เริ่มสับสนเรื่อง R2R


หลังจากที่ได้เริ่มบันทึกเกี่ยวกับเรื่อง R2R (Research to Routine) ไปได้ระยะหนึ่ง โดยเฉพาะในสองวันนี้ผมได้เตรียมเก็บข้อมูลเรื่อง "ข้าวต้มมัด" ไว้เตรียมที่จะลงบันทึกใน Baby R2R  อย่างเต็มที่

แต่เผอิญได้เข้าไปอ่านความหมายคำว่า R2R ในแพลนเนทของท่านก็กะปุ๋มทำให้ใจตกไปถึงตาตุ่มเลยครับว่า

เอาอีกแล้วเรา แปลภาษาอังกฤษผิดอีกแล้วหรือนี่ เพราะท่านกะปุ๋มแปลว่า "R2R(Routine to Research: การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย)"

แย่แล้ว เราเข้าใจผิดมาซะนาน ตามภาษาคนที่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรงครับ เพราะผมดันไปแปล R2R ว่า "การพัฒนางานวิจัยเข้าสู่งานประจำ"

ตามความเข้าใจของผมก็คือ (ซึ่งอาจจะผิดนะครับ) ผมเข้าใจว่า การทำงานทุกอย่างมีความรู้และเกร็ดต่าง ๆ ซุกซ่อนอยู่ในตัวของตัวเอง ดังนั้นถ้าเรานำมาเอาเทคนิค หลักการของการวิจัย ซึ่งเป็นการค้นหาข้อมูลและความจริงต่าง ๆ ค่อย ๆ เก็บ สังเกตุ ซักถาม สัมภาษณ์ จากการทำงานปกติที่ทำกันเป็นกิจวัตรประจำวัน ก็จะสามารถทำให้เราค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ หาทางปรับปรุงงานประจำของเราให้ดีขึ้น ๆ อย่างเป็นระบบระเบียบครับ ซึ่งการพัฒนางานวิจัยไปสอดแทรกในงานประจำก็จะไม่ทำให้มีงานเพิ่มขึ้น เพียงแต่เพิ่มการคิดและเทคนิคการสังเกตต่าง ๆ เข้าไปมากขึ้นเท่านั้นเอง ซึ่งจะทำให้งานประจำที่อยู่ในปรับตัวหรือพัฒนาเป็นวงจร หมุนวนปรับเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ ชั่วโมง หรือถ้ามีเวลาเพียงพอ ก็อาจจะเขียนบันทึกเล็ก ๆ น้อย ๆ เก็บเป็น Trip หรือ Tacit Knowledge ไว้เพื่อเผยแพร่หรือแลกเปลี่ยนกันน่ะครับ

แต่ถ้าตามความเข้าใจในความหมายที่ว่า R2R(Routine to Research: การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย) ซึ่งผมอาจจะเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อนไปนะครับ แต่ก็ขออนุญาตบอกกล่าวถึงสิ่งที่ผมเข้าใจและเป็นห่วงอยู่ในใจลึก ๆ ว่า ถ้าแปลกันตรงตัวตามภาษาไทยนั้น ผมจะเข้าใจว่าอย่างนี้ครับ

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ก็คือ การเปลี่ยนจากประจำที่ทำกันอยู่เปลี่ยนมาเป็นการทำวิจัยครับ ซึ่งอาจจะแปลแบบกำปั้นทุบดินไปหน่อยนะครับ (ต้องขออภัยล่วงหน้าครับ)

ก็คือว่า ผมอาจจะแปลแบบตรงตามตัวเลยก็คือ การพัฒนางานที่ทำกันอยู่ทุก ๆ วันนี้ ดังเช่นงานบริการต่าง ๆ งานสอนหนังสือ งานเก็บกวาดเช็ดถูพื้น งานทำกับข้าว พัฒนาไปสู่ "งานวิจัย" หรืองานทางวิชาการ

หลาย ๆ ท่านก็อาจจะงงว่าต่างกันอย่างไรสำหรับความหมายของสองคำแปลที่ว่า

  1. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
  2. การพัฒนางานวิจัยเข้าสู่งานประจำ

ตามความเข้าใจของผมก็คือ ถ้าพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ก็เหมือนกับเป็นการเพิ่มงาน ซึ่งนั่นก็คือ "งานวิจัย" ซึ่งชื่อเสียงค่อนข้างน่ากลัวมาก ๆ เข้าไปสู่งานประจำอีกอย่างหนึ่ง หรืออีกชิ้นหนึ่ง

หรืออีกความเข้าใจหนึ่งก็คือ พัฒนาจากการประจำ พัฒนาไปเรื่อย ๆ พัฒนาจนกระทั่งเปลี่ยนจากงานประจำไปเป็นการทำวิจัยไปเลย

เปลี่ยนจากนักปฏิบัติสู่นักวิชาการ

พัฒนาจากนักทำสู่นักพูด นักคิด และนักเขียน

ทำให้คนทำงานหน้างาน งานบริการ หรืองานหลัก ซึ่งปัจจุบันมีน้อยอยู่แล้ว ยิ่งมีน้อยลงไปอีกเพราะต้องไปทำงานวิจัยและวิชาการกันมากขึ้น

ซึ่งอาจจะเป็นการเข้าใจที่เหมือนจะมองเป็นด้านลบและน่ากลัวไปหน่อยนะครับ

แต่ก็เป็นเพียง Critical Thinking เล็ก ๆ ครับ ที่ผมขออนุญาตนำเสนอกับ G2K สถานที่ที่เปิดกว้างสำหรับความคิดที่เสรีครับ

หรืออย่างน้อยก็ขออนุญาตท่านมีผู้ความเชี่ยวชาญต่าง ๆ ช่วยตอบข้อสงสัยหรือความสับสนเล็ก ๆ ของผมนี้เพื่อให้เกิดความกระจ่างมากขึ้นครับ เพื่อที่จะทำให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานเรื่อง R2R นี้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในอนาคตครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงครับ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

คำสำคัญ (Tags): #r2r
หมายเลขบันทึก: 53848เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 03:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามความเข้าใจผม และ ถ้าเข้าใจตามที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ เขียนไว้ ที่นี่ ดังนี้
  • ในกิจกรรมของ KM ที่ได้ทำ ใช้จาก diagram ของอาจารย์วิจารณ์ซึ่งมีการสร้างความรู้  สำหรับ Teams ในระหว่างทำงานจะมีองค์ความรู้  มีแหล่งความรู้  จะทำอย่างไร เมื่อต้องการใช้ความรู้ สามารถที่จะหยิบมาใช้ได้  และเมื่อเกิดแหล่งความรู้ จะเอามาเก็บอย่าง เพื่อให้เป็นไปตาม เป้าหมาย R2R2R  Routine to Research และกลับมาที่ Routine อีกที
  • แล้วแต่จะใช้ R2R แรก หรือ R2R หลัง ก็น่าจะได้ครับ แต่ถ้า จะให้ครบก็ต้อง R2R2R นะครับ
  • เสริมอีกนิดตามความเข้าใจของผม....
  • R2R ก็คือ การพัฒนางานประจำให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่แทนที่จะทำอย่างไม่มีระบบ ก็พยายามนำระบบ หรือ research methods เข้ามาช่วย ทำให้การพัฒนางานนั้นกลายเป็นงานวิจัยได้ด้วย แล้วก็สามารถนำกลับมาใช้ พัฒนางานประจำให้ดีขึ้นได้ เป็นวัฏจักรไปเรื่อย ๆ (R2R2R) ครับ
  • ไม่แน่ใจว่า....เข้าใจถูกหรือเปล่านะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท