ระบบการรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 5


ระบบการรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 5

สวัสดีครับ วันนีผมจะมาพูดต่อจาก ตอนที่ 4 คือ แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัย ควรประกอบดด้วยแผนที่ใช้ดำเนินการในภาวะต่างกัน ดังนี้ครับ

1. แผนก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ประกอบด้วย

     - แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย

     - แผนการอบรม

     - แผนการตรวจตรา

2. แผนขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ ประกอบด้วย

     - แผนการดับเพลิง

     - แผนอพยพหนีไฟ

     - แผนบรรเทาทุกข์

3. แผนหลังเกิดเพลิงไหม้ประกอบด้วย

     - แผนบรรเทาทุกข์

     - แผนปฎิรูปฟื้นฟู

ที่นี้ผมจะมาพูดถึงก็คือ แผนก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ จะประกอบด้วย

      แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย เป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในถานประกอบการโดยเป็นการสร้างความสนใจ และส่งเสริมในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยให้เกิดขึ้นในทุกระดับของพนักงานในแผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัยควรกำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน ตัวอย่างหัวข้อที่จะทำการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย เช่น

       - 5 ส.

       - การลดการสูบบุหรี่

       - การจัดนิทรรศการ

       - จัดทำโปสเตอร์

       - การใช้สื่อต่างๆ

แผนการอบรม

       เป็นการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทั้งในเชิงป้องกันและการปฎิบัติเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งการเกิดอัคคีภัยภายในสถานประกอบการ ย่อมนำมาซึ่งความสูยเสียต่อธุรกิจการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเสียหาย การผลิต การบริการการหยุดชะงัก เสียโอกาสการขาย หรืออาจถึงขั้นมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้นในการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านการเกิดอัคคีภัย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรม โดยกำหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน ตัวอย่างของหลักสูตรที่ต้องจัดทำในแผนการอบรม ก็คือ

       - การจัดฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้กับพนักงาน

       - การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ

พร้อมกันนี้ยังต้องประกอบด้วยหลักสูตรที่ควรจัดทำในแผนการอบรม

       - การปฐมพยาบาล

       - การใช้เครื่องช่วยหายใจ

แผนการตรวจตรา

       เป็นแผนการสำรวจความเสี่ยงและตรวจตา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและขจัดต้นเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ก่อนจัดทำแผนควรมีข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้ เชื้อเพลิง  สารเคมี  สารไวไฟ ระบบไฟฟ้าจุดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบัติลักษณะการลุกไหม้ ปริมาณของสารอันตรายที่มีอยู่สูงสุด ชนิดของสารดับเพลิงและปริมาณที่ต้องใช้ เพื่อประกอบการวางแผน

      การตรวจตรา ควรมีกำหนดบุคคล พื้นที่ที่รับผิดชอบ หัวข้อและจุดที่ต้องตรวจ ระยะเวลา ความถี่ ผู้ตรวจสอบรายงาน การส่งรายงานผล การแจ้งข้อบกพร่องในการตรวจตราที่ชัดเจน หัวข้อที่ควรตรวจตรา เช่น

      - จุดที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุเพลิงไหม้

      - การใช้ และการเก็บวัตถุไวไฟ

      - ของเสียติดไฟง่าย

      - เชื้อเพลิง

      - แหล่งความร้อนต่างๆ

      - อุปกรณ์ดับเพลิง

      - ทางหนีไฟ

ตังอย่างแผนผังการตรวจตรา..... ครับสำหรับวันนี้จบเพียงแค่นี้ก่อนครับ พรุ่งนี้ผมจะมาพูดถึงแผนอพยพหนีไฟ ต่อครับ

                                         สวัสดีครับ

       

หมายเลขบันทึก: 54193เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2006 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท