ข้าวต้มมัด กับชุดโครงการวิจัยแบบ R2R


หลังจากการได้ช่วยพ่อและแม่ทำ "ข้าวต้มมัด" เพื่อนำไปทำบุญตักรบาตรเทโวในช่วงออกพรรษาที่ผ่านมา ผมเองได้พยายามที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ กลเม็ดเคล็ดไม่ลับต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และทดลองทำข้าวต้มมัดแบบต่าง ๆ ซึ่งจะนำเสนอเป็นบันทึกในชุดโครงการวิจัยเรื่อง "ข้าวต้มมัด"

ซึ่งในการทำงานที่ได้ทั้งบุญและความสุขครั้งนี้ มีทั้งเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่าง ข้าวต้มมัดที่ได้มาจาก "ข้าวเหนียวผัด" และ "ข้าวเหนียวมูล" ว่าจะเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

รวมถึงขั้นตอนในการทำข้าวต้มมัดในแต่ละแบบโดยละเอียด

และสิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้สำหรับประเพณีตักบาตรเทโว นั่นก็คือ "ข้าวต้มลูกโยน"

เป็นสิ่งที่อุดมไปด้วยเรื่องราวทั้งในส่วนของที่มาที่ไปของประเพณีในเรื่องของการทำข้าวต้มมัดชนิดนี้ รวมถึงวิธีการทำที่มีกลเม็ดต่าง ๆ แอบแฝงอยู่ค่อนข้างมาก

ผมจึงขออนุญาตเรียบเรียงออกมาเป็นบันทึกและนำเสนอเป็นระยะ ๆ โดยละเอียดครับ

ซึ่งจะขอร่วมเรียนเชิญทุก ๆ ท่านร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงที่มาที่ไปของประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของเรานี้ รวมถึงเติมเต็มและต่อยอดในเรื่องของเทคนิคการทำข้าวต้มมัดในรูปแบบและกลเม็ดต่างๆ ของแต่ละบ้านแต่ละจังหวัด เพื่อเป็นการรื้อฟื้นและรวบรวมอาหารหรือขนมที่แสนอร่อยและเต็มไปด้วยบริบทรวมถึงที่มาที่ไปที่น่าอัศจรรย์ของสิ่งที่เรียกว่า "ข้าวต้มมัด" นี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 53974เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 03:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  •  รุ่นคุณยายเล่าให้ฟังว่า ในสมัยก่อนพัฒนาการการห่อข้าวต้มมัด ไม่เป็นอย่างที่เห็นในทุกวันนี้คือต้องใช้ต้มด้วยฟืน แทนการนึ่งเตาถ่าน หรือเตาแก็สค่ะ จะห่อด้วยใบตองใบแก่ หลายชั้นมาก เพื่อป้องกันใบตองแตก เนื่องจากต้องใช้เวลาต้มนาน กว่าข้าวเหนียวจะสุก จึงเรียกว่าข้าวต้มมัด คล้ายการห่อหมูยอเด่นชัย จ.แพร่
  • ปัจจุบันมาประยุกต์อย่างที่เห็นคือห่อด้วยใบตองที่อ่อนและสวยงาม และประหยัดเวลา ทำได้ง่ายขึ้น
  • การทำข้าวต้มมัดให้อร่อยยากที่เดียว ต้องอาศัยความชำนาญเหมือนกัน อาจจะแฉะไป หรือนึ่งแล้วข้าวทุกเม็ดไม่สุกเสมอกันก็มี
  • กะทิต้องไม่ใสมากเกินไป เวลาคั้นกะทิคือใส่น้ำให้น้อยที่สุด ข้าวต้มมัดก็จะมันอร่อย
  • เวลานำข้าวเหนียวที่แช่ค้างคืนมาผัดกับกะทิ ต้องใช้ไฟเบา ให้กะทิค่อยๆงวด และไม่ไหม้เสียก่อน เฮ้ย... ยากมั้ยค่ะท่านผู้อ่าน
  • นึกถึงตอนที่คุณแม่ทำครับ แล้วเข้าไปช่วย ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง รวมถึงความสนุก
  • ใบตองนี่ก่อนเอามาห่อ เขาเอาไปลนไฟก่อนนะครับ เพื่อให้มีความอ่อนตัว ไม่แตกง่าย
  • จำได้ว่าของคุณแม่เวลาห่อ ลูกจะเท่าๆกัน แต่ของผมกับน้องเวลาห่อ จะมีทั้งแบบเล็กบ้าง แล้วก็ตัวโตบ้าง แค่มองดูก็รู้แล้วครับว่าฝีมือใครห่อบ้าง
  • สนุกดี
  • ขอบคุณครับ ที่ช่วยทำให้รำลึกความหลัง

ข้าวต้มมัดกับข้าวต้มลูกโยนแตกต่างกันอย่างไรค่ะ บอกหน่อยได้ปะ พอดีทำโครงงานเกี่ยวกับข้าวต้มมัดอยู่ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท