Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

แบบสอบถามทัศนคติต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)


แพรภัทร ยอดแก้ว .2555. งานวิจัยเรื่อง " ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม The Relationship between Transformational Leadership, Knowledge and Attitude toward ASEAN Community of Students of Nakhon Pathom Rajabhat University " ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ SMART 3 (ครั้งที่ 3) วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน

ทัศนคติต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

คำชี้แจง   โปรดทำเครื่องหมาย /  ลงในช่องว่างที่ตรงกับความคิดเห็นและความรู้สึกของท่าน

เรื่อง

ระดับทัศนคติ

มากที่สุด

(5)

มาก

(4)

ปานกลาง

(3)

น้อย

(2)

น้อยที่สุด

(1)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

16.  ท่านเห็นด้วยกับการส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว

17.  ท่านเห็นด้วยกับการเคลื่อนย้ายเสรีด้านเงินทุนสินค้าบริการการลงทุนแรงงานมีฝีมือ

18.  ท่านเห็นด้วยกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

19.  ท่านเห็นด้วยกับการลดช่องว่างระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียน

20.  ท่านเห็นด้วยกับส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างไม่อยู่ในภาวะที่เสียเปรียบ

21.  ท่านพอใจกับการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคโดยการจัดทำเขตการ ค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area - AFTA หรืออาฟต้า) มาแล้ว 15 ปี

22.  ท่านยินดีกับประเทศไทยที่จะได้ประโยชน์ในการขยายการส่งออกหากสามารถสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้สำเร็จ

23.  ท่านพอใจกับนโยบายการพัฒนาทางเศรษฐกิจการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้าทางสังคมภายในปี 2020

24.  ท่านดีใจที่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงินการขนส่งเทคโนโลยีสารสนเทศและพลังงาน) ในอาเซียน

25.  ท่านภูมิใจในบทบาทของอาเซียนด้านความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่นกรอบอาเซียน+3 ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศเช่นสห ประชาชาติ

26.  ท่านสนับสนุนการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมายังอาเซียนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอาเซียนโดยรวม

27.  ท่านสนับสนุนโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงของอาเซียนและการปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐานเดียวกัน

28.  ท่านสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่อง ว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนได้ดีขึ้น

29.  ท่านสนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี7 สาขาอาชีพ ได้แก่ แพทย์ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี และวิชาชีพด้านการสำรวจ

30.  ท่านสนับสนุนประเทศไทยที่ได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)

ส่วนที่ 5  เป็นข้อคำถามวัดระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของนักศึกษา เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจากการตรวจสอบเอกสาร  แนวคิดเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และแนวคิดเกี่ยวกับทัศนคติ  โดยยึดองค์ประกอบของทัศนคติแบบ 3 องค์ประกอบมาตั้งเป็นข้อคำถาม  ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วน (Scale) ตามแบบการประเมินค่า (Rating Scale) โดยใช้การประเมินค่าของลิเคอร์ท  (Likert’s  Scale) ที่ให้ผู้ตอบประเมินค่า (1 - 5) ด้วยการเลือกเพียงคำตอบเดียว  ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน  45  ข้อ  ซึ่งครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน 3  ด้าน  ดังนี้

1. ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)  มีจำนวน  15  ข้อ  ได้แก่  ข้อ 1 – 15

2. ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีจำนวน  15  ข้อ  ได้แก่  ข้อ  16 - 30

3. ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASCC)  มีจำนวน  15  ข้อ  ได้แก่  ข้อ  31 - 45

นอกจากนี้  ข้อคำถามจำนวน  45  ข้อนั้น  ยังครอบคลุมแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนคติในองค์ประกอบทั้ง  3  ด้าน  คือ

1. องค์ประกอบด้าน ความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive Component) มีจำนวน  15  ข้อ

ข้อคำถามเชิงบวก  ข้อที่  1,2,3,4,5,16,17,18,19,20,31,32,33,34 และ 35

2. องค์ประกอบด้านอารมณ์ความรู้สึก (Affective Component)   มีจำนวน  15  ข้อ

ข้อคำถามเชิงบวก  ข้อที่  6,7,8,9,10,21,22,23,24,25,36,37,38,39 และ 40

3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component)   มีจำนวน  15 ข้อ

ข้อคำถามเชิงบวก  ข้อที่  11,12,13,14,15,26,27,28,29,30,41,42,43,44  และ 45

แบบสอบถามทัศนคติที่มีต่อประชาคมอาเซียน มี 3 ด้าน จำนวน 45 ข้อ ด้านละ 15 ข้อ

แบบสอบถามทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ  .9590

เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบรายด้านได้ค่าความเชื่อมั่น ดังนี้

2.  ด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)  เท่ากับ  .9076


นิสิต นักศึกษา นักวิจัย หน่วยงาน และองค์การใด สนใจที่จะนำแบบสอบถามฉบับนี้ไปใช้

ขอความกรุณาทำหนังสือ ขอใช้แบบสอบถาม ส่งมาได้ที่ 

อ.แพรภัทร  ยอดแก้ว

85 ถ.มาลัยแมน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

อ.เมือง จ.นครปฐม 73000


ดังตัวอย่างหนังสือขอใช้แบบสอบถาม  จาก กองวิทยาการ  กรมแพทย์ทหารอากาศ ค่ะ

แล้วจะส่งไฟล์แบบสอบถามทั้งฉบับให้ค่ะ


เอกสารอ้างอิง

แพรภัทร  ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง  "ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความรู้และทัศนคติต่อประชาคมอาเซียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

แพรภัทร  ยอดแก้วและ ญาณภัทร ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร ศูนย์พระสงฆ์นักเผยแผ่ธรรมเพื่อพัฒนาสังคม "

แพรภัทร  ยอดแก้วและ ญาณภัทร ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง "การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมวัดป่าเจริญราชเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน"

แพรภัทร  ยอดแก้วและ ญาณภัทร ยอดแก้ว. 2555. งานวิจัยเรื่อง การเปิดรับข่าวสาร ความรู้กับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนของพระธรรมวิทยากร

แบบสอบถามทัศนคติด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/505373

แบบสอบถามทัศนคติด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/505376

แบบสอบถามทัศนคติด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

 http://www.gotoknow.org/blogs/posts/505377


หมายเลขบันทึก: 542151เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 05:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท