nobita
นาย ชัยพร รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

ปรับเงินเดือนมีคนดีใจ และคนเศร้าใจ



      เมื่อไรที่มีข่าวเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนหรือค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ เมื่อนั้นจะมีคนดีใจและเศร้าใจ...

     คนที่ดีใจ คือ คนที่จะได้รับประโยชน์ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ  หรือกลุ่มแรงงานในระบบที่มีระบบประกันรายได้ตามกฎหมาย  ส่วนคนที่เศร้าใจ คือ คนที่ต้องหาเช้ากินค่ำ เช่น คนถีบสามล้อ  กรรมกรที่ใช้แรงงานทั่วไป หรือคนที่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิค่าแรงขั้นต่ำได้ ซึ่งในสังคมปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีคนกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน

     ปัจจุบัน ผมเป็นข้าราชการแม้ว่าการปรับอัตราเงินเดือน การขยายเพดานเงินเดือน หรือการปรับเงินต่าง ๆ ที่ทำให้เงินเดือนเพิ่มขึ้นจะทำให้ผมมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ผมดีใจเหมือนคนอื่น ๆ  ก็ตาม แต่ด้วยอดีตที่เคยเป็นลูกของกรรมกรใช้แรงงานนอกระบบ พ่อแม่หาเช้ากินค่ำ ทำให้มีรายได้ไปวัน ๆ นั้นทำให้ผมรับรู้ถึงความทุกข์ใจของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะ เมื่อไรก็ตามที่มีการปรับเงินเดือนให้ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีการปรับราคาสินค้าทุกอย่างให้สูงขึ้นตามไปด้วย ชนิดที่เรียกว่า แพงหูฉี่เลยทีเดียว...

     คนที่มีรายได้เป็นเดือน เมื่อได้ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้น เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นก็ยังพอทำเนา  แต่คนที่หาเช้ากินค่ำ ไม่มีสิ่งใดการันตีค่าแรงที่ได้ ไม่ทำก็อด เมื่อราคาสินค้าแพงขึ้นก็ต้องทนรับกรรมไปโดยไม่สามารถจะประกาศร้องป่าวให้ใครฟังได้เลย  ชีวิตต้องอยู่ให้ได้ แต่การอยู่ให้ได้ช่างแร้นแค้นเหลือเกินครับ

     บันทึกนี้ของผม มิได้เขียนขึ้นมาบอกว่าการปรับเงินเดือนไม่ดี ผมก็ว่าดี เพราะผมก็มีโอกาสได้ปรับเหมือนกัน แต่สิ่งหนึ่งที่จะพอสะท้อนให้สังคมได้รับรู้บ้างก็คงจะเป็นเรื่องของกลุ่มคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เขายังคงแร้นแค้นอยู่  ผมไม่ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการลดราคาสินค้าเพื่อพวกเขา  แต่อยากสะท้อนให้รู้ว่าบางครั้งที่มีการปรับราคาสินค้าและบริการด้วยเหตุผลแค่ว่าเงินเดือนปรับแล้วก็ต้องปรับราคาสูงตามด้วย โดยแท้จริงต้นทุนยังไม่เพิ่มหรือสูงขึ้นก็ตาม  สิ่งเหล่านี้ มีผลกระทบต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ร่วมสังคมนี้ของเราเช่นกันครับ  แต่จะทำอย่างไรได้ล่ะครับ ผมก็หมดทางเสนอแนะเหมือนกัน ทำได้แค่ส่งผ่านความเห็นอกเห็นใจผ่านบันทึกเล็ก ๆ แห่งนี้ครับ

หมายเลขบันทึก: 542049เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

หากกลไกการขึ้นเงินเดือนของรัฐ เป็นเรื่องปากท้องมากกว่า "การเมือง"

จะเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่งครับ ...

เศรษฐกิจพอเพียง...ใช้จ่ายไม่ฟุ่มเฟื่อยและฟุ้งเฟ้อ...นะคะ

โดนใจครูแกงเป็นกย่างยิ่งเลยละจ้า

คิดเหมือนกันเลย เราไม่เดือดร้อนแต่สงสารชาวบ้านตาดำ ๆ

และถ้ามันไม่มีเรื่องการหาเสียงของการเมืองเข้ามเกี่ยวข้อง

ก็จะดีกว่านี้อีกมากมาย

เป็นกำลังใจให้กันก็แล้วกันนะจ๊ะ

ขอบคุณครับครูแกง ขอบคุณครับ ดร.พจนา บางคนไม่ต้องคิดถึงความฟุ้งเฟ้อนะครับ หรืออาจจะไม่รุู้จักคำนี้ เพราะแม้แต่คำว่า มีกินมีจ่ายวันต่อวันยังลำบากแสนเข็นเลยครับ อิอิ

มุมมองเล็กๆแต่สะท้อนถึงสภาพสังคมที่เป็นกลุ่มประชากรค่อนประเทศ...เห็นด้วยจร้า

เห็นด้วยค่ะ..คนจนๆ..ยิ่งลำบากมากขึ้นๆ...

ถ้าแต่ละคนมีความเห็นอกเห็นใจกันอย่างนี้ก็จะมีโอกาสที่จะทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นได้นะครับ

เงินเดือน คือ ค่าตอบแทนวิชาชีพ ที่เราใช้ชีวิตทุ่มเท ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท