"ระบบการศึกษาขั้นเทพ" ... (บล็อกเฮียเฮีย...)





การประกันคุณภาพการศึกษาตามสถานศึกษาน้อยใหญ่ ทำให้เกิดผลแบบนี้จริง !

ตั้งแต่ผู้บริหารยันคนทำงานระดับล่าง ต่างใช้ทุกวิธีการที่จะทำให้หน่วยงานของตนเอง

ประเมิน "ผ่าน" แถมบางที "ผ่าน" ยังไม่พอ

ต้องดีเิลิศประเสริฐศรีด้วย


การหมกเม็ด การสร้างตัวเลข การสร้างภาพ การสร้างเอกสาร

เรียกว่า วิธีการโกงมีกี่แบบ หามาใช้ให้ได้ทั้งหมด


คนที่ใช้คือ คนในวงการการศึกษา น่ะสิ นั่นคือปัญหา

ต้นแบบของเด็ก "โกง" ให้ดู


เจริญลง


ขอบคุณ p-ach.com


บุญรักษา ครูดีทุกท่านครับ ;)...


หมายเลขบันทึก: 539418เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2013 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ. ตั้งแต่แผนที่๑.  ๒.  ๓. .. เรื่อยมา. สังเกตุว่า. แผนแรกเราพัฒนาเศรษฐกิจ

แผนต่อมา เราพัฒนาสังคม. ต่อมาก็ สิ่งแวดล้อม. (ยุคป๋าเปรมเราเริ่มกระจายรายได้ พัฒนาเศรษฐกิิจและสังคม)

แต่ไม่รู้ว่าพัฒนายังไง. ถึงมีคำว่า. คนไทยพัฒนาอย่างไรก็ยัง.  "โง่ -จน-เจ็บ" 

นับจากแผนที่๑ ผ่านมายี่สิบกว่าปี เราเพิ่งนึกได้ว่าเรายังไม่ได้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์เลย...ก็เลยเพิ่มเข้าไปในแผน๗. 

อาจารย์คิดว่าข้อผิดพลาดของประเทศไทยเราอยู่ที่ตรงใหนคะ...

ก็คิดว่า  ... ชาติ (หน้า...บางที)  คงจะพัฒนาอ่ะนะ...เฮ้อ...!  

ข้อผิดพลาดที่คุณชาดาถาม...คิดว่า  อยู่ตรงที่...ลืมพัฒนาความคิดของคนที่  " คิด "  แผนพัฒนา ฯ 

น่ะแหละ

โห นางฟ้า ชาดา ~natadee รู้จริง ว่าแผนมาทุกแผนเลย

แผนฯ เค้าว่า คิดดี ครับนางฟ้า

แต่คนปฏิบัติมันซิกแซก

หรือ

แผนฯ เค้าคิดจากข้างบน

แต่ไม่ได้ดูคนที่อยู่ข้างล่าง

ความฝัน กับ ความเป็นจริง มันจึงไม่ไปด้วยกัน

และ

ผลข้างเคียงมันกระเพื่อมไปยังสังคมไปหมดแล้ว

ความระอา จึงเข้ามาแทนครับ ;)...

เหมือนพายเรือในอ่าง ยังไงยังงั้น เลยเนอะ

อาจารย์ครับ 55 ลูกหมูสารคดีทาง TPBS เรื่องหนึ่ง น่าจะเป็นเรื่อง Jamie's Dream School  ที่เขาระดมผู้ฉลาดมากมายทั้งหลายของอังกฤษมาเนรมิตหรือเข้าค่ายใน 2 สัปดาห์ ทั้งหมอ ผู้กำกับ พยาบาล อื่นๆ โดยหวังการเปลี่ยนให้เด็กมองอนาคตและพบจุดเปลี่ยนตัวเองใน 2 อาทิตย์ การออกแบบการเรียนที่เน้นลงไปทำเลย...มันดูแล้วอยากกลับเป็นเด็กอีกจะได้ลองทำและสนุก..แต่ของเราขาดไปนิดนะครับอาจารย์  ขอบคุณอาจารย์มากครับ ข้อมูลดีๆ ที่อาจารย์แบ่งปันกระตุกต่อมคิดเลยครับอาจารย์ 

ยินดีครับ คุณ ลูกหมูเต้นระบำ ;)...

เรามาช่วยกันคิด จึงเป็นเรื่องสนุกครับ ;)...

สวัสดีค่ะอาจารย์...อ่านแล้วก็ตกใจที่มีสื่อที่มีความคิดความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่องของการจัดการศึกษา ออกมาเผยแพร่ ทุกวันนี้การศึกษาไทยไปไม่ถึงไหนเพราะยังมีความไม่เข้าใจในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ ซึ่งพัฒนามาจากการศึกษาวิจัย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศหลายประเทศด้วยกัน รวมทั้งมีความเชื่อมเกี่ยวโยงกับแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่จัดทำด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและยังใช้ผลงานวิจัยเป็นฐานในการจัดทำแต่ละหมวดหมู่ หลายคนภูมิใจในกฎหมายการศึกษาฉบับนี้ ดังนั้นผู้ที่พูดถึงระบบกลไกระดับชาติควรจะมีความรู้อย่างถ่องแท้นะคะยิ่งเขียนออกมาเป็นหนังสือจะเป็นสื่อที่แพร่กระจายได้รวดเร็วมาก //////   ขออธิบายในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษานะคะ การประกันคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่เป็นการประกันไม่ให้มีเด็กตก การประกันคุณภาพภายใน มาตรา ๔๘ กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก(กระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย

๑. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ (ภาระงานบริหารโรงเรียนทั้ง 4 ฝ่ายตามกฎกระทรวงซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาพ.ศ. ๒๕๕๐)

๒. การพัฒนามาตรฐานการศึกษา (มาตรฐานการศึกษาตามหลักสูตรของชาติ)

๓. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา(แผน3 ปี ถึง 5 ปี ว่าโรงเรียนจะจัดการศึกษาในแต่ละกลุ่มวิชาอย่างไร?มีโครงการกิจกรรมอะไรรองรับ?เพื่อสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน/งบประมาณและที่สำคัญต้องเป็นไปตามแผนการศึกษาชาติและแผนพัฒนาเศษรฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

๔. การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา(มีหลักสูตรของโรงเรียน/มีการพัฒนาหลักสูตร/มีแผนงานวิชาการของโรงเรียน/ครูมีแผนการสอน/คณุมีการผลิตสื่อฯ/ครูมีการวิจัยผู้เรียน/มีระบบแนะแนวการศึกษาของโรงเรียน/มีแหล่งเรียนในโรงเรียนและนอกห้องเรียน/มีแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นฯลฯ

๕. การตรวจสอบและการทบทวนคุณภาพการศึกษา(มีการนิเทศการศึกษาจากหน่วยงานต้นสังกัด/นิเทศการสอนจากฝ่ายวิชาการของโรงเรียน อย่างสม่ำเสมอ)

๖. การประเมินคุณภาพการศึกษา (มีเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในแต่ละวิชา/มีการประเมินตามสภาพจริงในตัวผู้เรียนในแต่ละวิชาอย่างเหมาะสม)

๗. การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี(บทสรุป 5 บท Executive Summary ของผู้บริหารโรงเรียนที่ผ่านมาตลอดปีการศึกษาในการบริหารโรงเรียนทั้ง 4 ด้าน วิเคราะห์ (SWOT Analysis) ว่ามีจุดดี จุดด้อย โอกาส ข้อเสียเปรียบอย่างไร? จะต้องแก้ไขปรับปรุงส่วนใด จะต้องพัฒนาส่วนใด  /แสดงผลสัมฤทธิ์ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียน/ในแต่ละช่วงชั้น/และในภาพรวม )

๘. การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา (จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพของสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้/จัดประชุม/อบรม/ชี้แจงให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนเป็นระยะเพื่อให้ได้ทราบอย่างทั่วถึงและสามารถดำเนินงานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพของโรงเรียนได้)

 ในแต่ละโรงเรียนก็จะมีเกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ทางการศึกษาเป็นแนวทางในการดำเนินการและแต่ละสถานศึกษาก็จะความแตกต่างกันไปตามบริบทของโรงเรียน ที่ประกอบด้วย นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน วัสดุอุปกรณ์ งบประมาณฯลฯ ก็ต้องดำเนินการและหยิบยกออกมาบริหารจัดการให้สอดคล้องครอบคลุมกับข้อที่เขากำหนดทั้ง 8 ข้อ *****ตรงนี้หลายสถานศึกษาจะไม่ทำไปตามความเป็นจริงเพราะต้องการเพียงเพื่อผ่านไม่ได้นึกถึงความเสียหายของชาติจึงทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่สามารถนำไปพัฒนาได้ *****ประกันคุณภาพ ไม่มีเด็กตก***** )

การประกันคุณภาพภายนอก มาตรา ๔๙ กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชน ทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน(พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ หมวด ๖ มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๗) (การประเมินจากภายนอกองค์กรที่มาประเมินโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ ซึ่งสถานศึกษาเตรียมพร้อมไว้แล้ว *****เมื่อมาถึงจุดนี้หลายโรงเรียนจึงไม่มีคุณภาพไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน*****)...ขอบคุณค่ะ

 


 

 


 

 

 

  • บันทึกนี้ทำให้ผมตัดความเร่งรีบมาเข้าระบบให้ดอกไม้ :-) เฮฮาดีครับ
  • การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่ดีนะครับ อย่างที่ท่านอาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา ว่ามา
  • แต่ว่า...บันทึกนี้ที่นำมา เฮฮา ดีครับ
  • เล่าให้อ่านครับ ผมเข้าห้องบรรยายวันแรกของภาคการศึกษานี้ ให้นักศึกษาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ พิมพ์ชื่อ-นามสกุล ของตัวเองลงใน word อาจใช้เวลานานหน่อย แต่ก็จะทำให้ชื่อ-นามสกุล ไม่ผิดพลาด นักศึกษา ๒ คน ที่มีอาการอย่างนี้คือ ยืนนิ่ง ไม่ยอมพิมพ์ ผมถามว่า ทำไมไม่พิมพ์ เครื่องก็อยู่ตรงหน้า นักศึกษาเอามือวางบนแป้นพิมพ์ หาตัวอักษร และสุดท้าย "ผมพิมพ์ไม่เป็นครับ" อีกคนหนึ่งมา "ผมเหมือนกับเพื่อนครับ"
  • ผม.....? (ยังมีแบบนี้อยู่อีกหรือ นั่นแสดงว่า ผมคิดผิดแ้ล้ว)
  • ก่อนที่จะอ่านข้อวินิจฉัยของ ท่านอาจารย์ ดร.พจนา แย้มนัยนา ผมคิดอย่างนี้ครับ "เราให้ความฝันกับการศึกษามากเกินไปหรือไม่"
  • ผมคิดว่า หากเราอยู่ในวงการการศึกษา เราจะพบว่า การศึกษาที่ไม่ได้ตอบรับอาชีพที่ต้องการของคนหมู่มาก จะถูกปิดตัวลง ยิ่งทำกำไรไม่ได้ แม้จะมีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณค่าของการเป็นมนุษย์มากเพียงใด ก็ดูจะไร้ความหมาย ระบบการศึกษาเกือบทั้งหมด เป็นการสร้างคนเพื่อป้อนเข้าไปสู่ธุรกิจแรงงาน (ลองดู แบบประเมินการมีงานทำ)
  • คณะกรรมการภายนอก ที่เข้ามาประเมินฯ รู้ดีว่า สิ่งที่เอามาประเมินนั้น มีความจริงกี่เปอร์เซ็นต์ 
  • บล๊อกเฮีย ที่สื่อออกมาเชิงล้อเลียนนั้น ผมมองว่า มีความจริง
  • แต่นั่นแหละ โรงเรียนบางโรง ไม่สนใจเรื่องการประเมินอย่างที่ทำๆกัน เขามีวิธีการเรียนรู้ของเด็กแตกต่างจากที่บล๊อกเฮียว่ามา เมื่อตรวจสอบคุณภาพ "การเรียนรู้" ของเด็ก พบว่า เด็กไม่จำเป็นต้องมีครูสอน (งง...ฮา)
  • สุดท้าย ปรัชญาการประกันคุณภาพเป็นเรื่องที่ดีนะครับ
  • บล็อกเฮีย อย่าเอาเรื่องจริงมาล้อเล่นนะครับ จะทำให้ผมอารมณ์ดีเช้าๆได้ ฮาฮา
  • รับผิดชอบด้วยนะครับ Wasawat Deemarn ที่เอามาลงบ่อยๆ ทำให้ผมติดใจ ฮาาา

เจอกับตัวมาแล้วค่ะกับระบบการศึกษาขั้นเทพนี้ โดนเรียกเพราะเด็กประเมินผลอาจารย์สอนแย่ (เข้าสอนตรงเวลา เลิกสอนตรงเวลา ติวนอกเวลาให้) เราเลยต้องออกจากระบบ สงสารแต่เด็กถ้าเป็นเด็กที่คิดดีมีความสามารถ ก็สามารถเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าเด็กที่คิดไม่ดีแล้วขาดคนชี้แนะปล่อยให้เลยตามเลยก็จะแย่ อันนี้ก็เจอมากับตัวเองเหมือนกันลูกศิษย์ที่เรารักกำลังมีปัญหาเดินทางผิด แต่เป็นช่วงที่เราออกจากมหาลัยแล้ว เลยไม่ได้ไต่ถามเรื่องราวปรากฏมารู้อีกทีเข้าคุกไปแล้วเสียดายอนาคต อนาคตเด็กไทย...ต่อไปจะเป็นยังไง????

เรียน อาจารย์ nmintra ;)...

อาจารย์วิเคราะห์ได้สนุกและอิงเรื่องจริงดีครับ

เรื่องนี้เป็น "เรื่องจริง" แน่นอนครับ
แล้วแต่วิธีการซิกแซกของสถานศึกษาและบุคลากรต่าง ๆ
ในระดับการได้รับการประเมินนั้น ๆ

ไม่มีกฎหมายใดที่สมบูรณ์ที่สุด
ช่องโหว่ย่อมมีอยู่เสมอ

ยิ่งในทางปฏิบัติ คือ สภาพความเป็นจริงนั้น
ยากนั้นที่จะทำให้ได้เช่นนั้น

หากศักยภาพตามความฝันไม่มีครบทุกด้านจริง
การ Make Up ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ

ยกตัวอย่างเช่น

บางโรงเรียน ห้ามนักเรียนติด 0
ครูต้องออกเกรดให้นักเรียนเป็น 2 ขึ้นไปเท่านั้น

แบบนี้เราควรเรียกว่า เทคนิค หรือ ศิลปะ ดีไหมครับ
ที่จะทำให้โรงเรียนประเมินผ่าน สมศ. ได้

แค่ตัวบ่งชี้เดียวก็ผ่านไปอีก ๑ ;)...

บล็อกเฮียเฮีย แก็กไหน ฮา ก็อดไม่ได้
ที่นำมาวางไว้ในความทรงจำเสมอครับอาจารย์

ขอบคุณมากครับ ;)...

อาจารย์ Est ครับ ...

มหาวิทยาลัยผมก็มีระบบการประเมินการสอนของอาจารย์เช่นกัน
หากนักศึกษาไม่ประเมิน เกรดก็ไม่ออก

อาจารย์ดีเด่นจากการประเมินก็คือ

อาจารย์ที่ให้เกรดง่าย งานน้อย
ไม่จ้ำจี้จ้ำไช สบาย ๆ
ความรู้ไม่ต้องสนใจว่าได้หรือเปล่า

แบบนี้ "5.00" ไปเลย ดีเด่นสุด ๆ

เวรกรรมนะครับ ประเมินไม่ถูกจุด

ขอบคุณมากครับ ;)...

ทำไงดีน้า คุณ tuknarak ;)...

ขอบคุณมากครับ

ตอนนี้ได้แต่ฮา....กับความไม่เข้าท่าของระบบค่ะ  ปล่อยให้เป็นเรื่องของ "มัน" ไปบ้าง  ส่วนเรื่องของ "เรา" คือ ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ต่อลูกศิษย์ ต่อตนเอง  ส่วนที่ละเอาไว้....คิดว่าอาจารย์ก็คงจะอยู่ในโหมดเดียวกัน 

(@^_______________^@)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท