การบริหารความเสี่ยง : การป้องกันการพลัดตก/หกล้ม (3)


           ผู้เขียนสนใจในงานการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ในที่ทำงานเราพยายามหาแนวทางป้องกันการหกล้มเสมอๆ มีอุบัติการณ์เราได้เรียนรู้ นำมาพูดคุย KMหาแนวทางพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

           ที่ผ่านมาได้บันทึกเรื่องการบริหารความเสี่ยงการป้องกันการหกล้มไปแล้ว 2 บันทึก

           ปีนี้ได้ทำโครงการพัฒนางาน (ไม่ใช่งานวิจัยค่ะ) ในลักษณะการวิเคราะห์งานโดยทำเป็น 5 บทคือ  


บทที่ 1  บทนำ 

               ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

              วัตถุประสงค์การศึกษา 

              ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

              ขอบเขตการศึกษา

              นิยามศัพท์

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

              ความหมายของการหกล้ม

              สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้หกล้ม

              ผลกระทบของการหกล้ม

              งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน

             ลักษณะกลุ่มเป้าหมาย

             เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

             การรวบรวมข้อมูล

             การวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์และการอภิปรายผล

             ผลการวิเคราะห์

            ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยหกล้ม

            ข้อมูลเกี่ยวกับการหกล้ม

            การอภิปรายผล           

บทที่ 5 สรุปและข้อเสนอแนะ

             สรุป

            ข้อเสนอแนะ


            ซึ่งเนื้อหาเป็นการศึกษาลักษณะการหกล้มของผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย  โดยศึกษาลักษณะการหกล้มในรอบ 10 ปีย้อนหลัง        เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในการป้องกันการพลัดตกหกล้ม  ควบคุมความเสี่ยงจากการหกล้ม  และ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้สนใจในการนำไปพัฒนาต่อเพื่อลดความเสียงต่อการหกล้มต่อไป


           วันนี้นำบางส่วนมาเผยแพร่ค่ะ

 ผลจากการศึกษา 

 พบว่า

              ข้อมูลทั่วไป พบว่าผู้ป่วยที่หกล้มส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 52.86 เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุ 21-40 ปี) คิดเป็นร้อยละ 35.71 รองลงมาคือวัยผู้ใหญ่ตอนปลาย  (41-60 ปี) คิดเป็นร้อยละ 30 


              การวินิจฉัยโรค ส่วนใหญ่ป่วยเป็นโรคพึ่งพิงสุรา (Alcohol  dependence) คิดเป็นร้อยละ 21.43% รองลงมาเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia) คิดเป็นร้อยละ 20.02 


               ลักษณะการหกล้ม พบว่า 


               สาเหตุที่ทำให้เกิดการหกล้มมากที่สุดเกิดจากปัจจัยภายใน คิดเป็นร้อยละ 95.71 โดยจำแนกตามสาเหตุได้ดังนี้  เดินเซ  ทรงตัวไม่ดี ขาอ่อนแรง  ร้อยละ 47 .16  เปลี่ยนท่ากะทันหันและชัก ร้อยละ 17.86


               บริเวณที่เกิดการหกล้มมากที่สุดคือบริเวณในบริเวณห้องห้องน้ำ  คิดเป็นร้อยละ 38.00 รองลงมาในบริเวณห้องผู้ป่วย  คิดเป็นร้อยละ 33.00


               ช่วงเวลาที่หกล้มมากที่สุดคือช่วงเวลา  8.00 น.-16.00 น. (เวรเช้า) คิดเป็นร้อยละ 35.71 รองลงมาช่วงเวลา 24.00 น.-08.00 น. (เวรดึก)   คิดเป็นร้อยละ 32.14 


             ระดับความรุนแรง ผู้ป่วยที่หกล้มส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงของการหกล้มอยู่ระดับระดับ C คิดเป็นร้อยละ 78.57 รองลงมาคือความรุนแรงระดับ D  คิดเป็นร้อยละ 17.14 


              อิริยาบท ผู้ป่วยหกล้มขณะมีกิจกรรม ยืน เดินมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.72


              ช่วงเวลา ผู้ป่วยส่วนใหญ่หกล้มในช่วงจำนวนหลังเข้านอนรพ. (admit)  1-5 วัน คิดเป็นร้อยละ 38.57  รองลงมาคือ ช่วง 6-10 วัน  คิดเป็นร้อยละ  21.42


ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ


            1. การหกล้มสูงในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี เน้นทีมให้ตระหนักถึงเรื่องนี้แม้ผู้ป่วยจะไม่ใช่วัยสูงอายุแต่ปัจจัยเสี่ยงหกล้มในด้านอื่นๆ มีสูงเช่นเรื่องยาที่ได้รับ การรู้สติ กระบวนการคิดเป็นต้น มีโอกาสหกล้มในผู้ป่วยจิตเวชทุกวัย 

            2. ในผู้ป่วย alcohol dependence เสี่ยงต่อการหกล้มสูง มีปัจจัยภายในหลายอย่างที่ส่งผลให้หกล้มมากขึ้น นำไปพัฒนาการดูแล

            3.  ภารระงานของพยาบาลมีผลต่อการหกล้ม พูดคุยในทีมเพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไขในส่วนนี้

            4. ผู้ที่หกล้มมักจะหกล้มใน 5 วันแรก มากที่สุดใน 2 วันแรก ช่วง2วันนี้อาจเป็นเรื่องการปรับตัว ความคุ้นชินกับสถานที่ การเริ่มได้ยา ผลข้างเคียงของยาจะมากกว่ารายที่ได้ยามาสักระยะหนึ่งแล้ว ตัวโรคเองเช่นใน alcohol dependence ผู้ป่วยส่วนหนึ่งยังมีระดับแอลกอฮอล์สูงในร่างกายเพราะเพิ่งหยุดดื่มก่อนเข้าโรงพยาบาลไม่กี่ชั่วโมงหรือผู้ป่วยที่หยุดได้2-3วันแล้วเป็นช่วงที่ delirium พอดี เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยส่งผลให้หกล้มได้ง่าย  ควรมีการพูดคุยและหามาตรการป้องกันในประเด็นนี้เพิ่มขึ้น

          5. ผู้ป่วยส่วนใหญ่หกล้มในห้องน้ำและรองลงมาคือผู้ป่วยเองโดยเฉพาะข้างเตียง อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนท่าอย่างรวดเร็ว  ความรีบเร่งที่จะลุกเข้าห้องน้ำ นอกจากในห้องนอนแล้ว ห้องน้ำก็พบการหกล้มรองลงมา โดยในห้องน้ำเอง มีหลายปัจจัยเช่นกัน การเปลี่ยนท่าจะลุกจากโถส้วม การกะระยะที่จะนั่ง การทรงตัว เป็นต้น และที่สำคัญ จุดนี้เป็นบริเวณส่วนตัว ผู้ป่วยมักจะไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่เข้าไปด้วย มีโอกาสหกล้มสูง  ทีมควรหาแนวทางหรือโครงการที่จะลดการหกล้มจากสาเหตุนี้

         6. ปัจจัยภายนอกพบน้อย แสดงถึงคุณภาพการเฝ้าระวังที่ดี แต่แม้จะพบน้อยก็ควรหามาตรการป้องกันเพราะเป็นปัจจัยที่ป้องกันได้ เช่น พื้นลื่น ลื่นพรมเช็ดเท้า

         7.  ค้นคว้า คิดค้น หานวัตกรรมใหม่ๆมาใช้เพื่อป้องกันการหกล้ม


หมายเหตุ 

แบบเก็บข้อมูลผู้ป่วย

ก.ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย

  1. เพศ    ƒ 

  • ชาย    ƒ 
  • หญิง

  2. อายุ    

  • วัยเด็กตอนกลาง (3-5 ปี)  ƒ 
  •  วัยเด็กตอนปลาย (6-12 ปี)
  •  วัยรุ่น (13-20 ปี)      ƒ 
  •  วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (21-40 ปี)
  •  วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง (41-60 ปี)  ƒ
  •  วัยสูงอายุ (มากกว่า 60 ปี)

 3. การวินิจฉัย

  • ƒ Alcohol  dependence (พึ่งพิงสุรา)
  • ƒ Schizophrenia (จิตเภท)
  •  Bipolar Disorder (อารมณ์แปรปรวน2ขั้ว)
  • ƒ Major Depressive  Disorder (ซึมเศร้า)
  •  Dementia(สมองเสื่อม)
  • ƒ Acute  Psychosis (โรคจิตเฉียบพลัน)
  • SLE (เอสแอลอี)
  • ƒ Somatization
  • ƒ suicidal attempt (พยายามทำร้ายตนเอง)
  • ƒ  Pain disorder
  • ƒ Conversion
  • ƒ Autistic  Disorder
  •  Eating Disorder (ความผิดปกติของการกิน)
  • ƒ Drug over dose (รับประทานยาเกินขนาด)
  • ƒ Epilepsy (ลมชัก)
  • ƒ LD
  • ƒ อื่นๆ ระบุ......

ƒ 

ƒ 

ข.ข้อมูลลักษณะการหกล้ม

  1. สาเหตุการหกล้ม

  ปัจจัยภายใน

  •  เดินเซ  ทรงตัวไม่ดีขาอ่อนแรง
  •   วิงเวียนหน้ามืด
  •   ƒเปลี่ยนท่ากะทันหัน
  •   ชัก
  •   อื่นๆ

ปัจจัยภายนอก

  •   พื้นลื่น
  •  ไฟดับ
  •   ƒพื้นต่างระดับ
  •   อื่นๆ


2. บริเวณที่เกิดการหกล้ม

  • ƒ ห้องผู้ป่วย
  • ƒ  ห้องน้ำ
  • ƒ  บริเวณโต๊ะรับประทานอาหาร
  • ƒ  ห้องทีวี 
  •   นอกตึก
  • ƒ  ห้องแยก
  • ƒ  ห้องรับใหม่
  • ƒ  ไม่ระบุ

ƒ

 

  3. ช่วงเวลาการหกล้ม

  • 8-16   น.   (เวรเช้า)
  • 16-24  น.  (เวรบ่าย)
  •  24-8   น.  (เวรดึก)


 4. ระดับความรุนแรงของการหกล้ม  

  •       A =มีสถานการณ์/สิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ผู้ป่วยพลัดตกหกล้ม


  •       B =มีสถานการณ์ที่ผู้ป่วยเกือบมีการพลัดตก/ลื่นล้มแต่สามารถช่วยเหลือไว้ได้ทัน


  •       C =ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม แต่ไม่ได้รับการบาดเจ็บ


  •       D=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บเล็กน้อย ได้แก่มีแผลถลอก ช้ำ


  •       E =ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บปานกลางได้แก่มีแผลเปิด กล้ามเนื้อฉีกขาด มีการเคลื่อนไหวบกพร่องหรืออันตรายอื่นๆที่แพทย์มีแผนการรักษา


  •       F=ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงได้แก่กระดูกหัก มีเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ศีรษะได้รับอันตรายต้องมีแผนการรักษาและทำให้เกิดการพิการชั่วคราว ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานขึ้น


  •      G =ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงมากส่งผลให้เกิดการพิการถาวร


  •      H =ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และได้รับการบาดเจ็บรุนแรงมากและต้องได้รับการรักษาเพื่อช่วยชีวิต


  •      I = ผู้ป่วยเกิดการพลัดตก/ลื่นล้ม และเสียชีวิต

    •   

  5. ประเภทของการหกล้ม

  • ƒ  หกล้มขณะมีกิจกรรมลุกยืนเดิน
  •   ตกเตียง
  •   ตกรถเข็น
  • ƒ  ตกเก้าอี้

ƒ

 

6.จำนวนวันที่หกล้มหลังเข้ารักษา

  • 1-5     วัน
  • 6-10   วัน
  • 11-15 วัน 
  • 16-20 วัน
  • 21-25 วัน
  • 26-30  วัน 
  • มากกว่า30 วัน
  • ไม่ระบุ


ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ


หมายเลขบันทึก: 536121เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 05:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 09:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับคุณถาวร

ขอบคุณเรื่องราวดีๆครับ

ในฐานะที่เป็นชาย อายุต่ำกว่า 60 เลยต้องพึงระวัง อิอิ...

ที่สำคัญยา ก็มีส่วนทำให้บางครั้งทรงตัวโงนเงน....

ขอบคุณค่ะคุณพ.แจ่มจำรัส

ยาเป็นปัจจัยหนึ่งค่ะที่ทำให้เสี่ยง

บางตัวผลข้างเคียงทำให้เกิดความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า การค่อยๆเปลี่ยนท่าก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง 

เป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์อ.นุ

คุณหนูรี

คุณอานนท์ ภาคมาลี

และคุณอักขณิช

สุขสันต์วันศุกร์ค่ะ

พี่อุ้ม ติกกำลังสนใจวิเคราะห์ในตึกเหมือนกันค่ะ

รวมถึงแบบประเมินที่เรากำลังใช้อยู่

จะขอแบ่งปันนะคะ

ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยนะครับ 

ขอบคุณค่ะน้องติกน้ำ

ยินดีค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ดร.ขจิต

งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการCQI เรื่องการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ตามติดมา10กว่าปีค่ะอาจารย์  เราพยายามหาแนวทางอยากให้อัตราหกล้มเป็น0ทุกไตรมาส ทุกปีค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณโอ๋-อโณ

ขอบคุณค่ะคุณหมออ้อ ทพญ.ธิรัมภา

R2R  ที่มีประโยชน์มากมาย  จะได้ขอนำไปแบ่งปันด้วยจ้า

ขอบคุณมากค่ะคุณ

ยินดีค่ะ

ตอนนี้เอามาคุยกันในตึก หาทางป้องกันความเสี่ยงหกล้มในจุดที่พบบ่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท