km กัยการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง


ผลของ km และผลของการวิจัย
จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้มาทำกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทุกครั้งที่มาพบแพทย์ใช้เวลาขณะที่รอผลตรวจเลือดครั้งละประมาณ 1 ช.ม มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนและมาตามนัดสม่ำเสมอคิดเป็นร้อยละ50 ใช้วิธีเล่าเรื่องการดูแลสุขภาพที่ทำได้สำเร็จ หรือที่ไม่สำเร็จ สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง ให้กลุ่มคุ้นเคยกัน เกิดเป็นชุมชนส่งเสริมสุขภาพ  รวบรวมคลังความรู้ที่ได้จากเรื่องเล่า สรุปความรู้ที่ได้ติดบอร์ดให้ผู้รับบริการอื่นๆได้รับทราบความรู้นั้นๆ ทุก3-6เดือน  เมื่อครบ 1 ปี นำความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติแล้วได้ผลดีมารวบรวม เพื่อดึงปัจจัยความสำเร็จ  และนำมาจัดระดับปัจจัยความสำเร็จ เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเสี่ยงประเมินตัวเอง โดยครั้งนี้ได้ดึงปัจจัยความสำเร็จหลักที่เกิดจากเรื่องเล่าในรอบปี ได้แก่ปัจจัยความสำเร็จเรื่องการมีความรู้และการรับรู้สภาวะโรค มาจัดได้ 5ระดับ ได้ดังนี้ระดับที่5 สามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นและเป็นผู้นำการถ่ายทอดวิธีปฏิบัติได้ระดับที่4 สามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องเห็นผลชัดเจน เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นได้ระดับที่3 เริ่มปฏิบัติได้ แต่ยังเห็นผลไม่ชัดเจนระดับที่2 รับรู้แต่ยังไมสามารถปฏิบัติได้ระดับที่1 ไม่สนใจที่จะรับรู้เรื่องสุขภาพมีผู้ประเมินตัวเองทั้งสิ้น 75 คน ประเมินตัวเองระดับ1=11 คน   ระดับ2=12คน   ระดับ3=20คน      ระดับ4=24 คน   ระดับ5=8 คนซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ จากน้ำหนักตัว  ระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด  ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่มีมาตั้งแต่ปี2546 -2548  ที่มีรูปแบบการให้ความรู้โดยมีเจ้าหน้าที่เป็นผู้ให้สุขศึกษา เมื่อสรุปผลในแต่ละปีก็ยังพบว่ากลุ่มเสี่ยงส่วนมากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่งผลให้มีการใช้ยาเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัว ความดันโลหิต และน้ำตาลในเลือดไม่ลดลงปี2549 นำวีธีการ KM มาปรับใช้กับกลุ่มเสี่ยง ผลที่เกิดขึ้นคือสมาชิกในกลุ่มเกิดการเรียนรู้เรื่องสุขภาพได้ดีกว่าแบบเดิมข้อเสนอแนะในการทำครั้งต่อไป1.ควรมีการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ได้แก่ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งอดีตและปัจจุบัน ระยะเวลาที่เจ็บป่วย  ให้ครอบคลุมทุกคน2.ควรบันทึกจำนวนครั้งของและคนที่เข้ากลุ่มลปรร. เพื่อเปรียบเทียบกับคนที่เข้าลปรร.ที่มีจำนวนครั้งแตกต่างกัน3.คัดแยกตัวแปรอื่นๆที่มีผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การปรับเพิ่มยา4.ควรเก็บข้อมูลสุขภาพเพิ่มเพื่อวัดประสิทธิภาพของหัวใจ เช่น บันทึกผลชีพจรทุกครั้งด้วย   สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงผู้รับบริการปี2549จำนวนกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด  107 คน มีอายุเฉลี่ย 57.44 ปี อายุน้อยที่สุดเป็นเบาหวานมีอายุ  25  ปี  และอายุสูงที่สุดเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีอายุ  89  ปี   เป็นเพศหญิง  82  คน คิดเป็นร้อยละ 76.63 เพศชาย  25  คน คิดเป็นร้อยละ 23.37 เป็นเบาหวาน 48 คน  เป็นหญิง 38  คน ชาย  10   คน เป็นความดันโลหิตสูง 50  คน  เป็นหญิง 39  คน ชาย 11  คน  เป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง   5 คน  เป็นหญิง  4 คน ชาย  1  คน  และเป็นไขมันในเลือดสูง  4  คน เป็นหญิง  1  คน ชาย  3  คน  เมื่อนำกลุ่มที่เข้าโครงการทั้งหมดมาเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังเข้าโครงการได้ตามตารางดังนี้   
ค่าที่เปรียบเทียบ ก่อนเข้าโครงการ หลังเข้าโครงการ
1.      น้ำหนักตัว (N=103)2.      ระดับ Systolic (N=102)3.      ระดับ Diastolic (N=102)4.      ระดับน้ำตาลในเลือด (N=102) X = 62.20  , SD 11.90 X = 139.59  , SD 23.24 X = 84.15  , SD 18.08 X = 198.13 , SD 74.45 X = 62.02  , SD 12.69    *.651 X = 129.92  , SD 19.21 * 0.00 X = 78.53 , SD 11.83 * .003 X = 161.26  , SD 53.47 *.000
 พบว่ากลุ่มมีระดับความดันโลหิตทั้งค่า Systolic และ Diastolic ลดลง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งระดับน้ำตาลในเลือดลดลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นน้ำหนักตัวก่อนและหลังที่ลดลงเพียงเล็กน้อย จึงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ      เมื่อนำกลุ่มที่เป็นโรคเบาหวาน (N=48)  มาเปรียบเทียบก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการได้ตามตารางดังนี้
ค่าที่เปรียบเทียบ ก่อนเข้าโครงการ หลังเข้าโครงการ
1.      ระดับน้ำตาลในเลือด 2.      ระดับ Systolic 3.      ระดับ Diastolic 4.      น้ำหนักตัว   X =203.33  , SD 75.04 X = 132.58  , SD 17.32X = 81.04  , SD 21.69X = 63.61  , SD 10.24 X = 166.08  , SD 55.27 * X = 122.00  , SD 21.49  *X = 73.88  , SD 11.69   *X = 63.39  , SD 10.34  *
 คำอธิบาย พบว่าระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตค่า Systolic และ Diastolic น้ำหนัก ตัวก่อนและหลังเข้าโครงการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ      เมื่อนำกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง (N=50)  มาเปรียบเทียบก่อนและหลังสิ้นสุดโครงการได้ตามตารางดังนี้ 
ค่าที่เปรียบเทียบ ก่อนเข้าโครงการ หลังเข้าโครงการ
1.      ระดับ Systolic 2.      ระดับ Diastolic 3.      น้ำหนักตัว   X =143.54 , SD 26.63X = 85.38  , SD 14.45X = 61.12  , SD 13.60  X = 134.24  , SD 15.37  *X = 81.52  , SD 10.97  *X = 60.57  , SD 14.60  * 
 คำอธิบาย กลุ่มที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อนำค่าความดันโลหิต Systolic และ Diastolic น้ำหนักตัวก่อนและหลังเข้าโครงการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ        กลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน  5 คน  เปรียบเทียบได้ดังนี้ 
ค่าที่เปรียบเทียบ ก่อนเข้าโครงการ หลังเข้าโครงการ
1.      น้ำหนักตัว2.      ระดับ Systolic 3.      ระดับ Diastolic 4.      ระดับน้ำตาลในเลือด X = 59.00  , SD 7.58X = 163.40  , SD 10.76X = 94.60  , SD 6.06X = 158.40  , SD 42.45 X = 64 , SD 14.69X = 145.20 , SD 10.10X = 88.80  , SD 7.66X = 135.25  , SD 27.90
 คำอธิบาย กลุ่มที่เป็นความดันโลหิตสูงและเบาหวาน เมื่อนำค่าความดันโลหิต Systolic และ Diastolic ก่อนและหลังเข้าโครงการมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดโครงการ  กลุ่มที่เป็นไขมันในเลือดสูง  4  คน  เปรียบเทียบได้ดังนี้ 
ค่าที่เปรียบเทียบ ก่อนเข้าโครงการ หลังเข้าโครงการ
1.      น้ำหนักตัว2.      ระดับ Systolic 3.      ระดับ Diastolic X = 62.75  , SD 12.09X = 129.50  , SD 14.82X = 76.75 , SD 5.61 X = 62.00, SD 9.89X = 128.50 , SD 9.19X = 83.00  , SD 1.41
 
คำสำคัญ (Tags): #พลัง#km
หมายเลขบันทึก: 54243เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2006 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท