Learning Organization


ผมเอาเรื่องนี้มาสารภาพ เพื่อจะบอกว่าคนที่จะปรึกษาผมเชิงทฤษฎีแบบนี้ ผมไม่รู้มากพอที่จะตอบได้หรอกครับ แต่ถ้าเป็นประเด็นเชิงปฏิบัติ ผมน่าจะมีประสบการณ์ (ของคนแก่) มาแลกเปลี่ยนได้บ้าง
เรื่อง Learning Organization
ผมได้รับ อี-เมล์ จากคุณ "punyawi santiworaphong" [email protected]  มีข้อความดังต่อไปนี้
สวัสดีครับ อ.วิจารณ์ที่เคารพและนับถืออย่างสูง
เนื่องจากว่าผมได้ศึกษาแนวคิด
และได้ทำการสรุปแต่ละแนวคิดของนักวิชาการแต่ละท่านแต่ไม่แน่ใจว่าตัวผมเองนั้นเข้าใจถูกต้องหรือไม่
 จึงอยากจะขอความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากอาจารย์ด้วยครับ

 

1.แนวคิดวินัย 5 ประการ  (The Fifth Discipline)  ของ  Peter M. Senge   
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เน้นหนักไปที่ตัวบุคคลเป็นหลัก 
แต่ว่าให้ความสำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่มีผลกับกระทบต่อองค์การน้อยเกินไป
เช่น บรรยากาศองค์การ  หรือวัฒนธรรมองค์การ

 

2.แนวคิดฺ Building the learning organization ของMichael J. Marquardt   
แนวคิดในความเห็นของผมคิดว่าที่มีความครอบคลุม
เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มีความเกี่ยวข้องกับทั้งตัวบุคคล และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
ที่มีผลกับกระทบต่อองค์การ 
อาจจะมีเพียงเรื่องของงบประมาณที่ไม่ได้เน้นหนักในแนวความคิดนี้
(ซึ่งโดยส่วนตัวของผมนั้นคิดว่าการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเน้นในส่วนของงบประมาณ
อาจจะมีก็แค่เพียงระบบการให้รางวัลสำหรับการใฝ่เรียนรู้หรือการแชร์ความรู้ 
เนื่องจากว่าเราสามารถที่จะแทรกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานได้ครับ)

 

3.แนวคิดบริษัทแห่งการเรียนรู้ (The Learning Company) ของ Pedler, Burgoyne และBoydell
แนวคิดนี้มีความใกล้เคียงกับของ Marquardt 
แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานขององค์การ
 รวมทั้งให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ที่น้อยเกินไป 
เนื่องจากเน้นเพียงเรื่องการแสวงหาความรู้  จัดเก็บความรู้  การถ่ายโอนความรู้ 
แต่ไม่เน้นในเรื่องของการสร้างความรู้  แต่มีการเพิ่มเติมจากของ Marquardt
ในเรื่องของการวางแผนทางด้านบัญชี  และงบประมาณขององค์การ

 

4. แนวคิด 10 steps to The Learning Organization ของ Peter Kline และ Bernard Sanders
แนวคิดนี้มีความใกล้เคียงกับของ Marquardt 
แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานขององค์การ
 นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ที่น้อยเกินไป 
เนื่องจากเน้นเพียงเรื่องการแสวงหาความรู้  จัดเก็บความรู้  การถ่ายโอนความรู้ 
แต่ไม่เน้นในเรื่องของการสร้างความรู้

 

ขอความกรุณาจากอาจารย์ด้วยนะครับ  ขอบคุณมากครับ
           ใครพอจะตอบได้ กรุณาตอบด้วยครับ    ผมตอบไม่ได้ เพราะผมไม่เคยอ่านหนังสือเล่มที่ ๒  ๔ เลย     และเล่มที่ ๑ ก็อ่านไม่ละเอียด     ผมไม่ได้อ่านหนังสือเอารายละเอียดมานานแล้ว    อ่านเอาไอเดียมากกว่า   ผมมองว่า The Fifth Discipline เอาใจใส่องค์กรนะครับ    ผมมองว่าเขามององค์กรกับพนักงานเป็นหนึ่งเดียว    ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่
           ผมเอาเรื่องนี้มาสารภาพ    เพื่อจะบอกว่าคนที่จะปรึกษาผมเชิงทฤษฎีแบบนี้     ผมไม่รู้มากพอที่จะตอบได้หรอกครับ     แต่ถ้าเป็นประเด็นเชิงปฏิบัติ ผมน่าจะมีประสบการณ์ (ของคนแก่) มาแลกเปลี่ยนได้บ้าง
วิจารณ์ พานิช
๒๘ มิ.ย. ๔๘

หมายเลขบันทึก: 541เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2005 13:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 19:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แนวคิดที่2 ในส่วนตัวคิดว่า เป็นแนวคิดที่ดีเพราะมีการมองอย่างเป็นระบบ ในส่วนของงบประมาณ คิดว่าไม่จำเป็นต้องเน้นในเชิงระบบนี้  เพราะการจะพัฒนาคน แลองค์กรนั้น ต้องสร้างความเข้าใจ เชื่อมั่น ในการเป็น LO ตามแนวคิดของ MArquardt และจะเห็นได้ว่าใน16 ขั้นตอนการสร้างLO ของ Marquardt ก็ไม่มีเน้นในเรื่องงบ แต่เป็น commitment ของคนและองค์กร

แนวคิด3 ส่วนตัวคิดว่า(จากข้อเสนอของคุณ)

การสร้างความรู้ที่ขาดหรือไม่เน้นนั้น สามารถมองในแง่นี้ได้รึไม่ คือการแสวงหา นั้นก็เทียบได้กับการสร้างความรู้ การแสวงต้องเกิดจาก action ดังนั้นการสร้างก็ได้เริ่มขึ้นแล้ว

ผมกำลังเขียนหนังสือชื่อ "ผู้บริหาร องค์กรอัจฉริยะ  ฉบับนักปฏิบัติ"     จะวางตลาดในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2550 ในงานมหกรรมจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 4   ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

วิจารณ์ พานิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท