"สินบน" มีโทษทางกฎหมาย และ "กรรม" มีจริง


สืบเนื่องจากคนที่ผมรู้จักเป็นข้าราชการที่ต้องการย้ายออกจากองค์กรเพื่อกลับไปดูแลแม่ที่กำลังป่วย แต่ผู้บังคับบัญชาเองก็ดูจะไม่ใส่ใจเรื่องนี้เท่าไหร่ อ้างแต่เรื่องงานมากกว่ามนุษยธรรมของความเป็นมนุษย์ ดังนั้น ข้าราชการเองก็เพียรพยายามทุกวิถีทางที่จะทำใ้ห้ตนเองย้ายให้ได้ ซึ่งด้วยความเป็นข้าราชการจึงยังติดยึดในเรื่องของความมั่นคงอยู่ การลาออกจึงหนทางสุดท้ายที่จะเลือกทำ

เส้นทางที่ถูกต้อง คือ การขอย้ายตามระบบราชการ แต่กว่าจะผ่านไปทีละขั้นก็ยากเย็นเต็มที มีการไม่ยอมเซ็น เก็บหนังสือไว้ก่อน ดึงเรื่อง จบด้วยการชะลอออกไปจนกว่าเป็นไปตามเงื่อนไขที่องค์กรต้องการ แต่อาการป่วยของแม่รอไม่ได้

ทำให้เกิดความพยายามขึ้นเป็นครั้งที่สอง แต่ก็ได้อาศัยนักการเมืองที่บ้านมาขอ แต่ก็ยังไม่สำเร็จ จนกระทั่ง ความอดทนใกล้ขีดสุด กำลังจะใช้วิธีทดลอง "มอบเงินใต้โต๊ะ" ไปยังผู้บังคับบัญชาขององค์กรต้นสังกัดนั้น เพื่อให้เซ็นผ่านขึ้นต่อไป แต่นั่นเป็นวิธีที่ผมไม่เคยเห็นด้วย เนื่องจากมันเป็นการทำลายความดีที่มีอยู่ในตัวของเธอที่มีอยู่เดิมให้หมดสิ้น ทำลายความนับถือตนเอง อีกทั้งเป็นการส่งเสริมระบบชั่วร้ายให้สถิตอยู่ในสังคมนี้จนไม่รู้จะสลายไปเมื่อไหร่

มันเป็นบาป บาปที่จะติดตัวไปจนตาย แถมกรรมนั้นเป็นกรรมหนักที่ไม่ได้มีวิบากเพียงแค่ตนเองคนเดียวอย่างแน่นอน ที่ผมเคยเห็นมา หากยับยั้งใจเขาได้ก็อยากจะทำ


ทีนี้ก็เลยไปค้นหาเรื่องของ "สินบน" ว่ามีโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้าง

ได้จากเว็บไซต์นี้ http://www.fpmconsultant.com


โดย ทนายเทวิน ตติยรัตนกุล เขียนเอาไว้ัดังต่อไปนี้


คำว่า “สินบน” หมายความว่า
1. ทรัพย์หรือสิ่งของที่จะให้เป็นเครื่องบูชาคุณ หรือตอบแทนผู้ที่จะช่วยให้สำเร็จตามประสงค์ หรือ
2. ทรัพย์ที่จะให้เพื่อจูงใจให้ทำผิดต่อหน้าที่โดยผู้ให้มุ่งประโยชน์ของตน

ซึ่งในความหมายของ “สินบน” ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ให้เพื่อตอบแทนกับผลประโยชน์ที่ผู้ให้ได้รับ ซึ่งมักจะเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้รับประพฤติปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ทำให้ผู้ให้สินบนได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าว

หากการให้ “สินบน” นอกจากตามความหมายจะเป็นเรื่องการให้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ยังมีกฎหมายอาญาบัญญัติไว้เป็นความผิดทั้งผู้ “ให้สินบน” และผู้ “รับสินบน” ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 และมาตรา 149 โดยบัญญัติไว้ดังนี้

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144 บัญญัติว่า “ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการหรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ” เป็นความผิดสำหรับบุคคล “ผู้ให้สินบน” แก่เจ้าพนักงาน

สำหรับเจ้าพนักงานผู้ “รับสินบน” มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำอย่างใดในตำแหน่ง ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต”

นอกจากนั้น การ “รับสินบน” ไม่เฉพาะแต่การเรียกรับหรือยอมจะรับเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งเท่านั้น ยังหมายรวมถึงการเรียก รับ หรือยอมจะรับ ไว้ล่วงหน้าก่อนที่ตนจะเข้ารับตำแหน่งที่จะเอื้อประโยชน์นั้นด้วย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 150 ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่ง โดยเห็นแก่ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งตนได้เรียก รับหรือยอมจะรับไว้ก่อนที่ตนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท”

จากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่าคำว่า “สินบน” นั้น เป็นการให้ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งผู้รับสินบนมีอัตราโทษกำหนดไว้สูงถึงขั้นประหารชีวิตเลยทีเดียว

นอกจากนั้นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ยังมีกรอบของกฎหมายบัญญัติไว้อีกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

แต่อย่างไรก็ดีในการให้ของขวัญแก่เจ้าพนักงานหรือข้าราชการนั้น ได้มีข้อกำหนดไว้แล้วว่า จะให้และรับกันเกินกว่า 3,000 บาทไม่ได้ ดังนั้นแม้ว่าจะอ้างกันอย่างไรเกี่ยวกับการให้ก็ให้กันเกินกว่า 3,000 บาทไม่ได้อยู่นั่นเอง


อ้างจาก http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=1119



จะเห็นได้ว่า "สินบน" มีโทษทั้งผู้ให้และผู้รับอย่างชัดเจน

หลายครั้งที่ในสังคมไทยทำเรื่องแบบนี้กันโดยไม่มีหิริ-โอตัปปะ

เหมือนจะบอกว่า "ใคร ๆ เขาก็ทำกัน"

หากเรามีความดีอยู่ในตัวแล้วไซร้ เราจะรู้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรอย่างแท้จริง


หากผู้บังคับบัญชาคนนั้นไม่รับอีก แต่ตั้งใจจะแกล้งเรา

เขาก็อาจจะหาเหตุจากเรื่องนี้ ฟ้องร้องเราตามกฎหมายได้เช่นกัน


"สติ" พึงมีที่สุด


เป็นผม ... เลือกทำทุกอย่างด้วยความเต็มที่อย่างถูกต้อง

เชื่อมั่นในความดีงาม ไม่ว่าจะถูกกลั่นแกล้งแค่ไหน

วันหนึ่ง ใครทำกรรมใดไว้ กรรมจะคืนสนองทุกผู้ทุกนาม โดยไม่ปราณี


ขอให้เชื่อมั่นเรื่อง "กรรม" เถิด


"กรรม" มีจริง


หากไม่เจอตัวเองมาบ้างแล้ว คงไม่เชื่อ


โปรดตรอง ...


บุญรักษา ครับ ;)...


.............................................................................................................................................................

ขอบคุณข้อมูลจาก ...

* http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=1119

* http://www.learners.in.th/blogs/posts/331690

* http://www.gotoknow.org/posts/324159


หมายเลขบันทึก: 539759เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมมีความเห็นกับเรื่องนี้มานานแล้วครับ ว่า ถ้าไม่เอาผิดกับคนให้ ลงโทษเฉพาะคนรับ คอรัปชั่นจะลดลง

เพราะจะเกิดการไม่ไว้ใจจากผู้รับ เกรงว่าวันหน้าผู้ให้จะเปิดเผย ความผิดตกอยู่ผู้รับผู้เดียว ต่างจากที่ลงโทษทั้งคู่เค้นยังไงก็ยอมรับไม่ได้

ถ้าเป็นอย่างที่ผมคิด เราจะได้เห็นผู้ให้ยื่นฟ้องผู้รับสินบนกันบ้าง


น่าสนใจมากครับ ข้อเสนอนี้ ท่าน Yanyong-P ;)...

มันมีมานาน และปลูกฝังกันรุ่นต่อรุ่น คงต้องใช้เวลาอีกยาวนานเพื่อให้พฤติกรรมนี้หมดไป  ขอยืนฝั่งที่ถุกต้อง แม้จะเป็นเพียงคนส่วนน้อยก็ตาม ขอบคุณข้อมุลดี ๆ ครับ

เรายืนอยู่ฝั่งเดียวกันครับ คุณ nobita ;)...

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท