เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
 

  เพลี้ยกระโดดตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวบริเวณ กาบใบ เหนือระดับน้ำ หากมีจำนวนเพลี้ยกระโดดมากจะทำลายให้ข้าวแห้งตายเป็นหย่อมๆ นอกจากทำลายข้าวโดยตรงแล้วยังเป็นพาหะนำโรคใบหงิกมาสู่ต้นข้าวด้วย สำหรับโรคใบหงิกเป็นโคที่ทำให้ผลผลิตลดลงเป็นอย่างมากโดยต้นข้าวจะแสดงอาการเตี้ยแคระ ไม่ออกรวงหรือรวงหดสั้น ใบธงบิดม้วนงอ หากระบาดมากๆ จะทำให้ผลผลิตลดลงได้ถึง 90 %
การป้องกันกำจัดดังนี้

  1. สำรวจปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและศัตรูธรรมชาติ เช่น มวนเขียวดูดไข่  แมงมุม   แตนเบียนต่างๆ หากพบอัตราส่วนศัตรูธรรมชาติ ต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อยู่ในอัตรา 1 : 5  (ศัตรูธรรมชาติ 1 ตัว ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ 5  ตัว) และสภาพอากาศทั่วไป มีฝนตกให้รอดูปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 1 -2 วัน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอาจลดปริมาณลง
  2. หากไม่มีฝนและมีปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มากกว่าศัตรูธรรมชาติในอัตรา 5: 1 ( ค่าเฉลี่ยที่สำรวจ มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมากกว่า 5 ตัว แต่มีศัตรูธรรมชาติ 1 ตัว )ให้ดำเนินการปฏิบัติดังนี้
    2.1 ใช้เชื้อราขาวบิวเวอเรีย   อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ  20 ลิตร ผสมสารจับใบฉีดเวลาช่วงตอนเช้า หรือช่วงตอนเย็น และควรพ่นให้เชื้อราสัมผัสกับ เพลี้ยกระโดดโดยตรง   สามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ประมาณ  80 – 90 เปอร์เซ็นต์     ( ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์บริหารศัตรูพืชใกล้บ้านท่าน )
    2.2   ถ้าควบคุมระดับน้ำในแปลงนาได้ให้ระบายน้ำออกให้แห้งประมาณ 7 - 10 วัน เพื่อปรับสภาพไม่ให้เหมาะสมกับตัวอ่อน
    2.3 หากมีความจำเป็นที่จะใช้สารเคมีแนะนำให้ใช้สารเคมี  เช่น
    -  อิมิดาโคลพลิด (คอนฟิดอร์) 10 % เอสแอล อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
    - ไอโซโปรคาร์ป (มิพซิน) 50 % ดับบลิวพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
คำสำคัญ (Tags): #ศัตรูพืช
หมายเลขบันทึก: 53916เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท