MyFamilyDoctor
นายแพทย์ กฤษณะ สุวรรณภูมิ

พฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


คงต้องช่วยนักศึกษาให้สามารถจบออกไปอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ออกไปด้วยความรู้และทักษะที่เต็มเปี่ยม แต่พฤติกรรมสุขภาพไม่ดี มีปัญหาสุขภาพมากมาย แล้วอย่างนี้ที่เราผลิตบัณฑิตไป ไม่สูญเปล่าหรือครับ

เดือนที่ผ่านมา ได้อ่านงานวิจัยเรื่องนึงที่น่าสนใจคือเรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ของอาจารย์สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ คณะพยาบาลศาสตร์ (Songkla Med J 2006;24(5):395-405)

 

ก่อนที่จะเล่าต่อ คงต้องขอวิจารณ์เล็กน้อย ว่าประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ อาจไม่สามารถเป็นตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่ดี เนื่องจากไม่ได้เป็นการสุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาทั้งหมด แต่เป็นนักศึกษาที่มาลงทะเบียนรายวิชาหนึ่งเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ประชากรที่ศึกษาก็เป็นนักศึกษาของเรา แม้ไม่ใช่ตัวแทนทั้งหมด แต่หากเจอปัญหา ก็คงต้องหาทางแก้ไข เพราะพวกเขาเหล่านี้คือว่าที่ของผลผลิตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้

 

ขอสรุปผลเป็นข้อๆให้ดูก่อน นักศึกษาของเรา

  • ร้อยละ 61.8 มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • ร้อยละ 42.4 รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพดี
  • ร้อยละ 2.9 รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพไม่ค่อยดี
  • นักศึกษามีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมได้แก่ การดื่มน้ำผลไม้ (ร้อยละ 67.4) การรับประทานผัก (ร้อยละ 97.4) การดื่มนม (ร้อยละ 84.2)
  • พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพได้แก่ การไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (ร้อยละ 29.2) การสูบบุหรี่ (ร้อยละ 22.6) การดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 61.3) การใช้สารเสพติด (ร้อยละ 1.6) ไม่สวมหมวกนิรภัยเมื่อนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 86.3) และเมื่อขับขี่รถจักรยานยนต์ (ร้อยละ 2.9) นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ที่ผู้ขับขี่ดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 14.7) ร้อยละ11.6 เคยมีเพศสัมพันธ์
  • พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักศึกษาได้แก่ การไม่สวมถุงยางอนามัย (ร้อยละ 14.7) มีเพศสัมพันธ์หลังดื่มแอลกอฮอล์ (ร้อยละ 2.4) และไม่ได้ใช้วิธีใดๆในการป้องกันการติดเชื้อและการตั้งครรภ์ (ร้อยละ 0.8) นักศึกษาร้อยละ 2.1 เคยถูกบังคับ ให้มีเพศสัมพันธ์ และร้อยละ 1.8 เคยถูกทำร้ายร่างกาย
 เอาข้อมูลมาให้ดูครับ ยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรที่จะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด คิดได้แต่ว่า คงอยู่เฉยไม่ได้ มีโอกาสทำอะไรได้คงต้องช่วยๆกัน และชวนคนมาเป็นแนวร่วมเยอะๆ พวกเขาอยู่กับเรา 4-6 ปี คงต้องช่วยนักศึกษาให้สามารถจบออกไปอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่ออกไปด้วยความรู้และทักษะที่เต็มเปี่ยม แต่พฤติกรรมสุขภาพไม่ดี มีปัญหาสุขภาพมากมาย  แล้วอย่างนี้ที่เราผลิตบัณฑิตไป ไม่สูญเปล่าหรือครับ 
หมายเลขบันทึก: 54073เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 17:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ อาจารย์หมอ "FP" 

แวะมาทักทาย และมาดูข้อมูลที่เสี่ยงต่อสุขภาพด้วยค่ะ...Vij มีพฤติกรรมเสียงต่อสุขภาพเหมือนกันค่ะ คือ ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายค่ะ มีบ้างก็เดินไปสั่งข้าวกิน อาทิตย์ไหนฝุ่นเยอะหน่อยก็ถูห้องพัก รู้สึกเหมือนกันว่าไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่าเท่าที่ควรจะเป็น

ดีใจกับนักศึกษา มอ. ค่ะ ที่มีหมอเก่ง ๆ ให้ความสนใจในสุขภาพของเยาวชน เพราะการดูแลรักษาสุขภาพสำคัญที่สุด หากสุขภาพแย่ก็เหมือนกับคนขาดแขนขาดขา ทำอะไรแต่ละอย่างก็ไม่คล่องไม่สะดวก

ค่อย ๆ คิดนะคะ และรออ่านบันทึกต่อไปค่ะ

ขอบคุณครับ ที่แวะมาเยี่ยม

จะพยายามคิดและเขียนไปเรื่อยๆ ที่ต้องทำเรื่อยๆเพราะมีภาระงานอื่นเข้ามาเยอะ

แต่คิดว่าตรงนี้สำคัญ ทิ้งไม่ได้

จากลูกศิสต์ที่ดีของอาจาร์ fp อาจาร์คาแวะมาที่โรงเรียนของเราได้ใหม่น้องคนนี้

คิดถึงพี่มากๆๆๆๆๆเลยคาโปรดดอย่าลืมน้องนี้ด้วยนะค่ะน้องคนนี้ก็อยากไปหาพี่เหมื่อน

กันแต่น้องไม่ว่างที่จะไปหาอาจาร์ไว้วันหลังน้องคนนี้ไปหานะค่ะรักและคิดถึงมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท