งานที่"ไม่อัตโนมัติ" ของเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ ฉบับสมบูรณ์ค่ะ


เอามาเรียงร้อยเป็นเรื่องราวด้วยภาพอีกทีค่ะ

สืบเนื่องมาจากบันทึกที่เขียนเพื่อบอกเล่าให้ใครๆที่มักจะเข้าใจว่า พวกเราที่ทำงานกับเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัตินี่ น่าจะสบายนะ เอา sample ใส่เครื่องแล้วก็สามารถ walk away ได้ คงจะมีเวลาเหลือเฟือ แถมเครื่องใหม่ก็มาอีกตัวแล้วด้วย

แต่โดยความเป็นจริงแล้ว งานที่"ไม่อัตโนมัติ" ที่เราต้องทำนั้นมีมากมายทีเดียว วันนี้มีรูปมาฝากด้วยค่ะ จะได้เห็นภาพ และคิดว่าตัวเองก็จะเก็บไว้เป็นที่ระลึกด้วยค่ะ ว่าตัวเรานี้สามารถมาก ทำงานหนักแรงมาครบทั้งสัปดาห์แล้ว ยังเข็นตัวเองให้เขียนสิ่งที่อยากเขียนออกมาได้ ขอนำเสนอ งานที่"ไม่อัตโนมัติ"ด้วยภาพประกอบคำบรรยายค่ะ

  • ลำเลียง สิ่งส่งตรวจทั้งหลายที่ส่วนใหญ่ก็คือหลอดที่บรรจุเลือดที่ปั่นแยกซีรั่มแล้ว ทั้งลำเลียงเข้าและลำเลียงออก เจ้าถาดที่เห็นนี้ใส่ได้เต็มที่คือ 110 ราย ดังนั้น เราจะมี sample มาวางคอยคิวเสมอในช่วงเช้า และอนาคตก็จะไปเข้าเครื่องใหม่แทน โดยพวกเรา "คนคุมเครื่อง" คงต้องแบ่งภาคกันมากขึ้น เพราะคนทำงานของเรายังไม่มีเพิ่มขึ้น แต่ผลคงจะออกได้เร็วขึ้น
  • กดแป้นเพื่อใส่หมายเลขของ sample พร้อมทั้งเลขเดือน ตอนต้นเดือนเริ่มที่เลข 1-10 วันหนึ่งๆมี sample เข้ามาตรวจที่หน่วยเราประมาณ 600 - 800 ราย ใครอยู่สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ก็ต้องกดตัวเลขแบบว่า 16789-10 กันไป ลองคิดดูก็แล้วกันค่ะ ว่าวันหนึ่งๆเราต้องกดแป้นตัวเลขกันกี่พันกี่หมื่นครั้ง



  • กดเลือกการทดสอบต่างๆโดยอ่านจากใบสั่งตรวจที่พิมพ์ออกมาอีกที ยังดีที่มี profile ให้ตั้ง อย่างเช่น ไขมัน เราก็ไม่ต้องมากด test 3 ชนิดทีละตัว ส่วนใหญ่แล้วเฉลี่ยก็คงกดกันไม่น้อยกว่า พันครั้งต่อวัน

  • เตรียมน้ำยาต่างๆโดยจะทำในช่วงบ่ายที่พอมีเวลาหายใจ แล้วทุกเย็นเมื่องานเสร็จ ก็จะนำมาเติมเพื่อเตรียมไว้สำหรับงานในวันรุ่งขึ้น ถังใส่น้ำยาจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านในเป็นน้ำยาตัวที่ 1 ส่วนด้านนอกเป็นน้ำยาตัวที่ 2

   
  • เติมแล้วก็ต้องปิดฝาน้ำยาทุกขวดให้เรียบร้อยเพื่อกันการระเหย ตอนเปิดเครื่องก็เป็น"คน" นี่แหละค่ะ เปิดฝาน้ำยาทั้งหมดเองด้วย ก่อนจะเตรียมทดสอบสารมาตรฐานและตัวควบคุมคุณภาพ

 

ยังค่ะ ยังไม่เสร็จงาน เรายังต้องเติมน้ำยาสำหรับล้างเครื่องด้วย

แล้วเราก็ต้องจัดการกับถังทิ้งน้ำยาและสิ่งตรวจด้วยการยกไปเทเองทุกวัน

   

นี่ยังไม่ต้องพูดถึงว่าเราต้องเช็ดพื้นผิวต่างๆบนเครื่องที่อาจปนเปื้อนระหว่างการทำงานมาทั้งวัน และเก็บเอกสารที่เครื่องพิมพ์ออกมาให้เรา ทั้งผลตัวอย่าง QC และพารามิเตอร์อื่นๆที่เราต้องเก็บ

ความจริงวันนี้เพิ่งทราบจากพี่ปนัดดาด้วยว่า ยังมีงานที่ควรทำทุกวันอีกอย่างคือการทำ back wash ให้กับเครื่องกรองน้ำที่กรองน้ำเข้าสู่เครื่องด้วย เพื่อช่วยรักษาไส้กรองไม่ให้มีตะกอนสะสมมากเกินไป เฮ้อ...

หมายเลขบันทึก: 53626เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2006 00:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สัปดาห์ที่จะถึงนี้ก็ถึงคิวผู้เขียนแล้ว !!! 

 

  • ตกลงว่าเครื่องเป็น Robot!
  • ส่วนคนน่ะ เป็น พี่ๆRobot!
  • เนาะ...
เขาเรียกว่าเครื่องอัตโนมือครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท