ว่าด้วยเรื่องสถิติ 7 : ยุทธการยึดหลักการเปรียบเทียบค่ากลาง


      เราก็เคยได้คุยกันในเรื่องการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มกันมาแล้ว ในเรื่องค่าไคว์สแคว์ ตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันอีกทีในเรื่องของการเปรียบเทียบค่ากลาง เพราะเรื่องนี้ ไม่ว่าจะใช้ในการเปรียบเทียบปัจจัยใดๆก็ตามในกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน เขาก็จะใช้วิธีการนี้แหละครับ
      ถ้าจะเอาอย่างละเอียดเรื่องนี้ต้องเริ่มต้นด้วย
  • การตั้ง null hypothesis (Ho) ที่บอกว่า ค่ากลางของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีค่าเท่ากัน
  • จากนั้นก็ตั้งสมมติฐาน H1 ขึ้นมาบอกว่ามันไม่เท่ากัน
  • แล้วก็มาพิสูจน์สมมติฐานโดยใช้ค่าทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็น ไคว์สแคว์, student t-test, paired t-test, F-test หรืออะไรก็ตาม
  • แล้วก็เอามาเทียบกับค่าที่ระดับนัยสำคัญ ถ้าค่าทางสถิติน้อยกว่าค่าที่ระดับนัยสำคัญ แสดงว่าให้เรายอมรับ null hypothesis คือยอมรับว่า ค่ากลางของทั้งสองกลุ่มตัวอย่างมีค่ากลางไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าค่าทางสถิติที่คำนวณได้ มีค่ามากกว่าค่าที่ระดับนัยสำคัญแล้ว ให้เราปฏิเสธ null hypothesis แล้วไปยอมรับ H1 แทน คือไปยอมรับว่าค่ากลางของทั้งสองกลุ่มไม่เท่ากัน หรือกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในหลักการก็มีอยู่เท่านี้แต่เท่านี้ก็ปวดหัวได้แล้วล่ะครับ
     
     ในทางปฏิบัติเราวิธีการที่เราไปใช้ที่ง่ายกว่านั้น คือการดูจากค่า p value ครับ ให้จำกันง่ายๆ ก็คือว่า
  • ถ้าค่า p value ได้ค่ามากกว่า 0.05 แสดงว่า ตัวอย่างทั้งสองกลุ่มของเรามีค่ากลางที่เหมือนกัน หรือตัวอย่างทั้งสองกลุ่มในทางสถิติถือว่าเหมือนกัน
  • แต่ถ้าค่า p value มีค่าน้อยกว่า 0.05 แสดงว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีค่ากลางที่แตกต่างกัน หรือกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
     
     ถ้าจะเอาในเรื่องหลักการให้เริ่มต้นที่การตั้งสมมติฐานนะครับ แล้วพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว ผมว่าเราเริ่มที่การหาค่า p value ออกมาให้ได้ แล้วเทียบกับค่า 0.05 จะง่ายกว่าเยอะ ซึ่งจริงๆแล้ว มันก็เป็นเรื่องเดียวกันครับ เพียงแต่จะอธิบายให้มันซับซ้อนดูให้เหมาะกับวิชาสถิติ หรือจะเอาแบบเข้าใจง่ายๆเพื่อเอาไปใช้งาน เลือกกันดูเองนะครับ
หมายเลขบันทึก: 53978เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 06:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ผมกลัวมันไม่ Sig. ผมเลย Sick ครับ
  • ขอบคุณที่แวะไปทักทาย
  • อากาศเป็นอย่างไรบ้างครับที่ญี่ปุ่น

คิดถึงเรื่อง H0 H1 แล้วปวดหัวทุกที จำได้ว่าตอนเรียน SPSS กว่าจะทำความเข้าใจได้ ??? ตอนนี้ก็ยังเป็น งง

ว่าแต่ วันนี้มีโปรแกรมแอบหนีไปเที่ยวกับคุณนิกรอีกมั๊ยค๊ะ  ??

  • แวะมาขอบคุณครับ
  • ดีใจที่อากาศดีนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • ทราบได้อย่างไรว่าเป็นนกน้อยครับ
  • ขอบคุณครับ ยิ้ม ยิ้ม
  • ลักษณะของนกบอกครับ ไม่ผิดใช่มั้ยล่ะ อย่างนี้ผมพอจะไปเป็นนักดูนกได้มั้ยครับ

แวะมาแสดงตัว ว่ายังอ่าน วิชาสถิติที่ท่านสอนอยู่นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท