เพลงแห่นาค


                                                                 เพลงแห่นาค

                                                 นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

เพลงแห่นาค  โดยเพลงแห่นาคจะเล่นกันในตอนทำขวัญนาค  เบิกบายศรี และหลังจากเวียนเทียนรอบอุโบสถเสร็จแล้ว  เพลงที่ใช้เล่นมักเป็นเพลงเอ่ชา  ส่วนขณะที่แห่นาคไปวัดมักมีการเล่นกลองยาว และมีเพลงร้องตอนแห่นาคว่า พ่อเพลง บวชเสียเถิดพ่อนาคคนดี…แม่เพลง จงตั้งใจให้เชื่อเมื่อบวชอยู่นั้นเป็นกุศลขันธ์ภาวนา อยู่ข้างหลังตั้งใจไว้ตัวทุกเวลา รักษาไว้เคยท่าจริงๆ เอย

ประวัติความเป็นมาตำนานที่เกี่ยวข้อง

เพศบุรุษเมื่อมีอายุครบวัยอุปสมบท ก็จะถือโอกาสนี้ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ และผู้มีอุปการะ เป็นเรื่องราวของการแสดงความกตัญญู กตเวทิตา จึงเกิดการแสดงที่เรียกว่า เพลงแห่นาค ได้มีกลุ่มคนเล่นร้องเพลงแห่นาค มาอย่างช้านานชั่วอายุคน วิธีการร้องและเนื้อร้องมีนัยของการสอนนาค โดยจะเป็นเนื้อร้องสดขึ้นตามสถานการณ์ตอนนั้น ตั้งแต่พ่อนาคลงบันไดออกจากบ้าน ไปจนถึงนาคเข้าโบสถ์ในที่วัดอุปสมบท

ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง เป็นเพลงที่ร้องเพื่อให้คติแก่ผู้ที่จะเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อย่างใจบริสุทธิ์ หมดห่วงจากสภาวะชีวิตปัจจุบัน โอกาสที่เล่น หรือแสดง ร้องตามขบวนแห่บวชนาคจากบ้านไปโบสถ์ที่วัด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง

ลักษณะของสถานที่แสดงการแสดงนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวที สำหรับร้องเดินตามใกล้ ๆ กับนาค (ด้านหลัง) ขบวนแห่นาค จากบ้านไปโบสถ์ที่วัด

จำนวนผู้แสดง  5 – 10 คน

เครื่องแต่งกาย ผู้ร้องใส่เครื่องแต่งกายสวยงามแบบพื้นถิ่น ของตนเอง

เรื่องหรือบทที่ใช้แสดงหรือลำดับขั้นของการแสดง

เนื้อร้องมีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการสอนบุรุษที่กำลังอุปสมบท ให้สำนึกพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่ และละวางต่อทางโลกที่เป็นสภาวะปัจจุบันอยู่ ให้เห็นว่าการแสดงความกตัญญูเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา

วิธีการแสดงร้องเพลงพื้นบ้าน เพลงแห่นาค จะมีผู้แสดงประมาณ 5 - 10 คน โดยมีนักร้องนำขึ้นต้นประโยคและเนื้อร้อง ก่อน จากนั้นจะมีลูกคู่อีก 4 - 5 คน ร้องตาม และทวนเนื้อร้องซ้ำพร้อมกัน ท่ารำที่ใช้ในการแสดงไม่มี

เนื้อเพลง/ทำนองเพลง ร้องนำ เอ่ย...พ่อนาค ข้างเอ่ย แม่เคยซักผ้าเยี่ยว แม่เคยเคี้ยวข้าวป้อน ก็บวชแทนคุณเสียก่อน เอย พ่อ เอ้ย ร้องซ้ำพร้อมกัน ให้บวชแทนคุณเสียก่อน ก็แม่เคยซักผ้าเยี่ยว แม่เคยเคี้ยวข้าวป้อน ให้บวชแทนคุณเสียก่อน ชะล่าว่า ไฮ้ ไฮ้ ไฮ้ ชะล่า ชะล่า (จบหนึ่งเพลง) โดยร้องอยู่ใกล้กับพ่อนาค ร้องซ้ำแบบกระแทกเสียง และเร็วๆ


หมายเลขบันทึก: 537805เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2013 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ไม่เคยได้ยินเพลงแห่นาคจ้ะ  แต่ถ้าการทำขวัญนาค สมัยเด็ก ๆ พอเคยได้ยินบ้างจ้ะ  ขอบคุณสำหรับ

เรื่องราวที่นำมาแบ่งปัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท