สนุกครื้นเครง บทเพลงพื้นบ้าน


เพลงพื้นบ้าน ไม่ธรรมดาเลย ถ้ารู้จักคิด ประยุกต์ ดัดแปลงไปจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเข้าถึงจิตใจเด็ก ได้ไม่ยาก

      กลับมาบันทึกกันลืมไว้อีกครั้ง เพราะปีการศึกษานี้ ปรับปรุงรูปแบบการเล่น

เพลงพื้นบ้าน ให้แตกต่างกว่าปีก่อน โดยเน้นที่ "ลูกคู่" เป็นพิเศษ เพิ่มความ

สนุกครื้นเครงเข้าไป ขณะเดียวกัน ผู้แสดงก็ได้รับประโยชน์โดยไม่รู้ตัว


      ผมอยู่โรงเรียนบ้านหนองผือมา ๗ ปี เริ่มเอาจริงเอาจังกับการเล่นเพลงพื้น

บ้าน มาตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในเขตเทศบาล ได้รับเชิญจาก

ชุมชนท้องถิ่นเป็นประจำ ให้ไปแสดงบนเวทีใหญ่ อย่างน้อยก็ปีละ ๓ ครั้ง อาทิ 

วันแม่แห่งชาติ วันพ่อแห่งชาติ และวันลอยกระทง ต้องเตรียมการแสดงอยู่

ตลอด และทุกปี ผมจะสอดแทรกการแสดงเพลงพื้นบ้านเข้าไปด้วยทุกครั้ง


       นักเรียนฝึกซ้อมและเล่นมาหมดแล้ว ทั้งลิเก เพลงเรือ เพลงเต้นกำรำ

เคียว เพลงเกี่ยวข้าว และเพลงพวงมาลัย  ส่วนเพลงอีแซว ไม่กล้านำเสนอ 

เพราะมีรุ่นพี่ของนักเรียน ในโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ เขาเล่นแบบมือ

อาชีพแล้ว หากเราไปเล่นซ้ำรอยเข้า รับรองไม่ได้เกิดแน่ ส่วนเพลงฉ่อย แบบ

น้าโย่ง น้านง น้าพวง ในรายการ "คุณพระช่วย" ตั้งใจเอาไว้แล้วว่า เทอมหน้า

เจอกันแน่นอน


       ปีที่ผ่านมา ผมสังเกตที่เพลงพวงมาลัย ลูกคู่ดูไม่คึกคัก ไม่ค่อยมีสมาธิ ทำ

หน้าที่ร้องรับท่อนแรก และท่อนจบ จากนั้นก็ปรบมือไปตามจังหวะเพลงและ

จังหวะกลอง บางคนเหม่อลอย คงเป็นเพราะรับผิดชอบน้อยและยืนอยู่

ด้านหลัง ทำอะไร ใครก็มองไม่เห็น


       ผมปรับใหม่..ลูกคู่..เพลงพวงมาลัย ให้ปรบมือ พร้อมกับโยกตัว ไหวเอน 

เหมือนนักร้องประสานเสียง เวลาเอียงตัวขณะปรบมือ ให้ไปในทางเดียวกัน 

และต้องฟังจังหวะกลองและฟังคนร้องนำด้วย ขณะเดียวกัน คนร้องนำก็ต้อง

ออกท่าทางเคลื่อนไหวให้ชัดเจน กลมกลืน


      พอดี เพลงพวงมาลัย ส่วนใหญ่ เป็นนักเรียน ป.๕ - ๖ ที่เคยแสดงแล้ว

 จึงซ้อมไม่ยาก มีเขินอายบ้าง เฉพาะผู้ชาย ข้อดีที่ได้ก็คือ สมาธิ ความตั้งใจ

ของผู้แสดง หากไม่รับผิดชอบในจังหวะการเล่นแล้ว จะทำให้ปรบมือและ

เคลื่อนไหวไม่เหมือนเพื่อน เรียกว่า ต้องรู้ตัวอยู่ตลอดทั้งเพลง



           


                 


                               

                                            


       ปีนี้บทเพลงทำนองเพลง "เกี่ยวข้าว" ผมยกให้นักเรียนชั้น ป.๓ - ๔ 

นักเรียนค่อนข้างเยอะ และส่วนใหญ่ ยังไม่มีพื้นฐานในการร้องเล่นเต้นรำ 

(ยกเว้น กายบริหาร ประกอบเพลง พวกเขาทำกันได้ดีแล้ว) ผมเห็นว่าเพลง

เกี่ยวข้าว ปรากฎในบทเรียนภาษาไทย ชั้น ป.๕ หากได้ปูพื้นฐานไว้คงไม่

เสียหลาย


       ในเนื้อเพลง นักร้องนำชายหญิง ร้องทีละคน ขณะที่ร้องไปแล้ว ๔ วรรค 

ลูกคู่จะรับ พร้อมกันว่า


      "เฮ้     เอ้า  เฮ้      เฮ้"  ขณะที่ร้องรับพร้อมกันนั้น จะต้องปรบมือด้วย

      

        ขณะที่คนร้องนำ ร้องเนื้ออยู่นั้น ลูกคู่ทุกคน ต้องปรบมือประกอบไปด้วย 

สังเกตพบว่า การปรบมือของเด็กปั้นของผม ดูอืดอาด ยืดยาด ไม่กระตือรือร้น

เท่าที่ควร


        ผมปรับให้โยกตัวเหมือนพี่ โดยปรบมือแล้วโยกตัวไปทางซ้าย - ขวา ไป

พร้อมๆกัน และคอยฟังเนื้อเพลงให้ดีว่าถึงจังหวะร้องรับหรือยัง ถ้าไม่แน่ใจ ให้

นับ ๑   ๒   ๓  ๔  ๕  ๖ แล้วร้องว่า


         "เฮ้   เอ้า เฮ้   เฮ้"


         เท่านี้ยังไม่พอ เล่นให้สนุกไปเลย ได้ออกกำลังกายด้วยและฝึกสมาธิ ให้มี

จิตใจจดจ่ออยู่กับกิจกรรม โดยให้นักเรียนที่เป็นลูกคู่  ยักเอวแล้วทำก้นเตี้ยๆ 

๑ ครั้งไปทางซ้าย พร้อมปรบมือ ๑ ครั้ง(เฮ้) แล้วยักเอวทำก้นเตี้ยๆ ๒ ครั้งไป

ทางขวา พร้อมปรบมือ ๒ ครั้ง (เอ้า เฮ้ เฮ้)

        

         แค่นี้แหละ ง่ายๆ แต่ได้ใจผู้แสดงทุกคน สนุกกันจนลืมเหนื่อยทั้งครูและ

เด็ก งานนี้ได้ข้อคิดว่า ....


        เพลงพื้นบ้าน ไม่ธรรมดาเลย ถ้ารู้จักคิด ประยุกต์

ดัดแปลงไปจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และเข้าถึงจิตใจเด็ก


ได้

ไม่

ยาก


 

             


                   


                                  

                                           


หมายเลขบันทึก: 542215เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 21:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เก่งมากมายเลย ทั้งครู ทั้งเด็ก และทั้ง ผอ. ชื่นชม ชื่นชม ชื่นชม

เด็กๆ โชคดีที่มีผู้ใหญ่ใส่ใจให้กำลังใจและคิดเผื่ออนาคต ป.๕ ไว้ให้ด้วย

ชอบๆ ให้นึกถึงตอนเป็นนักเรียนประถมอ๊ะ

สวัสดีค่ะท่านผอ.ชยันต์...ขอชื่นชมค่ะ...โรงเรียนเล็กแต่มีคุณภาพมากๆนะคะ...

ยอดเยี่ยมเลยครับ ท่าน ผอ.

ผอ ครับ เด็กๆๆน่ารักดี ได้อนุรักษ์เพลงพื้นบ้านด้วย

เยี่ยมมากๆๆ

มีอะไรดีๆนำเสนออยู่เรื่อยนะค่ะผอ

"ขอบพระคุณมากครับ ทุกกำลังใจที่มอบให้ผม ผมมั่นใจมาหลายปีแล้ว ครับ ว่าเพลงพื้นบ้าน ทรงพลังยิ่งนัก ทำให้เด็กของผม ได้เคลื่อนไหว อย่างน่ารัก ได้พูด อ่าน และร้องเล่นเต้นรำ อย่างมีความสุข ในโรงเรียนเล็กๆ"

ชุดน้องสวยมากครับ...เพลงเพราะจังครับ...อยากให้อยู่กับคนไทยนานๆ ครับ

ความเห็นเหมือนหมอทิมดาบ ซาบซึ่งกิจกรรม นำสุขสู่การเรียนรู้

นำภาพความมั่นคงทางด้านอาหารมาฝาก

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท