ทบทวนหลักการสร้างโปรแกรมการจัดการสุขภาพเพื่อสังคมไทย


อ้างอิงจาก: Barrett, M.J. (2005). Patient Self-Management Tools: An Overview. California HealthCare Foundation.

 

ปัจจุบันผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์สนใจศึกษาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของตนเอง หรือบุคคลที่ตนเองรักและต้องการช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพ การสร้างโปรแกรมการจัดการสุขภาพด้วยตนเอง (Self-management tools) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้เข้ารับบริการต้องการได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และนำไปใช้ในการดูแลจัดการปัญหาสุขภาพของตนเอง หรือบุคคลที่ต้องการช่วยเหลือฟื้นฟูสมรรถภาพ หลักการสำคัญของการสร้างโปรแกรมนี้คือ ผู้เข้ารับบริการต้องเรียนรู้ปัญหาสุขภาพและหาหนทางแก้ไขปัญหา โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์คอยให้ความรู้อย่างกว้างๆ มิใช่เข้าไปจัดการสุขภาพของผู้เข้ารับบริการโดยตรง การสร้างโปรแกรมยังมีประโยชน์ในมุมกว้างคือ ช่วยเพิ่มแรงจูงใจของผู้เข้ารับบริการและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของการดูแลสุขภาพในแต่ละกลุ่มอาการร่วมกัน ประสิทธิผลของการสร้างโปรแกรมยังสามารถนำไปจัดตั้งนโยบาลและข้อปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพในแต่ละระดับประชากรของชุมชนต่างๆ จนถึงสังคมไทย

 

ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรแกรม

 

ปัจจัยการรักษาทางคลินิก

ปัญหาสุขภาพในระดับประชากรที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ไม่สามารถดูแลผู้รับบริการได้ตลอดเวลา คือโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง อันนำมาซึ่งความบกพร่องทางร่างกายและจิตสังคมในการทำกิจกรรมหลายๆด้าน เช่น การดูแลตนเอง การเคลื่อนไหว และการใช้ชีวิตภายในบ้านตามลำพัง  ผู้รับบริการต้องเผชิญปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ตามสภาพอาการและความบกพร่องที่เปลี่ยแปลงไปในแต่ละวัน

 

ดังนั้นเมื่อเราไม่สามารถจัดการโรคเจ็บป่วยเรื้อรังได้ จึงเกิดคำถามว่า ทำอย่างไรผู้รับบริการจะสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ในสภาพอาการและความบกพร่องของโรคเจ็บป่วยเรื้อรังนั้น

 

คำตอบคือ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ต้องสร้างระบบการจัดการดูแลอาการและความบกพร่องของโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง ให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสเรียนรู้ เกิดการนำระบบดังกล่าวไปปรับใช้ในกิจกรรมการดำเนินชีวิตของตนเองได้อย่างมีความสุข

ปัจจัยทางนโยบายและงบประมาณ

หลายๆประเทศต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี เพื่อดูแลประชากรที่เจ็บป่วยเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เน้นให้ประชากรและผู้เกี่ยวข้องทางการแพทย์ที่ให้การรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ต้องมีระบบการจัดการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง มีระบบการประเมินความก้าวหน้าของโปรแกรม ที่เกิดขึ้นในบ้านหรือชุมชนของประชากรที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเช่น การตรวจวินิจฉัยและการรักษาด้วยเครื่องมือทันสมัยภายในโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปกลับจากที่พักอาศัยและโรงพยาบาล เป็นต้น

 

ปัจจัยทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร

เมื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารพัฒนามากขึ้นในปัจจุบัน ผู้รับบริการที่เจ็บป่วยเรื้อรังมีความต้องการได้รับความรู้ในการดูแลปัญหาสุขภาพร่างกายและจิตสังคม จึงควรมีทางเลือกใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องมานั่งรอตรวจและเข้ารับการบริการทางสุขภาพทุกๆครั้งไป ตัวอย่างเช่น การทดสอบโปรแกรมการจัดการตนเองผ่านระบบออนไลน์ และมีระบบประเมินผลการรักษาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

 

การแยกระดับเครื่องมือสร้างโปรแกรมตามบทบาทของผู้รับบริการ

 

Subordinate role

คือบทบาทที่เน้นการรับคำแนะนำและต้องการผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มาดูแลโปรแกรมในระยะแรก เช่น การใช้กล้องวิดีโอ (video camera surveillance) ในการควบคุมความปลอดภัยของการเคลื่อนไหวภายในบ้าน หรือการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในระดับนี้ไม่สามารถเน้นการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการได้ดีนัก

 

Structured role

คือบทบาทที่เน้นการมีส่วนร่วมในโปรแกรมบ้าง แต่ต้องเรียนรู้และทำตามรูปแบบที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์กำหนดไว้ เช่น การทดสอบด้วยเครื่องมือทางการแพทย์แบบพกพามาใช้ที่บ้าน (Home and portable testing peripheral)

 

Collaborative role

คือบทบาทที่เน้นการนำประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเอง มาสร้างระบบการแก้ไขปัญหาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ สร้างความสัมพันธ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งสองฝ่าย ได้แก่ ความสามารถในการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มอาการหรือความบกพร่องของโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง และความสามรถในการแก้ไขปัญหาด้วยหลักการทางการแพทย์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้ความรู้แก่ผู้รับบริการแบบออนไลน์หรือคู่มือ (Client education materials online or on paper)

 

Autonomous

คือบทบาทที่เน้นการมีส่วนร่วมในโปรแกรมอย่างมาก ผู้รับบริการเข้าอบรมและปฏิบัติการจนผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เห็นว่าสามารถใช้โปรแกรมได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีการติดตามและประเมินผลใดๆ เช่น คู่มือจัดการสุขภาพแบบอ่านและปฏิบัติไดด้วยตนเอง (Self-help books on paper) เครื่องมือและอุปกรณ์ทันสมัยเพื่อช่วยเหลือตนเอง (advanced assistive technologies) หรือ กลุ่มผู้รับบริการแบบออนไลน์ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือกันเอง (Online support groups)

 
คำสำคัญ (Tags): #health#self-efficacy
หมายเลขบันทึก: 53876เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สองวันก่อน ผมพาน้อง ป.โท ส่งเสริมสุขภาพ มช. (มาเที่ยวเฉพาะกิจ จำนวน ๕ คน) ไปบ้านแม่ปิง อ.ปายอีกครั้ง

เพื่อไปเยี่ยมชุมชน และสอบถามเพื่อหาข้อมูลเพิ่ม

เราอยากทราบประเด็น นิยามของคำว่า "Health"  ในความหมายของหมู่บ้าน

ชาวบ้านบอกนอกจากมีความสุขกายสบายใจแล้วยังมีการพูดถึงเจ็บป่วยได้รับการรักษา

เป็นโรคเรื้อรังแล้วได้รับการดูแล...เป็นส่วนหนึ่งของนิยามสุขภาพที่ได้พูดคุยกันวันนั้น

สอดคล้องกับโปรแกรมที่ อ.ป๊อบ ได้เขียนในบันทึกนี้ ซึ่งผมคิดว่า ในปัจจับัน และอนาคตเราจะได้ทำในเรื่องนี้กันมากขึ้น

เพราะปัญหาสุขภาพ มีแนวโน้มว่า จะป่วยเป็นโรคเรื้อรังกันมากขึ้น

...........

ขอบคุณและให้กำลังใจครับ 

  • เป็นเรื่องที่ดีและน่าสนใจมากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ.........5555+++

ขอบคุณมากครับสำหรับกัลยาณมิตรแท้...คุณเอก คุณแตกต่าง...เพื่อเติมเต็ม และคุณซิบูบูญ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท