ลำไยไม่ออกดอก หน้าฝนที่แสนจะแล้งนี้ เกษตรกรชาวสวนลำไยจะทำอย่างไรเพื่อจะให้ลำไยออกดอก


ต้นลำไยเขาออกดอกเป็นพุ่มตูมๆ นั้น เหมือนกับว่า เขากำลังยกมือไหว้เกษตรกรอยู่...ค่ะ ช่อดอกลำไยตูมๆ แบบยกมือไหว้นั้น ไม่ได้ไหว้ขอบคุณหรอกนะคะ มันไหว้...แบบว่า ขอร้องท่านเกษตรกร...อะค่ะ มันบอกว่า พี่...พี่... พอทีเหอะ.... หยุดใส่ปุ๋ย่ตัวนี้ซะทีเหอะ....ตูร้อน

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

หน้าฝนปีนี้ หรือปีไหนๆ ที่ฝนมาช้ากว่าปีที่ผ่านมา (มาราวกลางเดือนมิถุนายน) แถมยังมีพายุฤดูร้อนที่พัดไม่เลิกในช่วงแรกๆ ของเดือนมีนาคม - เมษายน สิ่งที่เกิดขึ้นกับสวนลำไยที่ราดสารในเดือนมีนาคม และเมษายน คือลำไยที่ไม่ได้ยึดไม้ค้ำไว้อย่างแน่นหนา บริเวณขอบสวน จะเอียง ไม่ก็ล้มระเนระนาด ถ้าฝนตกต่อเนื่องมากจนดินชุ่มน้ำ ทำให้ดินอ่อนตัว เมื่อมีลมพัดแรงก็จะทำให้ต้นลำไยถอนรากถอนโคนได้....ค่ะ

ต้นลำไยที่ราดสารไว้แล้ว เมื่อรอดพ้นวิกฤตลมมาได้ กลับต้องผจญกับธรรมชาติของธาตุอาหารที่มากับสายฝน คือปริมาณไนโตรเจนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้นลำไยที่เคยคิดว่าตัวเองจะไม่รอด จากการที่เกษตรกรชักนำการออกดอกด้วยการราดสารฯ ซึ่งสารที่ราดจะไปทำลายรากฝอย หรือถ้าราดสารน้อยอย่างเจือจาง ก็แค่ไปหุ้มปิดกั้นการดูดซึมของรากฝอยในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และเกษตรกรก็จะงดการให้น้ำระยะหนึ่ง

จากลำไยที่คิดว่าจะตาย เลยออกดอก กลับเปลี่ยนใจ กลัวตาย ได้น้ำ เลยเร่งออกใบมาแทนทำให้เกิดภาวะใบอ่อนออกแทรกยอดดอก หรือที่เรียกว่า "ลำไยกางร่ม" ออกมาแทน

บางสวนราดสารวันนั้นเสร็จ ฝนก็ตกวันนั้นเหมือนกัน ซึ่งถ้าตกน้อยก็ไม่เป็นไร เพราะเราต้องสปริงน้ำตามอยู่แล้ว แต่นี่กลับตกในปริมาณที่มาก มากจนน้ำซึมผ่านพาสารโปรแตสเซี่ยมคลอเรต ที่ราดไว้ให้ซึมผ่านระดับรากฝอย แถมยังมีปริมาณน้ำมากพอที่จะเจือจางให้สารที่มีความบริสุทธิน้อยอยู่แล้ว ให้น้อยลงไปอีก น้ำจำนวนมากซึมผ่านต่อเนื่องทำให้ชะล้างสารบริเวณปลายรากฝอยออกไปด้วย ต้นไม้เลยดูดน้ำ และแร่ธาตุได้เหมือนตามปกติ

ให้สารไปแล้วฝนตกหนัก ตามแนวทางปฏิบัติในการปลูกลำไย ต้องราดสารใหม่...นะคะ ไม่ราดไม่ได้....ค่ะ

พอไม่ราดสารซ้ำ ผลที่ได้.....ก็คือ ลำไยมันก็ไม่ยอมออกดอก แต่จะนิ่งๆ ทรงๆ (เพราะโดนสารไปส่วนหนึ่ง) พอระยะยาวๆ ก็ไม่ยอมออกดอก เล่นเอา เกษตรที่คิดว่าตนเองให้ปุ๋ยเร่งใบแก่ และสะสมตาดอกน้อยไป ก็เลือกวิธีการใส่ปุ๋ย 8-24-24 เข้าไปอีก แทนที่จะช่วยให้ออกดอกเร็ว กลับทำให้ลำไยเลือกปุ๋ยดังกล่าวไปดูแลบำรุงใบ ใบลำไย ใบเล็กๆ ใบน้อยๆ ที่ออกมาก็แก่เร็ว ได้ใบเขียวเล็กกะจิ้ริด

ผลที่ตามมาก็คือ ลำไยเลือกไปดูแลใบ ไม่สนใจดูแลดอก

แต่ก็มีเกษตรกรหลายราย ที่หลังจากราดสารไปแล้ว 5 วัน ก็ทำตามแนววิธีการที่เคยปฏิบัติ คือราดสารซ้ำในปริมาณครึ่งหนึ่ง ของที่ราดครั้งแรก ก็ได้อานิสงค์บ้าง เพราะสารที่หายไปในครั้งแรกจากฝนที่เทลงมานั้น บัดนี้ได้สารใหม่ เสมือนกับว่าเพิ่งเริ่มราดสารฯ แถมอีก 5 วันต่อมาก็ใส่ปุ๋ยสูตร 0-52-34+กำมะถัน และใส่ 0-52-34+ซิงค์ และแคลเซียมโบรอน กับธาตุอาหารจำพวกจุลธาตุ.... อีกครั้งตามสูตร...เด๊ะ

เกษตรกรก็มั่นใจรอคอยฝันจะเห็นดอกลำไย ได้แต่นั่งนับวันจากที่ราดสารครั้งแรก (ที่ฝนตกเทลงมาอย่างหนัก) นับมาได้ 20-30 วัน ก็เริ่มเครียดเพราะลำไยมันแทงยอดเหมือนกัน แต่ดูมันอั้นๆ ยอดไว้น่าดู.....

แต่อย่างไรก็ตาม ดอกลำไยก็จะแทงยอดออกกมาจนได้ เกษตรกรเห็นแล้ว ได้แต่ร้อง "วู๊.... ดีใจจุงเบย"

แต่อยู่มาจนสิ้นเดือน อะไรกัน....วะ (ไม่สุภาพ...เซ็นเซอร์) ทำไมดอกมันออก แต่ไม่ยอมยืดช่อดอกสักที.... ออกมาเป็นพุ่ม กระจุกยอดดอกตูมๆ..... อยู่ได้

ต้นลำไยเขาออกดอกเป็นพุ่มตูมๆ นั้น เหมือนกับว่า เขากำลังยกมือไหว้เกษตรกรอยู่...ค่ะ ช่อดอกลำไยตูมๆ แบบยกมือไหว้นั้น ไม่ได้ไหว้ขอบคุณหรอกนะคะ มันไหว้...แบบว่า ขอร้องท่านเกษตรกร...อะค่ะ

มันบอกว่า พี่...พี่... พอทีเหอะ.... หยุดใส่ปุ๋ย่ตัวนี้ซะทีเหอะ....ตูร้อน

ก็หลังจากที่ฝนตกในเดือนเมษายน 2556 นั้น จากนั้นมาในเดือนพฤษภาคม ฝนก็ไม่ยอมตกอีกเลย ฝนมันไม่ทำตามกติการแล้ว แต่พี่ก็ยังเล่นใส่ปุ๋ยตามกติกา มารยาทในการบำรุงลำไย....อยู่ได้

พี่เกษตรกรลืมเรื่องการช่วยรดน้ำ ให้กับต้นลำไยไปเลย ... ร้อนๆ.... ตูร้อน....นะว้อย (ร้อนทั้งต้นลำไย และเกษตรกรผู้ดูแลลำไย)

ปกติเกษตรกรเคยชินกับการดูแลลำไยในช่วงเดือนพฤษภาคม เพราะว่าฝนจะตกเกือบทุกๆ 3 วัน ดังนั้นเกษตรกร จึงไม่ได้ใส่ใจเรื่องน้ำเท่าที่ควร

เกษตรกรบางราย ก็ตระหนักในเรื่องดังกล่าว ก็ให้น้ำทุกๆ 1 วัน เว้น 2 วัน ก็ถือได้ว่าช่วยต้นลำไยได้มาก ในวิกฤตที่ผ่านมา

แต่สิ่งหนึ่งที่เกษตรกรต้องตระหนักคือเรื่องการใส่ปุ๋ยทั้งสองครั้ง หลังจากราดสาร...นั้น กลุ่มปุ๋ย และสารเคมีดังกล่าว เป็น "กลุ่มปุ๋ยร้อน" ซึ่งโดยปกติ ในเดือนพฤษภาคม ปริมาณน้ำฝนจะมาก อุณหภูมิโดยรอบสวนจะเย็น จึงต้องใส่ปุ๋ยดังกล่าวประมาณ 2 ครั้งตามที่เขียนข้างต้น เพื่อช่วยให้ลำไยยังคงระดับอุณหภูมิร้อนคงที่

เมื่อฝนไม่ตก แถมยังแดดออกแรงจัดมาก ระดับความร้อนเขามีของเขาอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย 0-52-34 ถึง 2 ครั้ง ให้เพียงครั้งเดียวก็พอ....นะคะ แต่ถ้าอากาศร้อนจัด มากๆ ก็ไมจำเป็นต้องให้เลย จะดีกว่า...ค่ะ

ให้กำมะถัน (ซึ่งจะเอาไว้ไล่แมลงในช่วงหน้าร้อน)

ให้ซิงค์ (เอาไว้เป็นภูมิคุ้มกันความแปรปรวนของอากาศ)

ให้แคลเซี่ยม (เอาไว้ช่วยให้เกิด กระบวนการคายน้ำ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายน้ำ และสารอาหารที่ปรุงจากใบแล้ว นำพาไปสู่ดอกลำไย)

ให้โบรอน (เพื่อไม่ให้เปลือกผิวลำไยแตก เนื่องจากโบรอนจะช่วยให้ผนังเซลของท่อน้ำส่วนต่างๆของต้นลำไยมีความยืดหยุ่น อ่อนตัว รับแรงดันจากการเคลื่อนที่ของน้ำ และสารอาหาร และช่วยให้ตาดอกลำไยเปิดออกได้ โดยไม่ต้องไปพึงยาเปิดตาดอกสารพัดยี่ห้อ ซึ่งมีราคาแพงมาก ส่วนใหญ่จะขวดห้าร้อยกว่าบาทขึ้นไปทั้งนั้น)

พอเกษตรกรหยุดให้ปุ๋ยกลุ่มร้อนๆ ที่ว่ามาข้างต้นแล้ว ก็แล้วทำใจเย็นๆ ใช้เวลาช่วงนี้ ไปนั่งริดใบน้ำค้าง (ใบเล็ก ใบน้อยที่ออกแทรกตามง่ามกิ่งลำไย) เล่น ดูจะมีประโยชน์กว่า...ค่ะ

ให้น้ำไปเรื่อยๆ ทุกๆ 3 วันไม่นานเกษตรกรจะพบว่า ลำไยจะเริ่มแทงยอดดอกอย่างรวดเร็ว

ปีนี้ ที่ลำไยไม่ออกไม่ใช่เพราะ ฟ้า ฝน แปรปรวนหรอก....ค่ะ

ที่ลำไยมันไม่ยอมออกดอก หรือออกดอกช้า ก็เพราะ "เกษตรกร ไม่มีความรู้ และไม่มีความเข้าใจสรีรวิทยาของต้นลำไย.....ต่างหาก

บริษัทปุ๋ย ยา และร้านค้าสารเคมี ถึงได้ร่ำรวย และมีกำไรบานตะไท ก็เพราะความไม่รู้ ความไม่เข้าใจ และความกลัวของเกษตรกร....ค่ะ

ผลท้ายสุดคือ "ต้นลำไยแย่ เพราะโดนสารเยอะ" กว่าจะปรับตัวเอง (ลำไยเขาต้องปรับสมดุลตัวเองเสมอ ก่อนที่จะเติบโตต่อได้...ตามปกติ) และยังเหลือสารเคมีตกค้างในสวนลำไยอีกจำนวนมาก

2-3 เดือนกว่าที่ผ่านมา เกษตรกร นอกจากจะเสียเงินเปล่าแล้ว ยังเครียด และมีสิทธิจะป่วยเพราะ สารพิษเข้าไปสะสมในร่างกายอีกด้วย.....ค่ะ

ก็สังเกต และเรียนๆ รู้ๆ กันไว้เป็นประสบการณ์...ค่ะ

เข้าใจธรรมชาติ เข้าใจลำไย ความสำเร็จอยู่ไม่ไกล...ค่ะ

คราวหน้าจะเขียนบทความ สำหรับเกษตรกรที่ได้ตัดสินใจ ตัดยอดลำไยทิ้ง เพื่อเลี้ยงไว้ 1 ยอดแล้วราดสารใหม่ กับเกษตรก็ที่เลือกไม่ตัดยอดลำไยทิ้ง แต่ราดสารซ้ำในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา...ค่ะ ว่า.....ผลจะเป็นอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 537325เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2013 08:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2015 05:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...เครียด + เสียเงิน ..... แย่จังเลย นะคะ ....ขอบคุณค่ะ  

ชอบคุณทุึกๆ ท่านที่ให้ดอกไม้ และความคิดเห็นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท