นเราก็จะไม่สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในโลกยุคไร้พรมแดน   เป็นเรื่องที่เราชอบอยู่แล้ว

 7. Digital Capital หรือ ทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โลกยุคข่าวสาร และเทคโนโลยีเป็นทุนที่เราทุกคนถอยไม่ได้ต้องเปิดสมองใส่กะโหลกให้มากมิฉะนั้นก็ตามคู่แข่งไม่ทันทุกเรื่อง   

8. Talented Capital หรือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนที่สำคัญและขาดไม่ได้สำหรับทรัพยากรมนุษย์ในยุคนี้ก็คือ ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ การมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ (Mindset) ผมยังมีน้อยและต้องเติมเต็มตลอดเวลาเหมือนรถยนต์ที่ต้องการน้ำมันเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อน

       ความจริงแล้ว  ผมไม่ต่อยชอบยกตัวอย่างตนเองเหมือนเป็นการโอ้อวด(ขออภัย)  แต่สิ่งที่ยากจะชี้ให้เห็นว่า หากเราจะทำอะไรสักอย่างมันต้องมีทุน?  และต้องมองกลับมาที่ตัวเองว่า"เรามีทุนหรือมีดีอะไร?ที่จะสอนหรือเปลี่ยนเขา....แค่ตำแหน่งหน้าที่เท่านั้นหรือ.....แค่ความรู้จาการแปลText มาพูดให้คนฟังแบบอังกฤษปนไทยหรือเจ๊กปนลาว

       สรุปที่ว่า "ปัญหามีไว้เป็นทุน  แก้ไขได้เป็นกำไร  และนำมาใช้อย่างมีคุณค่าและต่อเนื่องคือ สุดยอดแห่งชีวิต"

ชำนาญ  บัวทวน(ชนบท)  ประธาน 7 Habbit รุ่น 3 มข.       [email protected]

                         

ท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ ว่าที่ ดร.ยม ท่านชำนาญ

ขอความช่วยเหลือค่ะคิอว่าการจะตั้งหัวข้อสัมนาโครงการหลงดอยคำเราควรตั้งหัวข้ออย่างไรบ้างค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ ศ.ดร.จีระ

ดิฉันกำลังเรียนปริญาญาโท คณะ รปม. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ค่ะ

อยากทราบว่า HRM HRD HRE มีความสัมพันธ์กันอย่างไรค่ะ

กรุณาช่วยตอบด้วยน่ะค่ะ

ขอขอบพระคุณมากค่ะ

สกุลยา วุฒิกนกธำรง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท