สมุนไพรไล่ยุง


                                                            สมุนไพรไล่ยุง

                                              นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง) 

สมุนไพรไล่ยุง ยาจุดกันยุงสมุนไพร กำยานกันยุง ควันที่เกิดจากพืชสมุนไพรพื้นบ้านจากธรรมชาติ สามารถไล่และกำจัดยุงได้ดี ให้ความปลอดภัย ประหยัด ช่วยทำให้บรรยากาศรอบข้างหอมสดชื่นและไร้สารพิษจากสารเคมีตกค้าง ปัญหายุงกัดคนและสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะคนที่ไปทานอาหารตอนหัวค่ำ ในบ้าน ที่ร้านอาหาร  หรือยามรักษาความปลอดภัยที่ดูแลทรัพย์สินยามค่ำคืนหรือคนทำงานที่จำเป็นต้องไปนอนตามไร่ตามสวน หรือเที่ยวนอนเต้น ทำให้ต้องหาวิธีการไล่ยุง มีทั้งฉีดพ่นตามพื้นดิน โดยเฉพาะร้อนอาหาร หรือใช้ยาจุดกันยุง  ซึ่งใช้สารเคมีเป็นพิษ เป็นอันตรายต่อปอด (อาจผสมดีดีที ที่เป็นสารก่อมะเร็ง) และอาจเกิดผื่นค้นตามผิวหนัง โดยเฉพาะคนที่มีผิวหนังบอบบางแพ้สารเคมี

วิธีการป้องกันกำจัดยุงนั้นมีหลายวิธี เช่น ติดมุ้งลวด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดยุง  ใช้ยาจุดกันยุง  เครื่องช็อตไฟฟ้า  ยาทากันยุง โลชั่นทากันยุง  ธูปกันยุง  เทียนจุดกันยุง  สเปร์น้ำฉีดพ่นไล่ยุง  ยาหม่องกันยุง  เสื้อกันยุง  สบู่หอมกันยุง  ครีมทาผิว ยาจุดกันยุง ทำจากสมุนไพรใกล้ตัว  ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ
ส่วนประกอบ ต้นใบตะไคร้หอม    ใบมะกรูด  เปลือกส้ม  ใบเสม็ดขาว (ทางเลือก)  นํ้ามันตะไคร้หอม

วิธีทำ นำเอาส่วนประกอบที่เป็นของแข็ง มาตากหรืออบให้แห้ง บดเป็นผง ผสมให้เข้ากัน แล้วพ่นส่วนที่เป็นของเหลวลงไปให้ทั่ว  จากนั้นใช้แป้งเปียก ผสมลงไปให้เหนียว  ปั้นเป็นแท่งจุดแบบยาวหรือแบบขดเป็นก้นหอย  แล้วนำไปตากให้แห้ง บรรจุถุงกันชื้น เพื่อเก็บรักษาให้นาน และจุดง่าย การใช้งานโดยวิธีจุดเหมือนยาจุดกันยุงทั่วๆไป สมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ในการกำจัดยุง และนำมาอัดเป็นแท่ง ส่วนประกอบ ใบมะกรูด  ชาเขียว  ตะไคร้หอม  เปลือกส้มเขียวหวาน  สะเดา  กะเพรา วิธีทำ เลือกชนิดสมุนไพรมา  อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เท่าที่จะหาได้  ประสิทธิภาพจะเรียงตามลำดับข้างบนนำมาผสมกับขี้เลื่อย โดยใช้แป้งมันสำปะหลังกับแป้งข้าวโพดเป็นส่วนผสม สมุนไพร ตะไคร้หอม ขมิ้นชัน ยูคาลิปตัส ผลิตภัณฑ์จุดไล่ยุงที่ให้ความปลอดภัยสูงสุดต่อสุขภาพของผู้ใช้ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม

ผิวมะกรูด ธูปหอมสมุนไพรไล่ยุง วัสดุและส่วนผสม ผิวมะกรูดป่น (ผิวของผลมะกรูดตากแห้งบดละเอียด) 25% ตะไคร้หอมป่น (ต้นและใบบดละเอียด) 25% ใบสะเดาแห้งบดละเอียด 20% จันทน์เหนียว (เป็นยางไม้ชนิดหนึ่งบดละเอียด เมื่อถูกน้ำจะเหนียว ซื้อได้ที่ร้านขายเครื่องสมุนไพรแถวเยาวราช) 5% จันทน์ขาว (เนื้อธูป) 10% ผงกะลามะพร้าว (กะลามะพร้าวแห้งบดละเอียด มีคุณสมบัติช่วยให้ติดไฟได้ดี) 5% พิมเสน (กลิ่นหอมทำให้หายใจโล่ง) 5% สีผสมอาหารเล็กน้อย (สีเขียว)

วิธีทำ เริ่มจากนำส่วนผสมทั้งหมดผสมให้เข้ากันและนวดกับน้ำให้นุ่มมือเหมือนกับแป้งขนม อย่าให้เปียกแฉะจนเกินไป เมื่อนวดได้ที่แล้ว นำไปทำเป็นรูปทรงต่างๆ ทำแบบพิมพ์โดยใช้เสื่อน้ำมันทำเป็นรูปกรวยกลวง ความยาวประมาณ 3 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลางของปากกรวยประมาณ 1.5 นิ้ว จากนั้นตักส่วนผสมที่นวดได้ที่แล้วใส่ลงไปในกรวย แล้วทำให้บริเวณปากกรวยเป็นโพรงเล็กน้อย จากนั้นนำไปคว่ำตากแดดไว้ 2-3 แดด ให้แห้ง นำไปอบในตู้อบอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ประมาณ 3 ชั่วโมง แต่ละชิ้นจุดไล่ยุงได้ประมาณ 30 นาที หากต้องการทำเป็นเส้น ก็นำไม้ไผ่สำหรับทำเป็นแกนธูปจุ่มน้ำ แล้วจุ่มไปที่จันทน์เหนียวกับขี้เลื่อย แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำเอาส่วนผสมที่นวดได้ที่แล้วมาฟั่นกับแกนไม้ไผ่ แล้วนำไปตากแดด

ยูคาลิปตัส เปลือกส้ม สูตรนี้จุดไล่ยุงและแมลงต่างๆได้

สูตรยาจุดกันยุงสูตรขี้ควายแห้ง ส่วนประกอบ ขี้ควายแห้งพอหมาด 3 กิโล ใบน้อยหน่าแห้ง บด 1 กิโล ใบตะไคร้หอมแห้ง บด 1 กิโล ใบยูคาลิปตัสแห้ง บด 1 กิโล ใบสะเดาหรือเมล็ดแห้ง บด 1 กิโล ใบมะกรูดแห้ง บด 1 กิโล ใบแมงลักแห้ง บด 1 กิโล

วิธีทำ นำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้นานจนเข้ากัน ใช้มือบีบว่าเหนียวพอปั้นได้หรือไม่  นำวัตถุดิบที่เตรียมใส่ลงในกระบอกไม้ไผ่ แล้วอัดให้แน่น เสียบไม้ให้อยู่ตรงกลาง  ตากแดดแห้งพอหมาด แล้วดันแท่งยากันยุงออกจากกระบอกไม้ไผ่ ตากแดดจนแห้งสนิท แล้วนำไปจุดกันยุงได้ โดยสามารถใช้ได้สัตว์แล้งได้ทุกชนิด แต่ระวังอย่าให้ลุกไหม้สิ่งอื่น

สูตรยาจุดกันยุง สูตรข่า ผักสวนครัวสมุนไพร เราก็พบว่าพืชผักที่สามารถไล่ยุงได้ มีตะไคร้หอม มะกรูดและข่าได้แก่ในเรื่องของการใช้เศษเทียนไข สมุนไพรพื้นบ้านมาผสมกันแล้วใช้เป็นยาจุดไล่ยุง นำมาเป็นเทียนสมุนไพรไล่ยุงและสามารถประหยัดทรัพยากรได้มากที่สุด

ใบดาวเรือง ธูปสมุนไพรที่ทำจากส่วนผสมของใบดาวเรือง  ใบสะเดา  เปลือกส้ม  และตะไคร้หอม  และเมื่อพิจารณาพืชสมุนไพรแต่ละชนิด  พบว่าใบดาวเรืองสามารถกำจัดยุงได้ดีที่สุด  รองลงมาคือ เปลือกส้ม  ใบสะเดา  และตะไคร้หอม  ตามลำดับ

เปลือกต้นอีเหม็น เปลือกต้นธูปสับเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแดดให้แห้ง 2 ส่วน เปลือกสะเดา เปลือกต้นอีเหม็น ผิวมะกรูด หัวข่า ตะไคร้หอม สับเป็นชิ้นเล็กๆ ในอัตราอย่างละ 1 ส่วน น้ำตะไคร้หอมที่คั้นจากใบสด 1 ขวด

อบเชย-สาบเสือ พืชสมุนไพร เพื่อมาเป็นส่วนผสมในการทำยากันยุงใช้ในบ้านเรือน โดยใช้ต้นอบเชยและต้นสาปเสือในการผสม เอามาบดและผสมน้ำทำเป็นก้อนและจัดลงเบ้าตากแดด ก่อนที่จะนำไปจุด

น้ำมันทากันยุง ยากันยุงที่มีส่วนผสมของน้ำมันตะไคร้หอม น้ำมันแมงลัก และน้ำมันหญ้าแฝก
น้ำมันตะไคร้หอมและแมงลัก เป็นตัวที่ช่วยไล่ยุง ส่วนน้ำมันหญ้าแฝกเป็นตัวช่วยในการยึดเกาะ ทำให้ติดทนนาน และใช้เทคโนโลยีนาโนอิมัลชันทำให้หยดน้ำมันที่แตกตัวอยู่ในน้ำมีขนาดเล็กประมาณ 150 นาโนเมตร ซึ่งทำให้น้ำมันรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับน้ำได้โดยไม่ต้องใช้แอลกอฮอล์ช่วย และเมื่อหยดน้ำมันมีขนาดเล็ก จึงเรียงตัวกันได้ดีและติดทนนานเมื่อนำมาทาผิว
น้ำมันไพลผสมแอลกอฮอล์ ทากันยุง

คุณภาพยาจุดกันยุง ความแข็งแรง ไม่หักง่าย  แยกจากขดง่าย  อัตราการเผา ไม่เร็วไป  ความชื้นไม่มาก  ไม่ดับกลางคัน  สารเคมีมีพิษอันตรายไม่มี  ปลอดภัยต่อสุขภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม

คุณภาพ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มอก.309-2525 ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ ต้องสามารถทำให้ยุงลายหงายท้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ในเวลา 20 นาที

ข้อควรระวัง แต่ผู้ใช้ก็ควรระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและทรัพย์สินได้ จึงควรปฏิบัติดังนี้

1.  ควรใช้ยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี

2.  ขาตั้งและสิ่งรองยาจุดกันยุง ต้องทำด้วยวัสดุโลหะหรือวัตถุอื่นที่ไม่ติดไฟ

3.  ล้างมือทุกครั้งหลังการหยิบใช้หรือสัมผัส และเก็บยาจุดกันยุงไว้มิดชิด พ้นมือเด็ก และไม่วางไว้ใกล้หรือรวมกับอาหาร

4.  ขณะใช้ วางให้ห่างจากของไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้ และเมื่อเลิกใช้แล้วควรตรวจดูให้แน่ใจว่าไฟดับเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟไหม้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากประมาทวิธีไล่ยุงด้วยสมุนไพร ......ไม่มีผลข้างเคียง


สมุนไพรที่สามารถนำมาใช้ไล่ยุงได้เช่น ตะไคร้ กะเพรา ดาวเรืองและพืชในตระกูลส้มเช่น มะกรูด ส้มโอ เป็นต้น ข้อดีของการใช้สมุนไพรไล่ยุงคือ ไม่มีปัญหาสารเคมีตกค้างและปลอดภัยกว่าสารเคมีแบบกระป๋องที่ใช้ฉีดฆ่ายุง พืชสมุนไพรที่ใช้ไล่ยุงได้และได้ผลดีเสียด้วยจะมีน้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบในตัวสมุนไพรนั้นๆ ลองนำใบกะเพรามาขยี้จนมีน้ำมันหอมระเหยออกมา ส่วนที่เป็นน้ำมันหอมระเหยนี่เองที่มีคุณสมบัติในการไล่ยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ในตะไคร้หอมก็เช่นเดียวกัน จะมีน้ำมันหอมระเหยที่ออกฤทธิ์ไล่ยุงได้ผลดีนัก ลองสังเกตให้ดีถ้าบ้านไหนปลูกต้นตะไคร้ไว้รอบๆบ้าน บ้านนั้นจะไม่ค่อยมียุงมากวนใจเลย ส่วนพืชในตระกูลส้มเช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะกรูด ให้นำเปลือกมาตากแดดให้แห้งแล้วนำไปใช้ไล่ยุงโดยการเผาไฟให้น้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในเปลือกพืชตระกูลส้มช่วยออกฤทธิ์ไล่ยุงไม่ให้มารบกวนได้

ยุง เป็นสิ่งที่นอกจากจะสร้างความรำคาญให้กับคนแล้วยังเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านที่มีเด็กเล็กๆ โอกาสที่จะถูกยุงกัดจึงมีมาก ดังนั้นลองหาทางป้องกันยุงโดยใช้สมุนไพรไล่ยุง นอกจากจะไม่มีอันตราย ราคาไม่แพงแล้วยังเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีอีกด้วย พูดได้ว่ามีแต่กำไรไม่มีขาดทุน....จริงๆ

   

 

 

 

 


หมายเลขบันทึก: 540152เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 02:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณครับ

เป็นประโยชน์มากน่ะครับ

ช่วงนี้ยุ่งเย่อะครับ

แต่จะทำทันไหมครับ กว่าจะแห้งและจุดไฟได้ครับ

เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ยิ่งจ้ะ  น่าสนใจ  น่าสนใจ  ขอบคุณมากมายจ้ะคุณหมอแดง

ปลูกแต่ตะไคร้ธรรมดา  ยังไม่ได้ปลูกตะไคร้หอม  น่าหามาปลูกนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท